โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โดพามีนทรานสปอตเตอร์

ดัชนี โดพามีนทรานสปอตเตอร์

โดพามีนทรานสปอตเตอร์ (แดท) (dopamine transporter; DAT) เป็นโปรตีนสำคัญที่อยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทโดพามีน ทำหน้าที่ดูดกลับโดพามีนที่หลั่งออกมาในไซแนปส์เข้าสู่เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ โดพามีนทรานสปอตเตอร์เป็นโปรตีนลำเลียงสารสื่อประสาทโดพามีนที่ต้องอาศัยไอออนโซเดียมและไอออนคลอไรด์ในการทำงาน โครงสร้างโมเลกุลของโดพามีนทรานสปอตเตอร์มีด้านปลายด้านเอ็น (N-terminus) และปลายด้านซี (C-terminus) อยู่ภายในเซลล์ ปัจจุบันพบว่าสารโคเคน (Cocaine) และยาเมทิลฟีนิเดท (Methylphenidate) ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของโดพามีนทรานสปอตเตอร์ มีการศึกษาการกระจายตัวของโดพามีนทรานสปอตเตอร์ในอวัยวะต่างๆ ในหนูขาวโดยใช้วิธีอิมมิวโนฮิสโตเคมมิสทรี (Immunohistochemistry) พบโดพามีนทรานสปอตเตอร์ในระบบประสาทส่วนกลาง anterior pituitary gland, Auerbach’s nervous system, Meisner’s nervous system, adrenal medulla และ ปอด โดยทั่วไปแล้วบริเวณสมองที่ใช้ศึกษาโดพามีนทรานสปอตเตอร์คือบริเวณดอร์ซอลสไตรตัม (dorsal striatum) และ (นิวเคลียสแอคคัมเบน) (nucleus accumbens) ซึ่งมีปริมาณโดพามีนทรานสปอตเตอร์ค่อนข้างหนาแน่น เมื่อศึกษาหนูถีบจักรที่ถูกตัดยีนโดพามีนทรานสปอตเตอร์ พบว่าการสังเคราะห์โดพามีนที่อาศัยเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร๊อกซิเลสเกิดได้น้อยลง การเก็บโดพามีนในถุงเก็บ(vesicle) ลดลง มีการปลดปล่อยโดพามีนลดลง การขนส่งโดพามีนผ่านโดพามีนทรานสปอตเตอร์อาจเกิดในอัตราส่วนของโดพามีน 1 โมเลกุล ไอออนโซเดียม 2 ไอออนและไอออนคลอไรด์ 1 ไอออน ซึ่งมีกลไกทั่วไปคือไอออนโซเดียม 2 ไอออนจับกับโดพามีนทรานสปอตเตอร์ก่อน ตามด้วยโดพามีน 1 โมเลกุล จากนั้นไออนคลอไรด์ 1 ไอออนจึงมาจับกับโดพามีนทรานสปอตเตอร์ หมวดหมู่:วิทยาศาสตร์สุขภาพ.

7 ความสัมพันธ์: สารสื่อประสาทหนูหริ่งบ้านจุดประสานประสาทโดพามีนโคเคนโซเดียมไทโรซีนไฮดรอกซิเลส

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

ใหม่!!: โดพามีนทรานสปอตเตอร์และสารสื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่งบ้าน

หนูหริ่งบ้าน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์หนู (Muridae) หนูหริ่งบ้านจัดเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียประมาณ 30-40 กรัม มีขนสีน้ำตาลอ่อนตลอดทั้งลำตัว ส่วนท้องสีขาว ไม่มีขนที่หาง ขาหน้ามี 4 นิ้ว ขาหลังมี 5 นิ้ว ตัวเมียมีเต้านม 10 เต้า มีอายุขัยประมาณ 1.5-3 ปี หนูหริ่งบ้านเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้แทบทุกอย่างเช่นเดียวกับหนูทั่วไป และจัดเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ตามบ้านเรือนของมนุษย์ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบแทบทุกมุมของโลกและทุกทวีป แต่เชื่อว่า ดั้งเดิมเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ก่อนจะกระจายไปทั่วโลกอย่างในปัจจุบัน หนูหริ่งบ้านเป็นหนูชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวจีนและชาวญี่ปุ่นจนกลายเป็นหนูเผือกทั้งตัว ตาสีแดง และพัฒนาจนเป็นสีต่าง ๆ ตามลำตัว โดยแรกเรี่มเลี้ยงกันในพระราชวัง และเป็นหนูชนิดที่นิยมเป็นสัตว์ทดลองและเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแก่สัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: โดพามีนทรานสปอตเตอร์และหนูหริ่งบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

จุดประสานประสาท

องไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ไซแนปส์ (Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: โดพามีนทรานสปอตเตอร์และจุดประสานประสาท · ดูเพิ่มเติม »

โดพามีน

มีน (Dopamine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้ โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: โดพามีนทรานสปอตเตอร์และโดพามีน · ดูเพิ่มเติม »

โคเคน

ส่วนประกอบทางเคมีของโคเคน โคเคน (cocaine) คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย ข้อเสียของการใช้สารโคเคนคือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาต ในผู้ใช้สารโคเคนเป็นระยะเวลานาน หลังจากโคเคนหมดฤทธิ์แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเนื่องจากภาวะการลดระดับของสารโดปามีนในสมองอย่างฉับพลัน หลังจากการกระตุ้นของสารเสพติด หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:ยาเสพติด.

ใหม่!!: โดพามีนทรานสปอตเตอร์และโคเคน · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: โดพามีนทรานสปอตเตอร์และโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส

ไทโรซีนไฮดร๊อกซิเลส (Tyrosine hydroxylase; TH) เป็นเอนไซม์ในขั้นกำหนดอัตราการเกิดปฏิกิริยาซึ่งเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนกรดอะมิโนไทโรซีนให้เป็นไดไฮโดฟีนิลอะลานีนหรือ (โดปา) (dihydroxyphenylalanine;DOPA) ที่ใช้ในการสังเคราะห์สารกลุ่มแคทีโคลามีน เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิปิเนฟริน (norepinephrine) และอิปิเนฟริน (epinephrine) หมวดหมู่:เอนไซม์.

ใหม่!!: โดพามีนทรานสปอตเตอร์และไทโรซีนไฮดรอกซิเลส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โดปามีนทรานสปอตเตอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »