โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แปดกองธง

ดัชนี แปดกองธง

แปดกองธง (จีน: 八旗, พินอิน: baqí) เป็นกองกำลังทหารในยุคราชวงศ์ชิงในประวัติศาสตร์จีน เป็นการจัดการบริหารและวางกองกำลังต่อสู้ของราชวงศ์ชิง โดยผู้ที่สถาปนากองทัพนี้ คือ จักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1559-ค.ศ. 1629) ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ โดยมีสัญลักษณ์เป็นธงที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไป และเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันเมืองหลวง คือ ปักกิ่ง ซึ่งการจัดกำลังออกเป็น 8 ส่วนนี้ จะใช้ผู้คุมกำลังเป็นผู้ที่สัมพันธ์หรือเป็นญาติกันในตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว ซึ่งเป็นตระกูลของจักรพรรดิและพระญาติวงศ์ในราชวงศ์ชิง ซึ่งผู้ที่เคยเป็นผู้บังคับบัญชาแปดกองธงนี้บุคคลหนึ่ง ก็คือ อาปาไห่ หรือต่อมาก็คือ จักรพรรดิหวงไถจี๋ (ค.ศ. 1592-ค.ศ. 1643) ซึ่งเป็นราชบุตรลำดับที่ 8 และได้ครองราชย์ในเวลาต่อมา โดยเริ่มจากหัวหน้าชนเผ่าแมนจูต่าง ๆ ที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อเคยปราบมา ก่อนจะรวบรวมชาวแมนจูเป็นหนึ่งเดียวโค่นราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ มีการเก็บภาษีและการระดมพลก็ระดมผ่านกองธงต่าง ๆ ไล่มาจากหัวหน้าหน่วยบริหารระดับล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยลดความแตกต่างของชนเผ่าและตระกูลนอกด่านทั้งหลายไปได้มาก นั่นทำให้นายทหารผู้บังคับหมวด นายทหารผู้บังคับกอง นายทหารคุมกองพัน และระดับแม่ทัพ จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริหารและทหารไปพร้อม ๆ กัน แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันกับที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อตราขึ้นมา และยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมองโกล รวมถึงชาวฮั่นที่อยู่ในแถบตะวันออกด้วย ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 3 ชนเผ่ามีส่วนร่วมในการก่อตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้นมา จนสามารถแบ่งได้ถึง 24 กองธง เฉลี่ยกองธงละ 7,500 คน.

31 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีกำลังภายในชาวฮั่นชาวแมนจูพ.ศ. 2102พ.ศ. 2135พ.ศ. 2172พ.ศ. 2186พ.ศ. 2308พ.ศ. 2312พ.ศ. 2437พ.ศ. 2438พินอินกลุ่มภาษาจีนภาษีมองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์)ราชวงศ์ชิงราชวงศ์หมิงวรรณกรรมสัญลักษณ์สงครามจีน–พม่าสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งหฺวัง ไถจี๋อุ้ยเสี่ยวป้ออ้ายซินเจว๋หลัวจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อธงประวัติศาสตร์จีนปักกิ่งเมืองหลวงเอเชียตะวันออกเอเอสทีวีผู้จัดการ

บันเทิงคดีกำลังภายใน

ันเทิงคดีกำลังภายใน เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ที่ทำให้ผู้ฝึก (ซึ่งเรียกว่า จอมยุทธ์) มีความสามารถเหนือธรรมชาติต่าง ๆ บันเทิงคดีกำลังภายในโดยมากมักจะอ้างอิงถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: แปดกองธงและบันเทิงคดีกำลังภายใน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: แปดกองธงและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแมนจู

แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ใหม่!!: แปดกองธงและชาวแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2102

ทธศักราช 2102 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2102 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2135

ทธศักราช 2135 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2135 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2172

ทธศักราช 2172 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2172 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2186

ทธศักราช 2186 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2186 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2308

ทธศักราช 2308 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2308 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2312

ทธศักราช 2312 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1769.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2312 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2437

ทธศักราช 2437 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1894 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2437 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2438

ทธศักราช 2438 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1895 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แปดกองธงและพ.ศ. 2438 · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: แปดกองธงและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: แปดกองธงและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษี

ษี (tax, มาจากภาษาละติน taxo, "ข้าประเมิน") เป็นเงินหรือสิ่งของอื่นที่รัฐหรือสถาบันปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ กฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่ไม่เสียภาษี ระบอบต่ำกว่ารัฐ (subnational entity) จำนวนมากยังมีการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และอาจจ่ายเป็นรูปตัวเงินหรือการใช้แรงงานที่เทียบเท่า (มักเป็นการใช้แรงงานที่ไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่เสมอไป) ภาษีอาจนิยามได้ว่า "ภาระที่เป็นตัวเงินซึ่งตกแก่ปัจเจกบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนรัฐบาล เป็นการชำระซึ่งเรียกเอาจากองค์การใช้อำนาจนิติบัญญัติ"Black's Law Dictionary, p. 1307 (5th ed. 1979).

ใหม่!!: แปดกองธงและภาษี · ดูเพิ่มเติม »

มองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์)

วมองโกล หรือ ชาวมองโกเลีย เป็นกลุ่มชนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศมองโกเลีย และ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ของประเทศจีน.

ใหม่!!: แปดกองธงและมองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: แปดกองธงและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: แปดกองธงและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: แปดกองธงและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์

ัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน.

ใหม่!!: แปดกองธงและสัญลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–พม่า

งครามจีน–พม่า (တရုတ်-မြန်မာ စစ်, 中緬戰爭, 清緬戰爭) หรือ การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง หรือ การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง (Qing invasions of Burma, Myanmar campaign of the Qing Dynasty) เป็นการสงครามระหว่างราชวงศ์ชิงของจีน กับราชวงศ์โกนบองของพม่า กินเวลา 4 ปี ระหว่าง..

ใหม่!!: แปดกองธงและสงครามจีน–พม่า · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) หรือ สงครามญี่ปุ่น-ชิง หรือ สงครามเจี่ยอู่ (甲午戰爭) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิชิงกับจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อครอบครองคาบสมุทรเกาหลี สงครามนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง และการประสบผลสำเร็จของญี่ปุ่นที่พัฒนาชาติให้ทันสมัยตามแบบชาติตะวันตกซึ่งเริ่มมาตั้งแต่จักรพรรดิเมจิขึ้นครองราชย์ ส่งผลให้อิทธิพลของราชวงศ์ชิงเสื่อมถอยลงจนนำไปสู่การปฏิวัติในปี..

ใหม่!!: แปดกองธงและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หฺวัง ไถจี๋

ฉงเต๋อ (28 พฤศจิกายน 1592 – 21 กันยายน 1643) หรือชื่อตัวว่า หฺวัง ไถจี๋ (黃台吉) หรือ หง ไท่จี๋ (洪太極) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ชิง ซึ่งรวมแผ่นดินจีนที่นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (努爾哈赤) บิดา ก่อตั้งขึ้นแต่ตายเสียก่อนการจะสำเร็จ หฺวัง ไถจี๋ ยังได้เปลี่ยนนามชนชาตินฺหวี่เจิน (女眞; Jurchen) เป็นหมั่นจู๋ (滿族; Manchu) คือ แมนจู และเปลี่ยนนามราชวงศ์จินตอนปลายที่บิดาตั้งไว้เป็นราชวงศ์ชิง ราชวงศ์นี้ดำรงอยู่ต่อมาถึงปี 1912 เนื่องจากนู่เอ๋อร์ฮาชื่อยังไม่ทันได้ตั้งตัวเป็นเจ้าขณะมีชีวิตอยู่ หฺวัง ไถจี๋ จึงเฉลิมยศพระมหากษัตริย์ให้บิดาในภายหลัง ฉะนั้น จึงถือกันว่า นู่เอ๋อร์ฮาชื่อเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง และหฺวัง ไถจี๋ เป็นทุติยกษัตร.

ใหม่!!: แปดกองธงและหฺวัง ไถจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

อุ้ยเสี่ยวป้อ

อุ้ยเสี่ยวป้อ เริ่มนำลงในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม..1969 จวบกระทั่ง วันที่ 23 กันยายน..

ใหม่!!: แปดกองธงและอุ้ยเสี่ยวป้อ · ดูเพิ่มเติม »

อ้ายซินเจว๋หลัว

อ้ายซินเจว๋หลัว (อักษรจีนตัวเต็ม: 愛新覺羅; อักษรจีนตัวย่อ: 爱新觉罗; พินอิน: àixīn juéluó แมนจู: 18px) เป็นพระราชตระกูลในราชวงศ์ชิงของแมนจู ในภาษาแมนจู "อ้ายซิน" มีความหมายว่า "ทอง" และ "เจว๋หลัว" ว่า นามสกุล สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์แห่งเผ่าหนีเจิน พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอากูต่าแห่งพระราชตระกูลหวางเอี๋ยน ซึ่งทรงเป็นผู้รวมรวมกำลังพลเพื่อต่อสู้กับจักรวรรดิต้าหมิงที่อ่อนแอมากในขนาดนั้น จนได้รับชัยชนะและทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิน สมเด็จพระเจ้าอากูต่า ทรงพระนามว่าสมเด็จพระจักรพรรดิจินไท่จู่และทรงครอบครองแผ่นดินจีนในส่วนอาณาจักรต้าจินเมื่อ..1115 (พ.ศ. 1658)และสิ้นสุดราชวงศ์จินในปี..

ใหม่!!: แปดกองธงและอ้ายซินเจว๋หลัว · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ

หนูเอ่อร์ฮาชื่อ(แมนจู: 1 30px;; 21 กุมภาพันธ์ 1559 – 30 กันยายน 1626) หรืออ้ายซินเจว๋หลัวหนูเอ่อร์ฮาชื่อ(Chinese: Aixin-Jueluo Nǔ'ěrhāchì 愛新覺羅努爾哈赤)หรือสมเด็จพระจักรพรรดิชิงไท่จู่ เป็นปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: แปดกองธงและจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ธง

ง เป็นวัตถุใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อสื่อสาร เช่น บอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น ส่วนใหญ่ธงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยังมีธงสามเหลี่ยมหรือธงรูปร่างแบบอื่นต่างกันไป.

ใหม่!!: แปดกองธงและธง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: แปดกองธงและประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: แปดกองธงและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: แปดกองธงและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออก

แผนที่เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย ประเทศซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: แปดกองธงและเอเชียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แปดกองธงและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กองทัพแปดกองธง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »