โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แกรี มัวร์

ดัชนี แกรี มัวร์

รเบิร์ต วิลเลียม แกรี มัวร์ (4 เมษายน ค.ศ. 1952 - 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011) เป็นนักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลงแนวบลูส์ร็อกจากเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ "แกรี มัวร์" มัวร์เริ่มอาชีพการแสดงดนตรีตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1960 เมื่ออายุเพียง 17 ปี เคยแสดงดนตรีร่วมกับนักดนตรีในระดับตำนานเช่น บี. บี. คิง, อัลเบิร์ต คิง, จอร์จ แฮร์ริสัน มาร์ก นอฟเลอร์ เดวิด กิลมอร์ เขามีผลงานทดลองในแนวทางต่างๆ มากมาย ทั้งดนตรีร็อก แจ๊ส บลูส์ คันทรี อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดร็อก และเฮฟวีเมทัล ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา คืออัลบัมและซิงเกิล Still Got the Blues ในปี 1990 ผลงานชิ้นนี้ถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนท่อนโซโลกีตาร์มาจากผลงานเพลงในปี 1974 ชื่อ Nordrach ของวงดนตรีเยอรมันชื่อ Jud's Gallery มัวร์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ว่าเขาไม่รู้จักเพลงดังกล่าว ศาลเยอรมันมีคำตัดสินเมื่อปี 2008 ว่ามัวร์อาจไม่ได้จงใจ แต่เนื่องจากทำนองเพลงทั้งสองใกล้เคียงกันมากจึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และมัวร์ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับเจอร์เกน วินเทอร์ หัวหน้าวง Jud's Gallery เป็นจำนวนเงินที่ไม่ได้ระบุ แกรี มัวร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยวัยเพียง 58 ปี ขณะเดินทางไปพักผ่อนในประเทศสเปนกับแฟนสาว สันนิษฐานว่าเนื่องจากอาการหัวใจล้มเหลว.

21 ความสัมพันธ์: บลูส์บลูส์ร็อกการร้องเพลงกีตาร์กีตาร์เบสมาร์ก นอฟเลอร์ร็อกฮาร์ดร็อกจอร์จ แฮร์ริสันดนตรีอิเล็กทรอนิกส์คันทรีประเทศสเปนนักดนตรีแจ๊สแจ๊สฟิวชันโจรกรรมทางวรรณกรรมโปรดิวเซอร์เพลงไอร์แลนด์เหนือเบลฟาสต์เฟนเดอร์ สตราโตแคสเตอร์เฮฟวีเมทัล

บลูส์

ลูส์ (Blues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และบลูส์ · ดูเพิ่มเติม »

บลูส์ร็อก

ลูส์ร็อก (Blues-rock) เป็นแนวเพลงผสมผสานระหว่างการแสดงคีตปฏิภาณแบบบลูส์ บนคอร์ดแบบ 12 บาร์บลูส์และการแจมแบบบูกี้กับสไตล์ร็อกแอนด์โรล โดยแกนหลักของบลูส์-ร็อก คือเครื่องดนตรีกีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสและกลองชุด ซึ่งกีตาร์ไฟฟ้าจะขยายผ่านตู้แอมไฟฟ้า ให้มีลักษณะรุนแรงมากขึ้น แนวเพลงนี้เริ่มพัฒนาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่ปิเอโร สการัฟฟีเรียกว่า "เป็นแนวเพลงริทึมแอนด์บลูส์ที่เล่นโดยนักดนตรีขาวชาวยุโรป" วงดนตรีอังกฤษอย่างเช่น เดอะฮู, เดอะยาร์ดเบิร์ดส, เลดเซปเพลิน, ดิแอนนิมอลส์, ครีม และเดอะโรลลิงสโตนส์ ได้ทดลองดนตรีดังกล่าวจากศิลปินบลูส์ชาวอเมริกัน อย่าง ฮาวลิน วูล์ฟ, โรเบิร์ต จอห์นสัน, จิมมี ลีดและมัดดี วอเตอร์ส ขณะที่วงบลูส์ร็อกยุคแรก "จะพยายามเล่นเพลงแจ๊ซยาว ๆ ที่มีลักษณะคีตปฏิภาณ อย่างเห็นได้ชัด" โดยคริสต์ทศวรรษ 1970 บลูส์ร็อกเริ่มหนักขึ้นกับเน้นท่อนริฟฟ์"Blues-rock," Allmusic.com (Accessed September 29 2006), และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เส้นแบ่งระหว่างบลูส์ร็อกและฮาร์ดร็อกเกือบจะไม่เห็น วงแนวนี้บันทึกเสียงอัลบั้มแนวร็อก และในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ก็เริ่มกลับมาที่รากบลูส์เดิม และมีศิลปินอย่าง "เฟบูลัสธันเดอร์เบิร์ดสและสตีวี เรย์ วอแกน สร้างชื่อเสียงวงการร็อกขึ้น".

ใหม่!!: แกรี มัวร์และบลูส์ร็อก · ดูเพิ่มเติม »

การร้องเพลง

แพตตี สมิธ ร้องเพลงในปี 2007 การร้องเพลง หรือ การขับร้อง คือการทำให้เกิดเสียงดนตรีจากเสียงและเสริมด้วยถ้อยคำทั้งระบบเสียงสูงต่ำและจังหวะ คนที่ขับร้องเพลงเรียกว่านักร้อง และนักร้องจะแสดงการขับร้องเพลง ซึ่งอาจจะร้องแบบอะแคปเปลา (ร้องโดยไม่ใช้ดนตรี) หรือมีนักดนตรี เครื่องดนตรีประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีตัวเดียวหรือเต็มวง การร้องนั้นส่วนใหญ่จะร้องร่วมการแสดงกับนักดนตรีกลุ่มอื่น ไม่ว่าจ่ะเป็นกลุ่มคอรัสที่ร้องในเสียงที่แตกต่างกัน หรือกลุ่มนักเล่นดนตรี อย่างเช่นวงร็อกเป็นต้น การร้องเพลงนั้นอาจร้องแบบไม่เป็นทางการ ร้องเพื่อความบันเทิง อย่างเช่นร้องระหว่างการอาบน้ำ ร้องคาราโอเกะ หรือในบางกรณีร้องอย่างเป็นทางการ เช่นร้องในระหว่างพิธีทางศาสนา หรือนักร้องอาชีพร้องเพื่อแสดงบนเวทีหรือร้องในสตูดิโอ การร้องที่มีทักษะสูงหรือร้องในระดับอาชีพ มักจะต้องอาศัยความสามารถแต่กำเนิด การเรียนการสอน และการฝึกฝน นักร้องมืออาชีพจะสร้างหนทางสู่อาชีพด้วยการเป็นนักร้องในแนวเพลงต่าง ๆ อย่างเช่น นักร้องคลาสสิก นักร้องร็อก พวกเขาต้องฝึกทักษะการร้องในแนวเพลงนั้น ทั้งจากครูสอนร้องหรือโค้ชร้อง ในอาชีพของพวก.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และการร้องเพลง · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์เบส

ป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และกีตาร์เบส · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก นอฟเลอร์

มาร์ก นอฟเลอร์ โอบีอี (เกิด 12 สิงหาคม ค.ศ. 1949) นักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลงและดนตรีประกอบภาพยนตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีร็อก ไดร์ สเตรทส์ ร่วมกับเดวิด นอฟเลอร์ ผู้เป็นน้องชายในปี..

ใหม่!!: แกรี มัวร์และมาร์ก นอฟเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อก

ร็อก (Rock) แนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาW.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และร็อก · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ดร็อก

ฮาร์ดร็อก (Hard rock) เป็นแนวเพลงย่อยของดนตรีร็อก ที่มีรากฐานในช่วงต้นยุค 1960 ของดนตรีไซเคเดลิกร็อก และการาจร็อก และมีความหนักกว่าดนตรีร็อกทั่วไป เป็นต้นแบบของดนตรีเฮฟวี ที่ใช้การบิดเสียงของกีตาร์, กีตาร์เบส,คีย์บอร์ด และกลอง หมวดหมู่:ดนตรีร็อก หมวดหมู่:ฮาร์ดร็อก.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และฮาร์ดร็อก · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ แฮร์ริสัน

อร์จ แฮร์ริสัน (George Harrison) MBE (25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001) เป็นมือกีตาร์ชาวอังกฤษ นักร้อง-นักแต่งเพลง ผู้สร้างภาพยนตร์ เขาประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติจากการเป็นมือกีตาร์ลีดให้กับวงเดอะบีทเทิลส์ และยังมีชื่ออยู่อันดับ 21 ของการจัดอันดับในนิตยสารโรลลิงสโตนในหัวข้อ "100 นักกีตาร์ที่เยี่ยมที่สุดตลอดกาล" มักถูกพูดถึงว่าเป็น "บีทเทิลที่เงียบขรึม" (the quiet Beatle) แฮร์ริสันเชื่อเรื่องเวทมนตร์อินเดีย และยังทำให้ฐานคนฟังของเดอะบีทเทิลส์กว้างขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มผู้ฟังตะวันตก หลังจากที่วงแตกไป เขาประสบความสำเร็จในฐานะศิลปินเดี่ยวและต่อมาก็อยู่ในวง แทรเวลลิงวิลบูรีส์ และยังเป็นโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์และเพลงอีกด้วย ถึงแม้ว่าเพลงโดยมากของเดอะบีทเทิลส์จะแต่งโดยเลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์ แฮร์ริสันก็ยังแต่งเพลง 1 หรือ 2 เพลงต่ออัลบั้มตั้งแต่ชุด Help! เป็นต้นมา ผลงานเขาที่ร่วมกับเดอะบีทเทิลส์เช่นเพลง "Here Comes the Sun", "Something", "I Me Mine" และ "While My Guitar Gently Weeps" หลังจากวงแตกไป แฮร์ริสันก็ยังเขียนเพลง ออกผลงานทริปเปิลอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่าง All Things Must Pass ในปี 1970 ที่มี 2 ซิงเกิ้ลและ ดับเบิลเอ-ไซด์ซิงเกิล: "My Sweet Lord" กับ Isn't It a Pity" นอกจากนี้ในงานเดี่ยว แฮร์ริสันยังร่วมเขียนเพลงฮิต 2 เพลงให้กับริงโก สตารร์ อดีตสมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์อีกคน และเพลงในวงแทรเวลลิงวิลบูรีส์ วงซูเปอร์กรุ๊ป ที่ฟอร์มวงในปี 1988 ร่วมกับบ็อบ ดีแลน, ทอม เพตตี, เจฟฟ์ ลีนน์ และรอย ออร์บิสัน แฮร์ริสัน ได้รับวัฒนธรรมอินเดียและฮินดู ในช่วงทศวรรษ 1960 และช่วยให้ความรู้กับคนตะวันตกด้วยเพลงซิตาร์ และกลุ่มเคลื่อนไหวฮาเร กฤษณะ เขาร่วมกับระวี ชังการ์ จัดคอนเสิร์ตการกุศลในปี 1971 ที่ชื่อ Concert for Bangladesh และเขาถือเป็นคนเดียวในเดอะบีทเทิลส์ที่พิมพ์อัตชีวประวัติ ขึ้นที่ชื่อ I Me Mine ในปี 1980 นอกจากการเป็นนักดนตรีแล้ว เขายังเป็นโปรดิวเซอร์เพลง และร่วมก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ที่ชื่อ แฮนด์เมดฟิล์มส งานของเขาในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์ เขาร่วมงานกับผู้คนหลากหลายอย่าง มาดอนน่า และสมาชิกของกลุ่มมอนตี้ ไพธอน ด้านชีวิตส่วนตัวเขาแต่งงาน 2 ครั้ง ครั้งแรกกับนางแบบ แพตตี บอยด์ ในปี 1966 และเลขาบริษัทค่ายเพลงที่ชื่อ โอลิเวีย ทรินิแดด อาเรียส ในปี 1978 ที่มีลูกชายด้วยกัน 1 คน ชื่อ ดานี แฮร์ริสัน เขายังเป็นเพื่อนสนิทกับอีริก แคลปตัน และอีริก ไอเดิล เขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปอดเมื่อปี 2001.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และจอร์จ แฮร์ริสัน · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์

นตรีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic music) เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า"The stuff of electronic music is electrically produced or modified sounds.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

คันทรี

ันทรี เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ country อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และคันทรี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

นักดนตรี

Guy Pratt นักดนตรีมืออาชีพ กำลังเล่นกีตาร์เบส นักดนตรี หมายถึง บุคคลที่เล่นเครื่องดนตรี หรือผู้ที่มีความสามารถทางด้านดนตรี ไม่ว่าจะเป็นนักประพันธ์ วาทยากร หรือนักแสดงดนตรี ก็สามารถเรียกว่านักดนตรีได้ นักดนตรีมีความสามารถเฉพาะบางแนวเพลง หรือบางคนอาจเล่นในแนวเพลงที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างทักษะต่าง ๆ ของนักดนตรี ได้แก่ การแสดง การอำนวยเพลง การร้องเพลง องค์ประกอบ การจัดการ และการเรียบเรียงเพลง.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และนักดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊สฟิวชัน

แจ๊สฟิวชัน (Jazz fusion) ในบางครั้งอาจเรียกว่า ฟิวชัน (fusion) หรือ แจ๊สร็อก (jazz-rock) เป็นแนวดนตรีประสานที่พัฒนามาจากการผสมของดนตรีฟังก์และอาร์แอนด์บี จังหวะและการพัฒนามาและเอฟเฟกอิเล็กทรอนิกส์ของเพลงร็อก มีเครื่องหมายประจำจังหวะที่ซับซ้อน ที่ไม่ได้เอามาจากดนตรีตะวันตก เครื่องดนตรีทั่วไปมีส่วนประกอบเข้าใกล้ดนตรีแจ๊สไปยังการแสดงของกลุ่มยืดยาว โดยมักจะใช้เครื่องเป่าลมและทองเหลืองและการแสดงในระดับสูงของเทคนิคในการใช้เครื่องดนตรี คำว่า "แจ๊สร็อก" มักถูกใช้เป็นคำพ้องกับ "แจ๊สฟิวชัน" เช่นเดียวกับดนตรีที่เล่นในปลายทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ยุคที่วงร็อกได้เพิ่มองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส หลังจากได้รับความนิยมในช่วงปีทศวรรษ 1970 ที่ฟิวชันขยายแนวทางการแสดงสด และการทดลองปฎิบัติต่อในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 อัลบัมฟิวชันเหล่านั้นจะทำโดยกลุ่มเดียวกันหรือศิลปินที่อาจรวมถึงความหลากหลายของสไตล์ ตรงกันข้ามกว่าการรวบรวมสไตล์ดนตรี ฟิวชันสามารถมองได้ว่าประเพณีดนตรีหรือการกระชั้นชิด หมวดหมู่:แนวดนตรี หมวดหมู่:ดนตรีแจ๊ส.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และแจ๊สฟิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรมทางวรรณกรรม

รกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting) โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และโจรกรรมทางวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โปรดิวเซอร์เพลง

ในอุตสาหกรรมดนตรี โปรดิวเซอร์เพลง (record producer) มีหลายบทบาทการทำงาน ทั้งทำหน้าที่ควบคุมการบันทึกเสียง ให้คำแนะนำและแนวทางกับนักดนตรี จัดการและวางแผนงานการผลิตทั้งค่าใช้จ่ายและทรัพยากร ดูแลจัดการการบันทึกเสียง การผสมเสียงและขั้นตอนการการทำต้นฉบับ สิ่งเหล่านี้คือหน้าที่หลักของโปรดิวเซอร์ ตั้งแต่เริ่มต้นบันทึกเสียง แต่ต่อมาช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่างก็มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมารับหน้าที่บางส่วน ในบางกรณีจะมีการนำโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ มาเปรียบเทียบการทำงานกับโปรดิวเซอร์เพลง ในแง่งาน ของเขต ซึ่งแตกต่างจากโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ที่ โปรดิวเซอร์เพลงมักไม่ค่อยจะได้รับความรับผิดชอบในการหาเงินทุนเพื่อการผลิตผลงานเพลง การทำงานของโปรดิวเซอร์เพลงจะคล้ายกับการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์มากกว่า โปรดิวเซอร์เพลงจะถูกว่าจ้างโดยนายทุน (โดยทั่วไปอาจหมายถึงค่ายเพลง หรือในบางครั้งอาจเป็นตัวศิลปินเอง).

ใหม่!!: แกรี มัวร์และโปรดิวเซอร์เพลง · ดูเพิ่มเติม »

ไอร์แลนด์เหนือ

อร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland; Tuaisceart Éireann ทวฌเชอรท์ เอรัน) คือ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และไอร์แลนด์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เบลฟาสต์

มืองเบลฟาสต์ เบลฟาสต์ (Belfast; Béal Feirste) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เทิร์นไอร์แลนด์ มีประชากร 276,459 คนในเขตเมือง และ 579,554 ในเขตปริมณฑล (พ.ศ. 2544).

ใหม่!!: แกรี มัวร์และเบลฟาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟนเดอร์ สตราโตแคสเตอร์

200px เฟนเดอร์ สตราโตแคสเตอร์ (Fender Stratocaster) มักจะเรียกว่า Strat เป็นโมเดลกีตาร์ไฟฟ้าที่ถูกพัฒนามา โดย ลีโอ เฟนเดอร์, จอร์จ ฟุลเลอร์ตัน และ เฟรดดี ทาวาเรส ในปี 1954 และ ผลิตอย่างต่อเนื่องโดย เฟนเดอร.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และเฟนเดอร์ สตราโตแคสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮฟวีเมทัล

ฟวีเมทัล หรือบางครั้งเรียกย่อว่า เมทัล เป็นแนวเพลงร็อกประเภทหนึ่งที่พัฒนาในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 และต้นทศวรรษที่ 70 ด้วยรากฐานของดนตรี บลูส์-ร็อก ฮาร์ดร็อก และ ไซเคเดลิกร็อก โดยมีหลายวงได้พัฒนาเฮฟวีเมทัล ให้มีความหนา, หนัก, ดนตรีที่เน้นกีตาร์และกลอง และลักษณะเฉพาะตัวที่มีการโซโล่กีตาร์ที่รวดเร็ว เพลงแนวเฮฟวีเมทัลได้รับความนิยมจากแฟนทั่วโลก ที่แฟนเหล่านั้นจะเรียกตัวเองว่า เมทัลเฮดส์ หรือ เฮดแบงเกอร์ และถึงแม้ว่าวงเมทัลในช่วงต้น ๆ อย่าง เล็ด เซ็พเพลิน, แบล็ค แซบบาธ และ ดีพ เพอร์เพิล จะได้รับความสนใจจากกลุ่มคนฟังหลัก แต่ก็มีบ้างที่พวกเขาจะถูกด่าทอ.

ใหม่!!: แกรี มัวร์และเฮฟวีเมทัล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gary Moore

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »