โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แทรปพิสต์-1

ดัชนี แทรปพิสต์-1

แทรปพิสต์-1 (TRAPPIST-1) หรือ 2MASS J23062928-0502285 เป็นดาวฤกษ์แคระเย็นจัด (ultra-cool dwarf star) ตั้งอยู่ห่างออกไป 39.5 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยมีกาแอล ฌียง (Michaël Gillon) แห่งสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์และธรณีฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยลีแยฌ ประเทศเบลเยียม ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสำหรับตรวจจับการผ่านหน้าของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แรกเริ่ม (Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope; TRAPPIST) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในหอดูดาวลาซียาในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี เพื่อสังเกตดาวฤกษ์และค้นหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ เทคนิคที่ใช้ค้นหาคือการตรวจสอบการเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ ทำให้พวกเขาค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกจำนวน 3 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์แคระแดงดวงนี้ ดาวเคราะห์ชั้นในสุดสองดวงอยู่ใต้ภาวะไทดัลล็อกกับดาวฤกษ์แม่ คือจะหันหน้าเพียงด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์แม่ตลอดเวลา ส่วนอีกหนึ่งดวงอยู่ในเขตอาศัยได้ (habitable zone) ทีมนักดาราศาสตร์เฝ้าสังเกตการณ์ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม..

13 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำกล้องโทรทรรศน์หอดูดาวลาซียาหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปทะเลทรายอาตากามาดาวฤกษ์ดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์นอกระบบค่าคงตัวความโน้มถ่วงประเทศเบลเยียมนาซาเขตอาศัยได้เดอะการ์เดียน

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เมื่อมองจากท้องฟ้าจริง กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ หรือ กลุ่มดาวกุมภ์ (♒) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีในแนวเส้นสุริยวิถีซึ่งเป็นที่รู้จักมาช้านานกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดาวนี้อยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่าทะเลท้องฟ้า ซึ่งได้ชื่อมาจากการที่กลุ่มดาวหลายกลุ่มในบริเวณนี้มีชื่อเกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น กลุ่มดาววาฬ กลุ่มดาวปลา กลุ่มดาวแม่น้ำ เป็นต้น บางครั้งสายน้ำของกลุ่มดาวแม่น้ำจะถูกวาดราวกับว่าไหลออกจากหม้อน้ำ (คนโท) ของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวลาซียา

หอดูดาวลาซียา (La Silla Observatory) เป็นหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในประเทศชิลี ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์จำนวน 18 ตัว ในจำนวนนี้ 9 ตัวเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่สร้างโดยหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (ESO) นอกจากนี้กล้องอื่น ๆ ที่เหลือก็ได้รับเงินสนับสนุนการบำรุงรักษาส่วนหนึ่งจาก ESO ด้วย หอดูดาวลาซียานี้ถือเป็นหนึ่งในหอดูดาวที่ใหญ่ที่สุดในการสังเกตการณ์ท้องฟ้าซีกใต้ของโลก ลาซียาเป็นภูเขาสูง 2400 เมตร กินอาณาเขตทางใต้สุดของทะเลทรายอาตากามาในประเทศชิลี ตั้งอยู่ 160 กิโลเมตรทางเหนือของเมืองลาเซเรนา, 27 กิโลเมตรทางใต้ของหอดูดาวลัสกัมปานัส (Las Campanas) และ 100 กิโลเมตรทางเหนือของหอดูดาวเซร์โรโตโลโล (Cerro Tololo).

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และหอดูดาวลาซียา · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป

หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (European Southern Observatory; ESO) มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า European Organization for Astronomical Research in the Southern Hemisphere หรือ องค์การแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยทางดาราศาสตร์ในท้องฟ้าซีกใต้ เป็นองค์กรวิจัยนานาชาติสำหรับการศึกษาด้านดาราศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 14 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายอาตากามา

right ทะเลทรายอาตากามา (Desierto de Atacama) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเปรูไปถึงตอนเหนือของประเทศชิลี เป็นระยะทางกว่า 960 กิโลเมตร กินพื้นที่ประมาณ 180,000 ตารางกิโลเมตร โดยสูงเฉลี่ย 610 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทะเลทรายแห่งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าแห้งแล้งที่สุดของโลก ประกอบไปด้วยแอ่งดินเค็มแห้งแล้งหลายแอ่งติดต่อกัน แม้ว่าเกือบจะไม่มีพืชขึ้นเลย แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไนเตรต ทองแดง ไอโอดีน และบอแรกซ์ เมืองในทะเลทรายอย่างเช่นเมืองกาลามาประสบภาวะแล้งจัดยาวนานกว่า 400 ปี ซึ่งเพิ่งสิ้นสุดเมื่อปี..

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และทะเลทรายอาตากามา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และดาวเคราะห์คล้ายโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงตัวความโน้มถ่วง

งตัวความโน้มถ่วงสากล (Gravitational constant; G) ค่าคงตัวทางฟิสิกส์ที่ใช้ในการคำนวณแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุ 2 วัตถุ มักจะปรากฏอยู่ในกฎความโน้มถ่วงสากลของเซอร์ไอแซก นิวตัน และในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ รู้จักในอีกชื่อว่าค่าคงตัวนิวตัน.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และค่าคงตัวความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และนาซา · ดูเพิ่มเติม »

เขตอาศัยได้

ตัวอย่างของระบบตาม ความสว่างของดาวฤกษ์ เพื่อคาดการณ์ที่ตั้งของโซนอาศัยอยู่รอบ ๆหลายประเภทของดาวฤกษ์,ขนาดดาวเคราะห์,ขนาดดาวฤกษ์,ระยะโคจร และขนาดโซนอาศัยไม่ได้ระดับ เขตอาศัยได้ (habitable zone) ในทางดาราศาสตร์ หมายถึง ย่านหนึ่งในอวกาศที่ซึ่งดาวเคราะห์คล้ายโลกสามารถดำรงน้ำในสถานะของเหลวได้บนพื้นผิว และสามารถมีสิ่งมีชีวิตคล้ายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก เขตอาศัยได้เป็นจุดตัดกันระหว่างสองเขตที่ต่างก็เอื้อต่อการให้กำเนิดชีวิต คือหนึ่ง ภายในระบบดาวเคราะห์ และสอง คือภายในดาราจักร ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมันที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสมากที่จะเป็นแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวลักษณะคล้ายคลึงกับเราอยู่ที่นั่น จะต้องไม่สับสนปนเประหว่าง เขตอาศัยได้ กับ ดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ (planetary habitability) ซึ่งในข้อหลังนี้จะคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ของดาวเคราะห์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ขณะที่ เขตอาศัยได้ คำนึงถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับดาวฤกษ์ซึ่งส่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และเขตอาศัยได้ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: แทรปพิสต์-1และเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TRAPPIST-1แทรพพิสต์-1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »