โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แจ๊ส

ดัชนี แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

56 ความสัมพันธ์: บลูส์บอสซาโนวาชากา คานชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาชาเดชิบุยะเคบิกแบนด์บิลลี ฮอลิเดย์ชิคาโกฟลูตฟังก์กลองชุดการร้องเพลงกีตาร์กีตาร์เบสมามโบมาร์ชรัฐลุยเซียนาร็อกร็อกแอนด์โรลลอสแอนเจลิสลาตินอเมริกาสมูธแจ๊สสหรัฐสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหลุยส์ อาร์มสตรองฮิปฮอปจอห์น โคลเทรนจามิโรไควทรอมโบนทรัมเป็ตทูบาดับเบิลเบสดิซซี กิลเลสพีดุค เอลลิงตันดนตรีดนตรีสวิงดนตรีโฟล์กคริสต์ศตวรรษที่ 20ประเทศอินเดียนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)นิวออร์ลีนส์นิวเอจนูแจ๊สนีโอโซลแพท เมธินีแจ๊สฟิวชันแจ๊สแร็ปแคลริเน็ตแซกโซโฟน...ไมล์ส เดวิสเอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์เอซิดแจ๊ซเครื่องสังเคราะห์เสียงเคนนี จีเปียโน ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

บลูส์

ลูส์ (Blues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

ใหม่!!: แจ๊สและบลูส์ · ดูเพิ่มเติม »

บอสซาโนวา

อสซาโนวา (bossa nova, บอซานอวา) เป็นชื่อของแนวเพลงที่กำเนิดในประเทศบราซิล ในปี ค.ศ. 1958 โดยอังโตนีอู การ์ลูช โชบิง, วีนีซีอุช จี โมไรช์ และชูเอา ชิลเบร์ตู โดยมาจากการผสมผสานดนตรีแจ๊สของแอฟริกัน-อเมริกันกับดนตรีแซมบา ดนตรีพื้นบ้านของบราซิล เครื่องดนตรีที่ใช้กับดนตรีบอสซาโนวาประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลัก 2 ชิ้น คือ กีตาร์และเปียโน โดยมีเครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้แก่ออร์แกนไฟฟ้า ดับเบิลเบส กลอง และเครื่องเคาะ กีตาร์ที่ใช้จะต้องเป็นกีตาร์คลาสสิก สายไนลอน และเล่นโดยใช้นิ้ว ไม่ใช้ปิ๊ก ดนตรีบอสซาโนวา เป็นที่นิยมอยู่ในบราซิล สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ปัจจุบันอาจเรียกสั้น ๆ ว่า บอสซา ผลงานดนตรีที่ทำให้บอสซาโนวาเป็นที่นิยม คืออัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์ Black Orpheus (Orfeu Negro, 1959) โดยชูเอา ชิลเบร์ตู และเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาจากอัลบัม Jazz Samba (1962) ของสแตน เก็ตซ์และชาร์ลี เบิร์ด และโด่งดังไปทั่วโลกกับอัลบัม Getz/Gilberto (1963) ของสแตน เก็ตซ์และชูเอา ชิลเบร์ตู โดยเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเพลง The Girl from Ipanema (Garota de Ipanema) ซึ่งขับร้องโดยอัสตรุด ชิลเบร์ตู ภรรยาของชูเอา เพลงนี้ได้รับรางวัลแกรมมีเมื่อปี ค.ศ. 1965.

ใหม่!!: แจ๊สและบอสซาโนวา · ดูเพิ่มเติม »

ชากา คาน

กา คาน (Chaka Khan) เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม..

ใหม่!!: แจ๊สและชากา คาน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่มีชื่อเสียง แถวบน:ดับเบิลยู. อี. บี. ดู บอยส์ • มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ • เอดเวิร์ด บรูกแถวล่าง:มัลคอล์ม เอกซ์ • โรซา พรากส์ • ซอเยอร์เนอร์ ทรูธ ในสหรัฐอเมริกา คำว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา (African-American, Afro-American) ภาษาปากว่า ชาวอเมริกันผิวดำ (Black American) เป็นชื่อเรียกของคนที่มีผิวสีดำแตกต่างจากคนอเมริกันที่มีผิวขาว โดยต้นกำเนิดของคนผิวสีส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมาจากทวีปแอฟริกา แต่เนื่องจากเหตุการณ์การล่าอาณานิคมและธุรกิจการค้าทาส ทำให้ผู้คนเหล่านี้ถูกพาเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก ในอดีตสหรัฐอเมริกามีปัญหาการเหยียดสีผิวอย่างรุนแรง แต่ในปัจจุบันนี้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม วัฒนธรรมของคนดำนั้นได้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านดนตรี รวมทั้งการแต่งกายและการกีฬา หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน.

ใหม่!!: แจ๊สและชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ชาเด

อาดู หรือเรียกสั้นๆ ว่า ชาเด (Sade Adu) (16 มกราคม ค.ศ. 1959 -) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษสาวลูกครึ่งไนจีเรีย-อังกฤษ ที่มีชื่อเสียงจากเพลง Smooth Operator (ใช้ทำนองเดียวกับเพลง "ไม่สายเกินไป" ของเรวัต พุทธินันทน์) ชาเด อาดู มีชื่อจริงว่า เฮเลน ฟอลาชาเด อาดู เกิดที่ประเทศไนจีเรีย จากบิดาชาวไนจีเรีย และมารดาชาวอังกฤษ เมื่ออายุ 4 ขวบ มารดาแยกทางกับบิดา และเดินทางกลับอังกฤษพร้อมกับชาเดและพี่ชาย ชาเดเริ่มร้องเพลงตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: แจ๊สและชาเด · ดูเพิ่มเติม »

ชิบุยะเค

ชิบุยะเค เป็นแนวเพลงย่อยของเจป็อปเกิดขึ้นที่ย่านชิบุยะในเมืองโตเกียว เป็นแนวที่รวมดนตรี อีเลกโทรป็อป แจ๊ส ป็อป เข้าด้วยกัน โดยมีศิลปินชิบุยะเคอิยุคแรกอย่าง Flipper's Guitar และ Pizzicato Five หมวดหมู่:แนวดนตรี.

ใหม่!!: แจ๊สและชิบุยะเค · ดูเพิ่มเติม »

บิกแบนด์

กแบนด์ (Big band) เป็นลักษณะการรวมกันของการเล่นดนตรีในดนตรีแจ๊ส ได้รับความนิยมในยุคสวิง ต้นทศวรรษ 1930 จนถึงปลายยุค 1940 บิ๊กแบนด์โดยทั่วไปมักประกอบด้วยนักดนตรีประมาณ 12 ถึง 25 คน เล่นเครื่องดนตรีแซกโซโฟน, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน และเครื่องให้จังหวะ คำว่า แจ๊สแบนด์, สเตจแบนด์, แจ๊สออร์เคสตร้า, โซไซตีแบนด์ และแด๊นสแบนด์ อาจมีใช้อธิบายถึงบิ๊กแบนด์ก็ได้.

ใหม่!!: แจ๊สและบิกแบนด์ · ดูเพิ่มเติม »

บิลลี ฮอลิเดย์

ลลี ฮอลิเดย์ (Billie Holiday) (7 เมษายน ค.ศ. 1915 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1959) นักร้องผิวสีชาวอเมริกัน เจ้าของฉายา เลดี้เดย์ (Lady Day) เป็นนักร้องเพลงแจ๊ซ สวิงและบลูส์ที่มีน้ำเสียงและวิธีการร้องที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ด้วยน้ำเสียงแหบหยาบ หม่นเศร้า ประกอบกับเพลงส่วนใหญ่ที่เธอเลือกร้อง มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับความผิดหวัง เศร้าหมอง ขมขื่น สอดคล้องกับชีวิตจริงของเธอเอง.

ใหม่!!: แจ๊สและบิลลี ฮอลิเดย์ · ดูเพิ่มเติม »

ชิคาโก

ก (Chicago; คำอ่าน) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิส เมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: แจ๊สและชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูต

ฟลุต ฟลูต (flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน.

ใหม่!!: แจ๊สและฟลูต · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์

ฟังก์ (Funk) เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้นด้วยเบสอิเล็กทรอนิกและกลองให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน ผู้มีอิทธิพลต่อดนตรีฟังก์ เช่น เจมส์ บราวน์,สลาย แอนด์ เดอะ แฟมิลี สโตน, จอร์จ คลินตัน แอนด์ พาร์ไลเมน-ฟังก์คาเดลิก,เคอร์ติส เมฟิลด์, เดอะ เมเตอร์ส,เดอะ ฟังก์ บราเตอร์ส, บูทซี คอลลินส์ และ พรินซ์ วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1970 อย่าง เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์,ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์, คอมโมดอร์ส และคูลแอนด์เดอะแก๊ง ที่โด่งดังหลายๆ วง ก็เล่นเพลงในแนวดิสโก้และโซลด้วย ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง.

ใหม่!!: แจ๊สและฟังก์ · ดูเพิ่มเติม »

กลองชุด

กลองชุด ประกอบด้วย (1) Bass drum (2) Floor tom (3) Snare (4) Toms (5) Hi-hat (6) Crash cymbal และ Ride cymbal กลองชุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยตัวกลองและฉาบจำนวนหลายใบ และใช้"ไม้กลอง"เพื่อตีควบคุมจังหวะ กลองชุดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงหนักแน่น สามารถเพิ่มพลังให้กับบทเพลงได้หลากหลายแนว เช่น ร็อก, บลูส์, ป็อป, ฟังก์, ดิสโก้ และ แจ๊ส เป็นต้น กลองชุดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก.

ใหม่!!: แจ๊สและกลองชุด · ดูเพิ่มเติม »

การร้องเพลง

แพตตี สมิธ ร้องเพลงในปี 2007 การร้องเพลง หรือ การขับร้อง คือการทำให้เกิดเสียงดนตรีจากเสียงและเสริมด้วยถ้อยคำทั้งระบบเสียงสูงต่ำและจังหวะ คนที่ขับร้องเพลงเรียกว่านักร้อง และนักร้องจะแสดงการขับร้องเพลง ซึ่งอาจจะร้องแบบอะแคปเปลา (ร้องโดยไม่ใช้ดนตรี) หรือมีนักดนตรี เครื่องดนตรีประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีตัวเดียวหรือเต็มวง การร้องนั้นส่วนใหญ่จะร้องร่วมการแสดงกับนักดนตรีกลุ่มอื่น ไม่ว่าจ่ะเป็นกลุ่มคอรัสที่ร้องในเสียงที่แตกต่างกัน หรือกลุ่มนักเล่นดนตรี อย่างเช่นวงร็อกเป็นต้น การร้องเพลงนั้นอาจร้องแบบไม่เป็นทางการ ร้องเพื่อความบันเทิง อย่างเช่นร้องระหว่างการอาบน้ำ ร้องคาราโอเกะ หรือในบางกรณีร้องอย่างเป็นทางการ เช่นร้องในระหว่างพิธีทางศาสนา หรือนักร้องอาชีพร้องเพื่อแสดงบนเวทีหรือร้องในสตูดิโอ การร้องที่มีทักษะสูงหรือร้องในระดับอาชีพ มักจะต้องอาศัยความสามารถแต่กำเนิด การเรียนการสอน และการฝึกฝน นักร้องมืออาชีพจะสร้างหนทางสู่อาชีพด้วยการเป็นนักร้องในแนวเพลงต่าง ๆ อย่างเช่น นักร้องคลาสสิก นักร้องร็อก พวกเขาต้องฝึกทักษะการร้องในแนวเพลงนั้น ทั้งจากครูสอนร้องหรือโค้ชร้อง ในอาชีพของพวก.

ใหม่!!: แจ๊สและการร้องเพลง · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: แจ๊สและกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์เบส

ป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น.

ใหม่!!: แจ๊สและกีตาร์เบส · ดูเพิ่มเติม »

มามโบ

มามโบ (Mambo ออกเสียงแบบอเมริกัน /ˈmɑmboʊ/ แบบบริติช /ˈmæmbəʊ/) เป็นชื่อจังหวะดนตรีและการเต้นรำของชาวคิวบา มีความหมายว่า "conversation with the gods" มาจากชื่อหมอผีลัทธิวูดูในเฮติ แถบตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาอยู่แถบทะเลแคริบเบียนพร้อมกับการค้าทาสตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ดนตรีมามโบสมัยใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1938 พร้อมกับจังหวะการเต้นที่เรียกว่า "มามโบ" พัฒนามาจากรูปแบบการเต้นแบบพื้นเมืองแอฟริกา แต่งโดย Orestes López และ Cachao López พี่น้องนักดนตรีชาวคิวบา ผู้ได้รับการยกย่องเป็น ผู้ให้กำเนิดดนตรีมามโบ โดยผสมผสานดนตรีแอฟริกัน-คิวบัน กับดนตรีจังหวะสวิงของอเมริกัน มีทั้งจังหวะเร็ว และช้า ดนตรีมามโบได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เมื่อเปเรซ ปราโด (Perez Prado) นักเปียโนและนักแต่งเพลงชาวคิวบา นำดนตรีแนวนี้มาเล่นในคาสิโนในฮาวานา เมื่อเปเรซ ปราโด ย้ายไปอยู่ที่เม็กซิโกในปี ค.ศ. 1948 เขาเริ่มบันทึกแผ่นเสียงในสังกัด RCA Victor และทำให้ดนตรีมามโบเป็นที่นิยมในวงกว้าง และข้ามฝั่งไปในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1951 เปเรซ ปราโด ได้รับฉายาว่าเป็น "ราชาแห่งมามโบ" (หรือ Mambo King) ลักษณะเด่นของดนตรีมามโบของเปเรซ ปราโด คือ ใช้แซกโซโฟนให้จังหวะ และใช้เครื่องเป่าทองเหลือง (ทรอมโบนและทรัมเปต)ให้ทำนอง มีเปียโน กลอง และเครื่องเคาะเป็นส่วนประกอบ.

ใหม่!!: แจ๊สและมามโบ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ช

มาร์ช (march) หมายถึง เพลงแบบหนึ่งซึ่งประพันธ์ไว้ใช้ในการเดินแถว เช่น การเดินแถวของทหาร เป็นต้น เพื่อให้การเดินแถวมีระเบียบเรียบร้อยไม่สับสน โดยจะมีจังหวะการเดินตามจังหวะเพลง.

ใหม่!!: แจ๊สและมาร์ช · ดูเพิ่มเติม »

รัฐลุยเซียนา

ลุยเซียนา (Louisiana, ออกเสียง หรือ) เป็นรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลักษณะผสมผสานของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ซึ่งในรัฐลุยเซียนามีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการของรัฐ ถึงแม้ว่าภาษาฝรั่งเศสจะมีใช้เพียงประมาณ 5% เมืองสำคัญของรัฐคือ นิวออร์ลีนส์ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ แบตันรูช ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ นิวออร์ลีนส์เซนต์และนิวออร์ลีนส์ฮอร์เนตส์ ในปี 2550 ลุยเซียนามีประชากร 4,089,963คน ในทุกปี จะมีงานเฉลิมฉลองขนาดใหญ่จัดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์ชื่องานว่า มาร์ดีกรา (Mardi Gras) จะมีขบวนพาเหรดและงานรื่นเริงต่างๆ โดยจัดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม ในปี พ.ศ. 2548 พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ได้ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองนิวออร์ลีน.

ใหม่!!: แจ๊สและรัฐลุยเซียนา · ดูเพิ่มเติม »

ร็อก

ร็อก (Rock) แนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาW.

ใหม่!!: แจ๊สและร็อก · ดูเพิ่มเติม »

ร็อกแอนด์โรล

อลวิส เพรสลีย์ นักร้องร็อกแอนด์โรลที่มีอิทธิพลที่สุดคนนึงในยุคนั้น ร็อกแอนด์โรล (Rock and roll หรือ rock 'n' roll) คือแนวเพลงประเภทหนึ่งที่ได้พัฒนาในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 40s จนมาได้รับความนิยมในต้นยุค 50s และได้แพร่ขยายความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเราจะเรียกกันสั้นๆว่า "ร็อก" ส่วนเรื่องจังหวะจะเป็นจังหวะ บูกี้ วูกี้ บลูส์ โดยจะทำให้เด๋นโดยจังหวะแบ็ค บีท (Back Beat) ซึ่งต่อมาจะใช้กลองสแนร์ ดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงแรกจะเล่นโดยกีตาร์ไฟฟ้า หนึ่งหรือสองตัว (1 ลีด,1 ริทึม),กีตาร์เบส (หรือดับเบิ้ลเบส),ชุดกลอง ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็นส่วนเสริม ร็อกแอนด์โรลในช่วงต้นยุค 50s มักจะใช้แซกโซโฟนนำดนตรี ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นกีตาร์ช่วงกลางยุค 50s เปียโนก็ถูกใช้เป็นส่วนสำคัญในดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงกลางยุค 40s ความได้รับความนิยมในดนตรีร็อกแอนด์โรลเป็นอย่างมากได้แพร่กระจายสู่สังคม นอกจากทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีผลต่อแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ภาษา ศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือ เอลวิส เพรสลีย์ ที่สร้างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ในรูปแบบของร็อกแอนด์โรล ในปี..

ใหม่!!: แจ๊สและร็อกแอนด์โรล · ดูเพิ่มเติม »

ลอสแอนเจลิส

ลอสแอนเจลิส (Los Angeles) หรือที่รู้จักในชื่อ แอลเอ (L.A.) เป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง ทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการบันเทิง ลอสแอนเจลิสตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเริ่มตั้งเป็นเมืองเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ในขณะที่มีประชากร 1,610 คน ในปี พ.ศ. 2543 ตามสำมะโนประชากรลอสแอนเจลิส มีประชากรประมาณ 4 ล้านคนในเขตตัวเมือง และเขตรอบนอกประมาณ 17.5 ล้านคน ลอสแอนเจลิสได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการปะปนของวัฒนธรรมมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เนื่องจากการอพยพของคนหลายเชื่อชาติโดยเฉพาะชาวเอเชีย และอเมริกาใต้ เนื่องจากลักษณะของอากาศที่อบอุ่นสบาย และลักษณะการเป็นอยู่ต่างๆ ชื่อเมืองลอสแอนเจลิส (Los Angeles) มาจากคำว่า โลสอังเคเลส (Los Ángeles) ในภาษาสเปน หมายถึง ทูตสวรรค์หลายองค์ เป็นรูปพหูพจน์ของคำว่า el ángel ซึ่งเป็นเพศชาย ชื่อเมืองจึงมีความหมายว่า "เมืองแห่งทูตสวรรค์" ลอสแอนเจลิสได้เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นที่ตั้งของฮอลลีวูด และปลายทางของถนนสายประวัติศาสตร์ ทางหลวงสหรัฐหมายเลข 66 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย (USC) ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในเมือง ได้แก่ ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส คลิปเปอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส สปาร์ค (บาสเกตบอลหญิง) ลอสแอนเจลิส ดอดจ์เจอร์ส (เบสบอล) ลอสแอนเจลิส คิงส์ (ฮอกกี้น้ำแข็ง) ลอสแอนเจลิส กาแลกซี (ฟุตบอล) ซี.ดี. ชีวาส ยูเอสเอ (ฟุตบอล) นอกจากนี้ในเมืองลอสแอนเจลิส ได้เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) และ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ในอดีตมีทีมอเมริกันฟุตบอลในชื่อ "ลอสแอนเจลิส เรดเดอร์ส" ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายไปไปประจำเมืองโอคแลนด์ และเปลี่ยนชื่อเป็นโอคแลนด์ เรดเดอรส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538.

ใหม่!!: แจ๊สและลอสแอนเจลิส · ดูเพิ่มเติม »

ลาตินอเมริกา

นแดนลาตินอเมริกา ลาตินอเมริกา (América Latina; Amérique Latine; Latinoamérica, América Latina) คือ กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ที่พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ เป็นหลัก ได้แก.

ใหม่!!: แจ๊สและลาตินอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สมูธแจ๊ส

มูธแจ๊ส (Smooth jazz) เป็นแนวดนตรีย่อยของแจ๊สเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนว อาร์แอนด์บี ฟังก์ และ ป็อป.

ใหม่!!: แจ๊สและสมูธแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: แจ๊สและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: แจ๊สและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ อาร์มสตรอง

หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) (4 สิงหาคม ค.ศ. 1901 - 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1971) มีชื่อเล่นว่า "แซทช์โม" (Satchmo) หรือ ป็อปส์ (Pops) นักทรัมเป็ตและนักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: แจ๊สและหลุยส์ อาร์มสตรอง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปฮอป

ปฮอป (Hip Hop) หรืออาจเขียนเป็น ฮิป-ฮอป (Hip-hop) มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจากที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลงฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิดแผ่นเพลงในคลับต่าง ๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง loop, beat ใหม่ ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้น.

ใหม่!!: แจ๊สและฮิปฮอป · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น โคลเทรน

อห์น วิลเลียม "เทรน" โคลเทรน (23 กันยายน ค.ศ. 1926 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1967) นักแซกโซโฟน นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงดนตรีแจ๊ซชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงในฐานะนักดนตรีแนวบีบ็อพ ฮาร์ดบ็อพ ต่อมาได้ร่วมวงกับไมล์ส เดวิส และทีโลเนียส มังค์ เป็นแนวหน้าในการพัฒนาดนตรีในแนวฟรีแจ๊ซ จอห์น โคลเทรนได้การยอมรับว่าเป็นนักเทเนอร์แซกโซโฟนคนสำคัญคนหนึ่งของวงการดนตรีแจ๊ซ ที่มีอิทธิพลต่อนักดนตรีรุ่นหลังเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องในการประกาศผลรางวัลพูลิตเซอร์ ประจำปี 2007 สำหรับ "masterful improvisation, supreme musicianship and iconic centrality to the history of jazz." จอห์น โคลเทรนเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 40 ปี จากโรคมะเร็งตับ ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม..

ใหม่!!: แจ๊สและจอห์น โคลเทรน · ดูเพิ่มเติม »

จามิโรไคว

มิโรไคว (Jamiroquai) เป็นวงจากอังกฤษ ที่ นำโดยนักร้องนำ เจย์ (เจสัน) เคย์ แจ้งเกิดในยุคปฏิวัติทางดนตรีของเอซิดแจ๊ส เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 จนถึงวันนี้ที่เขาเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีฟังก์หัวก้าวหน้า จามิโรไควคือศิลปินอังกฤษที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นมากที่สุดอีกคนหนึ่ง ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วยุโรปไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สเปน อิตาลี อเมริกาใต้ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น รวมทั้งอเมริกาเหนือตลาดดนตรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก.

ใหม่!!: แจ๊สและจามิโรไคว · ดูเพิ่มเติม »

ทรอมโบน

ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา และแตรวง ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน ทรอมโบน เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีประเภทท่อทรงกระบอก (Cylindrical Bore) กล่าวคือมีท่อลมที่ขนาดคงที่เกือบทั้งเครื่อง ทำให้มีเสียงที่แข็งและกระด้าง ไม่นิ่มนวลเหมือนฮอร์นหรือยูโฟเนียม แต่ในบางรุ่นอาจมีการขยายขาหนึ่งของ Slide ให้ใหญ่กว่าอีกขาหนึ่ง ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องดนตรีทรงกรวย (Conical Bore) และให้เสียงที่นุ่มขึ้น.

ใหม่!!: แจ๊สและทรอมโบน · ดูเพิ่มเติม »

ทรัมเป็ต

ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์ ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน (mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวงขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่ ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิก ในประเทศไทยมีผู้เล่นทรัมเป็ตที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อ.วานิช โปตะวณิช, อ.เลิศเกียรติ จงจิรจิต เป็นต้น หมวดหมู่:เครื่องลมทองเหลือง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:ดนตรีของกองทัพเรือ.

ใหม่!!: แจ๊สและทรัมเป็ต · ดูเพิ่มเติม »

ทูบา

F-tubas, ปีค.ศ. 1900 (ซ้าย) และ 2004 (ขวา) ทูบา (tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียง โดยมากจะใช้ใน วงโยธวาทิต วงดนตรี ลูกทุ่ง จนถึง วงออเคสตรา และ แตรวง กว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับ ฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพงกำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า "พีเดิล โทน" (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนว เบส ให้แก่กลุ่ม เครื่องลมทองเหลือง ทูบาทำมาจากทองเหลืองและเป็นเครื่องมือที่มีเสียงต่ำที่สุดในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง จึงทำหน้าที่เป็นเบสเพื่อให้แนวเบสมีเสียงแน่นขึ้น ผู้เล่นต้องใช้ลมมากเช่นเดียวกับฮอร์น ดังนั้น จึงควรมีช่วงให้หยุดพักหายใจบ้าง.

ใหม่!!: แจ๊สและทูบา · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลเบส

ับเบิลเบส (Double bass) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น สตริงเบส (String Bass) คอนทราเบส (Contra Bass) เบสวิโอล (Bass Viol) ดับเบิลเบสเป็นเครื่องดนตรีที่ที่นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส มีความสูงมาตรฐานประมาณ 74 นิ้ว ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์กับซอวิโอล (Viol) อย่างแท้จริง โดยสืบทอดมาจาก Violone ซอวิโอลขนาดใหญ่ (Big Viol) ซึ่งเล่นในช่วงเสียง 16 ช่วงเสียง (เสียงของมันจะต่ำกว่าโน้ตที่เขียน 1 ช่วงเสียง).

ใหม่!!: แจ๊สและดับเบิลเบส · ดูเพิ่มเติม »

ดิซซี กิลเลสพี

อห์น เบิร์คส "ดิซซี" กิลเลสพี (21 ตุลาคม ค.ศ. 1917 - 6 มกราคม ค.ศ. 1993) นักทรัมเป็ต หัวหน้าวง นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน กิลเลซพี เป็นนักดนตรีคนสำคัญ ผู้นำดนตรีแจ๊ซอเมริกันเข้าสู่ยุคบีบ็อพ และโมเดิร์นแจ๊ซ ในช่วงทศวรรษ 1940 ควบคู่กับชาร์ลี พาร์กเกอร์ นอกการเล่นทรัมเป็ตแล้ว ดิซซี กิลเลสพี ยังมีความสามารถในการร้องเพลง เขาสามารถสแคต สลับกับการเล่นอิมโพรไวซ์ ทรัมเป็ตส่วนตัวของกิลเลสพี มีลักษณะพิเศษต่างจากทรัมเป็ตธรรมดาคือ ส่วนของปากแตรจะทำมุมทแยง 45 องศา ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1953 เสียงของทรัมเป็ตจะเพี้ยนไปเล็กน้อย แต่กิลเลสพีชอบเสียงที่เพี้ยนไปนี้ และใช้ทรัมเป็ตอันนี้ตลอดมา ผู้ชมการแสดงจะเห็นภาพกิลเลสพีเล่นทรัมเป็ตรูปร่างแปลกๆ กักลมไว้ในแก้มจนป่องสุด จนเป็นภาพที่คุ้นตา ดิซซี กิลเลสพี ถ่ายเมื่อปี 1988 ในปี ค.ศ. 1964 กิลเลสพีสมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแข่งกับลินดอน บี จอห์นสัน และแบร์รี โกลด์วอเทอร์ โดยมีนโยบายด้านcivil rights และถอนทหารออกจากสงครามเวียดนาม เขาประกาศจะเปลี่ยนชื่อทำเนียบขาว เป็น "ทำเนียบน้ำเงิน" (The Blues House) แต่งตั้งไมล์ส เดวิสให้เป็นผู้อำนวยการซีไอเอ รวมถึงคนอื่นๆ เช่น เรย์ ชาร์ลส และมัลคอล์ม เอ็กซ์ ให้มีตำแหน่งบริหาร กิลเลสพี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1993 ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ด้วยวัย 75 ปี วงดนตรี ดิซซี กิลเลสพี ออลสตาร์ บิ๊กแบนด์ ซึ่งประกอบด้วยนักดนตรีที่เคยร่วมงานกับกิลเลสพี ยังรวมวงและเล่นอยู่จนถึงปัจจุบัน และเข้ามาแสดงในประเทศไทย ในมหกรรมดนตรีแจ๊สเทิดพระเกียรติ 2549 Jazz Royale Festival จัดแสดงที่กรุงเทพ พัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต ระหว่างวันที่ 9 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: แจ๊สและดิซซี กิลเลสพี · ดูเพิ่มเติม »

ดุค เอลลิงตัน

นเนดี "ดุ๊ค" เอลลิงตัน (29 มีนาคม ค.ศ. 1899 - 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1974) เป็นนักแต่งเพลงชาวอเมริกันเปียโนและดรัมเมเยอร์ของวงดนตรีแจ๊สซึ่งเขานำจาก 2466 จนตายในอาชีพที่ทอดมานานกว่าห้าสิบปี เกิดที่วอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: แจ๊สและดุค เอลลิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: แจ๊สและดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีสวิง

ดนตรีสวิง (Swing music) หรือบางครั้งรู้จักในชื่อ สวิงแจ๊ซ (swing jazz) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า สวิง (swing) เป็นเพลงแจ๊ซประเภทหนึ่งที่พัฒนาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 และเด่นชัดขึ้นในปี 1935 ในสหรัฐอเมริกา สวิงใช้ส่วนจังหวะที่แข็งแรงมั่นคง ที่ช่วยนำท่อนนำที่ใช้เครื่องดนตรีอย่างเครื่องทองเหลือง อย่างเช่นทรัมเปตและทรอมโบน หรือเครื่องเป่าไม้อย่าง แซกโซโฟนและคลาริเนต หรือเครื่องสายอย่าง ไวโอลินและกีตาร์ การใช้ทำนองจากกลาง ๆ ไปสู่ทำนองเร็ว และจังหวะเพลงแบบสวิงไทม์ วงสวิงมักจะมีคนโซโล่ที่จะแสดงคีตปฏิภาณ เมโลดี้ใหม่ ๆ ในการเรียบเรียงเพลง นอกจากนั้นผู้นำวงกับการเต้นรำแบบสวิงอย่าง เบนนี กูดแมนและเคานต์ เบซี เป็นที่โดดเด่นในกระแสเพลงป็อปอเมริกันในช่วงปี 1935 ถึง 1945 อีกด้วย หมวดหมู่:แนวดนตรี หมวดหมู่:ดนตรีแจ๊ส.

ใหม่!!: แจ๊สและดนตรีสวิง · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีโฟล์ก

นตรีโฟล์ก (Folk music) มีความหมายที่แตกต่าง หลากหลาย อาท.

ใหม่!!: แจ๊สและดนตรีโฟล์ก · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: แจ๊สและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: แจ๊สและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แจ๊สและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นิวออร์ลีนส์

นิวออร์ลีนส์ (New Orleans) เป็นเมืองท่าสำคัญของสหรัฐอเมริกาและเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นที่เมืองในรัฐลุยเซียนา ชื่อเมืองตั้งชื่อตามฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งฝรั่งเศส เมืองเป็นที่รู้จักในเรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสอันโดดเด่น เช่นเดียวกับมรดกวัฒนธรรมอันผสมผสานหลากหลายCultures well represented in New Orleans' history include African American, Creole, Cajun, French, German, Irish, Italian, Jewish, Latino, Spanish, and Vietnamese.

ใหม่!!: แจ๊สและนิวออร์ลีนส์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเอจ

นตรีนิวเอจ หากแปลตามตัวก็หมายถึง ดนตรียุคใหม่ เป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งมีจุดเริ่มต้นจากงานความหลากหลายของนักดนตรียุโรปและอเมริกันในทศวรรษที่ 60 ที่ทำเพลงอีเลกโทรนิกและอคูสติก โดยทั่วไปมีลักษณะการใช้เครื่องดนตรีพื้นฐานและความซ้ำของเมโลดี้ในธรรมชาติ การบันทึกเสียงจากธรรมชาติก็มีการนำมาใช้ในเพลง ดนตรีนิวเอจมีดนตรีที่ให้ความผ่อนคลาย แรงบันดาลใจ และมักใช้กับกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น โยคะ การนวด การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ และการบริหารความเครียด ที่จะสร้างบรรยากาศไม่ว่าจะที่บ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ลักษณะของดนตรีนิวเอจมักผสมระหว่างเสียงเอฟเฟกหรือเสียงจากธรรมชาติ รวมกับเพลงอีเลกโทรนิกและเครื่องดนตรี อาศัยโครงของดนตรีหนุนไว้ อย่างเช่น ฟลุต เปียโน อคูสติกกีตาร์ และอาจรวมถึงเครื่องดนตรีตะวันออก ซึ่งในบางเพลงอาจมีการร้องลำนำในภาษาสันสกฤต ทิเบต หรือการสวดของคนพื้นถิ่นในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น หรือในบางคร้งก็มีการเขียนเนื้อร้องที่อิงมาจากเทพนิยายอย่างตำนานเคลติก เป็นต้น สำหรับเพลงที่มีความยาวมากกว่า 20 นาทีในเพลงประเภทนี้ไม่ใช่สิ่งที่แปลกอะไร และในบางครั้งลักษณะของเพลงแบบนี้ก็มีการเปรียบได้ว่าดนตรีแอมเบียนต์ (ambient music) ในช่วงทศวรรษที่ 80 ดนตรีนิวเอจได้รับความนิยมทางสถานีวิทยุทั่วไป.

ใหม่!!: แจ๊สและนิวเอจ · ดูเพิ่มเติม »

นูแจ๊ส

นูแจ๊ส (Nu jazz) เป็นคำที่เกิดขึ้นในปลายทศวรรษ 1990 ที่หมายถึงประเภทดนตรีที่ผสมผสานองค์ประกอบของเพลงแนวแจ๊สเข้ากับแนวเพลงอื่น เช่น ฟังก์ ดนตรีโซล ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ และคีตปฏิภาณ สด ๆDefinition from Sergey Chernov, June 7, 2002, in The St.

ใหม่!!: แจ๊สและนูแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

นีโอโซล

นีโอโซล หรือบางครั้งเรียก นูโซล (nu soul) เป็นแนวเพลงย่อยของแนวเพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัย ดนตรีมักผสมผสามดนตรีโซลในยุค 70 และได้รับอิทธิพลจากแนวเพลงแจ๊ซ ฟังก์ ละติน แอฟริกัน ฮิปฮอป และดนตรีเฮาส์ คำว่านีโอโซลมีที่มาจากเคดาร์ มาสเซนเบิร์ก จากค่ายโมทาวน์ในช่วงปลายยุค 1990 โดยกลุ่มคนฟังแนวเพลงนี้มักจะสนใจเพลงใต้ดิน ไร้สังกัด และความเป็นโซลมากกว่าแนวเพลงกระแสหลัก หมวดหมู่:แนวดนตรี.

ใหม่!!: แจ๊สและนีโอโซล · ดูเพิ่มเติม »

แพท เมธินี

แพท เมธินี (Pat Metheny) เกิดที่แคนซัสซิตี้ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1954 ในครอบครัวดนตรี เริ่มเล่นทรัมเป็ตเมื่ออายุ 8ปี พออายุ 12 เขาหันมาเล่นกีตาร์ เมื่ออายุ 15 ปี เขาได้มีโอกาสร่วมงานกับนักดนตรีแจ๊ซที่ดีที่สุดในเมืองแคนซัส และได้ทำงานตรงนี้สม่ำเสมอ ทำให้ได้รับประสบการณ์อันมีค่าในการเล่นในวงดนตรีระดับอาชีพ แม้ว่าจะมีอายุที่น้อยมาก ชื่อของแพท เมธินีได้ปรากฏในโลกดนตรีแจ๊ซระดับสากลในปี1974.

ใหม่!!: แจ๊สและแพท เมธินี · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊สฟิวชัน

แจ๊สฟิวชัน (Jazz fusion) ในบางครั้งอาจเรียกว่า ฟิวชัน (fusion) หรือ แจ๊สร็อก (jazz-rock) เป็นแนวดนตรีประสานที่พัฒนามาจากการผสมของดนตรีฟังก์และอาร์แอนด์บี จังหวะและการพัฒนามาและเอฟเฟกอิเล็กทรอนิกส์ของเพลงร็อก มีเครื่องหมายประจำจังหวะที่ซับซ้อน ที่ไม่ได้เอามาจากดนตรีตะวันตก เครื่องดนตรีทั่วไปมีส่วนประกอบเข้าใกล้ดนตรีแจ๊สไปยังการแสดงของกลุ่มยืดยาว โดยมักจะใช้เครื่องเป่าลมและทองเหลืองและการแสดงในระดับสูงของเทคนิคในการใช้เครื่องดนตรี คำว่า "แจ๊สร็อก" มักถูกใช้เป็นคำพ้องกับ "แจ๊สฟิวชัน" เช่นเดียวกับดนตรีที่เล่นในปลายทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ยุคที่วงร็อกได้เพิ่มองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส หลังจากได้รับความนิยมในช่วงปีทศวรรษ 1970 ที่ฟิวชันขยายแนวทางการแสดงสด และการทดลองปฎิบัติต่อในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 อัลบัมฟิวชันเหล่านั้นจะทำโดยกลุ่มเดียวกันหรือศิลปินที่อาจรวมถึงความหลากหลายของสไตล์ ตรงกันข้ามกว่าการรวบรวมสไตล์ดนตรี ฟิวชันสามารถมองได้ว่าประเพณีดนตรีหรือการกระชั้นชิด หมวดหมู่:แนวดนตรี หมวดหมู่:ดนตรีแจ๊ส.

ใหม่!!: แจ๊สและแจ๊สฟิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊สแร็ป

แจ๊สแร็ป เป็นแนวเพลงที่รวมกับฮิปฮอปและแจ๊ส ที่ได้การพัฒนาในช่วงปลายยุค 1980 และต้น 1990 เว็บไชต์ออลมิวสิก ได้อธิบายแนวดนตรีนี้ว่า "เป็นความพยายามที่จะหลอมรวมเพลงแอฟริกันอเมริกันจากอดีตด้วยรูปแบบที่โดดเด่นขึ้นเพื่อให้เข้ากับรูปแบบของแนวเพลงปัจจุบัน" ในทางดนตรีมีจังหวะคล้ายกับฮิปฮอปมากกว่าเพลงแจ๊ส มีถ้อยคำและเสียงอื่นๆที่หลากหลายกว่าเดิมถูกวางและใช้ซ้ำๆ ในการแต่งเพลงเช่น ทรัมเป็ต ดับเบิลเบส ฯลฯ ในด้านเนื้อเพลงมักจะเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมือง ลัทธินิยมผิวสี (Afrocentrism) และแนวคิดปฏิฐานนิยมทั่วไป ศิลปินเช่น A Tribe Called Quest, De La Soul, Dream Warriors และ Digable Planets เป็นผู้บุกเบิกแจ๊สแร็ป.

ใหม่!!: แจ๊สและแจ๊สแร็ป · ดูเพิ่มเติม »

แคลริเน็ต

กซ้ายไปขวา คลาริเน็ต Ab Eb และ Bb คลาริเน็ต(Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าลมไม้(woodwind instruments) ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า chalumeau แคลริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงแคลริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นแคลริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แป.

ใหม่!!: แจ๊สและแคลริเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

แซกโซโฟน

รอบครัวแซกโซโฟน (เรียงลำดับใหญ่-เล็ก) คอนทร่าเบสแซกฯ, เบสแซกฯ, บาริโทนแซกฯ, เทนเนอร์แซกฯ, C เทนเนอร์แซก, อัลโต้แซกฯ, F อัลโต้แซก, โซปราโน่แซกฯ, C โซปราโน่แซกฯ และโซปรานิโน่แซกฯ อัลโต้ แซกโซโฟน (ยามาฮ่า รุ่น YAS-275 MK1) แซกโซโฟน (saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet) โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงอย่างมาก CR:"NiCEkUNG.

ใหม่!!: แจ๊สและแซกโซโฟน · ดูเพิ่มเติม »

ไมล์ส เดวิส

มล์ส เดวีย์ เดวิส ที่ 3 (Miles Dewey Davis III) หรือ ไมล์ส เดวิส นักทรัมเปต นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อวงการดนตรีที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 เป็นผู้ที่พัฒนาการเล่นดนตรีแจ๊สแนวทางใหม่หลายแนว โดยเป็นแถวหน้าในการทดลองดนตรีแนวคูลแจ๊ส ฮาร์ดบ็อพ ฟรีแจ๊สและฟิวชันแจ๊ส มีนักดนตรีแจ๊สคนสำคัญหลายคนได้ร่วมงานกับวงดนตรีของเขา เช่น จอห์น โคลเทรน เฮอร์บี แฮนค็อก บิล อีแวนส์ ชิค โคเรีย จอห์น แมคลาฟลิน จูเลียน แอดเดอร์ลีย์ คีธ จาร์เรต ไมล์ส เดวิส ได้รับการบรรจุชื่อไว้ในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล เมื่อปี..

ใหม่!!: แจ๊สและไมล์ส เดวิส · ดูเพิ่มเติม »

เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์

อลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Jane Fitzgerald) (25 เมษายน ค.ศ. 1917 - 15 มิถุนายน ค.ศ. 1996) เป็นนักร้องเพลงแจ๊สผิวสีชาวอเมริกัน เจ้าของฉายา Lady Ella และ สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งวงการเพลง - The First Lady of Song ได้รับการยอมรับว่า มีเสียงนุ่ม ใส การเปล่งเสียงอย่างชัดถ้อยชัดคำสมบูรณ์แบบและเป็นธรรมชาติ มีพลังเสียงสามารถไล่ระดับเสียงได้ถึง 3 ออกเตฟ และมีความสามารถพิเศษในการด้น โดยเฉพาะในการสแคต (scat) เป็นพิเศษ เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ อยู่ในวงการเพลงตั้งแต่ ค.ศ. 1934 จนเสียชีวิตเมื่อ..

ใหม่!!: แจ๊สและเอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอซิดแจ๊ซ

อซิดแจ๊ซ (Acid jazz) หรือในอเมริการู้จักอีกชื่อว่า กรูฟแจ๊ซ เป็นแนวเพลงที่รวมองค์ประกอบของเพลงแจ๊ซ, ฟังก์ และฮิปฮอป ด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จังหวะซ้ำไปซ้ำมา พัฒนาในสหราชอาณาจักรในทศวรรษ 1980 และ 1990 สามารถเห็นได้จากแนวทงของดนตรีของแจ๊สฟังก์ บนดนตรีอีเลกโทรนิก/ป็อป: นักดนตรีแจ๊สฟังก์อย่างเช่น รอย เอเยอร์สและโดนัลด์ เบิร์ด มักได้รับเครดิตว่าเป็นแถวหน้าแห่งวงการเอซิดแจ๊ส เอซิดแจ๊ซยังได้รับอิทธิพลบางส่วนจากดนตรีโซล, ดนตรีเฮาส์ และดิสโก้.

ใหม่!!: แจ๊สและเอซิดแจ๊ซ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

ใหม่!!: แจ๊สและเครื่องสังเคราะห์เสียง · ดูเพิ่มเติม »

เคนนี จี

นเนธ บรูซ กอลีลิกซ์ (Kenneth Bruce Gorelick) (เกิด: 5 มิถุนายน 1956) รู้จักกันดีในชื่อของ เคนนี จี เป็นนักดนตรีชาวอเมริกันที่เล่นดนตรีแนว adult contemporary และเป่าแซกโซโฟนแนวสมูธแจ๊ส เขาเริ่มประสบความสำเร็จจากอัลบั้มที่ 4 "ดูโอ้โทนส์ (Duotones)" ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ขายได้ถึง 28 ล้านแผ่น จึงทำให้เขามีชื่อเสียงมากในช่วงปี 1980 ผลงานของ เคนนี จี นับเป็นผลงานทางดนตรีที่ประสบความสำเร็จในยอดขายสูงที่สุดในโลก ด้วยยอดขายทั่วโลกมากกว่า 75 ล้านก็อปปี๊ ในปี 1997 เขาได้รับการบันทึกในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่าเป็นบุคคลที่เล่นโน้ตแซ็กโซโฟนยาวนานที่สุดในโลก โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Circular breathing เคนนี จี ใช้แซ็กโซโฟน รุ่น E-Flat ซึ่งสามารถทำเวลาได้ถึง 45 นาที กับอีก 47 วินาที บันทึกไว้ที่ งาน เจแอนด์อาร์ มิวสิค เวิร์ด ณ นครนิวยอร์ก ผลงานเพลง ที่มีชื่อเสียงเช่น The Moment, Forever in Love, Song Bird, Endless Love, You're Beautiful, Titanic เป็นต้น โดยปัจจุบันเคนนี จี ใช้แซ็กโซโฟนรุ่น เซลเมอร์ มาร์ก 6 โซปราโน, อัลโต และเทเนอร์ (Selmer Mark VI Soprano, Alto and Tenor Saxophones) นอกจากนี้เขายังไปเพิ่มบางส่วนของ แซ็กโซโฟน เข้าไปด้วย จึงเรียกแซ็กโซโฟนของเขาว่า "แซ็กโซโฟน เคนนี จี ".

ใหม่!!: แจ๊สและเคนนี จี · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ใหม่!!: แจ๊สและเปียโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jazzแจสแจซแจ๊ซแจ็สแจ็ซเพลงแจซ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »