โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แพทยศาสตร์

ดัชนี แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

33 ความสัมพันธ์: พยาธิวิทยาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยกุมารเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลรังสีวิทยารายชื่อคณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในประเทศไทยวิทยาศาสตร์สุขภาพศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์สูติศาสตร์อาชีวเวชศาสตร์อายุรศาสตร์จักษุวิทยาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลตัจวิทยานรีเวชศาสตร์นิติเวชศาสตร์โรงพยาบาลศิริราชโสตศอนาสิกวิทยาเวชระเบียนเวชศาสตร์ฟื้นฟูเวชสถิติ

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นกลุ่มสถาบันในระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีหน้าที่จัดการสอบเพื่อรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปัจจุบันมีศาสตราจารย์ นายแพทย์อาวุธ ศรีศุกรีเป็นเลขาธิการ มีสถาบันแพทยศาสตร์เป็นสมาชิก 21 สถาบัน ได้แก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กุมารเวชศาสตร์

การตรวจร่างกายเด็ก กุมารเวชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แก่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา คำว่า pediatrics มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก παῖdh pais แปลว่าเด็ก และ ἰατρός iatros แปลว่าแพทย์หรือผู้รักษา เมื่อรวมกันจึงแปลว่า ผู้ที่รักษาเด็ก สำหรับในภาษาไทย "กุมาร" หมายถึง เด็กเล็ก ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง "เด็กผู้ชาย" หรือ "บุตรชาย".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

รังสีวิทยา

''Dr. Macintyre's X-Ray Film'' (1896) รังสีวิทยา (Radiology)เป็นสาขาทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งทีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพในส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยเครื่องมือ พิเศษต่างๆในทางการแพทย์โดยเฉพาะการใช้ รังสีเอกซ์ (x-ray) รังสีแกมมา (Gamma ray)จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging)เป็นต้น และ/หรือใช้ในการรักษาก็ได้ แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ในสาขานี้เรามักเรียกกันว่า รังสีแพทย์ โดยทั่วไปบุคคลใดที่ต้องการจะเป็นรังสีแพทย์ต้องเรียนจบได้รับ ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต ตามกฎของแพทย์สภาเสียก่อนจึงจะสามารถมาขอสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชานี้ได้ โดยใช้เวลาศึกษาต่ออีก 3 ปี ในกรณีที่เป็นแพทย์ประจำบ้านหรือที่เรามักเรียกกันว่า residency training และสามารถศึกษาต่อยอดเป็นอนุสาขาหรือที่เรียกว่า fellowship training ได้อีก 1-2 ปี แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรังสีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาแพทยศาสตร์ เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่ว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายชื่อคณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การศึกษา วิจัย และความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่ 2 คือ การนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ, รักษาโรค และทำความเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์และสัตว์ งานวิจัยด้านนี้วางอยู่บนฐานของชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์ รวมไปถึงความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เช่น สังคมวิทยาการแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

ต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ ''Orthopaedia'' ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ หรือ ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

สูติศาสตร์

ูติศาสตร์ (Obstetrics; มาจากภาษาละติน obstare การเตรียมพร้อม) เป็นศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการดูแลผู้หญิงและทารกระหว่างการตั้งครรภ์, การคลอด, และระยะหลังคลอด ส่วนการผดุงครรภ์ (Midwifery) นั้นจะไม่อาศัยทักษะการศัลยศาสตร์ สูติแพทย์ส่วนมากมักจะเป็นแพทย์นรีเวชวิทยาด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and gynaecology) ระยะการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยของมนุษย์คืออายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 38 สัปดาห์นับจากวันปฏิสนธิ แบ่งออกเป็นสามไตรม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสูติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาชีวเวชศาสตร์

อาชีวเวชศาสตร์ (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก และวิชาอาชีวเวชศาสตร์ถูกจัดว่าเป็นแขนงหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกันด้วย แพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นเรียกว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอาชีวเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์ (เรียกย่อๆ ว่า medicine) เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะทางซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษาโรคและความผิดปกติในร่างกายผู้ใหญ่ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางอายุรศาสตร์ว่า อายุรแพทย์ (internists) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ได้ผ่านการสอบเพื่อประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์ และได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ หรือสาขาต่างๆทางอายุรศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอายุรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักษุวิทยา

การใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit lamp) ตรวจตาในคลินิกจักษุวิทยา จักษุวิทยา (Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และจักษุวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ที่ตั้งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง) ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะลำดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัย โดยมีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Faculty of Medicine, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 2 ของส่วนภูมิภาค ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสถานปฏิบัติการคือโรงพยาบาลศรีนครินทร์ รหัสหน่วยงานในระบบทะเบียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 07.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2548 ตามมติว่าด้วยหลักการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 18 ในจำนวนโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ 20 สถาบัน และเป็นลำดับที่ 2 ในภาคใต้และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จึงริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป้าหมายของคณะแพทยศาสตร์ คือการผลิตบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่าง ๆ เป็นสถาบันผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มุ่งมั่นจะอุทิศตนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยปฏิบัติงานดูแลสุขภาพของชุมชนได้อย่างมีความสุข เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์สากลให้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมอิสลามท้องถิ่น (Islamic Oriental Medical School) ได้เป็นอย่างดีคู่มือนักศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย สถานที่ตั้งปัจจุบันคือ เลขที่ 110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 276 ไร่ มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดประตูสวนดอก คณบดีคนปัจจุบันของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยสภากาชาดไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งที่ 10 ของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นับได้ว่าเป็นคณะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย โดยมีต้นกำเนิดมาจากโรงเรียนแพทยากร และพัฒนามาจนกระทั่งเป็น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีอายุ 128 ปี มีแพทย์สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 121 รุ่น นักศึกษาแพทย์ปีการศึกษา 2560 นี้นับเป็นรุ่นที่ 128.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ทั้งในด้านทุนทรัพย์และบุคลากร และยังมีผู้เชี่ยวชาญไทยที่ผ่านการฝึกอบรมจากประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรอีกจำนวนหนึ่งด้วย ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี (เป็นนักศึกษาแพทย์ประมาณ 180 คน นักศึกษาพยาบาลอีก 150 คนและ นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 30 คนต่อปี) ระดับหลังปริญญาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาที่เกี่ยวข้องมีโครงการปริญญาเอก โครงการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ และสาขาย่อยเฉพาะทาง รวมทั้งการวิจัยด้วย เป้าหมายของคณะฯ คือการผลิตบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆพยาบาล และบุคลากรอื่นทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การดูแลรักษาแบบองค์รวม การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและสามารถทำงานในชุมชนได้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

ตัจวิทยา

ตจวิทยา (dermatology) เป็นสาขาหนึ่งในวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวกับผิวหนังและตจโทษRandom House Webster's Unabridged Dictionary. Random House, Inc.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และตัจวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นรีเวชศาสตร์

นรีเวชศาสตร์ หรือ นรีเวชวิทยา หรือ วิทยาเพศหญิง (gynaecology, gynecology) หมายถึงศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น มดลูก ช่องคลอดและรังไข่ แพทย์นรีเวชวิทยาส่วนมากมักเป็นสูติแพทย์ด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and gynaecology) สำหรับในทางสัตวแพทยศาสตร์ จะเรียกสาขาวิชานี้ว่า เธนุเวชวิท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และนรีเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิติเวชศาสตร์

นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) มาจากคำว่า "Forensic" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า "Medicine" หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอนครั้งแรกในประเทศไทย ปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และนิติเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลศิริราช

รงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เคยเป็นที่ประทับรักษาพระประชวรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรงพยาบาลศิริราช · ดูเพิ่มเติม »

โสตศอนาสิกวิทยา

ตศอนาสิกวิทยา เป็นแขนงหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก รากศัพท์ของ "Otolaryngology" มาจากภาษากรีก ωτολαρυγγολογία (oto.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโสตศอนาสิกวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เวชระเบียน

วชระเบียน เวชระเบียน (medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบันแสงเทียน อยู.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเวชระเบียน · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

วชศาสตร์ฟื้นฟู หรืองานเวชกรรมฟื้นฟู จัดว่าเป็น 1 ใน 4 พันธกิจทางการแพทย์ ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (ได้แก่ "ส่งเสริมสุขภาพ - ป้องกันโรค - รักษาโรค - ฟื้นฟูสมรรถภาพ) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rehabilitation medicine หรือ Physical medicine and rehabilitation (PM&R) หรือ Physiatry (อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตรี้) ก็ได้ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูเอง ก็คือการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical rehabilitation) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆด้านของการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งหมด ขึ้นกับบุคคลนั้นต้องการให้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านใด ณ ที่นี้ ยกตัวอย่างการฟื้นฟูด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational rehabilitation) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Educational rehabilitation) เป็นต้น งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นงานที่ท้าทายและเป็นที่รู้จักสนใจในวงกว้าง เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงการเอาใจใส่จากภาครัฐได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ป่วยที่มีรับการฟื้นฟูนั้น ย่อมเป็นผู้พิการ หรือ ผู้ที่มีสมรรถภาพทางร่างกายไม่ดีนัก แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ในประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรนัก ทั้งในระดับนโยบาย ระดับโรงพยาบาล และในประชาชนทั่วไป.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู · ดูเพิ่มเติม »

เวชสถิติ

วชสถิติ (Medical Statistics, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง สถิติทางการแพทย์ หรือการกระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในทางการแพทย์ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ การนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์มาสรุป และเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยต่าง ๆ ในทางการแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเวชสถิติ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Medicineการแพทย์แพทย์ศาสตร์เวชศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »