โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แบบจำลองโอเอสไอ

ดัชนี แบบจำลองโอเอสไอ

แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.

39 ความสัมพันธ์: ชั้นโปรแกรมประยุกต์บิตพีพีพีภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลายูดีพียูเอ็มทีเอสอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานผลรวมตรวจสอบทีซีพีทีแอลเอสท่าเรือดีเอชซีพีดีเอ็นเอสซิมเพล็กซ์แบบจำลองโอเอสไอแลนแวนแอสกีใยแก้วนำแสงโพรโทคอลโปรแกรมประยุกต์ไอซีเอ็มพีเฟรมรีเลย์เว็บเบราว์เซอร์เอชทีทีพีเอบซีดิกเอสเอ็มทีพีเอ็มพีแอลเอสเอ็มเพกเอ็นทีพีเอ็นเอ็นทีพีเทลเน็ตเครือข่ายคอมพิวเตอร์IEEE 802.11Session Initiation ProtocolX.25

ชั้นโปรแกรมประยุกต์

Application layer หรือ ชั้นโปรแกรมประยุกต์ เป็นชั้นลำดับที่ 7 จาก 7 ชั้น ใน OSI Model.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและชั้นโปรแกรมประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

บิต

ต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและบิต · ดูเพิ่มเติม »

พีพีพี

เกณฑ์วิธีแบบจุดต่อจุด หรือ พีพีพี (Point-to-Point Protocol: PPP) เป็นเกณฑ์วิธีสำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 ตัว ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบอนุกรม ตามปกติ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อม ด้วยสายโทรศัพท์ไปที่เครื่องแม่ข่าย เช่น เครื่องแม่ข่ายของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้ผู้ใช้ต่อเชื่อมด้วย PPP ทำให้เครื่องแม่ข่าย สามารถตอบสนองคำขอผู้ใช้ ส่งสิ่งเหล่านี้ไปยังอินเทอร์เน็ต และส่งต่อการตอบสนองอินเทอร์เน็ต กลับไปยังผู้ใช้ PPP ใช้ Interner Protocol (IP) แต่มีการออกแบบให้ดูแลโพรโทคอลอื่น บางครั้งการพิจารณาสมาชิกของ TCP/IP ในชุดของโพรโทคอล PPP ให้บริการเลเยอร์ 2 สัมพันธ์กับแบบจำลองการอ้างอิง Open System Interconnection (OSI) ที่สำคัญชุดของแพ็คเกต TCP/IP และส่งตามสิ่งเหล่านี้ไปยังเครื่องแม่ข่าย ซึ่งสามารถวางบนอินเตอร์เฟซ PPP หรือโพรโทคอลแบบ full duplex ที่สามารถใช้ตัวกลางทางกายภาพที่หลากหลาย รวมถึงสาย twisted pair หรือ fiber optic หรือการส่งตามสิ่งเหล่านี้ไปยังเครื่องแม่ข่าย ซึ่งสามารถวางบนอินเตอร์เฟซ PPP มีแนวโน้มใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมก่อน คือ Serial Line Internet Protocol (SLIP) เพราะสามารถดูแลการสื่อสารแบบ synchronous และ asynchronous ซึ่ง PPP สามารถใช้สายร่วมกับผู้ใช้อื่น และการตรวจสอบความผิดพลาดด้วย SLIP lack ตามทางเลือกที่เหมาะตาม PPP ยอมใช้งาน หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและพีพีพี · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา

โมเดล ATM ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา หรือ เอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode: ATM) เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับ Gbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service (QoS) จุดเด่นของเครือข่าย ATM ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล (Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ Sever ATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียข้อมูล ATM สวิตซ์จะใช้เทคนิคการปรับจราจร (Traffic Shapping) เพื่อกำหนดให้แพ็กเก็ตข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ เช่น ในกรณีที่สถานีส่งข้อมูลในอัตราที่สูงเกินกว่าลิงก์จะรองรับได้ ATM สวิตซ์ก็จะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์แพ็กเก็ตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่งต่อในปริมาณที่ลิงก์จะรองรับได้ หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น และอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้คือ การกำหนดนโยบายจราจร (Traffic Policing) คือ ถ้ามีเซลล์ข้อมูลที่ส่งเกินกว่าอัตราข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะถูกทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อแสดงว่าเซลล์นี้มีลำดับความสำคัญต่ำ(Priority) เมื่อส่งผ่านเซลล์นี้ต่อไปก็อาจจะถูกละทิ้งหรือไม่ก็ได้นั้นขึ้นอยู่กับความคับคั่งของเครือข่าย.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา · ดูเพิ่มเติม »

ยูดีพี

เกณฑ์วิธีเดทาแกรมผู้ใช้ หรือ ยูดีพี (User Datagram Protocol: UDP) เป็นโพรโทคอลหลักในชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต การส่งข้อมูลผ่านยูดีพีนั้น คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า ดาทาแกรม (datagram) ผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องปลายทาง โดย UDP จะไม่รับประกันความน่าเชื่อถือและลำดับของเดทาแกรม อย่างที่ทีซีพีรับประกัน ซึ่งหมายความว่าเดทาแกรมอาจมาถึงไม่เรียงลำดับ หรือสูญหายระหว่างทางได้ แอปพลิเคชันที่ใช้ยูดีพีเป็นฐานในการส่งข้อมูลคือ ระบบการตั้งชื่อโดเมน, สื่อแบบส่งต่อเนื่อง, การสนทนาบนไอพี และเกมออนไลน์ หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและยูดีพี · ดูเพิ่มเติม »

ยูเอ็มทีเอส

ระบบโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล หรือ ยูเอ็มทีเอส (Universal Mobile Telecommunications System: UMTS) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือในยุค 3G ซึ่งอยู่ในขั้นตอนพัฒนาต่อไปยัง 4G ในปัจจุบันรูปแบบพื้นฐานของยูเอ็มทีเอสใช้งาน W-CDMA โดยตามมาตรฐานของ 3GPP และเป็นการตอบรับกับ ITU IMT-2000 สำหรับระบบการสื่อสาร ในบางครั้งจะเรียกยูทีเอ็มเอสว่า 3GSM เพื่อบ่งบอกถึงเทคโนโลยีของ 3G และมาตรฐาน GSM เป็นเครือข่ายในยุค 3G ที่มีพัฒนาการมาจากเครือข่าย GSM, GPRS และ EDGE ซึ่งหลาย ๆ ครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นเครือข่าย W-CDMA โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานด้านการรับ-ส่งข้อมูลที่มากขึ้นของลูกค้า เครือข่าย UMTS นั้นจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 2 Mbit/sec ซึ่งมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่มากกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้บริการในปัจจุบันถึง 4 เท่า ด้วยเหตุนี้เอง เครือข่าย UMTS จึงเป็นเครือข่ายที่ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างคาดหวังว่าจะมาช่วยตอบสนองความต้องการด้ารการใช้ข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและยูเอ็มทีเอส · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ย่อว่า ไอพี​ (Internet Protocol: IP) หรือ เกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลการสื่อสารที่สำคัญใน Internet protocol suite สำหรับถ่ายทอดดาต้าแกรม(หน่วยข้อมูลพื้นฐานของแพ็กเกต ซึ่งการส่ง, เวลาถึงและลำดับที่ถึง ไม่ถูกรับประกันโดยเครือข่าย)ข้ามเขตแดนเครือข่าย ฟังก์ชันการกำหนดเส้นทางของมันจะช่วยงานภายในเครื่อข่ายและก่อตั้งระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น การทำงานของไอพีเป็นการทำงานแบบไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูล รุ่นปัจจุบันคือ IPv4 และกำลังอยู่ในช่วงผลักดันให้ใช้ IPv6 ในอดีต IP เป็นบริการดาต้าแกรมแบบ connectionless ใน Transmission Control Program เดิมที่ถูกแนะนำโดย Vint Cerf และบ๊อบ คาห์นในปี 1974; อีกตัวหนึ่งเป็น Transmission Control Protocol (TCP) แบบ connection-oriented ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตจึงมักจะเรียกว่า TCP / IP รุ่นแรกของ IP, Internet Protocol เวอร์ชัน 4 (IPv4) เป็นโพรโทคอลที่โดดเด่นของอินเทอร์เน็ต ผู้รับช่วงต่อของมันคือ Internet Protocol เวอร์ชัน 6 (IPv6).

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

อีเทอร์เน็ต

อีเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Ethernet) เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยี LAN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของ IEEE สิ่งสำคัญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง คือ "ความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth)" โดยมีการปรับปรุงความเร็วจาก 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) เป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเรียก Ethernet นี้ว่า Fast Ethernet มีทั้งระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ (Half-Duplex) และแบบทางคู่ (Full-Duplex) ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า ATM (Asynchronous Transfer Mode) ในปี 1999 ได้มีการพัฒนาระบบการส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ต ให้มีความเร็วที่ 1000 Mbps หรือ 1 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) โดยใช้การส่งสัญญาณจาก 2 คู่สาย เป็น 4 คู่สาย โดยยังคงใช้พอร์ตการเชื่อมต่อแบบเดิมที่ระบบ 100 Mbps และ 10 Mbps ใช้อยู่ (Registered Jack 45: RJ45) และยังคงสามารถเลือกใช้งานระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ และแบบทางคู่ ได้ เช่นเดียวกับระบบ 100 Mbps คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ตที่ทำงานที่ 100 Mbps จะยังคงสามารถต่อกับ อุปกรณ์ 1000 Mbps ได้ แต่ความเร็วจะลดลงมาแค่ที่การส่งข้อมูลที่อัตราความเร็ว 100 Mbps เช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ต 1000 Mbps มาเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ 100 Mbps ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาระบบอีเทอร์เน็ตให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 กิกะบิตต่อวินาที (10000 Mbps) โดยยังคงมีความสามารถ เช่นเดียวกับระบบ 1 กิกะบิตต่อวินาที (เลือกการส่งสัญญาณแบบทางคู่หรือกึ่งทางคู่ได้, นำอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้ามาเชื่อมต่อได้) หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:มาตรฐานไอทริปเพิลอี.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและอีเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (The International Organization for Standardization: ISO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐาน.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวมตรวจสอบ

ผลรวมตรวจสอบ (checksum, check sum) หรือผลรวมแฮช (hash sum) เป็นข้อมูลขนาดคงที่ ที่ถูกคำนวณขึ้นจากกลุ่มข้อมูลดิจิทัลที่ถูกเลือกมาโดยเจตนา โดยมีเพื่อประโยชน์ในการหาข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการรับส่งหรือการจัดเก็บข้อมูล ความสมบูรณ์ของข้อมูลสามารถถูกตรวจสอบภายหลังได้โดยการคำนวณผลรวมตรวจสอบขึ้นใหม่อีกครั้ง และเปรียบเทียบกับผลรวมตรวจสอบที่ถูกบันทึกไว้ก่อนหน้า ถ้าเกิดว่าผลรวมตรวจสอบทั้งสองตรงกัน ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าข้อมูลนั้นเหมือนกัน (ไม่มีความแตกต่าง) วิธีการคำนวณผลรวมตรวจสอบมีหลายรูปแบบ ซึ่งก็ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์แตกต่างกันไป หมวดหมู่:ขั้นตอนวิธีผลรวมตรวจสอบ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและผลรวมตรวจสอบ · ดูเพิ่มเติม »

ทีซีพี

เกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล หรือ ทีซีพี (Transmission Control Protocol: TCP) เป็นหนึ่งในโพรโทคอลหลักในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน้าที่หลักของทีซีพี คือ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างแม่ข่ายถึงเครือข่าย เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยตัวโพรโทคอลจะรับประกันความถูกต้อง และลำดับของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้นทีซีพียังช่วยจำแนกข้อมูลให้ส่งผ่านไปยังแอปพลิเคชัน ที่ทำงานอยู่บนแม่ข่ายเดียวกันให้ถูกต้องด้วย งานหลักที่สำคัญของทีซีพีอีกงานหนึ่งคือ เป็นโพรโทคอลที่ขั้นกลางระหว่างแอปพลิเคชันและเครือข่ายไอพี ทำให้แอปพลิเคชันจากแม่ข่ายหนึ่ง สามารถส่งข้อมูลออกยังอีกแม่ข่ายหนึ่งผ่านเครือข่ายเปรียบเสมือนมีท่อส่งข้อมูลระหว่างกัน ทีซีพี เป็นโพรโทคอลที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกของอินเทอร์เน็ต มีแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ใช้โพรโทคอลทีซีพีเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นต้น หมวดหมู่:โพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและทีซีพี · ดูเพิ่มเติม »

ทีแอลเอส

วามมั่นคงของชั้นขนส่ง หรือ ทีแอลเอส (Transport Layer Security: TLS) หรือชื่อเดิม ชั้นซ็อกเก็ตปลอดภัย หรือ เอสเอสแอล (Secure Sockets Layer: SSL) เป็นโพรโทคอลที่ใช้เข้ารหัสข้อมูลที่ส่งในอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บเพจ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมสนทนา และอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยในการส่งข้อมูล มีข้อแตกต่างในรายละเอียดทางเทคนิคระหว่าง SSL 3.0 และ TLS 1.0 เพียงเล็กน้อย ดังนั้นตัวย่อ SSL จะหมายถึงโพรโทคอลทั้งคู่ ในกรณีที่ไม่ระบุว่าตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและทีแอลเอส · ดูเพิ่มเติม »

ท่าเรือ

ท่าเรือ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพาณิชย์ทางทะเลซึ่งอาจมีท่าเทียบเรือตั้งแต่หนึ่งแห่งขึ้นไปที่เรือสามารถเทียบเพื่อบรรจุและปล่อยผู้โดยสารและสินค้า ปกติท่าเรือตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลหรือชะวากทะเล แต่ท่าเรือบางแห่ง เช่น ฮัมบูร์กหรือแมนเชสเตอร์ ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ซึ่งเรือจากทะเลสามารถเข้าถึงได้โดยทางแม่น้ำหรือคลอง ปัจจุบัน การพัฒนาท่าเรือที่เติบโตเร็วสุดอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่มีท่าเรือใหญ่สุดและวุ่นวายที่สุดของโลกอันดับต้น ๆ เช่น สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้และหนิงโป-โจวชานของจีน หมวดหมู่:ท่าเรือ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเดินเรือ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและท่าเรือ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอชซีพี

กณฑ์วิธีตั้งค่าแม่ข่ายพลวัต หรือ ดีเอชซีพี (Dynamic Host Configuration Protocol: DHCP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจะทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็น ในการเข้าร่วมเครือข่ายจากแม่ข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้รวมถึงหมายเลขไอพีที่ใช้ภายในเครือข่าย ซึ่งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเป็นฝ่ายกำหนดให้กับลูกข่าย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและดีเอชซีพี · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอส

ระบบการตั้งชื่อโดเมน หรือ ดีเอ็นเอส (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่าดีเอ็นเอสสามารถหมายถึง บริการชื่อโดเมน (Domain Name Service) ก็ได้ ส่วนเครื่องบริการจะเรียกว่า เครื่องบริการชื่อ หรือ เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ประโยชน์ที่สำคัญของดีเอ็นเอส คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org).

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและดีเอ็นเอส · ดูเพิ่มเติม »

ซิมเพล็กซ์

3-ซิมเพล็กซ์ หรือ ทรงสี่หน้า ในเรขาคณิต ซิมเพล็กซ์ (simplex) หรือ n-ซิมเพล็กซ์ คือรูปเชิงอุปมานของรูปสามเหลี่ยมใน n มิติ หรืออาจกล่าวให้ชัดเจนขึ้นได้ว่า ซิมเพล็กซ์ คือ คอนเว็กซ์ฮัล (convex hull) ของเซตของจุด n+1 จุดที่อิสระสัมพรรค (affinely independent) กันในปริภูมิแบบยุคลิดมิติ n หรือมากกว่า เช่น 0-ซิมเพล็กซ์ คือ จุด, 1-ซิมเพล็กซ์ คือ เส้น, 2-ซิมเพล็กซ์ คือ รูปสามเหลี่ยม, 3-ซิมเพล็กซ์ คือ ทรงสี่หน้า (รวมไปถึงบริเวณภายในของแต่ละรูปด้วย) หมวดหมู่:พอลิโทป หมวดหมู่:เรขาคณิตหลายมิติ หมวดหมู่:ทอพอโลยี.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและซิมเพล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองโอเอสไอ

แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและแบบจำลองโอเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

แลน

แลน (Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและแลน · ดูเพิ่มเติม »

แวน

เครือข่ายครอบคลุมบริเวณเมืองใหญ่ หรือ แมน (Metropolitan Area Networks, MANs) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมืองหรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟหรือใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษา จะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้างเทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDSระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและแวน · ดูเพิ่มเติม »

แอสกี

ตัวอย่างอักขระแอสกี จากรหัส 32 ถึง 126 แอสกี้(ASCII) หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (ASCII: American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและแอสกี · ดูเพิ่มเติม »

ใยแก้วนำแสง

ใยแก้วนำแสงใยแก้วนำแสง หรือ ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอน (10 ไมครอน.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและใยแก้วนำแสง · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทคอล

รโทคอล (สืบค้นออนไลน์) (protocol) หรือศัพท์บัญญัติว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์

OpenOffice.org Writer โปรแกรมประยุกต์ (application program) หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น (application software) ในบางครั้งเรียกย่อว่า แอปพลิเคชั่น หรือ แอป คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้รับรองการทำงานหรือกิจกรรมหลายด้านเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word processor), แผ่นตารางทำการ (spreadsheet), แอปพลิเคชั่นบัญชี (accounting application), เว็บเบราว์เซอร์, แอปพลิเคชั่นเล่นคลิปสื่อ (media player), โปรแกรมจำลองการบิน (flight simulator), เกมคอนโซล, หรือ โปรแกรมตัดต่อภาพ คำว่าซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นหมายถึงแอปพลิเคชั่นทั้งหมด ส่วนคำว่าซอฟต์แวร์ระบบ (system software) มักหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ แอปที่ถูกสร้างสำหรับใช้งานบนมือถือเรียกว่าแอปมือถือ (mobile app).

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและโปรแกรมประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอซีเอ็มพี

กณฑ์วิธีข้อความควบคุมบนอินเทอร์เน็ต หรือ ไอซีเอ็มพี (Internet Control Message Protocol: ICMP) คือ โพรโทคอลที่ทำหน้าที่รายงานความผิดพลาดต่างๆ ใน IP packet และตรวจสอบการทำงานในชั้น Internet Layer เนื่องจากปกติข้อมูลที่ส่งใน Network จะต้องผ่าน Router มากกว่าหนึ่งตัว เพื่อให้ Router สามารถตรวจสอบปัญหาในการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง Router จะใช้ Internet Control Message Protocol (ICMP) ไปแจ้งยัง IP ต้นทาง โดย ICMP จะถูกใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา ข้อความใน ICMP จะประกอบด้ว.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและไอซีเอ็มพี · ดูเพิ่มเติม »

เฟรมรีเลย์

ฟรมรีเลย์ เป็นเทคโนโลยีของ Packet switch ประเภทหนึ่ง มันเป็นโพรโทคอลในเลเยอร์ที่ 2 ที่ใช้ในเครือข่าย WAN ความเร็วสูงซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์หลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ต่างๆ ที่อยู่กระจัดกระจายออกไป ให้สามารถสือสารกันด้ผ่านทาง "โครงสร้างเน็ตเวิร์คพื้นฐานที่ใช้งานร่วมกัน" เฟรมรีเลย์มีการใช้งานเทคนิคที่เรียกว่า Statistical Multiplexing ซึ่งทำให้อุปกรณ์ปลายทางหลายๆ ตัวสามารถเข้าถึงท่าส่งสัญญาณ ภายในเครือข่ายของเฟรมรีเลย์ได้พร้อมๆ กัน การทำ Statistical Multiplexing สามารถจัดสรรแบนด์วิทธ์ของท่าส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคร้องตามความต้องการในการใช้งานแบนด์วิทธ์จริง ในขณะที่ TDM ทั่วๆไป จะมีการจองแบนด์วิดธ์ไว้ใน Time Slot ที่กำหนดล่วงหน้าถึงแม้ Time Slot นั้นจะไม่ถูกใช้งาน.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเฟรมรีเลย์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอบซีดิก

อบซีดิก หรือ รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย (EBCDIC: Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) เป็นรหัสอักขระ 8 บิตที่พัฒนาโดยบริษัท IBM ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ โดยเป็นรหัสสำหรับไฟล์ข้อความที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ IBM OS-390 สำหรับเครื่องแม่ข่าย S/390 และบริษัทจำนวนมากใช้กับโปรแกรมประยุกต์ legacy application และฐานข้อมูล ในไฟล์เอบซีดิก ตัวอักษรพยัญชนะและตัวเลขได้รับการนำเสนอเป็นเลขฐานสอง 8 บิต (8 ตัวอักษรของ 0 และ 1) ทำให้สามารถสร้างรหัสได้ 256 รหัส (2 ยกกำลัง 8) ได้แก่ ตัวพยัญชนะ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษ แต่ในปัจจุบันนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCII) มากกว.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเอบซีดิก · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอ็มทีพี

กณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย หรือ เอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol: SMTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเอสเอ็มทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มพีแอลเอส

อ็มพีแอลเอส (Multiprotocol Label Switching: MPLS) เป็นกลไกในเครือข่ายโทรคมนาคมประสิทธิภาพสูงที่ส่งข้อมูลจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดต่อไปโดยใช้ป้ายบอกเส้นทางสั้นๆแทนที่จะเป็นเนทเวิร์คแอดเดรสยาวๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการค้นหาที่ซับซ้อนในตารางเส้นทาง ป้ายจะระบุจุดเชื่อมต่อหรือเส้นทางเสมือนระหว่างโหนดไกลๆมากกว่าจะบอก endpoints.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเอ็มพีแอลเอส · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มเพก

อ็มเพก Moving Picture Experts Group หรือ MPEG (นิยมอ่าน เอ็มเพก) เป็นชื่อกลุ่มนักพัฒนา ระบบมาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอและออดิโอ ของ ISO/IEC โดยมีการเริ่มพัฒนาร่วมกันครั้งแรกเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ที่ประเทศแคนาดา โดยสมาชิกของเอ็มเพก ประกอบด้วยบุคคลจากบริษัทพัฒนา นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันมีมาตรฐานหลักที่พัฒนาออกมาได้แก่ MPEG-1, MPEG-2, MPEG-3 และ MPEG-4 ซึ่งยังมีมาตรฐานเสริมคือ MPEG-7 และ MPEG-21 มาตรฐานในแวดวงมัลติมีเดียปัจจุบันถูกกำหนดโดยสององค์กรหลักๆ คือ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเอ็มเพก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นทีพี

อ็นทีพี หรือ เกณฑ์วิธีเทียบเวลาข่ายงาน (Network Time Protocol: NTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับการปรับค่าเวลาของนาฬิกาในระบบคอมพิวเตอร์ โดย NTP ใช้พอร์ต 123 ของโพรโทคอล UDP เป็นพื้นฐาน มันถูกออกแบบมาให้รักษาความแม่นยำจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของเวลา NTPv4 สามารถรักษาความแม่นยำระดับ 10 มิลลิวินาที (1/100 วินาที) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือมากถึง 200 ไมโครวินาที (1/5000 วินาที) บนเครือข่ายภายในที่มีคุณสมบัติดีกว่า NTP เป็นโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเอ็นทีพี

เกณฑ์วิธีขนส่งข่าวบนเครือข่าย หรือ เอ็นเอ็นทีพี (Network News Transfer Protocol: NNTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ่านและเขียนกลุ่มข่าว (Usenet) และใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแต่ละเซิร์ฟเวอร์กลุ่มข่าว โพรโทคอล NNTP พัฒนาต่อมาจากโพรโทคอล SMTP โดยใช้พอร์ต 119 ของโพรโทคอล TCP แต่ถ้าใช้การเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสด้วย SSL จะใช้พอร์ต 563 แทนและเรียกว่า NNTPS หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ยูสเน็ต.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเอ็นเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เทลเน็ต

นา หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:โพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:Clear text protocols หมวดหมู่:ประวัติอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์เครือข่ายที่ใช้พื้นฐานจากอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์บริหารระยะไกล หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับเครือข่ายบนยูนิกซ์ หมวดหมู่:ผลิตภัณฑ์ที่ออกในปี พ.ศ. 2512.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเทลเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบ Token Ring เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

IEEE 802.11

IEEE 802.11 คือมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สายกำหนดขึ้นโดย '''สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์''' (Institute of Electrical and Electronics Engineers: IEEE) เป็นมาตรฐานกลาง ที่ได้นำมาปฏิบัติใช้ เพื่อที่จะทำการเชื่อมโยงอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเข้าด้วยกันบนระบบ ในทางปกติแล้ว การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สองชิ้น นั่นคือ.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและIEEE 802.11 · ดูเพิ่มเติม »

Session Initiation Protocol

Session Initiation Protocol (SIP) คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย IP ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัวโพรโทคอลเองมีความสามารถในการสร้าง (create), ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมออนไลน์ เป็นต้น SIP ถูกออกแบบโดยนาย Henning Schulzrinne และนาย Mark Handly ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและSession Initiation Protocol · ดูเพิ่มเติม »

X.25

น็ตเวิร์ก X.25 X.25 เป็นโพรโทคอลชนิดนึงที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบ WAN โดยเป็นแบบ PACKET-SWITCHEDมันจะทำงานในส่วนของ OSI MODEl Layer ที่ 1 - 3 (Physical, Data-Link และ Network Layer) X.25 มีส่วนประกอบของการทำงานด้วยกันอยู่ 3 ส่วน ได้แก.

ใหม่!!: แบบจำลองโอเอสไอและX.25 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Data LinkOSI ModelOSI modelPhysicalPresentationSessionTransportation

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »