โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แร้งคอนดอร์แอนดีส

ดัชนี แร้งคอนดอร์แอนดีส

แร้งคอนดอร์แอนดีส (Andean condor, Condor) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกแร้ง จัดเป็นแร้งโลกใหม่ (Cathartidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Vultur แร้งคอนดอร์แอนดีส จัดเป็นแร้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จึงจัดเป็นนกล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และนับเป็นหนึ่งในนกที่บินได้ที่มีช่วงปีกกว้างที่สุดในโลก รองมาจากนกอัลบาทรอส เพราะมีช่วงปีกกางได้กว้างถึง 3 เมตร ขณะที่มีลำตัวยาว 1.2 เมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 14 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มที่ และถือเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปอเมริกาใต้ด้วย แร้งคอนดอร์แอนดีส มีความแตกต่างระหว่างเพศที่เห็นได้ชัด คือ ตัวผู้จะมีหงอนสีแดงสดและเหนียงยานต่าง ๆ ที่บนหัวและใต้คางหรือหลังหัวที่โล้นเลี่ยนปราศจากขน ซึ่งเหนียงเหล่านี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์บอกถึงความสง่างามและแข็งแกร่งของนกตัวผู้ ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีลักษณะดังกล่าว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในแถบเทือกเขาแอนดีสและที่ราบสูงปาตาโกเนีย ในทวีปอเมริกาใต้ โดยอาศัยและทำรังบนหน้าผาสูงในระดับนับร้อยหรือพันเมตรจากพื้นดิน มีระดับการบินที่สูงจากพื้นดิน ขณะที่สายตาก็สอดส่องมองหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ซากสัตว์ต่าง ๆ ที่ตายบนพื้นดิน เมื่อพบเจอซากสัตว์ แร้งคอนดอร์แอนดีสมักจะได้สิทธิกินซากก่อนนกหรือแร้งโลกใหม่ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ขณะที่แร้งคอนดอร์แอนดีสด้วยกันตัวอื่น ๆ แม้จะเจอซากสัตว์เหมือนกัน อาจมีการแย่งกินกันบ้าง แต่ก็ไม่รุนแรงเหมือนแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) และนกตัวผู้จะได้รับสิทธิให้กินก่อน ต่อจากนั้นก็จะตามมาด้วยนกตัวเมีย และนกวัยรุ่นหรือนกวัยอ่อน ซึ่งในนกวัยรุ่นอาจมีการดึงแย่งเศษซากชิ้นส่วนกันด้วย แร้งคอนดอร์แอนดีสเป็นนกที่มีอายุยืน อาจมีอายุได้ถึง 50-60 ปี เป็นนกที่จับคู่แบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต ทำรังบนหน้าผาสูง โดยวางไข่เพียงครั้งละ 1 ฟอง พ่อแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงลูกนานถึง 2 ปี เมื่อลูกนกฝึกบินจะเป็นพ่อและแม่นกที่ช่วยสอนลูก ขณะบิน แร้งคอนดอร์แอนดีส มีการอพยพย้ายถิ่นไปในสหรัฐอเมริกาและอเมริกากลางเช่นเดียวกับแร้งโลกใหม่ชนิดอื่น ๆ โดยจะบินอพยพไปพร้อม ๆ กันเป็นฝูงใหญ่ โดยมีการแวะพักในระหว่างทาง แร้งคอนดอร์แอนดีส เกือยจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติเมื่อปี..

16 ความสัมพันธ์: สมัยไพลโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับนกกระสาอันดับเหยี่ยวอันดับเหยี่ยวปีกแหลมทวีปอเมริกาใต้คาโรลัส ลินเนียสซานเตียโกปาตาโกเนียนกอัลบาทรอสแร้งแร้งโลกใหม่แร้งโลกเก่าเทือกเขาแอนดีส

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกกระสา

อันดับนกกระสา (Bittern, Ibis, Heron, Spoonbill, Stork) เป็นอันดับของนกจำพวกนกน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Ciconiiformes ประกอบด้วยนกน้ำตั้งแต่ขนาดเล็กถึงกลาง และขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ ขายาว ปากใหญ่ ได้แก่ นกกระสา, นกยาง, นกปากห่าง มีวิวัฒนาการเพื่อการดำรงชีวิตตามพื้นหาดทรายชายเลนและท้องทุ่งชายน้ำ พบกำเนิดในตอนปลายสมัยอีโอซีนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในประเทศไทยพบ 3 วงศ์ 36 ชนิด เดิมเคยมีวงศ์ในอันดับนี้มากกว่านี้ อาทิ นกปากซ่อม แต่ปัจจุบันแบ่งออกมาต่างหาก.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและอันดับนกกระสา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและอันดับเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยวปีกแหลม

อันดับเหยี่ยวปีกแหลม (Falconiformes) เป็นกลุ่มของนกมีประมาณ 290 สปีชีส์ ประกอบด้วย นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน การระบุนกล่าเหยื่อเป็นเรื่องยากและการถืออันดับมีหลายรูปแ.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและอันดับเหยี่ยวปีกแหลม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ซานเตียโก

ทือกเขาแอนดีสที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ เหนือย่านกลางกรุงซานเตียโก ซานเตียโกเดชีเล (Santiago de Chile) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศชิลี ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 520 เมตร (1,700 ฟุต) ในหุบเขาตอนกลางของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมหานครซานเตียโก แม้ว่าซานเตียโกจะเป็นเมืองหลวง แต่หน่วยงานราชการทางนิติบัญญัติกลับตั้งอยู่ใกล้กับเมืองบัลปาราอีโซ เกือบสามศตวรรษที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้เปลี่ยนให้ซานเตียโกเป็นเขตนครหลวงที่สมัยใหม่ที่สุดแห่งหนึ่งในลาตินอเมริกา พร้อม ๆ กับการพัฒนาเขตชานเมืองอย่างกว้างขวาง ศูนย์การค้าหลายสิบแห่ง และสถาปัตยกรรมที่น่าประทับใจ รวมทั้งมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของลาตินอเมริกาเป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น ซานเตียโกเมโทร (Santiago Metro) และระบบใหม่ "โกสตาเนรานอร์เต (Costanera Norte)" เป็นระบบขนส่งของย่านกลางกรุง เชื่อมระหว่างด้านตะวันออกสุดไปด้านตะวันตกสุดของเขตเมืองภายในเวลา 15 นาที นอกจากนี้ ซานเตียโกยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทสำคัญหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของภูมิภาคอีกด้ว.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและซานเตียโก · ดูเพิ่มเติม »

ปาตาโกเนีย

แผนที่ในปี ค.ศ. 1775 ปาตาโกเนีย (Patagonia) เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ปลายใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศอาร์เจนตินาและชิลี ประกอบด้วยบริเวณทางใต้ของเทือกเขาแอนดีส ไปถึงทางตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และส่วนตะวันออกของเทือกเขา ไปถึงหุบเขาตามแม่น้ำโคโลราโด ไปทางใต้จนถึงเมืองการ์เมนเดปาตาโกเนส บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนทางตะวันตกรวมถึงเมืองบัลดีเบียไปจนถึงกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก คำว่า ปาตาโกเนีย มาจากคำว่า ปาตากอน (patagón)Antonio Pigafetta, Relazione del primo viaggio intorno al mondo, 1524: "Il capitano generale nominò questi popoli Patagoni." The original word would probably be in Magellan's native Portuguese (patagão) or the Spanish of his men (patagón).

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและปาตาโกเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นกอัลบาทรอส

นกอัลบาทรอส (Albatrosses) เป็นนกทะเลขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ Diomedeidae กระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่าง ๆ ในเขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก (ดูในแผนที่) นกอัลบาทรอสจัดว่าเป็นนกที่บินได้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อกางปีกออก โดยอาจกว้างได้ถึง 3.5 เมตร ในกลุ่มนกอัลบาทรอสใหญ่ แม้แต่ขนาดเล็กที่สุดก็ยังกว้างได้ถึง 2 เมตร นกอัลบาทรอสจะบินอยู่ตลอดเวลา โดยสามารถบินได้ไกลถึงวันละ 15,000 กิโลเมตร เพียงเพื่อหาอาหารกลับมาเลี้ยงลูกเท่านั้น แต่เมื่อนกอัลบาทรอสอยู่บนพื้นดินแล้วกลับมีพฤติกรรมที่งุ่มง่าม เนื่องจากไม่ถนัดในการเดิน เพราะมีฝ่าตีนที่แผ่แบนเป็นพังผืดเหมือนตีนเป็ด นกอัลบาทรอสสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 60 ปีแต่ขยายพันธุ์ช้ามากจนเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ภายในศตวรรษหน้า ภัยคุกคามสำคัญของมันคือการทำประมงเบ็ดราวในแต่ละปี มีนกอัลบาทรอสกว่า 100,000 ตัวที่ตายเพราะติดสายเบ็ดที่วางไว้เป็นล้านๆ เพื่อจับปลาทูน.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและนกอัลบาทรอส · ดูเพิ่มเติม »

แร้ง

แร้งสีน้ำตาล (''Gyps indicus'') แร้ง หรือ อีแร้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและแร้ง · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกใหม่

แร้งโลกใหม่ (New world vulture) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Cathartidae โดยนกในวงศ์นี้จะพบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" เท่านั้น คือ ทวีปอเมริกา ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แร้งโลกใหม่ เป็นนกที่กินซากสัตว์เป็นอาหารเช่นเดียวกับแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) ที่พบในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป แต่ทว่ามีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือ แร้งโลกใหม่ในหลายชนิดจะหาอาหารด้วยการใช้ประสาทการดมกลิ่นแทนที่จะการมองเห็น เช่นเดียวกับแร้งโลก หรือนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น ๆ และทำให้การจัดอันดับของแร้งโลกใหม่นั้นไม่มีข้อยุติ โดยบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Accipitriformes เช่นเดียวกับนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แต่ในบางข้อมูลก็จัดให้อยู่ในอันดับ Ciconiiformes อันเป็นอันดับเดียวกับพวกนกกระสา โดยเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากนกกระสา หรือกระทั่งอยู่ในอันดับ Cathartiformes ซึ่งเป็นอันดับของตนเองไปเลยก็มี.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและแร้งโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกเก่า

แร้งโลกเก่า (Old world vulture) เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อในอันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Aegypiinae จัดเป็นแร้งจำพวกหนึ่ง นกในวงศ์ย่อยนี้ มีความแตกต่างไปจากนกจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ จะไม่กินสัตว์ที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่จะกินเฉพาะสัตว์ที่ตายไปแล้ว หรือซากสัตว์ มีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่ก็มีบางชนิดที่ชอบกินลูกปาล์ม ขนาดลำตัวและปีกเฉลี่ยแล้วนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นี้ วางไข่ทำรังบนหน้าผาสูงหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บนอยู่เหนือท้องฟ้า และมองหาอาหารด้วยสายตา ด้วยการบินวนเป็นวงกลม เมื่อร่อนลงเพื่อกินซาก อาจจะแย่งกันและส่งเสียงดังเอะอะกันในฝูง แต่เมื่อเวลาบินขึ้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และปีกที่กว้าง จำต้องวิ่งไปไกลถึง 20 ฟุต เหมือนเครื่งบินเวลาทะยานขึ้น และความเป็นสัตว์กินซา่ก แร้งโลกเก่าจึงเป็นนกที่ใช้เวลานอกเหนือจากการกินอาหารไซ้ขน รวมทั้งกางปีก ผึ่งแดด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในช่วงฤดูหนาวมีการอพยพลงซีกโลกทางใต้เพื่อหนีหนา่ว ปัจจุบัน แร้งโลกเก่าหลายชนิดอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ทำให้จำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน ในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ แร้ง - ชีวิตพิศดารของสัตว์ (๒) โดย ประพันธ์ บุญกลิ่นขจร: ต่วยตูน เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๐ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙ ไข่ของแร้งโลกเก.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและแร้งโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอนดีส

ทือกเขาแอนดีสระหว่างชิลีและอาร์เจนตินา right เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาที่วางตัวขนานกับด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก พาดผ่าน 7 ประเทศตั้งแต่ เวเนซุเอลา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา และชิลี เทือกเขาเกิดจากแนวรอยปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นปะทะกันเป็นเวลานานหลายล้านปี โดยแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้กดทับแผ่นเปลือกโลกนาซกา โดยแนวเทือกเขาแอนดิสจะมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีและมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาอากอนกากัว เทือกเขาแอนดิสบริเวณประเทศโบลิเวียมีที่ราบสูงที่ชาวโบลีเวียเรียกว่า อัลติพลาโน (altiplano) หรือที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศโบลิเวียชื่อลาปาซซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก และบริเวณที่ราบสูงโบลิเวียนี้ก็เป็นที่ตั้งของทะเลสาบติติกากาซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่างประเทศเปรูกับประเทศโบลิเวีย และได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกด้วย แนวเขาในเขตประเทศเปรูเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำอเมซอนที่ความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาแอนดิสเป็นที่ราบเชิงเขาอยู่เขตรอยต่อระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศชิลี และเรียกบริเวณนั้นว่าที่ราบสูงปาตาโกเนีย บริเวณเทือกเขาแอนดีนั้นเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรอินคา และเป็นแหล่งกำเนิดของตัวลาม.

ใหม่!!: แร้งคอนดอร์แอนดีสและเทือกเขาแอนดีส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Andean condorVulturVultur gryphusแร้งคอนดอร์แอนดีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »