โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

ดัชนี เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

อเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ (Asiatique The Riverfront) เป็นศูนย์การค้าแนวราบริมแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตั้งอยู่ริม แม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างซอยเจริญกรุง 72-76 บริหารงานโดย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยรีเทล อินเวสเม้นต์ โดย บริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ภายในโครงการประกอบด้วยร้านค้า ร้านอาหารริมน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงละครคาลิปโซ่ที่ย้ายมาจากโรงแรมเอเชีย และโรงละครโจหลุยส์ที่ย้ายมาจากสวนลุมไนท์บาซาร์อีกด้วย เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดิมเคยเป็นที่ตั้งของท่าเรือ และบริษัทอีสต์เอเชียติก บริษัทเดินเรือสัญชาติเดนมาร์ก มาเปิดกิจการในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสร้างเป็นโกดัง โรงเลื่อย และนำเครื่องจักรขนาดใหญ่หลายตัวมาติดตั้งไว้ ในช่วง สงครามมหาเอเชียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามายึดท่าเรือและคลังสินค้าของบริษัท อีสต์เอเชียติก เพื่อใช้เป็นฐานกำลังและคลังแสง และยังปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน กระทั่งในปี พ.ศ. 2555 ได้มีพัฒนาปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าอย่างในปัจจุบัน ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและช้อปปิ้งที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม โดยมีจุดเด่น คือ ชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ "เอเชียทีค สกาย" ซึ่งเมื่อขึ้นไปแล้วจะเห็นทัศนียภาพโดยรอบของ กรุงเทพมหานคร ในแบบมุมสูงได้รอบตัว.

6 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2555กรุงเทพมหานครสงครามแปซิฟิกท่าสาทรแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางคอแหลม

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์และพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปซิฟิก

งครามแปซิฟิก (Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia War; 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์และสงครามแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ท่าสาทร

ท่าสาทร ท่าสาทร หรือ ท่าสะพานตากสิน เป็นท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก หรือฝั่งพระนคร ใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน บริเวณปลายถนนสาทรและปากคลองสาทรทั้งสองฝั่ง ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก.

ใหม่!!: เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์และท่าสาทร · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์และแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางคอแหลม

ตบางคอแหลม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์และเขตบางคอแหลม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »