โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แอริช ฟอน มันชไตน์

ดัชนี แอริช ฟอน มันชไตน์

ฟริทซ์ แอริช เกออร์ก แอดวร์ด ฟอน เลอวินสกี (Fritz Erich Georg Eduard von Lewinski) หรือเป็นที่รู้จักกันคือ แอริช ฟอน มันชไตน์ (Erich von Manstein) เป็นผู้บัญชาการในเวร์มัคท์ กองทัพของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ดำรงตำแหน่งยศจอมพล เขายังมีศักดิ์เป็นหลานอาของจอมพลเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีเยอรมันคนที่สอง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2430 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2516 หมวดหมู่:จอมพลแห่งไรช์ที่สาม หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หมวดหมู่:บุคคลจากเบอร์ลิน.

20 ความสัมพันธ์: การบุกครองโปแลนด์การล้อมเลนินกราดการล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)กางเขนเหล็กกางเขนอัศวินยุทธการที่ฝรั่งเศสยุทธการที่สตาลินกราดยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3ยุทธการที่คูสค์รัฐบาวาเรียราชอาณาจักรปรัสเซียสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจอมพลจักรวรรดิเยอรมันปฏิบัติการบาร์บารอสซาประเทศเยอรมนีตะวันตกนาซีเยอรมนีเบอร์ลินเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กเวร์มัคท์

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมเลนินกราด

การล้อมเลนินกราด (блокада Ленинграда blokada Leningrada) เป็นการล้อมยืดเยื้อซึ่งกลุ่มกองทัพเหนือของเยอรมันกระทำต่อเลนินกราด ซึ่งก่อนหน้านี้และปัจจุบันคือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในแนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่สอง การล้อมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 1941 เมื่อถนนเส้นสุดท้ายสู่นครถูกตัดขาด แม้ฝ่ายโซเวียตสามารถเปิดฉนวนทางบกแคบ ๆ สู่นครได้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 1943 กว่าการล้อมจะยุติก็วันที่ 27 มกราคม 1944 กินเวลา 872 วัน เป็นการล้อมที่ยาวนานและทำลายล้างสูงสุดในประวัติศาสตร์ และอาจเป็นการล้อมที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดด้ว.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และการล้อมเลนินกราด · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)

การล้อมเซวัสโตปอล ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การป้องกันที่เซวัสโตปอล (Оборона Севастополя, transliteration: Oborona Sevastopolya) หรือ ยุทธการที่เซวัสโตปอล (German: Schlacht um Sewastopol) เป็นการสู้รบทางทหารที่เกิดขึ้นบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพครั้งนี้เป็นการสู้รบโดยฝ่ายอักษะ อันได้แก่ เยอรมนี โรมาเนีย และอิตาลี เข้าปะทะกับสหภาพโซเวียตจากพื้นที่ควบคุมที่เซวัสโตปอล ท่าเรือในแหลมไครเมียบนทะเลดำ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และการล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942) · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน (Ritterkreuz des Eisernen Kreuzes) หรือเรียกอีกอย่างว่า กางเขนอัศวิน (Ritterkreuz) เป็นบำเหน็จความชอบขั้นสูงสุดในกองกำลังทหารและกึ่งทหารของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการมอบบำเหน็จนี้อย่างแพร่หลายด้วยสารพัดเหตุผล เช่น การนำทัพที่ยอดเยี่ยมของผู้บัญชาการ หรือความกล้าหาญในสมรภูมิของนายทหารระดับล่าง บำเหน็จนี้จะถูกมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ในสามเหล่าทัพของเวร์มัคท์ (''เฮร์'', ครีกซมารีเนอ และลุฟท์วัฟเฟอ) ตลอดจนสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส, กองแรงงานไรช์ และโฟล์คสชทูร์ม บำเหน็จนี้ถูกมอบไปมากกว่า 7,000 สำรับตลอดช่วงสงคราม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สถาปนาบำเหน็จนี้ขึ้นเมื่อ 1 กันยายน..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และกางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สตาลินกราด

ทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และยุทธการที่สตาลินกราด · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3

ทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 เป็นหนึ่งในการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่สอง.ปฏิบัติการโดยกองทัพกลุ่มตอนใต้ได้ต่อสู้รบกับกองทัพแดง,บริเวณรอบๆของเมืองคาร์คอฟ (ปัจจุบันคือคาร์คิฟ) ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ และ 15 มีนาคม ปี..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่คูสค์

ทธการที่คูสค์ (Курская битва, Битва на Курской дуге) เกิดขึ้นเมื่อกำลังเยอรมนีและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณย่านชานนครคูสค์ (Kursk) ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ 450 กิโลเมตร ในสหภาพโซเวียต ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และยุทธการที่คูสค์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาวาเรีย

ตการปกครองในรัฐบาวาเรีย บาวาเรีย (Bavaria) หรือ ไบเอิร์น (Bayern) เป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวบาวาเรีย 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน รัฐบาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิสรรเจ้า (Prince-elector) แต่งตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วง ค.ศ. 1806 - ค.ศ. 1918 บาวาเรียมีสถานะเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียต่อจากนั้นมากลายเป็นรัฐอิสระ (สาธารณรัฐ).

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และรัฐบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จอมพล

อมพล (Field Marshal) เป็นยศทหาร ซึ่งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยศสูงสุดในกองทัพบกที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกใช้ จอมพลเป็นยศที่สูงกว่าพลเอก.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และจอมพล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และประเทศเยอรมนีตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก

ล์ ลุดวิก ฮันส์ อันโทน ฟอน เบเนกเคินดอร์ฟ อุนด์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก (Paul Ludwig Hans Anton von Beneckendorff und von Hindenburg) รู้จักกันทั่วไปว่า เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก (2 ตุลาคม 1847 – 2 สิงหาคม 1934) เป็นจอมพล รัฐบุรุษและนักการเมืองชาวปรัสเซีย-เยอรมัน และเป็นประธานาธิบดีเยอรมนีคนที่สองตั้งแต่ปี 1925 ถึง 1934.

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: แอริช ฟอน มันชไตน์และเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เอริช ฟอน มันชไตน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »