โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โครงสร้างนามธรรม

ดัชนี โครงสร้างนามธรรม

รงสร้างนามธรรม (abstract structure) คือกลุ่มของกฎเกณฑ์ คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ที่ถูกนิยามขึ้นโดยไม่ขึ้นกับวัตถุทางกายภาพ โครงสร้างนามธรรมเป็นหัวข้อที่ถูกศึกษาในปรัชญา วิทยาการคอมพิวเตอร์ และคณิตศาสตร์ อนึ่ง คณิตศาสตร์สมัยใหม่ยังถูกนิยามกว้าง ๆ ว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาโครงสร้างนามธรรม (ดูที่ กลุ่มบัวร์บากี และที่โครงสร้างเชิงพีชคณิต) วัตถุทางกายภาพอาจถูกใช้เพื่อแทนโครงสร้างนามธรรม (ซึ่งอาจต้องมีการประมาณบางอย่าง) กระบวนการนี้เรียกว่าการสร้างกรณีตัวอย่าง (instantiation) ของโครงสร้างนามธรรม อย่างไรก็ตาม โครงสร้างนามธรรมนี้ถูกนิยามโดยไม่ขึ้นกับคุณสมบัติใด ๆ ของวัตถุที่นำไปแทนนี้.

6 ความสัมพันธ์: ภาวะนามธรรมภาวะนามธรรม (คณิตศาสตร์)วิทยาการคอมพิวเตอร์ความสัมพันธ์คณิตศาสตร์ปรัชญา

ภาวะนามธรรม

นามธรรม (อังกฤษ: abstraction) คือ ความคิด ความเห็น หรือข้อความที่อ้างถึงปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์หนึ่งหนึ่ง ที่ออกมาเป็น รูปธรรม นามธรรมคือกระบวนการคิดที่ไม่ได้ก่อเกิดจากตัวตนของวัตถุนั้นจริงและไม่มีรูปร่าง นามธรรมเกิดมาจากความคิด และอารมณ์ เข้าสัมผัส ปรุงแต่งด้วยจิตก่อเกิดความรู้สึก อารมณ์ รวมก่อเกิดความหมาย เข้าใจได้ตามลักษณะจากรูปธรรมนั้น ซึ่งเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ในรูปแบบนามธรรมในบางครั้งใช้ในการกล่าวถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่ยกขึ้นมาในบางกรณีเหตุการณ์จริงที่เป็นรูปธรรมยากต่อการพูด หรือยากต่อการเข้าใจ โดยการกล่าวถึงในทางนามธรรมนั้น จะต้องมีการกล่าวโดยให้เข้าใจกันทั้งสองฝ่าย จากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง.

ใหม่!!: โครงสร้างนามธรรมและภาวะนามธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะนามธรรม (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ ภาวะนามธรรม (abstraction) หมายถึง กระบวนการขยายความสาระสำคัญที่เป็นหลักพื้นฐาน ของแนวความคิดทางคณิตศาสตร์ โดยไร้ข้อผูกมัดของวัตถุในโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งปกติอาจเชื่อมโยงกันอยู่ และเป็นการให้ความหมายทั่วไปของแนวความคิดนั้น เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น แขนงความรู้หลายอย่างของคณิตศาสตร์มาจากการศึกษาปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ก่อนที่กฎและแนวความคิดต่างๆ ที่เป็นหลักพื้นฐานจะถูกกำหนดขึ้นและนิยามไว้เป็นโครงสร้างนามธรรม ตัวอย่างเช่น เรขาคณิตมีจุดกำเนิดมาจากการคำนวณหาระยะทางและพื้นที่ในโลกแห่งความเป็นจริง สถิติมีจุดกำเนิดมาจากการคำนวณความเป็นไปได้ของการพนัน และพีชคณิตเริ่มต้นมาจากวิธีการต่างๆ ของการแก้ปัญหาในเลขคณิต.

ใหม่!!: โครงสร้างนามธรรมและภาวะนามธรรม (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: โครงสร้างนามธรรมและวิทยาการคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์

วามสัมพันธ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โครงสร้างนามธรรมและความสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: โครงสร้างนามธรรมและคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: โครงสร้างนามธรรมและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »