โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอลซิด

ดัชนี เอลซิด

อนุสาวรีย์เอลซิดในเมืองบูร์โกส ดาบของเอลซิด ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน La Real Armería ภาพเอลซิด ขณะอยู่ในอิริยาบถขี่ม้า เอลซิด (El Cid) เป็นขุนศึกชาวสเปนผู้เก่งกาจคนหนึ่ง เกิดใน พ.ศ. 1586 (ค.ศ. 1043) ที่หมู่บ้านบีบาร์ ในเมืองบูร์โกส อาณาจักรคาสตีล เกิดในตระกูลขุนนางสเปน มีชื่อจริงว่า โรดรีโก ดีอัซ เด บีบาร์ (Rodrigo Díaz de Vivar) โรดรีโกได้รู้จักและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้าชายซานโช รัชทายาทแห่งอาณาจักรคาสตีลในฐานะเจ้านายและข้ารับใช้มาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่นานทั้งคู่ก็สนิทสนมกันจนแทบจะเรียกว่าเป็นสหายกันก็ได้ โรดรีโกจงรักภักดีต่อเจ้าชายซานโชมาก ดังจะเห็นได้จากใน พ.ศ. 1606 (ค.ศ. 1063) อาณาจักรคาสตีลมีสงครามกับอาณาจักรอารากอน เพราะต้องการแย่งชิงดินแดนซาราโกซา สงครามครั้งนี้ไม่สามารถตัดสินได้ในสมรภูมิรบ เพราะต่างฝ่ายต่างเข้มแข็งจนไม่มีใครเอาชนะใครได้ จึงตกลงกันว่า ให้แต่ละฝ่ายส่งตัวแทนมา 1 คนมาประลองกันแบบ 1:1 ใครชนะจะได้ดินแดนซาราโกซาไป ฝ่ายคาสตีลนั้น โรดรีโกอาสาไปเป็นตัวแทนประลอง และในวันจริงนั้น แม้คู่ต่อสู้จากอารากอนจะมีร่างกายกำยำ แรงเยอะ และตัวโตกว่าโรดรีโกอย่างมาก แต่โรดรีโกก็สามารถชนะได้ ทำให้คาสตีลชนะในสงครามนี้ ทหารของคาสตีลจึงให้ฉายาจากการสร้างวีรกรรมของเขา คือ "เอลซิดกัมเปอาดอร์" (El Cid Campeador) โดย El Cid มีที่มาจากคำในภาษาอาหรับถิ่นอันดาลูเซียว่า "อัลซีด" (al-sīd) แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "The Lord" ส่วน Campeador นั้นเป็นภาษาสเปน แปลว่า "Champion" ซึ่งฉายาเอลซิดก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ที่รู้จักโรดรีโกใช้เรียกเขามาจนถึงปัจจุบัน หลังจากสงครามกับอารากอนแล้ว อาณาจักรคาสตีลยังพบสงครามใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้เป็นสงครามกับแขกมัวร์ (เป็นส่วนหนึ่งของการพิชิตดินแดนคืนหรือ Reconquista ของชาวคริสต์ในคาบสมุทรไอบีเรีย) ผลคือกองทัพคาสตีลภายใต้การนำของเจ้าชายซานโชที่ 2 และโรดรีโก ชนะแทบทุกครั้ง ทำให้คาสตีลมีเมืองขึ้นและแผ่ขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวาง แต่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 กษัตริย์แห่งคาสตีลและพระชนก (พ่อ) ของเจ้าชายซานโชได้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1608 (ค.ศ. 1065) โดยที่ก่อนจะเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงจัดสรรดินแดนให้พระโอรสและพระธิดาได้แบ่งกันไปปกครอง โดยเจ้าชายซานโช เจ้านายเอลซิดได้ขึ้นครองบัลลังก์คาสตีล แต่ไม่นาน พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงเห็นว่า พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 พระอนุชา (น้องชาย) ของพระองค์ที่ได้ไปปกครองอาณาจักรเลออนนั้น ขาดความสามารถในการปกครอง ประกอบกับคาสตีลมีสงครามกับแขกมัวร์ ควรรวมคาสตีลและเลออนเข้ากับคาสตีลดีกว่า เพื่อที่อาณาจักรคาสตีลจะได้เข้มแข็ง ดังนั้น พระเจ้าซานโชที่ 2 จึงทรงเปิดศึกแย่งชิงดินแดนเลออนกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1608 นั้นเอง ศึกแย่งชิงเลออนดำเนินมาจนถึง พ.ศ. 1615 (ค.ศ. 1072) พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงมีชัยต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และผนวกอาณาจักรคาสตีลกับเลออนได้สำเร็จ ต่อไปก็ต้องทรงสังหารพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เพื่อให้กษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมีเพียงพระองค์เดียว คือพระเจ้าซานโชที่ 2 แต่ว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทรงลี้ภัยไปยังอาณาจักรซาโมรา เพื่อขอความช่วยเหลือกับพระนางอูร์รากา พระกนิษฐา (น้องสาว) ของพระองค์ พระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสมคบคิดกันลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เสียใน พ.ศ. 1615 นั้นเอง แผนการลอบสังหารในครั้งนี้ทรงมอบให้ทหารอาสาผู้ภักดีต่อพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทำอย่างลับ ๆ ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เมื่อพระเจ้าซานโชที่ 2 เสด็จสวรรคตแล้ว ก็ไม่มีใครเหมาะสมจะเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมากไปกว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และเข้าพิธีเพื่อสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งคาสตีล-เลออน แต่ในพิธีแต่งตั้งพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดไม่คุกเข่าถวายพระพร เพราะเขาคลางแคลงใจว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 และขอร้องให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 สาบานต่อหน้าพระคัมภีร์ว่า ทรงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 (แต่ความจริงแล้วพระองค์กับพระนางอูร์รากาทรงมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก) แต่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ทรงสาบานออกมาอย่างเต็มพิธี เอลซิดจึงยอมรับอำนาจและถวายตัวเข้าเป็นข้ารับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดแต่งงานกับคีเมนา เด โอเบียโด พระญาติของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1617 (ค.ศ. 1074) มีบุตรด้วยกัน 3 คน ชื่อ กริสตีนา มารีอา และดีเอโก โรดรีเกซ เอลซิดรับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 อย่างจงรักภักดีเรื่อยมา จนพระเจ้าอัลฟอนโซไว้วางใจดูแลเลี้ยงดูอย่างดี ทำให้ขุนนางอื่น ๆ เกิดความอิจฉาเอลซิด จึงกล่าวหาเอลซิด ว่ายักยอกเครื่องบรรณาการที่เก็บมาจากรัฐเซบียา พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสั่งเนรเทศเอลซิดออกจากอาณาจักรคาสตีล-เลออน เมื่อเอลซิดถูกเนรเทศจึงเดินทางไปยังซาราโกซา ซึ่งผู้ครองเมืองได้ให้การต้อนรับเอลซิดเป็นอย่างดี ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองนี้ ได้รับจ้างทำสงครามอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 1629 (ค.ศ. 1086) ปัญหาสงครามระหว่างแขกมัวร์กับอาณาจักรคาสตีล-เลออนหนักขึ้น พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มต้านแขกมัวร์ไม่อยู่ ใน พ.ศ. 1635 (ค.ศ. 1092) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ส่งสาส์นขอความช่วยเหลือให้เอลซิดกลับมาทำงานให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และคำตอบจากเอลซิดคือ จะไม่รบให้กับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แต่จะรบให้อาณาจักรคาสตีล-เลออน โดยมีตนเป็นผู้นำและเจ้าของทัพเพียงคนเดียว ไม่ขึ้นต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มช่วยรบใน พ.ศ. 1635 นั้นเอง การรบระหว่างแขกมัวร์ดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนใหญ่เอลซิดเป็นผู้ชนะ แต่ในที่สุด ในศึกครั้งหนึ่งที่เมืองบาเลนเซียซึ่งเขารบกับแขกมัวร์เพื่อรับใช้อาณาจักรคาสตีล-เลออนอยู่นั้น เอลซิดพลาดท่าถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1642 แต่ภรรยาของเขาก็นำร่างของเขาขึ้นไปกับม้าคู่ใจ เพื่อไม่ให้ทหารรู้ว่าเอลซิดเสียชีวิตแล้ว เพราะอาจเสียขวัญ และก็ชนะ กษัตริย์อาหรับชื่อ เบน ยูซุฟ ในที่สุด ร่างของเอลซิดและภรรยา (คีเมนา) ถูกฝังไว้ที่มหาวิหารบูร์โกส หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1586 อเลซิด.

18 ความสัมพันธ์: บาเลนเซียบูร์โกสพ.ศ. 1586พ.ศ. 1606พ.ศ. 1608พ.ศ. 1615พ.ศ. 1617พ.ศ. 1629พ.ศ. 1635พ.ศ. 1642ภาษาสเปนมหาวิหารบูร์โกสคัมภีร์คาบสมุทรไอบีเรียซาราโกซาเรกองกิสตาเซบิยา10 กรกฎาคม

บาเลนเซีย

ลาว่าการเมือง บาเลนเซีย (Valencia) มีชื่อทางการและชื่อท้องถิ่นว่า วาเล็นซิอา (บาเลนเซีย: València) เป็นเมืองหลวงของแคว้นบาเลนเซียและจังหวัดบาเลนเซีย เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศสเปนและเป็นย่านอุตสาหกรรมใหญ่ริมชายฝั่งโกสตาเดลอาซาอาร์ (Costa del Azahar) ในปี พ.ศ. 2549 เฉพาะเมืองนี้มีจำนวนประชากรคือ 807,396 คน ส่วนประชากรในเขตมหานคร (เขตเมืองรวมกับเมืองบริวาร) มีจำนวน 1,807,396 คน เมืองบาเลนเซียมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีฤดูร้อนที่แห้งอบอุ่นและอากาศหนาวที่ไม่รุนแรง มีสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงคือ สโมสรฟุตบอลบาเลนเซี.

ใหม่!!: เอลซิดและบาเลนเซีย · ดูเพิ่มเติม »

บูร์โกส

ที่ตั้งเมืองบูร์โกสในประเทศสเปน มหาวิหารบูร์โกส อนุสาวรีย์เอลซิด ช่องโค้งซานตามารีอา บูร์โกส (Burgos) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบูร์โกสในแคว้นกัสติยาและเลออน ทางภาคเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่บริเวณขอบด้านเหนือของที่ราบสูงตอนกลาง (Meseta Central) ห่างจากบายาโดลิดเมืองหลักของแคว้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 122 กิโลเมตร และห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศเหนือ 244.7 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 173,600 คนเฉพาะในอาณาเขตของเมืองและอีกประมาณ 10,000 คนในเขตชานเมือง ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ (เช่น มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล) เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เป็นเมืองบูร์โกสในปัจจุบันอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่ และเมื่อชาวโรมันได้เข้าครอบครองพื้นที่แถบนี้ ก็พบว่ามีชนพื้นเมืองเคลติเบเรียนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ในสมัยจักรวรรดิโรมันดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์และของจังหวัดฮิสปาเนียตาร์ราโกเนนซิสในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาววิซิกอทสามารถขับไล่ชาวซูเอบีออกไปได้และมีอำนาจในแถบนี้แทน จนกระทั่งชาวอาหรับบุกยึดคาบสมุทรไอบีเรียในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แถบนี้จึงตกเป็นของชาวอาหรับด้วย แต่ก็ไม่ได้ทิ้งร่องรอยที่แสดงการครอบครองไว้มากนัก พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 มหาราชทรงตีเมืองนี้คืนได้สำเร็จประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 และสร้างปราสาทไว้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ป้องกันอาณาจักรของชาวคริสต์ทางเหนือที่ได้ขยายพื้นที่ลงมาทางทิศใต้นับจากนั้น ดินแดนแถบนี้ภายหลังจึงมีชื่อเรียกว่า กัสติยา ซึ่งแปลว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" บูร์โกสได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 884 เมื่อเดียโก โรดรีเกซ ปอร์เซโลส (Diego Rodríguez Porcelos) เคานต์แห่งกัสติยาปกครองดินแดนแถบนี้โดยมีคำสั่งให้สนับสนุนการเพิ่มของจำนวนประชากรชาวคริสต์ เขาก็ได้รวบรวมผู้คนในพื้นที่ชนบทรอบ ๆ เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยป้อมปราการแห่งนี้ โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านบริเวณเขตแดนอาณาจักรชาวคริสต์ที่กำลังขยายเขตออกไปดังกล่าว ชื่อในภาษาของชาววิซิกอทของเมืองบูร์โกส (baurgs) มีความหมายว่า "หมู่บ้านซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงที่มั่นคง" ต่อมาเมืองนี้ก็เริ่มมีคำเรียกต่อท้ายชื่อว่า "กาปุตกัสเตลไล" (Caput Castellae) แปลว่า "หัวหน้าของกัสติยา" เคาน์ตีแห่งบูร์โกสซึ่งขึ้นต่อกษัตริย์แห่งเลออนนั้นยังคงถูกปกครองต่อมาโดยเคานต์อีกหลายคนและเริ่มขยายเขตออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเฟร์นัน กอนซาเลซ (Fernán González) เคานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งได้ประกาศเอกราชขณะที่ราชอาณาจักรเลออนอ่อนแอลง บูร์โกสเป็นที่ตั้งของสำนักบิชอปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 และในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็กลายเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรกัสติยา นอกจากนี้ยังเป็นที่หยุดพักหลักบนเส้นทางที่จะไปสู่เมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลาของบรรดานักแสวงบุญ และเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างดินแดนแถบทะเลกันตาเบรียกับดินแดนทางทิศใต้ เป็นจุดดึงดูดพ่อค้าชาวต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งต่อมาจะเป็นผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่งในเมืองนี้และกีดกันชาวต่างชาติกลุ่มอื่นไม่ให้เข้ามามีอิทธิพล ตลอดทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 13 และคริสต์ศตวรรษที่ 14 บูร์โกสมักจะเป็นสถานที่ประทับของกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยา (จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16) ประมวลกฎหมายแห่งบูร์โกส (Leyes de Burgos) ซึ่งเป็นกฎหมายชุดแรกที่ใช้ควบคุมการประพฤติตนของชาวสเปนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใช้ที่เมืองนี้เมื่อปี ค.ศ. 1512 ตั้งแต่อดีตนั้นบูร์โกสเคยถูกใช้เป็นพื้นที่การรบหลายครั้ง เช่น ในสงครามระหว่างชาวคริสต์กับชาวมัวร์ (ชาวอาหรับ) ระหว่างแคว้นเลออนและแคว้นนาวาร์ ระหว่างแคว้นกัสติยาและแคว้นอารากอน มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสงครามคาบสมุทร (รบกับกองทัพฝรั่งเศสของนโปเลียน) และในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน (ค.ศ. 1934-1939) บูร์โกสก็เป็นเมืองหลวงของกองกำลังชาตินิยมที่มีนายพลฟรังโกเป็นผู้นำ.

ใหม่!!: เอลซิดและบูร์โกส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1586

ทธศักราช 1586 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 1043.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1586 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1606

ทธศักราช 1606 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1606 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1608

ทธศักราช 1608 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1608 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1615

ทธศักราช 1615 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1615 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1617

ทธศักราช 1617 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1617 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1629

ทธศักราช 1629 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1629 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1635

ทธศักราช 1635 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1635 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1642

ทธศักราช 1642 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอลซิดและพ.ศ. 1642 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: เอลซิดและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารบูร์โกส

กทางเหนือจากซ้ายไปขวา ชาเปลคอนดาสเตเบิลเป็นหอแปดเหลี่ยม และหอมียอดแหลมแบบกอธิควิจิตร (Flamboyant gothic) มหาวิหารบูร์โกส (Catedral de Burgos) อุทิศให้แก่พระแม่มารี ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์โกส ประเทศสเปน สถาปัตยกรรมของมหาวิหารเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอธิคเป็นส่วนใหญ่ และมีชื่อเสียงว่าเป็นมหาวิหารขนาดใหญ่ที่เป็นสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: เอลซิดและมหาวิหารบูร์โกส · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์

ัมภีร์ (religious text; holy writ; holy books; scripture; scriptures) หมายถึง ตำราที่ยกย่องหรือนับถือว่าสำคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: เอลซิดและคัมภีร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: เอลซิดและคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ซาราโกซา

แม่น้ำเอโบรขณะไหลผ่านเมืองซาราโกซา ซาราโกซา (Zaragoza) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซาราโกซาและแคว้นอารากอน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเอโบรและแควสาขาอูเอร์บาและกาเยโก ในหุบเขาตอนกลางของแคว้นซึ่งมีภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ทะเลทราย ("โลสโมเนโกรส") ป่าหนาทึบ ทุ่งหญ้า ไปจนถึงทิวเขา ข้อมูลในปี ค.ศ. 2007 จากสภาเมืองซาราโกซา เมืองนี้มีประชากร 667,034 คนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งแคว้น ซาราโกซาตั้งอยู่ที่ความสูง 199 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นจุดตัดระหว่างเส้นทางที่จะไปยังมาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย บิลบาโอ และตูลูซ (ประเทศฝรั่งเศส) โดยเมืองทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ห่างจากซาราโกซาประมาณ 300 กิโลเมตร บริเวณเมืองนี้เคยเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อว่า ซัลดูบา (Salduba) เป็นชื่อในภาษาพิวนิกของกองทัพคาร์เทจซึ่งตั้งอยู่บนซากหมู่บ้านชาวเคลติเบเรียนเดิม จนกระทั่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 เมื่อกองทัพโรมันได้เข้ารุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย บริเวณนี้จึงตกอยู่ในการดูแลของกองรักษาด่านซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิออกุสตุส และกลายเป็นเมืองที่มีชื่อว่า ไกซาเรากุสตา (Caesaraugusta) มีฐานะเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชาวอาหรับได้เข้ายึดเมืองนี้และตั้งชื่อใหม่ว่า ซารากุสตา (Saraqusta; سرقسطة) ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา (ราชวงศ์อุไมยัด) และเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นเมืองอาหรับที่ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของคาบสมุทร จากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซาราโกซาเป็นหนึ่งในกลุ่มราชอาณาจักรไตฟา (รัฐมุสลิมหลายสิบรัฐที่แตกออกมาหลังการล่มสลายของอาณาจักรกอร์โดบา) และถูกชาวอาหรับอีกกลุ่มจากจักรวรรดิอัลโมราวิดเข้าครอบครอง ในที่สุดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ชาวอารากอน (นับถือศาสนาคริสต์) ก็สามารถยึดเมืองนี้ได้จากพวกอัลโมราวิดและได้ตั้งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอารากอน ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียที่จะพัฒนาเป็นราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อม.

ใหม่!!: เอลซิดและซาราโกซา · ดูเพิ่มเติม »

เรกองกิสตา

“การยอมแพ้ของกรานาดา” (La rendición de Granada) (ค.ศ. 1882) โดยฟรันซิสโก ปราดียา อี ออร์ติซ เรกองกิสตา (สเปน, กาลีเซีย และอัสตูเรียส: Reconquista); เรกงกิชตา (Reconquista); เรกุงเกสตา (Reconquesta); เอร์เรกอนกิสตา (Errekonkista) หรือ อัลอิสติรดาด (الاسترداد) เป็นช่วงเวลา 800 ปีในยุคกลางที่อาณาจักรคริสเตียนในคาบสมุทรไอบีเรียได้รับการพิชิตคืนมาจากอำนาจของมุสลิม การพิชิตของฝ่ายมุสลิมในอาณาจักรวิซิกอทในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (เริ่มในปี ค.ศ. 710–712) เป็นไปเกือบทั่วคาบสมุทรไอบีเรีย (นอกจากบริเวณส่วนใหญ่ของแคว้นกาลิเซีย แคว้นอัสตูเรียส แคว้นกันตาเบรีย และแคว้นบาสก์) แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนเหล่านี้ (นอกไปจากอาณาจักรเอมีร์แห่งกรานาดาของราชวงศ์นาสริดที่ได้ถูกพิชิตในปี ค.ศ. 1492) ก็คืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของประมุขผู้นับถือคริสต์ศาสนา การพิชิตดินแดนคืนเริ่มขึ้นทันทีหลังจากที่ฝ่ายมุสลิมพิชิตคาบสมุทรได้เกือบทั้งหมด และเป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัยกว่าจะมาสิ้นสุดลง การก่อตั้งราชอาณาจักรอัสตูเรียสภายใต้เปเลเจียสแห่งอัสตูเรียสในยุทธการที่หมู่บ้านโกบาดองกา ในปี..

ใหม่!!: เอลซิดและเรกองกิสตา · ดูเพิ่มเติม »

เซบิยา

ที่ตั้งเมืองเซบิยาในประเทศสเปน เซบิยา (Sevilla) หรือ เซวิลล์ (Seville) เป็นศูนย์กลางทางการเงิน วัฒนธรรม และศิลปะของภาคใต้ของประเทศสเปน และยังเป็นเมืองหลวงของแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซีอาและจังหวัดเซบิยาอีกด้วย พิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ 37°22′38″ เหนือ และ 5°59′13″ ตะวันตก) มีแม่น้ำกวาดัลกีวีร์ (Guadalquivir) ไหลผ่าน ผู้อยู่อาศัยในเมืองนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เซบิยาโนส (Sevillanos) เฉพาะในเมืองเซบิยามีจำนวนประชากร 704,154 คนในปี พ.ศ. 2548 แต่ถ้ารวมพื้นที่เขตเมือง (urban area) จะมีจำนวนประชากร 1,043,000 คน และถ้ารวมประชากรในเขตมหานคร (เขตเมืองรวมกับเมืองบริวาร) จะมีจำนวนสูงถึง 1,317,098 คน ทำให้เขตมหานครเซบิยาเป็นเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของสเปน.

ใหม่!!: เอลซิดและเซบิยา · ดูเพิ่มเติม »

10 กรกฎาคม

วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นวันที่ 191 ของปี (วันที่ 192 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 174 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอลซิดและ10 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เอล ซิด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »