โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอช. จี. เวลส์

ดัชนี เอช. จี. เวลส์

อร์เบิร์ต จอร์จ เวลส์ หรือ เอ.

22 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์พ.ศ. 2409พ.ศ. 2489มนุษย์ล่องหนลอนดอนสแตน ลีอาร์เธอร์ ซี. คลาร์กจอร์จ ออร์เวลล์คริกเกตคาร์ล เซแกนซี. เอส. ลิวอิสประเทศอังกฤษแจ็ค วิลเลี่ยมสันโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์โจนาธาน สวิฟท์โครงการกูเทนแบร์กไอแซค อสิมอฟเพลโตเดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์สเคนต์13 สิงหาคม21 กันยายน

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2409

ทธศักราช 2409 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1866.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และพ.ศ. 2409 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2489

ทธศักราช 2489 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1946 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และพ.ศ. 2489 · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ล่องหน

The Invisible Man ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปี 1897 มนุษย์ล่องหน (The Invisible Man) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย เอช.จี. เวลส์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1897 ลงเป็นตอนในนิตยสาร Pearson's Magazine และรวมเล่มในปีเดียวกัน นวนิยายกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ชื่อ กริฟฟิน ซึ่งตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าร่างกายมนุษย์มีดรรชนีหักเห เท่ากับอากาศ ร่างกายจะไม่ดูดซับแสงหรือสะท้อนแสง และทำให้มองไม่เห็น กริฟฟินได้ทำการทดลองด้วยตัวเอง ประสบความสำเร็จและทำให้ตนเองกลายเป็นมนุษย์ล่องหน แต่ไม่สามารถทำให้ร่างกายตัวเองกลับมามีดรรชนีหักเหเท่าเดิมได้ นอกจากนี้กระบวนการเคมีที่เกิดขึ้นยังมีผลกระทบต่ออารมณ์และสภาพจิตใจของกริฟฟิน กริฟฟินใช้แถบผ้าพันปกปิดร่างกาย สวมแว่นดำและหมวกปกคลุม หลบไปทำการทดลองในเมืองเล็กๆ และขอความช่วยเหลือจากเพื่อนเก่าชื่อ ดร.เคมป์ ในขณะที่ชาวเมืองเริ่มรู้สึกผิดปกติกับการมาของชายลึกลับที่ใช้ผ้าพันทั้งตัว เกิดอาชญากรรมแปลก แต่ตำรวจไม่สามารถจับใครได้ ในที่สุดกริฟฟินก็สามารถกลับมามีร่างกายเป็นปกติได้ แต่เป็นในขณะที่เขากำลังจะตาย เพราะถูกตำรวจจั.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และมนุษย์ล่องหน · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สแตน ลี

แตน ลี (สแตนลีย์ มาร์ติน ลีเบอร์, เกิดเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465)(Stanley Martin Lieber) เป็นนักเขียนการ์ตูน, บรรณาธิการ, นักแสดง, โปรดิวเซอร์, ผู้จัดพิมพ์, ผู้มีชื่อเสียงทางรายการโทรทัศน์ ชาวอเมริกัน และ เป็นอดีตประธานของมาร์เวลคอมิกส์ เขาได้เป็นผู้ร่วมสร้างการ์ตูนสไปเดอร์-แมน, ฮัลค์, แฟนแทสติกโฟร์, ไอรอนแมน, ธอร์, เอ็กซ์เมน และอีกมากมาย นอกจากนั้นเขายังเป็นคนที่ทำให้การ์ตูนมาร์เวล จากสำนักพิมพ์เล็กๆ ขยายตัวกลายเป็นบริษัทมัลติมีเดียขนาดใหญ่จนเป็นที่รู้จักมากม.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และสแตน ลี · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

ซอร์ อาร์เธอร์ ชาลส์ คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 - 19 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งผลงานของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่นิยายชุด จอมจักรวาล (Space Odyssey) และชุด ดุจดั่งอวตาร (Rendezvous with Rama) ผลงานเขียนนวนิยายของคลาร์ก มีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์จำนวนมากได้แรงบันดาลใจจากนิยายของคลาร์ก เช่น ดาวเทียม การสำรวจอวกาศ ลิฟต์อวกาศ คลาร์ก อาศัยอยู่ที่กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา เขาเดินทางเข้ามาอยู่ประเทศนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 และพักอาศัยอยู่อย่างถาวรจนได้รับสัญชาติศรีลังกา ชาวศรีลังกาถือว่าเขาเป็น "ความภูมิใจของลังกา" มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ให้เป็นเกียรติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และอาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ออร์เวลล์

อร์จ ออร์เวลล์ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) เป็นนามปากกาของ เอริก อาร์เทอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) นักเขียนชาวอังกฤษ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2446 - 21 มกราคม พ.ศ. 2493) นอกจากจะเป็นนักวิจารณ์ด้านการเมืองและวัฒนธรรมแล้ว ออร์เวลล์ยังเป็นนักเขียนความเรียงที่มีผู้ชื่นชมมากที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามเขาเป็นที่รู้จักจากนวนิยายสองเรื่องที่เขาเขียนช่วงท้ายทศวรรษ 1940 ชื่อ แอนิมัลฟาร์ม (Animal Farm) ซึ่งเป็นนิยายล้อเลียนการเมือง (มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในภายหลังด้วย) และ หนึ่งเก้าแปดสี่ (1984) ซึ่งกล่าวถึงดิสโทเปียที่มีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างเห็นภาพ จนกระทั่งมีการใช้คำว่า แบบออร์เวลล์ เพื่อใช้เรียกระบบระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในการครอบงำความ.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และจอร์จ ออร์เวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คริกเกต

การเล่นคริกเกตในสนาม คริกเก็ต (cricket) เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง มีคนเล่นทีมละ 11 คน ทีม ก จัดให้คนหนึ่งเป็นผู้ขว้างลูก เรียกว่า bowler ทำการขว้างลูกไปยังไม้ที่ตั้งไว้บนสนามสามอัน เรียกว่า wickets ซึ่งทีม ข จัดคนมารักษา คนที่รักษา wickets เรียกว่า batsman และไม้ที่ถือตีลูกเรียกว่า bat ถ้าตีถูกลูกก็วิ่งวนไปเพื่อเอาแต้ม เรียกว่า runs จนกว่าพวกของทีม ก ที่อยู่ในสนาม คือ fielders จะนำลูกกลับมาได้ คริกเกตมีการเล่นมากกว่าใน 100 ประเทศ ซึ่งนิยมเล่นในออสเตรเลีย บังคลาเทศ อังกฤษ และอินเดี.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และคริกเกต · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เซแกน

ร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่าง ๆ เซแกนได้ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการบนโลกอย่างไร สนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอื่นเป็นพิเศษ เซแกนเป็นคนริเริ่มความคิดที่จะติดตั้งแผ่นป้ายบนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 ที่เป็นเหมือนจดหมายจากโลก ยานไพโอเนียร์ 10 ผ่านเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1973 ก่อนที่จะออกไปยังขอบนอกของระบบสุริยะแล้วออกสู่อวกาศ แผ่นป้ายแบบเดียวกันติดไปกับยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 11 ในปีต่อมา นอกจากงานด้านดาราศาสตร์แล้ว เซแกนยังมีชื่อเสียงจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Contact ซึ่งเกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก นิยายเรื่องนี้ ภายหลังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน (ชื่อภาษาไทยคือ "คอนแทค อุบัติการณ์สัมผัสห้วงจักรวาล") นำแสดงโดย โจดี้ ฟอสเตอร.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และคาร์ล เซแกน · ดูเพิ่มเติม »

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และซี. เอส. ลิวอิส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แจ็ค วิลเลี่ยมสัน

แจ็ค วิลเลียมสัน (Jack Williamson; 29 เมษายน ค.ศ. 1908-10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006) เกิดที่เมืองบิสบี รัฐแอริโซนา ตอนที่ยังเป็นเด็กเขาอาศัยอยู่ในบ้านหลังหนึ่งที่นิวเม็กซิโกต่อมาเมื่อโตขึ้น เขาเริ่มจับงานเขียนอย่างจริงจัง พร้อมทั้งศึกษาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เขาจบปริญญาโทศิลปศาสตร์โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง "การศึกษาศักศักยภาพในการทำนายอนาคตของนิยายวิทยาศาสตร์ยุคใหม่" จากนั้นในปี 1964 เขาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโคโรลาโด โดยเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ในยุคต้น ๆ ของ เฮช จี เวลล์ ในเรื่อง "เฮช จี เวลล์ นักวิจารณ์ล้ำยุค" (1973) เขาสอนวิชาการวิจารณ์นิยายและวรรณกรรมยุคใหม่ จนกระทั่งเกษียณในปี 1977 นอกจากนั้นเขายังมีส่วนร่วมในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยยอมรับนิยายวิทยาศาสตร์เป็นวิชาเรียนอีกด้วย เขาเขียนนิยายต่าง ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ผลงานที่มีชื่อเสียงในยุคต้น ๆ ของเขา อาทิ นิยายชุด Legion of Space เป็นต้น นอกจากนั้นเขายังใช้ปากกาว่า วิล สจ็วต เขียนนิยายเกี่ยวกับปฏิสสารจนโด่งดังสองเรื่องคือ Seetee Ship (1942/3) และ Seetee Shock (1949) อีกด้วย วิลเลียมสันเป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานมากมายตลอด 50 ปี โดยมีนิยายสำหรับผู้ใหญ่และเยาวชนโดยเฉพาะอีกด้วย นอกจากนี้เขายังเขียนนิยายแฟนตาซีอีกด้วย วิลเลียมสันได้รับรางวัลพิลกริมในฐานะผู้สร้างผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนิยายวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปี 1976 เขาได้รับรางวัลแกรนด์มาสเตอร์ที่เนบิวลา แม้ว่าเขาจะชื่นชมศักยภาพของเทคโนโลยีก็ตาม แต่วิลเลียมสันก็ไม่ได้ละเลยข้อเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีเช่นกัน วิลเลียมสันรู้สึกหวาดหวั่นต่ออำนาจการทำลายล้างที่สามารถสร้างความเสียหายอย่างรุ่นแรงของอาวุธนิวเคลียร์อย่างยิ่ง นับแต่นั้นมาเขาก็คำนึกถึงสภาพความเป็นดาบสองคมของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยนิยายเรื่อง With Folded Hands เป็นนิยายที่ออกมาเตือนสติการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้งาน.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และแจ็ค วิลเลี่ยมสัน · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์

รเบิร์ต เอ.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

โจนาธาน สวิฟท์

นาธาน สวิฟท์ (Jonathan Swift) (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1667 - (19 ตุลาคม ค.ศ. 1745) โจนาธาน สวิฟท์เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวไอร์แลนด์และชาวอังกฤษ นอกจากจะเป็นนักเขียนและสวิฟท์ก็ยังเป็นนักเสียดสี นักเขียนปกิณกะ และ นักเขียนการเมืองโดยเริ่มเขียนให้กับพรรควิก และต่อมาให้กับพรรคทอรี กวี และนักบวชผู้ต่อมามีตำแหน่งเป็นอธิการของมหาวิหารเซนต์แพ็ททริคในดับลิน สวิฟท์มีงานเขียนหลายชิ้นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้ง Gulliver's Travels (การเดินทางของกัลลิเวอร์), A Modest Proposal, A Journal to Stella, Drapier's Letters, The Battle of the Books, An Argument Against Abolishing Christianity และ A Tale of a Tub สวิฟท์อาจจะถือว่าเป็นผู้นำของนักเขียนประเภทเสียสีคนสำคัญของวรรณกรรมภาษาอังกฤษ และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักในงานเขียนทางด้านโคลงกลอน เดิมสวิฟท์ใช้นามปากกาในการเขียนงานเช่น เลมูเอล กัลลิเวอร์ (Lemuel Gulliver), ไอแซ็ค บิคเคอร์สตาฟฟ์ (Isaac Bickerstaff) หรือบางครั้งก็ไม่ลงนาม งานเสียดสีของสวิฟท์มีสองลักษณะแบบโฮราซ (Horace) และ แบบจูเวนาล (Juvenal).

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และโจนาธาน สวิฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการกูเทนแบร์ก

รงการกูเทนแบร์ก (Project Gutenberg หรือเรียกชื่อย่อว่า PG) เป็นโครงการอาสาสมัครเพื่อการแปรงานทางวัฒนธรรมเช่นงานวรรณกรรมเป็นดิจิทัลเพื่อการเก็บรักษาและเผยแพร่แก่สาธารณชน โครงการกูเทนแบร์กก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1971 โดยไมเคิล เอส ฮาร์ท (Michael S. Hart) และเป็นห้องสมุดดิจิทัลที่เก่าที่สุด สื่อที่สะสมเป็นหนังสือทั้งเล่ม (full text) ที่ลิขสิทธิ์หมดอายุและเป็นสมบัติของสาธารณชน โครงการกูเทนแบร์กพยายามทำให้สาธารณชนสามารถใช้หนังสือเหล่านี้โดยไม่ต้องเสียเงินเท่าที่จะทำได้ และในรูปแบบที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (open format) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 โครงการกูเทนแบร์กกล่าวว่ามีสื่อกว่า 24,000 สื่อในโครงการ โครงการกูเทนแบร์กเกี่ยวข้องกับโครงการอื่นๆ ที่เป็นองค์การอิสระอีกหลายโครงการที่มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกันและได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา “Project Gutenberg” ถ้าเป็นไปได้ หนังสือหรือสื่อของโครงการกูเทนแบร์กจะเป็นเนื้อหาที่ไม่มีรูปแบบ (plain text) แต่รูปแบบอื่นก็มีให้เช่น HTML หนังสือหรือสื่อส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษแต่ก็มีบ้างที่เป็นภาษาอื่น โครงการมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ โครงการผู้ตรวจสอบ (Distributed Proofreaders หรือเรียกชื่อย่อว่า DP) ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครอินเทอร์เน็ตที่ช่วยตรวจสอบหนังสือและสือก่อนที่จะเผยแพร่แก่สาธารณชนในโครงการกูเทนแบร์ก.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และโครงการกูเทนแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ไอแซค อสิมอฟ

ร.ไอแซค อาซิมอฟ (Isaac Asimov; Айзек Азимов Ayzek Azimov; IPA:; 2 มกราคม พ.ศ. 2463-6 เมษายน พ.ศ. 2535) นักเขียนและนักชีวเคมีชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซียที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในฐานะนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และหนังสือแนววิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ หนังสือชุดสถาบันสถาปนา รวมทั้งหนังสืออีก 2 ชุด นั่นคือ หนังสือชุดจักรวรรดิเอ็มไพร์ และ หนังสือชุดหุ่นยนต์ นอกจากนี้เขายังได้เขียนนิยายแนวลึกลับและแฟนตาซี รวมทั้งสารคดีอีกจำนวนมาก เขาได้เขียนหนังสือในหมวดใหญ่ๆ ของระบบทศนิยมดิวอี้ทุกแนวเนื้อหา เว้นก็แต่แนวปรัชญาเท่านั้น อาซิมอฟถือเป็นนักเขียนรุ่นใหญ่ในบรรดานักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ โดยจัดอยู่ในแนวหน้า เช่นเดียวกับ โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ และอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ซึ่งถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม (Big Three) ในหมู่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงชีวิตของ.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และไอแซค อสิมอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส

กนวนิยายฉบับตีพิมพ์ ค.ศ. 1906 ในภาษาฝรั่งเศส เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย เอช.จี. เวลส์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1898 เนื่อเรื่องบรรยายถึงเหตุการณ์ที่มนุษย์ต่างดาวจากดาวอังคาร ส่งยานอวกาศเข้ามาโจมตีกรุงลอนดอน เป็นนวนิยายเรื่องแรกที่กล่าวถึงการรุกรานโลกจากต่างดาว พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 31 ตุลาคม 1938 นวนิยายถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครวิทยุ ความยาว 60 นาที โดย ออร์สัน เวลส์ ออกอากาศทางเครือข่ายซีบีเอส ของสหรัฐอเมริกา เมื่อคืนวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1938 เนื่องในวันฮาโลวีน ส่งผลให้เกิดความโกลาหลในหลายรัฐทางตะวันออก ผู้ฟังรายการที่ไม่ได้ฟังประกาศจากสถานีตอนต้นของรายการ ว่าเป็นเรื่องแต่ง ต่างเข้าใจว่ามีมนุษย์ต่างดาวโจมตีโลกจริงๆ และออกจากบ้านเพื่อหนีตายด้วยความตื่นตระหนก เนื่องจากในขณะนั้นเกิดความตึงเครียดว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มีผู้วิจัยว่า จากจำนวนผู้ฟัง 6 ล้านคน มี 1.7 ล้านคน คิดว่าเป็นเหตุการณ์จริง ในจำนวนนี้ 1.2 ล้าน เกิดความตื่นตระหนกHand, Richard J. (2006).

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และเดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

13 สิงหาคม

วันที่ 13 สิงหาคม เป็นวันที่ 225 ของปี (วันที่ 226 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 140 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และ13 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 กันยายน

วันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่ 264 ของปี (วันที่ 265 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 101 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และ21 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

H. G. WellsHG Wellsเอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells)เอช.จี. เวลส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »