โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แสงจักรราศี

ดัชนี แสงจักรราศี

แสงจักรราศี บนท้องฟ้าตะวันออกก่อนแสงอรุณยามเช้า ในภาพจะมองเห็นดาวศุกร์กับกระจุกดาวเปิด M44 ด้วย แสงจักรราศี (zodiacal light) คือแสงสว่างเรืองรองจางๆ เป็นโครงรูปสามเหลี่ยมหยาบๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้ายามค่ำคืนหลังจากที่แสงสนธยาของตะวันตกดินลับฟ้าไปแล้ว โดยปรากฏอยู่ในแนวเส้นสุริยวิถี ในเขตซีกโลกเหนือตอนกลางจะสามารถมองเห็นแสงจักรราศีได้ดีที่สุดในช่วงเย็นของฤดูใบไม้ผลิทางท้องฟ้าทิศตะวันตก หลังจากที่แสงอาทิตย์อัสดงจางหายไปหมด หรือในฤดูใบไม้ร่วงยามเช้ามืดทางท้องฟ้าตะวันออกก่อนที่แสงอรุณจะมาถึง แสงจักรราศีมีลักษณะจางมากเพราะมีแสงอื่นรบกวนเช่น แสงจันทร์ หรือมลภาวะทางแสงอื่นๆ ปรากฏการณ์นี้มีการสังเกตและตรวจสอบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1683 โดยนักดาราศาสตร์ชื่อ จิโอวานนี โดเมนิโก คาสสินี ต่อมาได้รับการอธิบายเป็นครั้งแรกโดย นิโคลัส ฟาชิโอ เดอ ดุยล์เลียร์ ในปี ค.ศ. 1684.

5 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2226พ.ศ. 2227ฤดูใบไม้ร่วงฤดูใบไม้ผลิสุริยวิถี

พ.ศ. 2226

ทธศักราช 2226 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แสงจักรราศีและพ.ศ. 2226 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2227

ทธศักราช 2227 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: แสงจักรราศีและพ.ศ. 2227 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ร่วง

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ใบไม้จะเริ่มเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง หรือ สีเหลืองหรือสีส้ม ขึ้นอยู่กับพรรณไม้ ก่อนที่ใบจะร่วงจากต้น ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) หรือ ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เป็นฤดูในเขตอบอุ่นและเขตหนาว โดยทั่วไป ฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 22 กันยายน ถึง 21 ธันวาคม ของทุกปี บใบไม้ร่วง.

ใหม่!!: แสงจักรราศีและฤดูใบไม้ร่วง · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ผลิ

ีสันแสนสวยงามในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) หรือที่เรียกกันว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) มีชื่อไทยว่า วสันตฤดู เป็นฤดูในเขตอบอุ่นและเขตหนาว มีสภาพอากาศปลอดโปร่ง โดยทั่วไป ฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี ในขณะที่ในซีกโลกใต้ จะมีระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน.

ใหม่!!: แสงจักรราศีและฤดูใบไม้ผลิ · ดูเพิ่มเติม »

สุริยวิถี

ริยวิถี (Ecliptic) คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5° เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ในระยะเวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมฟ้า สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัตและจุดศารทวิษุวัต เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก) จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน หากดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้.

ใหม่!!: แสงจักรราศีและสุริยวิถี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »