โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอ็งกะ

ดัชนี เอ็งกะ

อ็งกะ (演 (เอ็ง) แปลว่า การแสดง ความบันเทิง / 歌 (คะ) แปลว่า เพลง) คือ รูปแบบดนตรีที่มีการผสมผสานกันระหว่างแนวดนตรีสองแนวที่แตกต่างกัน แนวแรกคือแนวดนตรีแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นในช่วงยุคเมจิ (พ.ศ. 2411 – 2455) กับยุคไทโช (พ.ศ. 2455 – 2469) ส่วนแนวที่สองคือแนวเพลงประโลมโลกแบบป็อปของญี่ปุ่นที่มีกลิ่นอายของเพลงสไตล์คันทรีแบบอเมริกันผสมอยูด้วย โดยเอ็งกะในปัจจุบันนั้น จะหนักไปทางแนวที่สองมากกว่า เอ็งกะกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น สมัยยุคเมจิ โดยได้รับอิทธิพลหรือมีรากฐานมาจากเพลงทางเกาหลีหรือจีน ในช่วงแรก เพลงแนวนี้ถูกนำมาใช้ในด้านการเมืองอยู่บ่อย ๆ อย่างเช่นนำมาใช้แปลงบทแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นทำนองเพลงเพื่อง่ายต่อการเผยแพร่ เป็นต้น แต่ในเวลาต่อมา การใช้ประโยชน์ในด้านนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวเพลงเอ็งกะนี้ ถือได้ว่าเป็นแนวเพลงแรกที่สังเคราะห์เอาสเกลโน้ตเพ็นทาโกนิคของเพลงญี่ปุ่นรวมเข้ากับท่วงทำนองของดนตรีสไตล์ตะวันตกได้เป็นอย่างดี เนื้อร้องของเพลงแนวนี้ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เรื่องความรักและการสูญเสีย ความเหงา ความรันทด ความทุกข์ยากลำบาก ไปจนถึงความตายและการฆ่าตัวตาย เอ็งกะจะสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี อุดมการณ์ หรือความเย้ายวนใจในมุมมองของวัฒนธรรมหรือทัศนคติในแบบของญี่ปุ่น คล้ายกับแนวเพลงคันทรีของอเมริกันและเพลงสไตล์ตะวันตก นักร้องเพลงแนวเอ็งกะที่โด่งดังและเป็นที่รักมากที่สุดคือ ฮิบาริ มิโซระ (พ.ศ. 2469 – 2532) เธอได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชินีเพลงเอ็งกะ" และ "ราชินีแห่งโชวะ" ในช่วงที่เธอยังมีชีวิตอยู่และได้รับความนิยมมากที่สุด เอ็งกะได้รับความนิยมมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษล่าสุดนี้เองที่เพลงเอ็งกะได้เสื่อมความนิยมลงทั้งทางด้านยอดขายและการยอมรับ ประจวบกับการที่เพลงแนวเจ-ป็อปแบบอเมริกันโด่งดังขึ้นมาแทนที่พอดี เหตุหนึ่งที่เอ็งกะเดินทางมาถึงช่วงขาลงตรงจุดนี้ก็เพราะว่านักฟังชาวญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ๆ ไม่ประทับใจแนวเพลงดั้งเดิม แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวญี่ปุ่นอีกหลาย ๆ คนที่ยังหลงใหลกับเพลงแนวเอ็งกะนี้อยู่ จนกระทั่งต่อมา เมื่อนักร้องขวัญใจวันรุ่นของญี่ปุ่นในช่วงนั้นอย่างคิโยชิ ฮิกาวะ และยูโกะ นากาซาวะ (สมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มมอร์นิงมุซุเมะ) หันมาร้องเพลงแนวเอ็งกะบ้าง ก็ทำให้แฟนเพลงหนุ่มสาวของญี่ปุ่นหันมานิยมเพลงแนวนี้ได้พอสมควร การแต่งกายของนักร้องเอ็งกะเวลาขึ้นแสดงส่วนใหญ่ ถ้าหากว่าเป็นผู้หญิงพวกเธอจะใส่ชุดกิโมโนหรือไม่ก็ชุดราตรีในการแสดง และถ้าหากว่าเป็นผู้ชายพวกเขาจะใส่ชุดที่เป็นทางการหรือไม่ก็ชุดญี่ปุ่นที่ถูกต้องตามประเพณี เครื่องดนตรีที่ใช้ในเพลงแนวเอ็งกะก็จะเหมือนกันกับที่ใช้ในเพลงดั้งเดิมของญี่ปุ่นทั่วไป อย่างเช่น ชิโนบูเอะ และชามิเซ็ง เป็นต้น ส่วนแหล่งที่จะสามารถฟังเพลงเหล่านี้ได้ในญี่ปุ่น นอกจากจะในรายการโทรทัศน์และวิทยุแล้ว ก็คือที่ร้านอาหาร ร้านสุรา คาเฟ่ และสถานที่ให้บริการคาราโอเกะ ในสหรัฐอเมริกา เอ็งกะก็ยังได้รับความนิยมอยู่ในกลุ่มคนที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น-อเมริกัน (โดยเฉพาะที่สูงอายุแล้ว) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีแฟนเพลงเอ็งกะที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นอยู่ด้วย นอกจากนั้นแล้ว ในอเมริกาก็ยังมีวงดนตรีและนักร้องแนวเอ็งกะอยู่ด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นวง ซานโฮเซ จิโดริ ที่เปิดการแสดงในเทศกาลโอบงในช่วงฤดูร้อนอยู่เป็นครั้งคราว เป็นต้น.

45 ความสัมพันธ์: บลูส์ชาวญี่ปุ่นชินจิ ทะนิมุระพ.ศ. 2411พ.ศ. 2455พ.ศ. 2469พ.ศ. 2532การเมืองกิโมโนกีตาร์กีตาร์เบสภัตตาคารมอร์นิงมูซูเมะยุคโชวะยุคไทโชยุคเมจิยูโกะ นะกะซะวะรายการโทรทัศน์ฤดูร้อนวงดนตรีสหรัฐสุราอเมริกันทรอมโบนทรัมเป็ตทิศตะวันตกดนตรีคันทรีคาราโอเกะประเทศญี่ปุ่นประเทศจีนนักร้องแซกโซโฟนแนวเพลงในความทรงจำที่ไม่มีวันจางโลกโน้ตเพลงเกาหลีเจป็อปเทศกาลบงเครื่องรับวิทยุเครื่องดนตรีเติ้ง ลี่จวินเปียโน

บลูส์

ลูส์ (Blues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

ใหม่!!: เอ็งกะและบลูส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวญี่ปุ่น

วญี่ปุ่น มีประมาณ 140-150 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะญี่ปุ่น"人類学的にはモンゴロイドの一。皮膚は黄色、虹彩は黒褐色、毛髪は黒色で直毛。言語は日本語。" และที่ต่างๆทั่วโลก เช่น ฮาวาย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ภาษาที่ใช้คือภาษาญี่ปุ่น ศาสนาที่สำคัญคือศาสนาพุทธ และลัทธิชินโต กลุ่มชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลในอดีตได้แก่ชาวยามาโตะและชาวรีวกีว.

ใหม่!!: เอ็งกะและชาวญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ชินจิ ทะนิมุระ

นจิ ทานิมูระ เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2491 เกิดในจังหวัดโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นทั้ง นักร้อง และนักแต่งเพลง ผลงานที่รู้จักกันดี คือเพลงที่มีชื่อว่า ซึบะรุ (Subaru).

ใหม่!!: เอ็งกะและชินจิ ทะนิมุระ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2411

ทธศักราช 2411 ตรงกั.

ใหม่!!: เอ็งกะและพ.ศ. 2411 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เอ็งกะและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เอ็งกะและพ.ศ. 2469 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2532

ทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เอ็งกะและพ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: เอ็งกะและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กิโมโน

วาดกิโมโน กิโมโน เป็นชุดแต่งกายโบราณของประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: เอ็งกะและกิโมโน · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: เอ็งกะและกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์เบส

ป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น.

ใหม่!!: เอ็งกะและกีตาร์เบส · ดูเพิ่มเติม »

ภัตตาคาร

ัตตาคาร หรือ ร้านอาหาร เป็นร้านที่คอยบริการอาหารตามความต้องการของลูกค้า ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: เอ็งกะและภัตตาคาร · ดูเพิ่มเติม »

มอร์นิงมูซูเมะ

มอร์นิงมูซูเมะ คือ กลุ่มนักร้องหญิงของประเทศญี่ปุ่น สังกัดค่ายเฮลโล! โปรเจกต์ ได้รับการก่อตั้งในนามของสึงกุ (หรือเทราดะ มิตสึโอะ โปรดิวเซอร์และผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองประจำกลุ่ม) มีแนวเพลงประจำคือแนวเจ-ป็อปที่มีจังหวะสนุกสนาน ชื่อ "มอร์นิงมูซูเมะ" เกิดจากการรวมกันของคำว่า "มอร์นิง" (Morning) ซึ่งเป็นคำในภาษาอังกฤษแปลว่า "ยามเช้า" กับคำว่า "มูซูเมะ" (娘) ซึ่งเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "บุตรสาว" หรือ "เด็กผู้หญิง" เมื่อรวมทั้งสองคำนี้เข้าด้วยกัน คำว่ามอร์นิงมูซูเมะจึงมีความหมายว่า "เหล่าสาวน้อยแห่งรุ่งอรุณ" (Morning Girls) หรือ "บุตรสาวแห่งรุ่งอรุณ" (Morning Daughter) Keith Cahoon.

ใหม่!!: เอ็งกะและมอร์นิงมูซูเมะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคโชวะ

ยุคโชวะ คือการนับช่วงยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในรัชกาลของสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ (ฮิโระฮิโตะ)รัชกาลเดียว เริ่มต้นขึ้นในค.ศ. 1926 และสิ้นสุดใน ค.ศ. 1989 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 62 ปี 14 วัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงรัชกาลที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เจ้าชายอะกิฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ, สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน, เจ้าชายมะซะฮิโตะ ฮิตะชิ, เจ้าหญิงโยริ, เจ้าหญิงทากะ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: เอ็งกะและยุคโชวะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทโช

ทโช เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1912 และสิ้นสุดเมื่อ ค.ศ. 1926 ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นยุคที่ประชาธิปไตยเริ่มเบ่งบาน ภายใต้กระแสของลัทธิจักรวรรดินิยมหรือชาตินิยม ด้วยความแรงของกระแสหลังได้ผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามเป็นเวลา 15 ปี พระราชวงศ์สมัยไท.

ใหม่!!: เอ็งกะและยุคไทโช · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเมจิ

มจิ เป็นยุคสมัยของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ ยุคใหม่ (Modern Era) ของญี่ปุ่น ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซะมุไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเคียวโตะไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน..

ใหม่!!: เอ็งกะและยุคเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโกะ นะกะซะวะ

ูโกะ นะกะซะวะ (เกิดวันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2516) คือสมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มนักร้องหญิง "มอร์นิงมุซุเมะ" ของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนี้ เธอทำหน้าที่เป็นศิลปินเดี่ยว นักแสดง และเป็นหนึ่งในพิธีกรประจำรายการโทรทัศน์ เฮลโล! มอร์นิง ซึ่งเป็นรายการประจำของกลุ่มมอร์นิงมุซุเมะเอง.

ใหม่!!: เอ็งกะและยูโกะ นะกะซะวะ · ดูเพิ่มเติม »

รายการโทรทัศน์

รายการทอล์กโชว์ The Oprah Winfrey Show โดย โอปราห์ วินฟรีย์ รายการโทรทัศน์ เป็นส่วนต่าง ๆ ของการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1936 ในกรุงลอนดอน รายการโทรทัศน์ อาจออกอากาศเพียงแค่ครั้งเดียว หรือมีตอนต่อ ที่เรียกว่า ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (TV series) ส่วนมากมักเป็นรายการประเภทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์มักแบ่งเป็นภาค ๆ โดยในหนึ่งภาค ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า ฤดูกาล (season) แต่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกว่า ชุด (series) แต่ละฤดูกาลหรือชุดจะมีความยาวประมาณ 6-26 ตอน รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นพิเศษเพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า รายการพิเศษ (special program) และสถานีวิทยุโทรทัศน์บางสถานี ยังมี ภาพยนตร์โทรทัศน์ (TV movies) ที่สร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ ไม่ได้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์ หรือบันทึกลงในวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี หรือสื่ออื่น ๆ ทุกวันนี้ การออกอากาศ ภาพยนตร์โฆษณา (commercial advertisement) ถือเป็นส่วนสำคัญของรายการโทรทัศน์ โดยมีข้อปฏิบัติเป็นเกณฑ์ว่า ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง จะมีภาพยนตร์โฆษณาได้ไม่เกิน 15 นาที เหมือนในโรงภาพยนตร.

ใหม่!!: เอ็งกะและรายการโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูร้อน

ูร้อนในประเทศเบลเยี่ยม ฤดูร้อน (Summer) เป็นฤดูที่มีอากาศร้อนที่สุดในปี ฤดูร้อนในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนืออยู่ระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยทั่วไปคือตั้งแต่ 21 มิถุนายน (วันครีษมายัน) ถึง 21 กันยายน (วันศารทวิษุวัต) ในฤดูร้อนกลางวันจะยาวกว่ากลางคืน โดยความยาวของวันจะเริ่มลดลงเมื่อสิ้นฤดูร้อน ในวันวิษุวัต วันที่เริ่มต้นของฤดูร้อนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ในทางโหราศาสตร์จีน ฤดูร้อนจะเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณวันที่ 5 พฤษภาคม คือเมื่อ jiéqì (ปฏิทินโหราศาตร์จีน) เข้าสู่สภาวะ lìxià (立夏) และจบลงราววันที่ 6 สิงหาคม.

ใหม่!!: เอ็งกะและฤดูร้อน · ดูเพิ่มเติม »

วงดนตรี

วงดนตรี หรือ กลุ่มดนตรี (musical ensemble, music group) เป็นกลุ่มคนที่เล่นเครื่องดนตรีหรือใช้เสียงร้อง โดยมีชื่อแต่ละวงเป็นที่รู้จักต่างกันไป ในดนตรีคลาสสิก มีกลุ่มคนที่ประกอบด้วย 3 หรือ 4 คน ที่ใช้กลุ่มเครื่องดนตรีต่างกันเล่นเพื่อผสานเสียงกัน (เช่น เปียโน เครื่องสาย และ เครื่องเป่า) หรือกลุ่มคนที่ใช้เครื่องดนตรีเหมือนกันเพื่อเล่นพร้อมกันก็เรียกว่า กลุ่มดนตรีเครื่องสาย หรือ กลุ่มดนตรีเครื่องเป่า ในกลุ่มดนตรีแจ๊ส มักจะใช้เครื่องเป่า (เช่น แซกโซโฟน ทรัมเป็ต ฯลฯ) เครื่องดนตรีที่มีการจับ 1 หรือ 2 คอร์ด (กีตาร์ไฟฟ้า, เปียโน, หรือ ออร์แกน) เครื่องดนตรีเบส (กีตาร์เบส หรือ ดับเบิลเบส) พร้อมกับคนตีกลอง หรือ คนเล่นเครื่องกระทบ ในกลุ่มดนตรีร็อก หรือ วงดนตรีร็อก มักจะใช้กีตาร์และคีย์บอร์ด (เปียโน เปียโนไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน เครื่องสังเคราะห์เสียง ฯลฯ) และมีท่อนจังหวะจากกีตาร์เบสและกลองชุด หมวดหมู่:กลุ่มดนตรี.

ใหม่!!: เอ็งกะและวงดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เอ็งกะและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สุรา

ราที่วางขายในร้าน สุรา (liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่น ๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า" ประเทศต่าง ๆ ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการผลิต การขาย และการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถบริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีสำหรับประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์, ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในประเทศไทย หรือไม่ต่ำกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกา การบริโภคทั้งสุราและเมรัยเป็นข้อห้ามในข้อสุราเมรยมัชปมาทัฏฐานหรือข้อที่ 5 แห่งเบญจศีลของพุทธศาสนา ซึ่งว่า "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ" แปลได้ว่า "เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท".

ใหม่!!: เอ็งกะและสุรา · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกัน

อเมริกัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เอ็งกะและอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ทรอมโบน

ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา และแตรวง ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน ทรอมโบน เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีประเภทท่อทรงกระบอก (Cylindrical Bore) กล่าวคือมีท่อลมที่ขนาดคงที่เกือบทั้งเครื่อง ทำให้มีเสียงที่แข็งและกระด้าง ไม่นิ่มนวลเหมือนฮอร์นหรือยูโฟเนียม แต่ในบางรุ่นอาจมีการขยายขาหนึ่งของ Slide ให้ใหญ่กว่าอีกขาหนึ่ง ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องดนตรีทรงกรวย (Conical Bore) และให้เสียงที่นุ่มขึ้น.

ใหม่!!: เอ็งกะและทรอมโบน · ดูเพิ่มเติม »

ทรัมเป็ต

ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์ ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน (mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวงขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่ ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิก ในประเทศไทยมีผู้เล่นทรัมเป็ตที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อ.วานิช โปตะวณิช, อ.เลิศเกียรติ จงจิรจิต เป็นต้น หมวดหมู่:เครื่องลมทองเหลือง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:ดนตรีของกองทัพเรือ.

ใหม่!!: เอ็งกะและทรัมเป็ต · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันตก (W) อยู่ทางซ้าย ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออก ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศเหนือ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: เอ็งกะและทิศตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: เอ็งกะและดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

คันทรี

ันทรี เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ country อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เอ็งกะและคันทรี · ดูเพิ่มเติม »

คาราโอเกะ

หน้าจอของคาราโอเกะ จะมีภาพประกอบหรือบางครั้งเป็นมิวสิกวิดีโอโดยด้านล่างของจอภาพ จะเป็นคำร้องในจังหวะนั้น คาราโอเกะ เป็นความบันเทิงชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของเพลงบรรเลง หรือเพลงที่ปิดเสียงร้องของนักร้องไว้ ผู้ใช้งานจะร้องเพลงนั้นผ่านไมโครโฟน โดยมีเนื้อเพลงขึ้นมาแสดงบนหน้าจอเป็นช่วง ๆ เพื่อช่วยในการร้อง นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังมีการเปลี่ยนสีตัวอักษร โดยกวาดเลื่อนสีใหม่ทับสีเดิมตามความเร็วและจังหวะที่ถูกต้องในการร้องอีกด้วย คาราโอเกะมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น จากนั้นก็แพร่หลายไปยังส่วนอื่นๆ ของเอเชียตะวันออกและทั่วโลก การให้บริการคาราโอเกะจะมีหลากหลายรูปแบบ เช่นการให้บริการตู้คาราโอเกะ, ห้องส่วนตัว หรือห้องรวมพร้อมอุปกรณ์คาราโอเกะในสถานบันเทิงหรือร้านอาหาร โดยสถานบันเทิงคาราโอเกะบางแห่งอาจมีการบริการขายบริการทางเพศพ่วงเข้ามาด้ว.

ใหม่!!: เอ็งกะและคาราโอเกะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: เอ็งกะและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เอ็งกะและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

นักร้อง

นักร้อง (Singer)อาชีพของคนขายเสียง อาชีพให้บริการความสุขด้วยเสียงเพลงเช่น อคูสติก ป๊อป ร็อค แจ๊ส เบส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันแนวเพลงต่าง ๆ มีมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้ฟังแต่ละกลุ่ม อาชีพนักร้องจึงเป็นอาชีพในฝันของคนยุคใหม่ เนื่องจากอาชีพนักร้องเป็นอาชีพที่สามารถสร้างได้อย่างมหาศาล เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคม และมีผู้คนชื่นชมมาก ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนักร้อง 1.

ใหม่!!: เอ็งกะและนักร้อง · ดูเพิ่มเติม »

แซกโซโฟน

รอบครัวแซกโซโฟน (เรียงลำดับใหญ่-เล็ก) คอนทร่าเบสแซกฯ, เบสแซกฯ, บาริโทนแซกฯ, เทนเนอร์แซกฯ, C เทนเนอร์แซก, อัลโต้แซกฯ, F อัลโต้แซก, โซปราโน่แซกฯ, C โซปราโน่แซกฯ และโซปรานิโน่แซกฯ อัลโต้ แซกโซโฟน (ยามาฮ่า รุ่น YAS-275 MK1) แซกโซโฟน (saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet) โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงอย่างมาก CR:"NiCEkUNG.

ใหม่!!: เอ็งกะและแซกโซโฟน · ดูเพิ่มเติม »

แนวเพลง

แนวดนตรี เป็นการจำแนกเพลงที่มีลักษณะพื้นฐานต่าง ๆ ร่วมกัน โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงเกี่ยวกับด้านเพลงอย่างเดียว (เช่น ที่มาของเพลง และ เนื้อหาของเพลง เป็นต้น) อาจพูดได้ว่า แนวเพลงนั้นพิจารณาจาก เทคนิค รูปแบบ บริบท ที่มา และเนื้อหาของเพลง เป็นต้น.

ใหม่!!: เอ็งกะและแนวเพลง · ดูเพิ่มเติม »

ในความทรงจำที่ไม่มีวันจาง

ในความทรงจำที่ไม่มีวันจาง หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า "Only Yesterday" เป็นผลงานภาพยนตร์การ์ตูนลำดับที่ 6 ของสตูดิโอจิบลิ และเป็นลำดับที่ 2 จากฝีมือการกำกับของอิซาโอะ ทาคาฮาตะ เนื้อเรื่องดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนชื่อเดียวกันของ โฮตารุ โอกาโมโตะ และ ยูโกะ โทเนะ ผลงานเรื่องนี้มีชื่อเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นว่าโอะโมะฮิเดะ โปะโระโปะโระ) ซึ่งหมายความว่า ความทรงจำที่ล่วงผ่านราวกับหยดน้ำตา หรือแปลตรงตัวได้ว่า ความทรงจำที่หยาดหยด "ในความทรงจำที่ไม่มีวันจาง" นับเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญของกลุ่มภาพยนตร์การ์ตูนแนวก้าวหน้า (progressive animation) ซึ่งแหวกขนบของภาพยนตร์การ์ตูนที่มีอยู่เดิม โดยเน้นเนื้อหาแแบบดรามาสมจริง ซึ่งโดยทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นแนวที่อยู่นอกขอบเขตของภาพยนตร์การ์ตูน อย่างไรก็ตาม ผลงานเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้อย่างงดงามเมื่อออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1991 และสามารถดึงดูดผู้ชมที่ชื่นชอบการ์ตูนแนวโจะเซได้มาก เรื่องราวเล่าถึง ทาเอโกะ หญิงสาวชาวญี่ปุ่นวัย 27 ปี ซึ่งได้เดินทางไปพักร้อนและไปใช้ชีวิตเกษตรกรอยู่ที่จังหวัดยะมะงะตะ และช่วงเวลานี้เอง ที่ความทรงจำเมื่อครั้งสมัยอยู่ชั้น ป.5 ได้ผุดขึ้นมาวนเวียนอย่างต่อเนื่องในห้วงความคิดของทาเอโกะ โดยตัดเนื้อเรื่องสลับไปมาระหว่างชีวิตของนางสาวทาเอโกะวัย 27 ปี ที่รายล้อมด้วยทิวทัศน์ชนบทอันสวยสดงดงาม และผู้คนที่เปี่ยมล้นน้ำใจ กับชีวิตของเด็กหญิงทาเอโกะวัยประมาณ 10 ขวบ ที่ล้อมรอบด้วยครอบครัวที่ค่อนข้างจะเข้มงวด และเพื่อนร่วมชั้นมากหน้าหลายตา แม้เรื่องราวของ "ในความทรงจำที่ไม่มีวันจาง" จะดำเนินไปอย่างเรียบง่าย และไม่ค่อยปะติดปะต่อ แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็กระทบในใจส่วนลึก ทำให้เกิดความรู้สึกโหยหาช่วงเวลาที่เราเยาว์วัยอยู่อีกครั้ง ช่วงเวลาที่ยังไร้เดียงสา ช่วงเวลาที่จินตนาการยังโลดแล่น ช่วงเวลาที่จะคิดจะพูดจะทำอะไรก็เป็นไปแบบเด็กๆ ความทรงจำของทาเอโกะก็เช่นเดียวกับความทรงจำของเราทั้งหลาย ที่มีทั้งความสุขสมและความโศกเศร้า ความปวดร้าวและความรู้สึกผิด ความสัมพันธ์และความขัดแย้ง ความสมหวังและความผิดหวัง รวมทั้งความปรารถนาแบบเด็กๆ ที่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีอะไรที่เป็นไปดังที่ใจต้องการ.

ใหม่!!: เอ็งกะและในความทรงจำที่ไม่มีวันจาง · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: เอ็งกะและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โน้ต

น้ต (note) อาจหมายถึง; ดนตรี.

ใหม่!!: เอ็งกะและโน้ต · ดูเพิ่มเติม »

เพลง

นักร้องและนักแต่งเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน บิลลี ฮอลิเดย์ในนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1947 เพลง หมายถึง ถ้อยคำที่นักประพันธ์เรียงร้อยหรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย เนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ ทำให้เกิดความไพเราะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ทั้งด้านการเลือกสรรคำที่ใช้ในการแต่ง การเรียบเรียงประโยค และการใช้โวหาร เพลงนั้นอาจให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังในการดำเนินชีวิตด้วยสำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรี กระบวนวิธีรำระบำ โดยเพลงสร้างสรรค์จากเครื่องดนตรีหรือการขับร้อง.

ใหม่!!: เอ็งกะและเพลง · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เอ็งกะและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เจป็อป

มะโมะอิโระโคลเวอร์ Z เจป็อป (J-pop; Japanese Pop) หมายถึงแนวดนตรีของประเทศญี่ปุ่น ที่มีลักษณะดนตรีผสมผสานจากทางตะวันตก ซึ่งรวมถึงดนตรีในลักษณะ ป็อป ร็อก แดนซ์ ฮิปฮอป และ โซล เจป็อป เป็นหนึ่งใน 4 แนวดนตรีที่มีการจำแนกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้แก่ เจป็อป, เอ็งกะ (ลักษณะคล้ายบัลลาด), ดนตรีคลาสสิก และ ดนตรีต่างประเท.

ใหม่!!: เอ็งกะและเจป็อป · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลบง

ง หรือ เทศกาลบง (ชาวญี่ปุ่นนิยมออกเสียง โอะบง) เป็นประเพณีของชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13 - 15 สิงหาคม ยกเว้นในภูมิภาคคันโต จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 13 - 16 กรกฎาคม โดยที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่าช่วงเวลาดังกล่าวบรรดาวิญญาณของบรรพบุรุษจะกลับมาจากนรกภูมิ และจะมีการจุดไฟรอรับที่หน้าบ้าน จัดสำรับอาหารเลี้ยง การละเล่น ในวันสุดท้ายของเทศกาลจะมีการจุดไฟเพื่อส่งวิญญาณกลั.

ใหม่!!: เอ็งกะและเทศกาลบง · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องรับวิทยุ

รื่องรับวิทยุรุ่นเก่า เครื่องรับวิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน โดยทั่วไป คำว่า "เครื่องวิทยุ" มักจะใช้เรียกเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง เพื่อส่งข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีย่านความถี่หลักๆ คือ คลื่นสั้น คลื่นกลาง และคลื่นยาว.

ใหม่!!: เอ็งกะและเครื่องรับวิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องดนตรี

รื่องดนตรี คือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมา หรือปรับจากอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้งานสำหรับการผลิตเสียงดนตรี หรือสร้างเสียงสำหรับใช้ประกอบในการร้องรำทำเพลง โดยหลักการแล้ว อุปกรณ์ใดก็ตามที่สามารถนำมาใช้ผลิตเสียงดนตรี ย่อมเรียกว่า เครื่องดนตรี ได้ทั้งสิ้น ผู้ที่ใช้เครื่องดนตรีนั้น เรียกว่านักดนตรี.

ใหม่!!: เอ็งกะและเครื่องดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เติ้ง ลี่จวิน

ติ้ง ลี่จวิน หรือ เทเรซา เติ้ง (テレサ・テン, 29 มกราคม พ.ศ. 2496 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) นักร้องเพลงจีนสากลชาวไต้หวันชื่อดังและมีอิทธิพลอย่างสูง เธอเกิดที่ เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน โดยบรรพบุรุษของเธอมาจากมณฑลเหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เสียงและเพลงของเธอเป็นที่จดจำทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและในหมู่ชาวจีนทั้งในประเทศจีน ไต้หวัน และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก จนมีคำกล่าวว่า "มีชาวจีนอยู่ที่ไหน ก็จะได้ยินเพลงของเติ้ง ลี่จวินที่นั่น" นอกจากนี้ เพลงของเธอยังเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวไทย ชาวเวียดนาม ชาวมาเลเซีย และชาวอินโดนีเซียจำนวนมากเช่นกัน เติ้ง ลี่จวิน มีชื่อเสียงจากบทเพลงรัก และเพลงพื้นเมืองภาษาหมิ่นหนาน (ภาษาฮกเกี้ยน) เพลงที่โด่งดังจนรู้จักกันทั่วไปทั่วเอเชีย ได้แก่เพลง เถียนมี่มี่ (甜蜜蜜, tián mì mì แปลว่า หวานปานน้ำผึ้ง) และเพลง เยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน (月亮代表我的心, yuè liàng dài biǎo wǒ de xīn แปลว่า พระจันทร์แทนใจฉัน) เป็นต้น ไม่เพียงเพลงภาษาจีนกลางเท่านั้น เธอยังเคยมีผลงานเพลงภาษาไต้หวัน ภาษากวางตุ้ง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษด้วย เติ้ง ลี่จวิน เสียชีวิตอย่างกะทันหันเนื่องจากโรคหอบหืด ขณะเดินทางมาพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ขณะอายุได้เพียง 42 ปี.

ใหม่!!: เอ็งกะและเติ้ง ลี่จวิน · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ใหม่!!: เอ็งกะและเปียโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Enkaเอนกะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »