เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)

ดัชนี โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)

กลเมอรูลัส (glomerulus พหูพจน์ glomeruli) เป็นโครงสร้างนิวโรพิลรูปกลมในป่องรับกลิ่นของสมอง เป็นที่เกิดไซแนปส์ระหว่างปลายฆานประสาท (olfactory nerve) และเดนไดรต์ของเซลล์ไมทรัล, ของเซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell), และของ tufted cell โกลเมอรูลัสแต่ละอันจะล้อมรอบไปด้วยเซลล์ประสาทใกล้ ๆ รวมทั้งเซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส, เซลล์แอกซอนสั้น (short axon), tufted cell ส่วนนอก, และเซลล์เกลีย โกลเมอรูลัสทั้งหมดจะอยู่ใกล้ส่วนผิวของป่องรับกลิ่น แต่ป่องรับกลิ่นก็ยังรวมส่วนหนึ่งของ anterior olfactory nucleus ซึ่งก็ส่งแอกซอนไปทาง olfactory tract ด้วย โกลเมอรูลัสเป็นส่วนแรกที่ประมวลผลข้อมูลกลิ่นที่มาจากจมูกผ่านการเชื่อมต่อของไซแนปส์ ประกอบด้วยแอกซอนที่รวมตัวกันจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นเป็นพัน ๆ ตัว และประกอบด้วยเดนไดรต์จากเซลล์ไมทรัล, tufted cell, กับเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ โกลเมอรูลัสรวมทั้ง tufted cell ส่วนนอก, เซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส, short axon cell, และแอสโทรไซต์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โกลเมอรูลัสปกติจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 50-120 ไมโครเมตร (100-200) และมีจำนวนระหว่าง 1,100-2,400 อันขึ้นอยู่กับสปีชีส์ โดยมนุษย์มี 1,100-1,200 อัน จำนวนโกลเมอรูลัสในมนุษย์จะลดลงตามอายุ มนุษย์อายุมากกว่า 80 ปีเกือบจะไม่มีเลย โกลเมอรูลัสแต่ละอันอาจแบ่งเป็นสองเขต คือเขตประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve zone) และเขตที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทรับลิ่น (non-olfactory nerve zone) เขตประสาทรับกลิ่นมีทั้งเส้นประสาทส่วนก่อนปลายและส่วนปลาย เป็นที่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นสร้างไซแนปส์เพื่อเชื่อมกับเซลล์เป้าหมาย เขตที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทรับกลิ่นประกอบด้วยการเชื่อมต่อทำงานประสานกันระหว่างเดนไดรต์-เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทในป่องรับกลิ่นต่าง.

สารบัญ

  1. 27 ความสัมพันธ์: การประมวลผลการแสดงออกของยีนระบบรู้กลิ่นรางวัลโนเบลสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสารละลายสารเคมีสปีชีส์หมาหน่วยรับกลิ่นอินเตอร์นิวรอนจุดประสานประสาทปลาป่องรู้กลิ่นนิวโรพิลน้ำแอสโทรไซต์แผนที่ภูมิลักษณ์ใยประสาทนำเข้าไมโครเมตรเยื่อบุผิวรับกลิ่นเส้นผ่านศูนย์กลางเซลล์รับกลิ่นเซลล์ไมทรัลเซลล์เกลียTufted cell

  2. ระบบรู้กลิ่น

การประมวลผล

การประมวลผล หมายถึงกระบวนการคิด หรือ การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล การเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจใช้สูตร ทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ วิธีการต่าง ๆเหล่านี้ ทำได้โดย อาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และการประมวลผล

การแสดงออกของยีน

การแสดงออกของยีนคือกระบวนการที่ข้อมูลในยีนถูกใช้ในการสังเคราะห์ผลผลิตของยีนที่ทำงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีน แต่บางยีน เช่น rRNA tRNA หรือ snRNA มีผลผลิตเป็น RNA ซึ่งมีบทบาททำงานได้เช่นกัน กระบวนการที่ใช้ในการแสดงออกของยีนเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งยูคาริโอต (รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ด้วย) โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) และอาจนับรวมถึงไวรัสด้วย กระบวนการนี้ทำให้เกิดกลไกที่เกิดจากโมเลกุลขนาดใหญ่ และทำให้เกิดชีวิต กระบวนการที่เซลล์ใช้ในการทำให้เกิดการแสดงออกของยีนมีหลายขั้นตอน เช่น การถอดรหัส การตัดแบ่ง RNA การแปลรหัส และการดัดแปลงโปรตีนหลังการแปลรหัส หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:การแสดงออกของยีน.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และการแสดงออกของยีน

ระบบรู้กลิ่น

ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และระบบรู้กลิ่น

รางวัลโนเบล

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบล (Nobelpriset; Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี..

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และรางวัลโนเบล

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และสมอง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สารละลาย

รละลายเกลือแกงในน้ำ ในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และสารละลาย

สารเคมี

รเคมี (chemical substance) เป็นสสารวัสดุ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือได้จากกระบวนการเคมี อาท.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และสารเคมี

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และสปีชีส์

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และหมา

หน่วยรับกลิ่น

รงสร้างของ rhodopsin ซึ่งเป็น G protein-coupled receptor ที่หน่วยรับกลิ่นจะมีโครงสร้างคล้าย ๆ doi.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และหน่วยรับกลิ่น

อินเตอร์นิวรอน

interneuron หรือ internuncial neuron หรือ relay neuron หรือ association neuron หรือ connector neuron หรือ intermediate neuron หรือ local circuit neuron เป็นเซลล์ประสาทที่ส่งกระแสประสาทจากนิวรอนหนึ่งไปยังอีกนิวรอนหนึ่ง เป็นเซลล์ประสาทแบบหนึ่งในสามอย่างโดยจัดตามการทำงาน ที่มีจำนวนมากที่สุด (ประมาณ 90%) ในร่างกายมนุษย์ (โดยอีกสองอย่างคือเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์สั่งการ) โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือแบบเฉพาะที่ (local) และแบบรีเลย์ แบบเฉพาะที่จะมีแอกซอนสั้น ๆ และสร้างวงจรประสาทกับนิวรอนใกล้ ๆ ส่วนแบบรีเลย์ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า projection interneuron จะมีแอกซอนยาวและส่งกระแสประสาทไปได้ไกล ๆ จากสมองเขตหนึ่งไปยังอีกเขตหนึ่ง เซลล์เรียกว่า interneuron (คือนิวรอนในระหว่าง) ก็เพราะเป็นเซลล์ประสาททั้งหมดในระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) "Interneurons (association neurons) lie entirely within the CNS.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และอินเตอร์นิวรอน

จุดประสานประสาท

องไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ไซแนปส์ (Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และจุดประสานประสาท

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และปลา

ป่องรู้กลิ่น

granule cell #granule cell --> ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb, bulbus olfactorius, ตัวย่อ OB) เป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น ป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น แม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง แยกแยะกลิ่น, เพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น, กรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก, และอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และป่องรู้กลิ่น

นิวโรพิล

นิวโรพิล (Neuropil, Neuropile) เป็นส่วนไหนในระบบประสาทก็ได้ที่ประกอบด้วยแอกซอนซึ่งไม่หุ้มปลอกไมอีลิน, เดนไดรต์, และส่วนยื่นของเซลล์เกลียโดยมาก กลายเป็นบริเวณที่หนาแน่นไปด้วยไซแนปส์โดยมีตัวเซลล์ค่อนข้างน้อย เขตที่หนาแน่นไปด้วยนิวโรพิลมากที่สุดก็คือสมอง แม้จะไม่ใช่นิวโรพิลเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังมีส่วนนิวโรพิลที่ใหญ่สุดและมีไซแนปส์หนาแน่นที่สุดในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ทั้งคอร์เทกซ์ใหม่และป่องรับกลิ่นต่างก็มีนิวโรพิล เนื้อขาวซึ่งเป็นแอกซอนและเซลล์เกลียโดยมาก โดยทั่วไปจะไม่จัดเป็นส่วนของนิวโรพิล thumb คำภาษาอังกฤษว่า Neuropil มาจากคำภาษากรีก คือ neuro ที่แปลว่า "เอ็น ประสาท" และ pilos ที่แปลว่า ผ้าขนสัตว์ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และนิวโรพิล

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และน้ำ

แอสโทรไซต์

แอสโทรไซต์ (astrocyte) เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในระบบประสาทส่วนกลาง มีรูปร่างคล้ายดาว ทำหน้าที่คอยควบคุมปริมาณและชนิดของสารต่าง ๆ ที่จะผ่านเข้าออกเซลล์ประสาท แอสโทรไซต.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และแอสโทรไซต์

แผนที่ภูมิลักษณ์

"แผนที่ภูมิลักษณ์""ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ topography ว่า "ภูมิลักษณ์" หรือ "ลักษณะภูมิประเทศ" (topographic map) หรือ "แผนที่ topographic" ของระบบประสาท เป็นการส่งข้อมูลอย่างเป็นระเบียบของพื้นผิวในร่างกายที่เกิดความรู้สึก เช่นที่เรตินาหรือผิวหนัง หรือในระบบปฏิบัติงานเช่นระบบกล้ามเนื้อ ไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ของสมองในระบบประสาทกลาง แผนที่ภูมิลักษณ์มีอยู่ในระบบรับความรู้สึกทั้งหมด และในระบบสั่งการ (motor system) ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และแผนที่ภูมิลักษณ์

ใยประสาทนำเข้า

เซลล์ประสาท เดนไดรต์ (Dendrite) เป็นแขนงประสาทประเภทหนึ่งของเซลล์ประสาท (neuron) ซึ่งยื่นออกมาจากส่วนที่เป็นตัวเซลล์ (soma) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่เซลล์ประสาท ซึ่งกระแสประสาทดังกล่าวเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเคมีที่เกิดจากการกระตุ้นจากเซลล์ประสาทอื่นๆ (ทั้งนี้อาจเกิดจากสัญญาณจากรีเซปเตอร์ การกระตุ้นด้วยขั้วไฟฟ้าโดยมนุษย์ ฯลฯ) ซึ่งช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทตรงบริเวณที่มีการถ่ายทอดกระแสประสาทไปสู่กันได้นั้น เรียกว่าไซแนปส์ (synapse) และเมื่อเดนไดรต์รับสัญญาณประสาทมาแล้ว ก็จะมีการส่งต่อไปยังเซลล์อื่นๆต่อไปโดยผ่านไปทางปลายแอกซอน ทั้งนี้แขนงของเดนดริติกเซลล์ (dendritic cells) ในระบบภูมิคุ้มกันก็เรียกว่าเดนไดรต์ แต่ไม่มีความสามารถในการนำกระแสประสาท หรือกระแสไฟฟ้าเคมีใดๆ หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:เซลล์ประสาท หมวดหมู่:ระบบประสาท หมวดหมู่:ประสาทวิทยาศาสตร์.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และใยประสาทนำเข้า

ไมโครเมตร

้นใยคาร์บอนขนาด 6 ไมโครเมตรเมื่อเทียบกับเว่นผมมนุษย์ขนาด 50 ไมโครเมตร ไมโครเมตร (micrometer) หรือ ไมครอน (micron) ใช้สัญลักษณ์ µm เป็นหน่วยวัดความยาวมีค่าเท่ากับ 1 ใน 1,000,000 เมตร โดยสามารถเขียนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ได้ว่า 1 ม.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และไมโครเมตร

เยื่อบุผิวรับกลิ่น

ื่อบุผิวรับกลิ่น (olfactory epithelium).

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และเยื่อบุผิวรับกลิ่น

เส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) เส้นผ่านศูนย์กลาง (อังกฤษ: diameter) คือเส้นตรงซึ่งลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูปวงกลมไปบรรจบกับเส้นรอบวงทั้งสองข้าง ซึ่งรูปวงกลมนั้นอาจมาจากหน้าตัดของทรงกระบอก ทรงกรวย หรือทรงกลมก็ได้ เส้นผ่านศูนย์กลางมีความยาวเป็นสองเท่าของเส้นรัศมี เป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม และแบ่งรูปวงกลมออกเป็นรูปครึ่งวงกลมสองส่วนเท่าๆ กัน และสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกทิศทางไม่กำหนด เส้นผ่านศูนย์กลางจะสร้างมารถคำนวณได้โดยหาค่ารัศมีแล้วคูณสอง เพราะว่าความยาวของรัศมีหนึ่งเส้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง ในทางวิศวกรรมศาสตร์ เส้นผ่านศูนย์กลางสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ⌀ (ยูนิโคด: U+8960) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลมเล็กๆ ขีดทับด้วยเส้นตรงเอียงลงทางซ้าย มีประโยชน์ในการบ่งบอกขนาดของรูปวงกลม หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:ความยาว.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และเส้นผ่านศูนย์กลาง

เซลล์รับกลิ่น

แผนภาพของเซลล์ประสาทรับกลิ่น เซลล์ประสาทรับกลิ่น (olfactory receptor neuron ตัวย่อ ORN, olfactory sensory neuron ตัวย่อ OSN) เป็นเซลล์ที่ถ่ายโอนกลิ่นเป็นกระแสประสาทภายในระบบรับกลิ่น เป็นเซลล์ที่อยู่ภายในเยื่อรับกลิ่นที่บุบางส่วนของโพรงจมูก (ประมาณ 5 ซม2 ในมนุษย์) บริเวณยอดเซลล์จะมีเส้นขนเล็ก ๆ (olfactory cilia) ที่ทำหน้าที่จับโมเลกุลกลิ่นจากสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาภายในรูจมูก เซลล์จะถ่ายโอนกลิ่นเป็นกระแสประสาทแล้วส่งผ่านเส้นประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve) ซึ่งวิ่งผ่านรูในกระดูก cribriform plate เหนือโพรงจมูกขึ้นไปยังป่องรับกลิ่นในสมอง การรับกลิ่นของมนุษย์จะไม่พัฒนาเทียบเท่ากับสัตว์บางชนิดเช่นสุนัข ซึ่งมีประสาทรับกลิ่นที่ดีเยี่ยม.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และเซลล์รับกลิ่น

เซลล์ไมทรัล

ซลล์ไมทรัล (Mitral cell) เป็นเซลล์ประสาทในระบบรู้กลิ่น โดยอยู่ในป่องรับกลิ่นของระบบประสาทกลางในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และได้ข้อมูลจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นซึ่งส่งแอกซอนไปยุติเป็นไซแนปส์ที่นิวโรพิลซึ่งเรียกว่า โกลเมอรูลัส ในป่องรับกลิ่น แอกซอนของเซลล์ไมทรัลจะส่งข้อมูลไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่นเขตต่าง ๆ รวมทั้ง piriform cortex, entorhinal cortex และอะมิกดะลา เซลล์ไมทรัลได้รับสัญญาณขาเข้าแบบเร้า (excitatory) จากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เดนไดรต์หลัก เทียบกับสัญญาณแบบยับยั้ง (inhibitory) ที่ได้จากทั้ง granule cell ที่เดนไดรต์ด้านข้างและตัวเซลล์ และจากเซลล์รอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell) ที่ตรงปอยผมของเดนไดรต์ (dendritic tuft) เซลล์ไมทรัลพร้อมกับ tufted cell จะเป็นเซลล์รีเลย์ซึ่งส่งต่อข้อมูลกลิ่นที่มาจากฆานประสาท (olfactory nerve) ออกจากป่องรับกลิ่น แต่ก็ไม่ได้ส่งข้อมูลอย่างแพสซีฟที่ไม่ได้แปลผลเลย ในหนูหริ่ง เซลล์ไมทรัลแต่ละตัวจะส่งเดนไดรต์หลักอันเดียว ไปยังโกลเมอรูลัสอันเดียวซึ่งรับข้อมูลขาเข้าจากกลุ่มเซลล์รับกลิ่นที่แสดงออกยีนหน่วยรับกลิ่นชนิดเดียวกัน แต่โกลเมอรูลัสแต่ละอันซึ่งมีเดนไดรต์จากเซลล์ไมทรัลประมาณ 20-40 ตัว (ซึ่งอาจเรียกว่า เซลล์ไมทรัลพี่น้อง) ก็มีสัญญาณการตอบสนองต่อกลิ่นคือ tuning curve ที่ไม่เหมือนกับสัญญาณขาเข้า และเซลล์ไมทรัลพี่น้องก็ยังตอบสนองไม่เหมือนกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี การประมวลผลที่เซลล์ไมทรัลทำต่อข้อมูลขาเข้าก็ยังไม่ชัดเจน สมมติฐานเด่นอันหนึ่งก็คือ เซลล์ไมทรัลจะเปลี่ยนความแรงของกลิ่นให้เป็นรหัสโดยเวลา (timing code) โดยเข้ารหัสเป็นการยิงสัญญาณตามวงจรการดมกลิ่น (sniff cycle) สมมติฐานที่สอง (ซึ่งอาจจะไม่ได้แยกต่างหากจากสมมติฐานแรก) ก็คือ การทำกลิ่นต่าง ๆ ให้แตกต่าง (decorrelation) ภายในเครือข่ายป่องรับกลิ่น ที่เครือข่ายประสาทในป่องรับกลิ่นจะทำงานเป็นระบบพลวัต และการทำงานในระยะยาวจะเพิ่มความต่างทางการตอบสนองแม้ต่อกลิ่นที่คล้ายกันมาก หลักฐานสนับสนุนสมมติฐานที่สองโดยหลักมาจากงานวิจัยในปลาม้าลาย (ที่ไม่สามารถแยกเซลล์ไมทรัลจาก tufted cell ได้).

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และเซลล์ไมทรัล

เซลล์เกลีย

ซลล์เกลีย (glial cell) หรือ นิวโรเกลีย (neuroglia) หรือ เกลีย (glia) เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในระบบประสาท เช่น ช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนเซลล์ประสาท เป็นแหล่งอาหาร รักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน และการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น จำนานเซลล์เกลียมีมากกว่าจำนวนเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าตัว.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และเซลล์เกลีย

Tufted cell

Tufted cell เป็นเซลล์ประสาทสามกลุ่มในป่องรับกลิ่น คือ ส่วนนอก (external) ส่วนกลาง (middle) และส่วนลึก (deep) ส่วนนอกอยู่ที่โกลเมอรูลัสของป่องรับกลิ่นและเชื่อมต่อกับเซลล์อื่น ๆ ภายในป่อง ส่วนกลางและส่วนลึกอยู่ในชั้น external plexiform ของป่อง โดยมีการจัดระเบียบและการส่งแอกซอนไปยังเขตสมองที่สูงกว่าคล้ายกับของเซลล์ไมทรัล เซลล์ได้รับข้อมูลแบบเร้าจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นที่บุบางส่วนของโพรงจมูก เซลล์ส่วนกลางและส่วนลึกเป็น projection neuron ของป่องรับกลิ่นเหมือนกับเซลล์ไมทรัล และเป็นตัวส่งข้อมูลจากโกลเมอรูลัสไปยังส่วนต่อ ๆ ไปของสมอง ข้อมูลที่ส่งอาจปรับให้ชัดหรือกรองผ่านกระบวนการที่เรียกว่า lateral inhibition (การยับยั้งจากเซลล์ข้าง ๆ) ซึ่ง internueron ในป่องรับกลิ่นที่เรียกว่า เซลล์รอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell) และ granule cell เป็นตัวอำนวย ดังนั้น projection neuron เหล่านี้จริง ๆ จึงส่งข้อมูลกลิ่นที่ปรับให้ชัดขึ้นไปยังส่วนลึกขึ้น ๆ ในสมอง.

ดู โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)และTufted cell

ดูเพิ่มเติม

ระบบรู้กลิ่น

หรือที่รู้จักกันในชื่อ โกลเมอรูลัส (การรู้กลิ่น)โกลเมอรูไล (การรู้กลิ่น)โกลเมอรูไล (ระบบรู้กลิ่น)