โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แม่น้ำคาบูล

ดัชนี แม่น้ำคาบูล

แผนที่แสดงแม่น้ำสินธุและแม่น้ำสาขา สะพานเบซูดข้ามแม่น้ำคาบูลที่จาลาลาบัด เมื่อ 30 ก.ค. 2552 แม่น้ำคาบูลในบริเวณสะพานเบซูดที่จาลาลาบัด เมื่อ 30 ก.ค. 2552 แม่น้ำคาบูล (دریای کابل; کابل سیند; कुभा) อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถานมีกำเนิดจากเทือกเขาบาบา เป็นแม่น้ำสายหลักในภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน ไหลผ่านจังหวัดคาบูลไปบรรจบกับสาขาที่ไหลมาจากฉนวนวาคาน ไหลเข้าสู่ประเทศปากีสถานทางด้านเหนือของช่องเขาไคเบอร์เป็นระยะทางรวม 700 กิโลเมตรแล้วจึงรวมกับแม่น้ำสินธุ น้ำในแม่น้ำคาบูลในช่วงฤดูร้อนมาจากหิมะที่ละลาย สาขาที่ใหญ่ที่สุดเป็นแม่น้ำกุนาร์ ซึ่งเริ่มต้นจากแม่น้ำมัสตุช ไหลมาจากธารน้ำแข็งเชียนตาร์ในไครัล และหลังจากที่ไหลลงใต้เข้าไปในอัฟกานิสถาน รวมกับแม่น้ำบัชกัลที่ไหลจากนูเรสถาน แม่น้ำกุนาร์นี้ไปบรรจบกับแม่น้ำคาบูลที่จาลาลาบัด ทั้งๆที่แม่น้ำกุนาร์มีปริมาณน้ำมากกว่าแม่น้ำคาบูล แต่ยังคงเรียกชื่อเป็นแม่น้ำคาบูลหลังจากที่บรรจบกัน เป็นเพราะมีนัยสำคัญทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของชื่อ.

11 ความสัมพันธ์: ภาษาสันสกฤตภาษาอเวสตะฤคเวทหิมะอะบู เรฮัน อัลบิรูนีอเล็กซานเดอร์มหาราชจังหวัดคาบูลฉนวนวาคานประเทศอัฟกานิสถานประเทศปากีสถานแม่น้ำสินธุ

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอเวสตะ

ษาอเวสตะ (Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและภาษาอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ฤคเวท

วท (ऋग्वेद, ฤคฺเวท, Rigveda) เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส (ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า "พระเวท" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เนื้อหาด้านชาติพันธุวิทยาและภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในฤคเวทนั้น เป็นหลักฐานแสดงว่าฤคเวทนั้นมีมานานกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและฤคเวท · ดูเพิ่มเติม »

หิมะ

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0 °C (32 °F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม (snow cannon).

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

อะบู เรฮัน อัลบิรูนี

อัลบิรูนีบนแสตมป์ของสหภาพโซเวียต อะบู อัลเรฮัน มุฮัมมัด อิบน์ อะหมัด อัลบิรูนี (Abū al-Rayhān Muhammad ibn Ahmad al-Bīrūnī; 4/5 กันยายน ค.ศ. 973 – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1048) หรือ อัลบิรูนี เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวมุสลิมเปอร์เซีย เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ในหลายแขนงเช่น ฟิสิกส์ ประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ อัลบิรูนีใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในจักรวรรดิกาสนาวิยะห์ (อยู่ในเอเชียกลางปัจจุบัน) ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและอะบู เรฮัน อัลบิรูนี · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคาบูล

ทิวทัศน์ของกรุงคาบูล จังหวัดคาบูล (ภาษาเปอร์เซีย: کابل, ภาษาอังกฤษเคยสะกดว่า: Caubul ปัจจุบันใช้ Kabul) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอัฟกานิสถาน อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ริมฝั่งแม่น้ำคาบูล เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายในเอเชียกลางมาหลายศตวรรษ คาบูล ar:كابول bo:ཀ་བུར tr:Kabil, Afganistan.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและจังหวัดคาบูล · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนวาคาน

ฉนวนวาคาน ฉนวนวาคาน (สีน้ำเงิน) ฉนวนวาคาน (Wakhan Corridor, Vakhan Corridor) เป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานที่ยื่นออกไปจรดประเทศจีน และคั่นระหว่างทาจิกิสถานกับปากีสถาน ยาวประมาณ 350 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 13-65 กิโลเมตร by the US Bureau of Intelligence and Research Pg.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและฉนวนวาคาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสินธุ

วเทียมแม่น้ำสินธุ แม่น้ำสินธุ (Indus River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในปากีสถาน และเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 21 ในแง่ของการไหลผ่านประจำปี มักถูกพูดว่าเป็นเส้นชีวิตของชาวปากีสถาน ต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่บริเวณที่ราบสูงทิเบต ใกล้กับทะเลสาบมานาซาโรวาร์ ความยาวรวมของแม่น้ำมีความยาว 3,180 กิโลเมตร (1,976 ไมล์) และมีการไหลของน้ำมากกว่า 1,165,000 ตร.กม.

ใหม่!!: แม่น้ำคาบูลและแม่น้ำสินธุ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »