โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แรงเคลื่อนไฟฟ้า

ดัชนี แรงเคลื่อนไฟฟ้า

แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Electromotive force) หรือที่เรียกว่า emf (สัญญลักษณ์ \mathcal และมีค่าเป็นโวลต์) เป็นแรงดันไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมาจากแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าใด ๆ เช่นแบตเตอรี่หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยทั่วไปมันจะถูกกำหนดให้เป็นศักย์ไฟฟ้าสำหรับแหล่งจ่ายไฟในวงจร อุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าจะถูกเรียกว่าแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้า (bed of emf) หรือ emf.

31 ความสัมพันธ์: ศักย์ของกัลวานีศักย์ไฟฟ้าศูนย์สัมบูรณ์สมดุลทางอุณหพลศาสตร์สนามแม่เหล็กของโลกสนามไฟฟ้าหม้อแปลงไฟฟ้าอาเลสซานโดร โวลตาอิเล็กโทรดอิเล็กโทรไลต์อิเล็กโตรเนกาทิวิตีจูลคูลอมบ์คู่ควบความร้อนงานปฏิกิริยารีดอกซ์ประสิทธิภาพควอนตัมประจุไฟฟ้านิวตัน (หน่วย)แบตเตอรี่แรงแหล่งจ่ายไฟโฟตอนโวลต์ไมเคิล ฟาราเดย์เอนโทรปีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเซลล์กัลวานีเซลล์แสงอาทิตย์เซลล์ไฟฟ้าเคมีเซลล์เชื้อเพลิง

ศักย์ของกัลวานี

ักย์ของกัลวานี (Galvani potential) (หรือความต่างศักย์ของกัลวานี, หรือความต่างศักย์ภายใน, Δφ, delta phi) ในสาขาไฟฟ้าเคมีเป็นความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างสองจุดในกลุ่มของสองสถานะ สถานะเหล่านี้สามารถเป็นของแข็งสองชนิดที่แตกต่างกัน (เช่นโลหะสองชนิดเชื่อมต่อกัน), หรือของแข็งหนึ่งชนิดและของเหลวหนึ่งชนิด (เช่นขั้วไฟฟ้าชนิดหนึ่งแช่อยู่ในอิเล็กโทรไลต์ชนิดหนึ่ง) โดยทั่วไป ความต่างศักย์ของกัลวานีจะสามารถวัดได้เมื่อสองสถานะนั้นมีส่วนผสมทางเคมีที่เหมือนกันเท่านั้น ศักย์ของกัลวานีได้รับการตั้งชื่อตามนายลุยจี กัลวานี.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและศักย์ของกัลวานี · ดูเพิ่มเติม »

ศักย์ไฟฟ้า

ักย์ไฟฟ้า (electric potential) (ยังถูกเรียกว่า ศักย์สนามไฟฟ้าหรือศักย์ไฟฟ้าสถิต) เป็นปริมาณของพลังงานศักย์ไฟฟ้าที่ประจุไฟฟ้าที่จุดหนึ่งเดียวนั้นจะพึงมีถ้ามันถูกมองหาตำแหน่งที่จุดใดจุดหนึ่งในที่ว่าง และมีค่าเท่ากับงานที่ถูกกระทำโดยสนามไฟฟ้าหนึ่งในการเคลื่อนย้ายหนึ่งหน่วยของประจุบวกจากที่ห่างไกลไม่สิ้นสุด (infinity) มาที่จุดนั้น ในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าแบบคลาสสิก ศักย์ไฟฟ้าเป็นปริมาณสเกลาร์แสดงโดย, หรือ มีค่าเท่ากับพลังงานศักย์ไฟฟ้า(มีหน่วยเป็นจูล)ของอนุภาคที่มีประจุใด ๆ ที่ตำแหน่งใด ๆ หารด้วยประจุ(มีหน่วยเป็นคูลอมบ์)ของอนุภาคนั้น เมื่อประจุของอนุภาคได้ถูกหารออกไป ส่วนที่เหลือจึงเป็น "คุณสมบัติ" ของตัวสนามไฟฟ้าเอง ค่านี้สามารถคำนวณได้ในสนามไฟฟ้าที่คงที่(เวลาไม่เปลี่ยน)หรือในสนามไฟฟ้าแบบไดนามิก(เปลี่ยนไปตามเวลา)ในเวลาที่กำหนด และมีหน่วยเป็นจูลต่อคูลอมบ์, หรือ volts ศักย์ไฟฟ้าที่อินฟินิตี้สมมติว่ามีค่าเป็นศูนย์ ศักย์ไฟฟ้าเป็นปริมาณสเกลาร์ เพราะศักย์ไฟฟ้าเป็นพลังงานต่อหนึ่งหน่วยประจุเนื่องจากพลังงานศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นจูล (J) ประจุมีหน่วยเป็นคูลอมบ์ (C) ศักย์ไฟฟ้าจึงมีหน่วยเป็น จูลต่อคูบอมบ์ ซึ่งเรียกว่า โวลต์ (V)            ในกรณีสนามโน้มถ่วงของโลก พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ตำแหน่งต่างๆ ขึ้นกับความสูงของวัตถุเมื่อเทียบกับระดับอ้างอิง ซึ่งจะอยู่ที่ระดับดำก็ได้แล้วแต่จะกำหนด และให้ระดับอ้างอิงนี้มีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นศูนย์ ในการหาพลังงานศักย์ไฟฟ้าของประจุที่ตำแหน่งต่างๆ ก็ต้องกำหนดระดับอ้างอิงเช่นกัน นอกจากนี้ศักย์ไฟฟ้าแบบสเกลล่าร์ทั่วไปยังถูกใช้ในระบบ electrodynamics เมื่อสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาปรากฎอยู่ แต่ศักย์ไฟฟ้าทั่วไปนี้ไม่สามารถคำนวนออกมาง่าย ๆ ศักย์ไฟฟ้าและศักย์เวกเตอร์แม่เหล็กรวมเข้าด้วยกันเป็นสี่เวกเตอร์ เพื่อที่ว่าทั้งสองชนิดของศักย์จะถูกนำมาผสมกันภายใต้ Lorentz transformations.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์สัมบูรณ์

ูนย์สัมบูรณ์ (Absolute zero) คืออุณหภูมิในทางทฤษฎีที่เอนโทรปีจะมีค่าต่ำที่สุด ซึ่งเท่ากับ 0 เคลวิน หรือ −273.15 องศาเซลเซียส (−459.67 องศาฟาเรนไฮต์) ในการตีความดั้งเดิม ศูนย์สัมบูรณ์เป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารไม่มีพลังงานจลน์ แต่ปัจจุบันถือว่าพลังงานจลน์ที่สถานะพื้นไม่สามารถทำให้หายไปได้ ศูนย์สัมบูรณ์เป็นอุณหภูมิที่อนุภาคทุกชนิดหยุดการเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิงตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม ดังนั้นศูนย์สัมบูรณ์จึงน่าจะเป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารสั่นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งอาจไม่ต้องพิจารณาปริมาตรของแก๊ส ณ อุณหภูมินี้ เพราะแก๊สจะกลายเป็นของเหลวไปก่อนที่อุณหภูมิจะลดลงถึงตำแหน่งนี้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติยังไม่สามารถสร้างสภาพศูนย์สัมบูรณ์ขึ้นมาได้จริง หมวดหมู่:อุณหภูมิ หมวดหมู่:ความเย็น อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามกาประเทศไทย บายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ อุณหพลศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก ซึ่งกำหนดขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนฟิสิกส์สถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและศูนย์สัมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมดุลทางอุณหพลศาสตร์

ทั่วไปเมื่อระบบทางอุณหพลศาสตร์สองระบบสัมผัสกันจะมีการแลกเปลี่ยนพลังงานต่อกันและกัน ภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamical equilibrium) เกิดขึ้นเมื่อทั้งสองระบบไม่มีการถ่ายทอดพลังงานกันอีกแล้ว หรือเราอาจนิยามให้หมายถึงสภาวะที่ระบบอุณหพลศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุลทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมดุลทางกลศาสตร์ สมดุลทางไฟฟ้า สมดุลทางเคมี หรือสมดุลทางอุณหภูมิ เป็นต้น อนึ่ง ภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์นี้ เป็นนิยามสำคัญในกฎข้อที่ 0 ของอุณหพลศาสตร.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สนามแม่เหล็กของโลก

วามแตกต่างระหว่างขั้วแม่เหล็กเหนือ กับขั้วโลกเหนือแท้จริง สนามแม่เหล็กของโลก The Earth’s magnetic field (และสนามแม่เหล็กพื้นผิว) เป็นแม่เหล็กสองขั้วชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขั้วด้านหนึ่งอยู่ใกล้ตำแหน่งขั้วโลกเหนือ (ดู ขั้วแม่เหล็กเหนือ) และขั้วอีกด้านหนึ่งอยู่ใกล้ตำแหน่งขั้วโลกใต้ (ดู ขั้วแม่เหล็กใต้) เส้นที่เชื่อมระหว่างขั้วแม่เหล็กทั้งสองด้านมีความเอียงประมาณ 11.3° กับแกนการหมุนของโลก สาเหตุของการเกิดสนามแม่เหล็กให้ดูในทฤษฎีไดนาโม (dynamo theory) สนามแม่เหล็กนี้แผ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แม้จะมีความเข้มสนามอ่อนลงเรื่อยๆ เมื่ออยู่ห่างจากแหล่งกำเนิด ขอบเขตสนามแม่เหล็กของโลกแผ่ออกไปครอบคลุมเนื้อที่หลายหมื่นกิโลเมตรในห้วงอวกาศ มีชื่อเรียกว่า แมกนีโตสเฟียร์ สนามแม่เหล็กโลกเป็นรูปทรงรีไม่สมมาตร อิทธิพลของลมสุริยะทำให้ด้านที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มีความกว้างน้อยกว่าด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลกไม่ใช่สิ่งคงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้ม และมีการสลับขั้วเหนือ-ใต้ในช่วงเวลาห่าง ตั้งแต่หลายหมื่นปีไปจนถึงหลายล้านปี โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 250,000 ปี ในปัจจุบันสนามแม่เหล็กโลกอยู่ในช่วงที่มีกำลังอ่อน สนามแม่เหล็กโลกเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เอื้ออำนวยในการดำรงชีวิต หากปราศจากสนามแม่เหล็กโลกแล้ว อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์และอวกาศ จะพุ่งชนพื้นผิวโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของโลก · ดูเพิ่มเติม »

สนามไฟฟ้า

นามไฟฟ้า (electric field) คือปริมาณซึ่งใช้บรรยายการที่ประจุไฟฟ้าทำให้เกิดแรงกระทำกับอนุภาคมีประจุภายในบริเวณโดยรอบ หน่วยของสนามไฟฟ้าคือ นิวตันต่อคูลอมบ์ หรือโวลต์ต่อเมตร (มีค่าเท่ากัน) สนามไฟฟ้านั้นประกอบขึ้นจากโฟตอนและมีพลังงานไฟฟ้าเก็บอยู่ ซึ่งขนาดของความหนาแน่นของพลังงานขึ้นกับกำลังสองของความหนานแน่นของสนาม ในกรณีของไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าประกอบขึ้นจากการแลกเปลี่ยนโฟตอนเสมือนระหว่างอนุภาคมีประจุ ส่วนในกรณีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสนามแม่เหล็ก โดยมีการไหลของพลังงานจริง และประกอบขึ้นจากโฟตอนจริง.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและสนามไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

หม้อแปลงไฟฟ้า

รงสร้างหลักของแม่เหล็กไฟฟ้า หม้อแปลง หรือหม้อแปลงไฟฟ้า (transformer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานจากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกวงจรโดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติจะใช้เชื่อมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่ำ หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์หลักในระบบส่งกำลังไฟฟ้.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อาเลสซานโดร โวลตา

Alessandro Volta อาเลสซานโดร จูเซปเป อันโตนิโอ อนาสตาซิโอ โวลตา (Alessandro Giuseppe Antonio Anastasio Volta; 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 — 5 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นนักฟิสิกส์ชาวลอมบาร์ดี ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าคิดค้นแบตเตอรี (เซลล์ไฟฟ้าเคมี) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1800 อาเลสซานโดร เป็นผู้บุกเบิกการผลิตไฟฟ้าและพลังงานซึ่งเป็นเครดิตในฐานะ ผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้าและผู้ค้นพบก๊าซมีเทน เขาได้คิดค้นกองเชื้อเพลิงในปี..

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและอาเลสซานโดร โวลตา · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโทรด

อิเล็กโทรด/ลวดเชื่อมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์ค อิเล็กโทรด หรือ ขั้วเชื่อม หรือ ลวดเชื่อม หรือ ขั้วไฟฟ้า (Electrode) เป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อใช้แนบกับส่วนที่ไม่ใช่โลหะของวงจรไฟฟ้า (เช่น สารกึ่งตัวนำ อิเล็กโทรไลต์ สุญญากาศ หรืออากาศ) อิเล็กโทรดเป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ วิลเลียม ฮิวเอ็ลล์ ตามคำของไมเคิล ฟาราเดย์ ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า elektron ซึ่งจริง ๆ แปลว่า อำพัน แต่นำมาอนุพัทธ์ใช้หมายถึงไฟฟ้า บวกกับคำว่า hodos ซึ่งแปลว่าทาง.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและอิเล็กโทรด · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโทรไลต์

อิเล็กโทรไลต์คือสารที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนอิสระเมื่อละลายน้ำหรือหลอมเหลว ทำให้สามารถนำไฟฟ้าได้เนื่องจากโดยทั่วไป สารละลายนั้นจะประกอบไปด้วยไออนจึงมักเรียกกันว่า สารละลายไอออนิก ในบางครั้งอาจเรียกสั้นๆ ว่า ไลต์ โดยปกติแล้วอิเล็กโทรไลต์จะอยู่ในรูปของกรด เบส หรือเกลือ นอกจากนี้ แก๊สบางชนิดอาจทำตัวเป็นอิเล็กโทรไลต์ได้ภายใต้อุณหภูมิสูงและความดันต่ำ การจำแนกอิเล็กโทรไลต์ออกเป็นอิเล็กโทรไลต์เข้มข้นหรือเจือจางสามารถจำแนกได้จากความเข้มข้นของไอออน ถ้าความเข้มข้นมาก จะเรียกว่า อิเล็กโทรไลต์เข้มข้น แต่ถ้ามีความเข้มข้นของไอออนน้อยจะเรียกว่า อิเล็กโทรไลต์เจือจาง ถ้าสัดส่วนการแตกตัวเป็นไอออนของสารใดมีมาก จะเรียกว่าอิเล็กโทรไลต์แก่ แต่ถ้าสัดส่วนนั้นน้อย(ส่วนใหญ่ไม่แตกตัวเป็นไอออน) จะเรียกว่าอิเล็กโทรไลต์อ่อน.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโตรเนกาทิวิตี

อิเล็กโตรเนกาติวิตี (อังกฤษ: Electronegativity,::\chi) เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถของอะตอมในการที่จะดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองเมื่อเกิดพันธะเคมี (chemical bond) ทั้งนี้ มีการเสนอวิธีการแสดงอิเล็กโตรเนกาทิวิตีหลายวิธี อาทิ เพาลิง สเกล (Pauling scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1932 มูลลิเกน สเกล (Mulliken scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1934 และ ออลล์เรด-โรโชสเกล (Allred-Rochow scale).

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและอิเล็กโตรเนกาทิวิตี · ดูเพิ่มเติม »

จูล

ูล (joule; สัญลักษณ์ J) เป็นหน่วยเอสไอ ของ พลังงาน, หรือ งาน ใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ที่ชื่อ เจมส์ เพรสคอตต์ จูล (James Prescott Joule-พ.ศ. 2361–2432).

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและจูล · ดูเพิ่มเติม »

คูลอมบ์

ูลอมบ์ (coulomb ย่อ: C)ในวงการวิทยาศาสตร์ (และสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา) นิยมใช้ คูลอมบ์ แบบภาษาอังกฤษ ไม่นิยมอ่าน กูลง แบบภาษาฝรั่งเศส โปรดดู และเอกสารวิชาการอื่นประกอบ เป็นหน่วยวัดประจุไฟฟ้าในระบบหน่วยระหว่างประเทศ ตั้งชื่อตา่มชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลงหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสของราชบัณฑิตยสภา โดยสำนักศิลปศาสตร์ ฉบั..2554 และ 2535 ถอดรูปตรงกัน นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศให้คำนิยามไว้ว่า หนึ่งคูลอมบ์ คือปริมาณประจุไฟฟ้าที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าหนึ่งแอมแปร์คูณด้วยเวลาหนึ่งวินาที นอกจากนี้ หนึ่งคูลอมบ์ยังหมายถึงประจุไฟฟ้าที่สะสมในตัวเก็บประจุซึ่งมีความจุ 1 ฟารัด และวางต่อคร่อมความต่างศักย์ 1 โวลต์ ปริมาณประจุไฟฟ้า 1 C มีค่าเท่ากับจำนวนโปรตอน ตัว หรือ mol ส่วน −1 C มีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน ตัว.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและคูลอมบ์ · ดูเพิ่มเติม »

คู่ควบความร้อน

คู่ควบความร้อน ต่อกับมัลติมิเตอร์ แสดงอุณหภูมิห้องในแบบองศาเซลเซียส คู่ควบความร้อน (thermocouple) เป็นอุปกรณ์วัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย โลหะ 2 ชนิดนำมาสัมผัสกันมากกว่า 1 จุด และเมื่อจุดสัมผัสเหล่านั้นมีอุณหภูมิแตกต่างกัน จะเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าขึ้น โดยแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะเพิ่มตามความต่างของอุณหภูมิ คู่ควบความร้อนสามารถใช้วัดอุณหภูมิได้ช่วงกว้าง และทนอุณหภูมิได้สูง ราคาถูก แต่มีความแม่นยำไม่มากนัก (ไม่สามารถวัดได้ละเอียดกว่าระดับองศาเซลเซียส) จึงนิยมใช้วัดอุณหภูมิในเตาเผา, เครื่องยนต์กังหันแก๊ส, เครื่องยนต์ดีเซล หรือกระบวนการอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในสวิตช์อุณหภูมิในบ้านและสำนักงาน หมวดหมู่:เทอร์มอมิเตอร์.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและคู่ควบความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

งาน

งาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและงาน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยารีดอกซ์

ปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยารีดอกซ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือปฏิกิริยารีดักชั่น (reduction) และปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นปฏิกิริยาเกี่ยวกับการรับส่งอิเล็กตรอน แบ่งได้เป็น 2 ครึ่งปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เป็นปฏิกิริยาที่เสียอิเล็กตรอน และปฏิกิริยารีดักชั่น เป็นปฏิกิริยาที่รับอิเล็กตรอน.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและปฏิกิริยารีดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสิทธิภาพควอนตัม

กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพควอนตัมด้วยความยาวคลื่นของชิป CCD ในกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2 ประสิทธิภาพควอนตัม (อังกฤษ: quantum efficiency) (QE) หรือ อุบัติการณ์โปรตอนถูกแปลงไปเป็นอิเล็กตรอนตามอัตราส่วน (IPCE) คือ ปริมาณที่บ่งบอกถึงความไวต่อการรับแสงของอุปกรณ์ เช่น ฟิลม์สำหรับถ่ายภาพ หรือ อุปกรณ์สำหรับชาร์จประจุไฟฟ้าคู่ควบ (CCD) โดยที่เปอร์เซ็นต์ของโฟตอนของแสงที่พุ่งเข้าชนพื้นผิวที่ไวต่อปฏิกิริยาซึ่งจะทำให้เกิดขั้วคู่ โฮล-อิเล็กตรอนขึ้น มันคือการตรวจวัดความแม่นยำเที่ยงตรงของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่มีความไวต่อแสง เนื่องจากพลังงานของโฟตอนขึ้นอยู่กับ (ความถูกต้องเที่ยงตรงกว่า, ได้สัดส่วนพอเหมาะกับ) ความยาวคลื่นของตัวมันเอง, QE จะถูกใช้บ่อย ๆ ในการวัดเกินกว่าในย่านของความแตกต่างของความยาวคลื่นเพื่อแสดงคุณลักษณะพิเศษของค่าประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่มีต่อแต่ละค่าระดับพลังงานของโฟตอน QE สำหรับโฟตอนที่มีพลังงานต่ำกว่าช่องว่างพลังงานนั้นจะมีค่าเป็นศูนย์ ฟิล์มถ่ายภาพโดยทั่วไปแล้วจะมีค่า QE น้อยกว่า 10%, ในขณะที่ CCDs สามารถมี QE ดีกว่า 90% ในบางช่วงของความยาวคลื่น.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและประสิทธิภาพควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

ประจุไฟฟ้า

นามไฟฟ้า ของประจุไฟฟ้าบวกและลบหนึ่งจุด ประจุไฟฟ้า เป็น คุณสมบัติทางฟิสิกส์ ของ สสาร ที่เป็นสาเหตุให้มันต้องประสบกับ แรง หนึ่งเมื่อมันถูกวางอยู่ใน สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าแบ่งออกเป็นสองประเภท: บวก และ ลบ ประจุเหมือนกันจะผลักกัน ประจุต่างกันจะดึงดูดกัน วัตถุจะมีประจุลบถ้ามันมี อิเล็กตรอน เกิน, มิฉะนั้นจะมีประจุบวกหรือไม่มีประจุ มีหน่วย SI เป็น คูลอมบ์ (C) ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, มันเป็นธรรมดาที่จะใช้ แอมแปร์-ชั่วโมง (Ah) และใน สาขาเคมี มันเป็นธรรมดาที่จะใช้ ประจุมูลฐาน (e) เป็นหน่วย สัญลักษณ์ Q มักจะหมายถึงประจุ ความรู้ช่วงต้นว่าสสารมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรในขณะนี้ถูกเรียกว่า ไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (classical electrodynamics) และยังคงถูกต้องสำหรับปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องมีการพิจารณาถึง ผลกระทบควอนตัม ประจุไฟฟ้า เป็น คุณสมบัติแบบอนุรักษ์ พื้นฐานของ อนุภาคย่อยของอะตอม บางตัวที่กำหนด ปฏิสัมพันธ์ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ของพวกมัน สสารที่มีประจุไฟฟ้าจะได้รับอิทธิพลจาก สนามแม่เหล็กไฟฟ้า และก็ผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นเองได้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นแหล่งที่มาของ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ แรงพื้นฐาน (อ่านเพิ่มเติมที่: สนามแม่เหล็ก) การทดลองเรื่องหยดน้ำมัน ในศตวรรษที่ยี่สิบได้แสดงให้เห็นว่า ประจุจะถูก quantized; นั่นคือ ประจุของวัตถุใด ๆ จะมีค่าเป็นผลคูณที่เป็นจำนวนเต็มของหน่วยเล็ก ๆ แต่ละตัวที่เรียกว่า ประจุมูลฐาน หรือค่า e (เช่น 0e, 1e, 2e แต่ไม่ใช่ 1/2e หรือ 1/3e) e มีค่าประมาณเท่ากับ (ยกเว้นสำหรับอนุภาคที่เรียกว่า ควาร์ก ซึ่งมีประจุที่มีผลคูณที่เป็นจำนวนเต็มของ e/3) โปรตอน มีประจุเท่ากับ +e และ อิเล็กตรอน มีประจุเท่ากับ -e การศึกษาเกี่ยวกับอนุภาคที่มีประจุและการปฏิสัมพันธ์ของพวกมันจะถูกไกล่เกลี่ยโดย โฟตอน ได้อย่างไรจะเรียกว่า ไฟฟ้าพลศาสตร์ควอนตัม.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและประจุไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

นิวตัน (หน่วย)

นิวตัน (สัญลักษณ์: N) ในวิชาฟิสิกส์ เป็นหน่วยเอสไอของแรง ชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นตามชื่อของเซอร์ไอแซก นิวตัน เพื่อระลึกถึงผลงานของเขาในสาขาฟิสิกส์แบบฉบับ หน่วยนี้มีการใช้เป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก General Conference on Weights and Measures (CGPM) ให้เป็นชื่อหน่วยเอ็มเคเอสของแรงจนกระทั้วปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แรง 1 นิวตัน คือแรงที่ทำให้วัตถุมวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 1 เมตร / วินาที2 ในทิศของแรงนั้น  นิวตันเป็นหน่วยเอสไออนุพันธ์ ซึ่งประกอบขึ้นจากหน่วยเอสไอหลัก kg × m × s-2 ดังนั้นจะได้: \mathrm.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและนิวตัน (หน่วย) · ดูเพิ่มเติม »

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ (Battery) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่มี ขั้วบวก (cathode) และ ขั้วลบ (anode) ขั้วที่มีเครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้าที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า "แบตเตอรี่" หมายถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว แบตเตอรี่ปฐมภูมิจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวหรือ "ใช้แล้วทิ้ง"; วัสดุที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในช่วงปล่อยประจุออก (discharge) ตัวอย่างที่พบบ่อยก็คือ แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ที่ใช้สำหรับ ไฟฉาย และอีกหลายอุปกรณ์พกพา แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (แบตเตอรี่ประจุใหม่ได้) สามารถดิสชาร์จและชาร์จใหม่ได้หลายครั้ง ในการนี้องค์ประกอบเดิมของขั้วไฟฟ้าสามารถเรียกคืนสภาพเดิมได้โดยกระแสย้อนกลับ ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ตะกั่วกรด ที่ใช้ในยานพาหนะและแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนย้ายได้ แบตเตอรี่มาในหลายรูปทรงและหลายขนาด จากเซลล์ขนาดเล็กที่ให้พลังงานกับ เครื่องช่วยฟัง และนาฬิกาข้อมือ จนถึงแบตเตอรี่แบงค์ที่มีขนาดเท่าห้องที่ให้พลังงานเตรียมพร้อมสำหรับ ชุมสายโทรศัพท์ และ ศูนย์ข้อมูล คอมพิวเตอร์ ตามการคาดการณ์ในปี 2005 อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสร้างมูลค่า 48 พันล้านดอลาร์สหรัฐในการขายในแต่ละปี ด้วยการเจริญเติบโตประจำปี 6% แบตเตอรี่มีค่า พลังงานเฉพาะ (พลังงานต่อหน่วยมวล) ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับ เชื้อเพลิง ทั้งหลาย เช่นน้ำมัน แต่ก็สามารถชดเชยได้บ้างโดยประสิทธิภาพที่สูงของมอเตอร์ไฟฟ้าในการผลิตงานด้านกลไกเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์สันดาป.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและแบตเตอรี่ · ดูเพิ่มเติม »

แรง

ในทางฟิสิกส์ แรง คือ อันตรกิริยาใด ๆ เมื่อไม่มีการขัดขวางแล้วจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุไป แรงที่สามารถทำให้วัตถุซึ่งมีมวลเปลี่ยนแปลงความเร็ว (ซึ่งรวมทั้งการเคลื่อนที่จากภาวะหยุดนิ่ง) กล่าวคือ ความเร่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน แรงยังอาจหมายถึงการผลักหรือการดึง แรงเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดหรือทิศทาง วัดได้ในหน่วยของนิวตัน โดยใช้สัญลักษณ์ทั่วไปเป็น F ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน กล่าวว่าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับอัตราของโมเมนตัมที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ถ้ามวลของวัตถุเป็นค่าคงตัว จากกฎข้อนี้จึงอนุมานได้ว่าความเร่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุในทิศทางของแรงลัพธ์และเป็นสัดส่วนผกผันกับมวลของวัตถุ แนวคิดเกี่ยวกับแรง ได้แก่ แรงขับซึ่งเพิ่มความเร็วของวัตถุให้มากขึ้น แรงฉุดซึ่งลดความเร็วของวัตถุ และทอร์กซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการหมุนของวัตถุ ในวัตถุที่มีส่วนขยาย แรงที่ทำกระทำคือแรงที่กระทำต่อส่วนของวัตถุที่อยู่ติดกัน การกระจายตัวของแรงดังกล่าวเป็นความเครียดเชิงกล ซึ่งไม่ทำให้เกิดความเร่งของวัตถุมื่อแรงสมดุลกัน แรงที่กระจายตัวกระทำบนส่วนเล็ก ๆ ของวัตถุอาจเรียกได้ว่าเป็นความดัน ซึ่งเป็นความเคลียดอย่างหนึ่งและถ้าไม่สมดุลอาจทำให้วัตถุมีความเร่งได้ ความเครียดมักจะทำให้วัตถุเกิดการเสียรูปของวัตถุที่เป็นของแข็งหรือการไหลของของไหล.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและแรง · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งจ่ายไฟ

รูปแสดงแหล่งจ่ายไฟแบบหลอดสูญญากาศ แขวนบนแร็ค ปรับได้ ทำงานที่ +/- 1500 volts DC, 0 to 100mA output, สามารถจำกัดกระแสได้ แหล่งจ่ายไฟ (Power supply)เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดไฟฟ้.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและแหล่งจ่ายไฟ · ดูเพิ่มเติม »

โฟตอน

ฟตอน (Photon) หรือ อนุภาคของแสง เป็นการพิจารณาแสงในลักษณะของอนุภาค เนื่องจากในทางฟิสิกส์นั้น คลื่นสามารถประพฤติตัวเหมือนอนุภาคเมื่ออยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ซึ่งในทางตรงกันข้ามอนุภาคก็แสดงสมบัติของคลื่นได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นคุณสมบัติทวิภาคของคลื่น-อนุภาค (wave–particle duality) ดังนั้นเมื่อพิจารณาแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะอนุภาค อนุภาคนั้นถูกเรียกว่า โฟตอน ทั้งนี้การพิจารณาดังกล่าวเกิดจากการศึกษาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่โลหะปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาเมื่อถูกฉายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างเช่น รังสีเอกซ์ (X-ray) อิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยออกมาถูกเรียกว่า โฟโตอิเล็กตรอน (photoelectron) ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hertz Effect ตามชื่อของผู้ค้นพบ คือ นาย ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ โฟตอนมีปฏิยานุภาค คือ ปฏิโฟตอน (Anti-Photon) ซึ่งมีสปินเหมือนอนุภาคต้นแบบทุกประการ โฟตอนจึงเป็นปฏิยานุภาคของตัวมันเอง.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและโฟตอน · ดูเพิ่มเติม »

โวลต์

วลต์ (สัญลักษณ์: V) คือหน่วยอนุพันธ์ในระบบเอสไอของความต่างศักย์ไฟฟ้า ปริมาณที่กำกับด้วยหน่วยโวลต์นั้นคือผลการวัดความเข้มของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในแง่ที่ว่าจะสร้างพลังงานได้เท่าใดที่ระดับกระแสค่าหนึ่ง ๆ โวลต์ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อาเลสซันโดร วอลตา (พ.ศ. 2288 - 2370) ผู้คิดค้นแบตเตอรี่เคมีชนิดแรกที่เรียกว่าเซลล์โวลตาอิก (Voltaic Pile) โวลท์ (volt หรือ V) คือ หน่วยที่ใช้เรียกเพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลท์ (ประเทศไทยใช้ไฟระบบนี้) 1 โวลต์ (V).

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและโวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมเคิล ฟาราเดย์

มเคิล ฟาราเดย์ (22 กันยายน ค.ศ. 1791 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1867) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นไดนาโมในปี..

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและไมเคิล ฟาราเดย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนโทรปี

การละลายของน้ำแข็งในน้ำ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปีของน้ำแข็ง ซึ่งเดิมมีโมเลกุลเรียงอยู่กับที่ มาเป็นโมเลกุลเคลื่อนที่ไปมาภายในแก้ว เอนโทรปี (entropy) มาจากภาษากรีก εν (en) แปลว่าภายใน รวมกับ τρέπω (trepo) แปลว่า ไล่ หนี หรือ หมุน ถือเป็นหัวใจของกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้ความแตกต่างของ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ แรงดัน ความหนาแน่น หรือค่าอื่น ๆ ในระบบค่อย ๆ น้อยลงจนกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งต่างจากกฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงการอนุรักษ์พลังงาน เอนโทรปีเป็นจำนวนซึ่งใช้อธิบายระบบอุณหพลศาสตร์ เมื่อมองในระดับโมเลกุล กระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวที่ไม่เป็นระเบียบมากขึ้น สามารถแทนได้ด้วยค่าเอนโทรปีที่เพิ่มขึ้น ในการคำนวณ นิยมใช้สัญลักษณ์ S ซึ่งนิยามจากสมการดิฟเฟอเรนเซียล dS.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและเอนโทรปี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

รื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำที่ทันสมัยของสหรัฐฯ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เครื่องปั่นไฟ (electric generator) คืออุปกรณ์ที่แปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ดังกล่าวจะบังคับกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านวงจรภายนอก แหล่งที่มาของพลังงานกลอาจจะเป็นลูกสูบหรือเครื่องยนต์กังหันไอน้ำ หรือแรงน้ำตกผ่านกังหันน้ำหรือล้อน้ำ หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือกังหันลม หรือข้อเหวี่ยงมือ หรืออากาศอัด หรือแหล่งพลังงานกลอื่นๆ โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นจะเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายเข้าโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าของประเทศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Ganz รุ่นแรกๆใน Zwevegem, West Flanders, Belgium การแปลงย้อนกลับของพลังงานไฟฟ้ากลับไปเป็นพลังงานกลจะกระทำโดยมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความคล้ายคลึงกันมาก มอเตอร์หลายตัวสามารถขับเคลื่อนเครื่องจักรเพื่อผลิตไฟฟ้าและบ่อยครั้งที่ได้รับการยอมรับให้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า alternator ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในห้องโถงของสถานีผลิตไฟฟ้ากำลังน้ำ ทำในบูดาเปสท์ประเทศฮังการี.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์กัลวานี

right เซลล์กัลวานี หรือ เซลล์วอลตา (Galvanic cell หรือ Voltaic cell) เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ตั้งชื่อตาม ลุยจิ กัลวานี หรือ อาเลสซานโดร โวลตาตามลำดับ เซลล์นี้จะให้พลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเองภายในเซลล์ โดยทั่วไปมันจะประกอบด้วยโลหะที่ต่างกันสองชนิดเชื่อมต่อกันด้วยสะพานเกลือ หรือสองครึ่งเซลล์ที่คั่นด้วยเยื่อที่มีรูพรุน นายโวลตาเป็นผู้ประดิษฐ์เซลล์วางซ้อนโวลตาซึ่งเป็นแบตเตอรีไฟฟ้าตัวแรก ในการใช้งานทั่วไป คำว่า "แบตเตอรี" จะใช้กับเซลล์กัลวานีเดี่ยว แต่แบตเตอรีหนึ่งตัวมักประกอบด้วยเซลล์ขนาดเล็กหลายตัว.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและเซลล์กัลวานี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์แสงอาทิตย์

ซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ (solar cell) หรือ เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงหรือโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยตรงโดยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก นั่นก็คือ คุณสมบัติของสารเช่น ค่าความต้านทาน แรงดัน และกระแส จะเปลี่ยนไปเมื่อมีแสงตกกระทบโดยไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอก และเมื่อต่อโหลดให้ จะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านโหลดนั้นได้.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและเซลล์แสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ไฟฟ้าเคมี

ซลล์ไฟฟ้าเคมี (electrochemical cell) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยาเคมีหรือช่วยอำนวยความสะดวกในการทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีผ่านการการใช้พลังงานไฟฟ้า ตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ร่วมกันของเซลล์ไฟฟ้าเคมีเป็นเซลล์มาตรฐาน 1.5 โวลต์ที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการใช้งานของผู้บริโภค อุปกรณ์ชนิดนี้รู้จักกันว่าเป็นเซลล์กัลวานีเดี่ยว แบตเตอรี่จะประกอบด้วยเซลล์สองตัวหรือมากกว่าเชื่อมต่อกันแบบอนุกรมหรือแบบขนาน.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและเซลล์ไฟฟ้าเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์เชื้อเพลิง

Toyota FCHV ใช้เซลล์เชื้อเพลิง proton-conducting fuel cell) เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานเคมีจากเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางปฏิกิริยาเคมีของไอออนของไฮโดรเจนประจุบวกกับอ๊อกซิเจนหรือตัวทำอ๊อกซิเดชันอื่น เซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากแบตเตอรี่ที่ว่ามันต้องการแหล่งจ่ายเชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของปฏิกิริยาเคมี ในขณะที่ในแบตเตอรี่สารเคมีภายในจะทำปฏิกิริยาต่อกันเพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนานเท่าที่เชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศยังคงถูกใส่เข้าไป ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ที่จะหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าถ้าสารเคมีหมดอายุการใช้งาน เซลล์เชื้อเพลิงครั้งแรกถูกคิดค้นในปี 1838 เซลล์เชื้อเพลิงเชิงพาณิชย์ครั้งแรกถูกใช้มากว่าหนึ่งศตวรรษต่อมาในโครงการอวกาศของ นาซ่า ที่จะผลิตพลังงานให้กับดาวเทียมและแคปซูลอวกาศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเซลล์เชื้อเพลิงถูกนำมาใช้ในงานที่หลากหลายอื่น ๆ เซลล์เชื้อเพลิงถูกใช้สำหรับพลังงานหลักและพลังงานสำรองเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและอาคารที่อยู่อาศัยและในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้ พวกมันยังถูกใช้เพื่อให้พลังงานกับยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิง รวมทั้งรถยก, รถยนต์, รถโดยสาร, เรือ, รถจักรยานยนต์และเรือดำน้ำ เซลล์เชื้อเพลิงมีอยู่หลายชนิด ทุกชนิดประกอบด้วยแอโนด แคโทดและอิเล็กโทรไลต์ อิเล็กโทรไลต์จะยอมให้ไอออนไฮโดรเจนประจุบวก (หรือโปรตอน) สามารถเคลื่อนที่ได้จากแอโนดไปแคโทดของเซลล์เชื้อเพลิง แอโนดและแคโทดประกอบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เชื้อเพลิงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่สร้างไอออนไฮโดรเจนประจุบวกและอิเล็กตรอน ไอออนไฮโดรเจนจะถูกดึงผ่านอิเล็กโทรไลต์หลังจากการเกิดปฏิกิริยาและเคลื่อนที่ไปยังแคโทด ในขณะเดียวกันอิเล็กตรอนที่เหลือจากอะตอมของไฮโดรเจนจะถูกดึงจากแอโนดไปยังแคโทดผ่านวงจรภายนอก ทำให้เกิดกระแสตรง ที่แคโทดไอออนไฮโดรเจน อิเล็กตรอนและออกซิเจนทำปฏิกิริยากันก่อตัวเป็นน้ำ เนื่องจากความแตกต่างหลักระหว่างเซลล์เชื้อเพลิงในแต่ละประเภทคืออิเล็กโทรไลต์ เซลล์เชื้อเพลิงจึงถูกแยกประเภทตามชนิดของอิเล็กโทรไลต์ที่พวกมันใช้ และแยกตามระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ 1 วินาทีสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงเยื่อหุ้มแลกเปลี่ยนโปรตอน (solid oxide fuel cell (SOFC)) เซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยว ๆ จะผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันขนาดค่อนข้างเล็ก ประมาณ 0.7 โวลต์ ดังนั้นเซลล์จึงต้องวาง "ซ้อน" กัน หรือถูกวางเรียงกันเป็นแถว เพื่อที่จะสร้างแรงดันเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของการใช้งาน นอกเหนือไปจากกระแสไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิงยังผลิตน้ำ ความร้อนและ(ขึ้นอยู่กับแหล่งเชื้อเพลิง)ปริมาณขนาดเล็กมากของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเซลล์เชื้อเพลิงโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 40-60% หรือสูงขึ้นถึง 85% ในการผลิตแบบความร้อนร่วม (cogeneration) ถ้าความร้อนที่เหลือทิ้งถูกนำกลับมาใช้งานอีก ตลาดของเซลล์เชื้อเพลิงกำลังเจริญเติบโตและบริษัท Pike Research ได้ประมาณการว่าตลาดเซลล์เชื้อเพลิงอยู่กับที่จะสูงถึง 50 GW ในปี 2020 สารตั้งต้นที่ใช้โดยทั่วไปในเซลล์เชื้อเพลิงได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจนที่ด้านแอโนด และก๊าซออกซิเจนที่ด้านแคโทด (เซลล์ไฮโดรเจน) โดยปกติแล้วเมื่อมีสารตั้งต้นไหลเข้าสู่ระบบ สารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นก็จะไหลออกจะระบบไปด้วย ดังนั้นการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงจึงดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ตราบเท่าที่เราสามารถควบคุมการไหลได้ เซลล์เชื้อเพลิงมักจะถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงและปราศจากมลพิษ เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิง เช่น มีเทนและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวที่เกิดจากการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงคือน้ำ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลอยู่ในขั้นตอนการผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งใช้พลังงานมาก การผลิตไฮโดรเจนจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบที่มีไฮโดรเจน เช่น น้ำ หรือ เชื้อเพลิงอื่นๆ นอกจากนั้นยังต้องใช้ไฟฟ้าซึ่งก็ก็ผลิตมาจากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่พลังงานทางเลือกเช่น ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ก็อาจสามารถใช้ได้ แต่ราคาก็ยังสูงมากในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอิสระจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ จนกว่าเราจะสามารถหาวิธีการผลิตไฮโดรเจนปริมาณมากด้วยพลังงานทดแทนหรือพลังงานนิวเคลียร.

ใหม่!!: แรงเคลื่อนไฟฟ้าและเซลล์เชื้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »