โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ

ดัชนี เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ

้นขนานที่ 40 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 1 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 20 นาที ในระหว่างเหมายัน.

60 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกมาจอร์กามินอร์กามณฑลชานซีมณฑลกานซู่มณฑลเหลียวหนิงมณฑลเหอเป่ย์รัฐมิสซูรีรัฐยูทาห์รัฐอิลลินอยส์รัฐอินดีแอนารัฐนิวเจอร์ซีย์รัฐแคลิฟอร์เนียรัฐแคนซัสรัฐโอไฮโอรัฐโคโลราโดรัฐเพนซิลเวเนียรัฐเวสต์เวอร์จิเนียรัฐเนวาดารัฐเนแบรสกาวงกลมละติจูดอะโซร์สอังการาองศา (มุม)จังหวัดชากังจังหวัดพย็องอันเหนือจังหวัดอากิตะจังหวัดอิวาเตะทวีปยุโรปทวีปอเมริกาเหนือทวีปเอเชียทะเลญี่ปุ่นทะเลอีเจียนทะเลติร์เรเนียนทะเลแคสเปียนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทะเลเหลืองดวงอาทิตย์ครีษมายันคาบสมุทรเหลียวตงปักกิ่งนากอร์โน-คาราบัคแคว้นบาเลนเซียแคว้นกัสติยา-ลามันชาแคว้นมาดริดแคว้นอารากอนแคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนียแคว้นปุลยาแคว้นเอซเตรมาดูรา...โลกเกาะฮนชูเลมนอสเส้นศูนย์สูตรเส้นขนานที่ 41 องศาเหนือเส้นเมริเดียนแรกเหมายันเทียนจินเขตปกครองตนเองมองโกเลียในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ขยายดัชนี (10 มากกว่า) »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มาจอร์กา

มาจอร์กา (Majorca), มัลยอร์กา (Mallorca) หรือ มายอร์กา (Mallorca) เป็นเกาะในประเทศสเปน ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแบลีแอริก เป็นเกาะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของสเปน (รองจากเกาะเตเนรีเฟในหมู่เกาะคะแนรี) เมืองหลวงของเกาะคือเมือง ปัลมา ที่ยังเป็นเมืองหลักของแคว้นปกครองตนเองแห่งหมู่เกาะแบลีแอริก เช่นเดียวกับเกาะอื่นในหมู่เกาะแบลีแอริกอย่างอีบีซา ฟอร์เมนเตรา และมินอร์กา ที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในวันหยุดที่ได้รับความนิยมมาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากเยอรมนี สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ชื่อของเกาะมาจากภาษาละติน insula maior,"เกาะใหญ่กว่า" ที่ต่อมาคือ Maiorica, "(เกาะ) ที่ใหญ่กว่า" ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับเกาะมินอร์กา เกาะนี้เป็นเกาะที่มีชายฝั่งเว้าแหว่งและลาดลึก โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ด้านตะวันออกและด้านใต้พื้นที่เป็นที่ราบลูกคลื่น และมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก มีการผลิตบรั่นดี หมวดหมู่:เกาะในประเทศสเปน หมวดหมู่:หมู่เกาะแบลีแอริก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมาจอร์กา · ดูเพิ่มเติม »

มินอร์กา

มินอร์กา (Minorca), มานอร์กา (Menorca) หรือ เมนอร์กา (Menorca) เป็นเกาะในประเทศสเปน เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 2 ของหมู่เกาะแบลีแอริก ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชื่อในภาษาละตินคือ Insula Minor (หรือต่อมาคือ Minorica "เกาะน้อย") เพราะเล็กกว่าเกาะข้างคือคือ เกาะมายอร์กา มินอร์กามีประชากรราว 94,383 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2010) ตั้งอยู่ระหว่าง 39°47' to 40°00' เหนือ และ 3°52' to 4°24' ตะวันตก มีจุดสูงสุดเรียกเอลโตโรหรือมอนเตโตโร มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 358 เมตร เมืองหลักของเกาะชื่อ มาออน มีภูมิประเทศเป็นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ชายฝั่งมีลักษณะเว้าแหว่ง มีอ่าวจำนวนมาก ภูมิประเทศทางด้านเหนือเป็นเนินเขาและแห้งแล้ง ด้านใต้เป็นที่ราบสูงดินอุดมสมบูรณ์ มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลิตเนยแข็ง รองเท้าหนัง เลี้ยงปศุสัตว์ ผลิตผลสำคัญ เช่น ธัญพืช มันฝรั่ง อัลมอนด์ แตง ทับทิม หมวดหมู่:เกาะในประเทศสเปน หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของอังกฤษ หมวดหมู่:หมู่เกาะแบลีแอริก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมินอร์กา · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกานซู่

มณฑลกานซู่ หรือ มณฑลกังซก (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมณฑลกานซู่ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหลียวหนิง

มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมณฑลเหลียวหนิง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอเป่ย์

มณฑลเหอเป่ย์ (河北省) ชื่อย่อ จี้(冀)ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบสูง มองโกเลียในและที่ราบภาคเหนือของประเทศ เป็นมณฑลที่อยู่ล้อมรอบนครสำคัญคือ ปักกิ่ง และเทียนจินมีเมืองหลวงชื่อ ฉือเจียจวง มีเนื้อที่ 187,700 ก.ม.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและมณฑลเหอเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมิสซูรี

รัฐมิสซูรี เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ล้อมรอบด้วยรัฐไอโอวา อิลลินอยส์ เคนทักกี เทนเนสซี อาร์คันซอ โอคลาโฮมา แคนซัส และเนแบรสกา มิสซูรีเป็นรัฐที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 18 ของประเทศ ประกอบด้วย 114 เคาน์ทีและ 1 เมืองอิสระ เมืองหลวงของรัฐคือ เจฟเฟอร์สัน ซิตี้ เมืองขนาดใหญ่ของรัฐเรียงตามลำดับ คือ เซนต์หลุยส์ แคนซัสซิตี สปริงฟิลด์ และโคลัมเบีย ดั้งเดิมนั้น มิสซูรีเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสจากการซื้อหลุยส์เซียนาและต่อมากลายเป็นดินแดนมิสซูรี ส่วนของดินแดนมิสซูรีได้เข้าร่วมเป็นสหพันธ์ลำดับรัฐที่ 24 ในวันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐมิสซูรี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยูทาห์

รัฐยูทาห์ (Utah) เป็นรัฐทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาร็อกกี มีเมืองหลวงคือซอลต์เลกซิตี เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เป็นลำดับที่ 45 ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2439 ชื่อของรัฐยูทาห์ มาจากชื่อของเผ่าอินเดียนแดง เผ่ายูท (Ute) ซึ่งหมายถึง "คนบนเทือกเขา" ยูทาห์เป็นรัฐต้นกำเนิดของศาสนาคริสต์ นิกายมอร์มอน สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในรัฐได้แก่ อุทยานแห่งชาติอาร์เชส อุทยานแห่งชาติไซออน และ อุทยานแห่งชาติไบรซ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐยูทาห์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิลลินอยส์

รัฐอิลลินอยส์ (Illinois, ออกเสียงเหมือน อิล-ลิ-นอย โดยไม่มีเสียง s) ตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ชื่ออิลลินอยส์ตั้งโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ตามชื่อกลุ่มชาวอินเดียนแดงที่เรียกตัวเองว่า อไลไนเว็ก (Illiniwek) เมืองหลวงของอิลลินอยส์คือ สปริงฟิลด์ เมืองที่มีชื่อเสียงในรัฐอิลลินอยส์ได้แก่ ชิคาโก รหัสย่อของรัฐอิลลินอยส์คือ IL อิลลินอยส์เป็นที่รู้จักในรัฐข้าวโพด เป็นที่ตั้งของเมืองชิคาโก สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงได้แก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐอิลลินอยส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอินดีแอนา

อินดีแอนา (Indiana) เป็นรัฐที่ 19 ซึ่งอยู่ในตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ความหมายของรัฐหมายถึงดินแดนของชาวอินเดียนแดง รัฐอินดีแอนา มีเมืองหลวงชื่ออินเดียแนโพลิส และมีรหัสย่อว่า IN.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐอินดีแอนา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวเจอร์ซีย์

รัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า "การ์เดนสเตต" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐนิวเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคนซัส

รัฐแคนซัส (Kansas) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกา อยู่ในเขตที่เรียกว่ามิดเวสต์ ชื่อของรัฐมาจากคำอินเดียนแดงว่า Kansa ซึ่งหมายถึง ผู้คนของลมใต้ รัฐแคนซัสเริ่มตั้งรกรากโดยชาวอเมริกันในช่วง คริสต์ทศวรรษ 1850 จากคนที่อพยพมาจากรัฐอื่น รัฐแคนซัสเคยเป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอันยิ่งใหญ่ระหว่าง พวกกลุ่มผู้เลิกทาส กับกลุ่มที่ไม่ต้องการเลิกทาส ซึ่งเกิดการนองเลือดอย่างรุนแรงภายในรัฐ ในปัจจุบันรัฐแคนซัสเป็นรัฐที่มีอุตสาหกรรมการเกษตรอันดับต้นของประเทศ โดยผลผลิตหลักของรัฐคือ ข้าวสาลี (wheat) เมืองหลวงของแคนซัสชื่อ โทพีกา และเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือ วิชิทอ โดยแคนซัสซิตี ที่อยู่ในรัฐแคนซัสเป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า เมืองแคนซัสซิตี ที่อยู่ในรัฐมิสซูรี ดอกไม้ประจำรัฐแคนซัสคือ ดอกทานตะวัน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐแคนซัส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโอไฮโอ

ป้ายต้อนรับ รัฐโอไฮโอ (Ohio) รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 17 ในปี พ.ศ. 2346 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ OH และเป็นรัฐที่มีป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา รองจากรัฐอะแลสก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐโอไฮโอ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโคโลราโด

รัฐโคโลราโด (Colorado,, คอละแรโดวฺ) เป็นรัฐทางตอนกลางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา โคโลราโดเป็นรัฐที่อยู่ในเขตเทือกเขาร็อกกีซึ่งครอบคลุมราวๆครึ่งหนึ่งของรัฐทางฝั่งตะวันตก ในขณะที่ฝั่งตะวันออกของรัฐเป็นที่ราบ กองสำรวจประชากรแห่งสหรัฐ ได้สำรวจว่า ในปี..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐโคโลราโด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเพนซิลเวเนีย

รัฐเพนซิลเวเนีย รัฐทางตอนกลาง ของสหรัฐอเมริกา เครือรัฐเพนซิลเวเนีย (Commonwealth of Pennsylvania) เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา รัฐเพนซิลเวเนียเป็นรัฐหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวข้องที่สุดรัฐหนึ่ง เป็นที่ประกาศอิสรภาพของอเมริกา โดยมีฟิลาเดลเฟียเป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสหรัฐอเมริกาก่อนการจัดตั้งวอชิงตัน ดีซี ชื่อของรัฐมาจากภาษาละติน ตั้งโดย เควกเกอร์ วิลเลียม เพนน์ เมืองหลวงของรัฐคือ แฮร์ริสเบิร์ก และเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย และพิตส์เบิร์ก รวมไปถึงเมืองเฮอร์ชีย์ที่ตั้งของโรงงานชอกโกแลตเฮอร์ชีย์ มหาวิทยาลัยที่สำคัญในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก และ มหาวิทยาลัยลีไฮฮ์ ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ และ พิตส์เบิร์ก สตีลเลอรส์ ในปี 2550 เพนซิลเวเนียมีประชากร 12,432,792 คน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย

รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย (West Virginia) เป็นรัฐในเขตแอปพาเลเชีย ทางภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเวอร์จิเนียทางตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเคนทักกีทางตะวันตกเฉียงใต้ รัฐโอไฮโอทางตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐเพนซิลเวเนียทางเหนือ (ค่อนไปทางตะวันออก) และแมริแลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีชาร์ลสตันเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ รัฐเวสต์เวอร์จิเนียมีสถานะเป็นรัฐภายหลังจากที่ประชุมวีลลิง เมื่อปี ค.ศ. 1861 เมื่อผู้แทนจาก 50 เคาน์ตีทางเหนือของรัฐเวอร์จิเนียตัดสินใจแยกออกมาจากรัฐเวอร์จิเนียในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา รัฐเวสต์เวอร์จิเนียเข้าร่วมสหพันธ์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1861 และกลายเป็นรัฐชายแดนที่สำคัญในช่วงสงครามกลางเมือง ทั้งนี้ รัฐเวสต์เวอร์จิเนียเป็นเพียงรัฐเดียวของสหรัฐอเมริกาที่มีสถานะเป็นรัฐจากการแยกตัวออกมาจากสมาพันธรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสองรัฐที่ตั้งขึ้นมาในระหว่างสงครามกลางเมือง (อีกรัฐหนึ่งคือรัฐเนวาดาที่แยกออกมาจากดินแดนยูทาห์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนียเป็นที่ขึ้นชื่อทางด้านภูเขาและเนินเขา อุตสาหกรรมป่าไม้และเหมืองถ่านหินที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ทางการเมืองและแรงงาน รัฐนี้มีอาณาบริเวณคาสต์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก ทำให้รัฐนี้เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการท่องถ้ำและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ด้วยภูมิประเทศแบบคาสต์ในบริเวณนี้ ส่งผลให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ปลาเทราท.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนวาดา

รัฐเนวาดา (Nevada) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ประชากรในรัฐมีประมาณ 2,414,807 (พ.ศ. 2548) โดยเพิ่มขึ้นจาก 1,998,257 (พ.ศ. 2543) ซึ่งรัฐเนวาดาเป็นรัฐที่มีการเติบโตของประชากรมากสุดในสหรัฐอเมริกา เมืองสำคัญของรัฐเนวาดา ได้แก่ ลาสเวกัส รีโน และเมืองหลวง คาร์สันซิตี บุคคลสำคัญจากรัฐเนวาดาได้แก่ อังเดร อกัสซี นักเทนนิส ป้ายทะเบียนรถยนต์ ของรัฐเนวาดา โดยมีสัญลักษณ์พิเศษบนตัวอักษร a ตัวที่สอง เพื่อบอกความแตกต่างจากเสียงทั่วไป ชื่อรัฐเนวาดามาจากภาษาสเปนมีความหมายถึง หิมะ ชื่อรัฐเนวาดานิยมอ่านทั่วไปว่า "เนวาดา" แต่คนในพื้นที่จะเรียกรัฐเนวาดาว่า "เนแวดา" ในปี..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐเนวาดา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนแบรสกา

รัฐเนแบรสกา รัฐเนแบรสกา (Nebraska) เป็นรัฐทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เนแบรสกาได้ชื่อมาจากเผ่าอินเดียนแดงเผ่าโอโต ซึ่งมีความหมายว่า ทุ่งน้ำ เนื่องจากสภาพของรัฐมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม รัฐเนแบรสกาเป็นรัฐที่มีอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอันดับต้นของประเทศ โดยมีธุรกิจที่สำคัญคือข้าวโพด และน้ำมันเบนซิน E-85 ที่พัฒนาต่อมาจากข้าวโพด เมืองที่สำคัญในรัฐได้แก่ โอมาฮา และ ลิงคอล์น บุคคลที่มีชื่อเสียงจากเนแบรสกาได้แก่ ดิคก์ ชีนีย์ รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา จากธุรกิจการลงทุน มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยเนแบรสกา ในปี 2550 เนแบรสกามีประชากร 1,774,571 คน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและรัฐเนแบรสกา · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมละติจูด

วงกลมละติจูด (Circle of Latitude) หรือ เส้นขนาน (Parallel) เป็นเส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน วงกลมละติจูดวัดจากการหมุนรอบตัวของโลก โดยจะตั้งฉากกับแกนหมุนเสมอ และมีวงกลมละติจูดพิเศษ 4 เส้นที่นำมาจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงกลมละติจูดที่สำคัญมี 5 เส้นคือ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและวงกลมละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

อะโซร์ส

อะโซร์ส (Azores) หรือ อาโซรึช (Açores) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ อยู่ทางตะวันตกของกรุงลิสบอนราว 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) และอยู่ทางตะวันออกของชายฝั่งอเมริกาเหนือราว 3,900 กิโลเมตร (2,400 ไมล์) ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ เกาะใหญ่ 9 เกาะ และเกาะเล็ก ๆ อีกหลายเกาะ เกาะนี้เป็น 1 ใน 2 ของเขตการปกครองตนเองของโปรตุเกส มีอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญคือ การเกษตร กสิกรรม (ผลิตผลจากเนยและชีส) การประมง และการท่องเที่ยว เกาะที่ใหญ่ที่สุดชื่อเกาะเซามีแกล เมืองสำคัญได้แก่ เมืองปงตาแดลกาดาบนเกาะเซามีแกล เมืองออร์ตาบนเกาะไฟยัล และเมืองอังกราดูเอรูอิฌมูบนเกาะตืร์ไซรา จุดสูงสุดชื่อปีกูอัลตู บนเกาะปีกู สูง 2,351 เมตร.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและอะโซร์ส · ดูเพิ่มเติม »

อังการา

อังการา (Ankara) เป็นเมืองหลวงของประเทศตุรกีและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอังการา อังการาเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากอิสตันบูล ตั้งอยู่ในจังหวัดอังการาอยู่ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 938 เมตร มีประชากรประมาณ 3.9 ล้านคน อังการาตั้งอยู่บริเวณกลางคาบสมุทรอานาโตเลีย จึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลตุรกี และเป็นที่ตั้งของสถานทูตประเทศต่าง ๆ อังการายังเป็นศูนย์กลางของทางหลวงและเส้นทางรถไฟทำให้เป็นศูนย์กลางของการค้าขาย สินค้าที่มีชื่อเสียงของเมืองคือผลิตภัณฑ์จากขนโมแฮร์ที่ได้จากแพะอังโกรา ขนอังโกราที่ได้จากกระต่ายอังโกรา แมวอังโกรา ลูกแพร์ น้ำผึ้ง และองุ่นท้องถิ่น ตัวเมืองประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า อูลุส ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนยุคจักรวรรดิออตโตมัน และ เยนีเชฮีร์ ซึ่งเป็นเมืองใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามแผนการสร้างเมืองของรัฐบาลสาธารณรัฐตุรกี แต่การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาปักหลักบริเวณพื้นที่รอบนอกเมืองและเกิดบ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างไม่มีระเบียบเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและอังการา · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชากัง

จังหวัดชากังประเทศเกาหลีเหนือ จังหวัดชากัง เป็นจังหวัดของประเทศเกาหลีเหนือ อยู่ทางทิศเหนือของประเทศติดกับประเทศจีน, ติดกับจังหวัดรยังกัง และ ฮัมกย็องใต้ ทางด้านตะวันออก, ติดกับจังหวัดพย็องอันใต้ ทางด้านทิศใต้, และ จังหวัดพย็องอันเหนือ ทางด้านทิศตะวันตก  จังหวัดชากัง ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 เมืองหลวงชื่อกังแจ หมวดหมู่:จังหวัดชากัง หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศเกาหลีเหนือ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและจังหวัดชากัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพย็องอันเหนือ

็องอันเหนือ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศเกาหลีเหนือ มีเมืองเอกชื่อ ชินอึยจู เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเกาหลีจนถึง ค.ศ. 1945 หลังจากนั้น ก็ได้กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของเกาหลีเหนือมาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและจังหวัดพย็องอันเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอากิตะ

ังหวัดอากิตะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคโทโฮกุซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น มีเมืองหลวงชื่ออากิต.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและจังหวัดอากิตะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอิวาเตะ

ังหวัดอิวาเตะ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคโทโฮะกุ (東北地方 Tōhoku-chihō) หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนเกาะฮนชู (本州 Honshū) มีเมืองเอกคือ เมืองโมะริโอะกะ (盛岡市 Morioka-shi).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและจังหวัดอิวาเตะ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลญี่ปุ่น

ทะเลญี่ปุ่น เป็นทะเลชายอาณาเขตทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างแผ่นดินใหญ่เอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น และเกาะซาฮาลิน ล้อมรอบด้วยประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และรัสเซีย เป็นผืนน้ำที่ถูกปิดกั้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบสมบูรณ์ ทำให้แทบไม่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งคล้ายกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และความโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังทำให้จำนวนชนิดพันธุ์สัตว์และความเค็มของน้ำมีน้อยกว่าในมหาสมุทร ภายในพื้นที่ไม่มีเกาะ อ่าว หรือแหลมขนาดใหญ่ สมดุลของน้ำได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำที่ไหลเข้าและออกผ่านช่องแคบต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเลรอบข้างและมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้มีจำนวนน้อย จึงมีผลต่อปริมาตรน้ำในทะเลเพียงไม่เกินร้อยละ 1 น้ำในทะเลญี่ปุ่นมีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายอยู่สูง ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ การประมงจึงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และการขนส่งทางเรือในทะเลญี่ปุนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้ว่าในอดีตจะไม่คับคั่งนักเนื่องด้วยประเด็นปัญหาทางการเมือง ขณะที่ชื่อของผืนน้ำแห่งนี้ยังคงเป็นประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากเกาหลีใต้พยายามเรียกร้องให้ใช้ชื่อว่า ทะเลตะวันออก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทะเลญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอีเจียน

แผนที่ตำแหน่งทะเลอีเจียน ทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เป็นทะเลที่ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี ทางด้านตะวันออกของกรีก เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกสมัยหนึ่ง.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทะเลอีเจียน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลติร์เรเนียน

ทะเลติร์เรเนียน (Mari Tirrenu, Mer Tyrrhénienne, Mare Tirreno, Mar Tirreno, Mari Tirrenu, Mare Tyrrhenum, Tyrrhenian Sea) เป็นทะเลส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่นอกชายฝั่งทางตะวันตกของแผ่นดินใหญ่ของประเทศอิตาลี ทางตอนเหนือของเกาะซิซิลี และทางตะวันออกของเกาะซาร์ดิเนียและเกาะคอร์ซิกา หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทะเลติร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคสเปียน

ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) เป็นทะเลปิดที่อยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 371,000 ตร.กม. และจุดลึกที่สุดลึกประมาณ 980 เมตร ทะเลแคสเปียนมีลักษณะร่วมของทั้งทะเลและทะเลสาบ บางครั้งจึงได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามน้ำในทะเลแคสเปียนกลับไม่ได้เป็นน้ำจืด มีปริมาณเกลือประมาณ 1.2% ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณเกลือในน้ำทะเลทั่วไป.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทะเลแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเหลือง

ภาพแสดงประเทศที่ล้อมรอบทะเลเหลือง ทะเลเหลือง (黄海; 황해 หรือ 서해; Yellow Sea) เป็นบริเวณทะเลทางเหนือของทะเลจีนตะวันออก ซึ่งคล้ายทะเลปิด แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ ทะเลเหลืองตั้งอยู่ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับคาบสมุทรเกาหลี ชื่อว่าทะเลเหลืองนี้มาจากละอองทรายซึ่งมาจากแม่น้ำเหลืองและทำให้สีของน้ำทะเลเป็นสีเหลือง ทะเลเหลือง หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์จีน หมวดหมู่:ประเทศเกาหลี.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและทะเลเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ครีษมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกเหนือในวันครีษมายัน ครีษมายัน หรือ อุตตรายัน (summer solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางเหนือในราววันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันนานกว่ากลางคืน, ตรงข้ามกับ เหมายัน (winter solstice) (สันสกฤต: คฺรีษฺม + อายนฺ).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและครีษมายัน · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรเหลียวตง

ที่ตั้งของคาบสมุทรเหลียวตง คาบสมุทรเหลียวตง เป็น คาบสมุทรในมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโชซอนโบราณ และหลายราชวงศ์ของจีน คาบสมุทรแห่งนี้มีความสำคัญในฐานะบริเวณที่มีความขัดแย้งในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในสงครามครั้งนั้น ทำให้ญี่ปุ่นได้ดินแดนตอนใต้ของคาบสมุทรนี้ หมวดหมู่:คาบสมุทร หมวดหมู่:คาบสมุทรของประเทศจีน หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ของมณฑลเหลียวหนิง.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและคาบสมุทรเหลียวตง · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นากอร์โน-คาราบัค

นากอร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) หรือ อัปเปอร์คาราบัค (Upper Karabakh) เป็นภูมิภาคที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแถบเทือกเขาคอเคซัส ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคโลเวอร์คาราบัคกับภูมิภาคซียูนิค และครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทิวเขาเลสเซอร์คอเคซัส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ นากอร์โน-คาราบัคเป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย โดยนานาชาติยอมรับว่าภูมิภาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐอาร์ทซัค รัฐเอกราช "โดยพฤตินัย" ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียอาศัยอยู่และได้รับการสถาปนาขึ้นบนพื้นที่ของ (อดีต) แคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจานไม่ได้ใช้อำนาจทางการเมืองในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่การกำเนิดขบวนการคาราบัคในปี..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและนากอร์โน-คาราบัค · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นบาเลนเซีย

แคว้นบาเลนเซีย (Comunidad Valenciana) หรือ แคว้นวาเล็นซิอา (บาเลนเซีย: Comunitat Valenciana) เป็นแคว้นปกครองตนเองที่ตั้งอยู่ทางตอนกลาง-ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสเปน ประกอบด้วย 3 จังหวัดเรียงจากทิศเหนือไปทิศใต้ ได้แก่ จังหวัดกัสเตยอน/กัสเต็ลโย จังหวัดบาเลนเซีย/วาเล็นซิอา และจังหวัดอาลิกันเต/อาลากันต์ (ชื่อในภาษาสเปน/ภาษาบาเลนเซีย) แคว้นบาเลนเซียมีชายฝั่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยาว 518 กิโลเมตร มีเนื้อที่ในการปกครอง 23,255 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 4.9 ล้านคน (พ.ศ. 2559) ตามกฎหมายปกครองตนเองของแคว้น บาเลนเซียได้รับการจัดให้เป็น "ชาติ" (nationality) เช่นเดียวกับแคว้นอื่นบางแคว้นในสเปน มีภาษาราชการ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปนและภาษาบาเลนเซีย (ชื่อเรียกของภาษากาตาลาในแคว้นนี้) ส่วนเมืองหลักของแคว้นคือ บาเลนเซีย (วาเล็นซิอา).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและแคว้นบาเลนเซีย · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นกัสติยา-ลามันชา

กัสติยา-ลามันชา (Castilla-La Mancha) เป็นแคว้นปกครองตนเองของประเทศสเปน มีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นกัสติยาและเลออน แคว้นมาดริด แคว้นอารากอน แคว้นบาเลนเซีย แคว้นมูร์เซีย แคว้นอันดาลูเซีย และแคว้นเอซเตรมาดูรา กัสติยา-ลามันชา หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2525.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและแคว้นกัสติยา-ลามันชา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นมาดริด

แคว้นมาดริด (Comunidad de Madrid) เป็นหนึ่งในแคว้นปกครองตนเองสิบเจ็ดแคว้นของประเทศสเปน ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศ โดยเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับจังหวัดมาดริดและเป็นที่ตั้งของกรุงมาดริดซึ่งเป็นเมืองหลักของจังหวัดและของแคว้น และเป็นเมืองหลวงของประเทศ แคว้นมาดริดนี้มีเทศบาลอยู่ 179 แห่ง แคว้นมาดริดมีอาณาเขตทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นกัสติยาและเลออน (จังหวัดอาบีลาและจังหวัดเซโกเบีย) ส่วนทางทิศตะวันออกและทิศใต้ติดต่อกับแคว้นกัสติยา-ลามันชา (จังหวัดกัวดาลาฆารา จังหวัดกูเองกา และจังหวัดโตเลโด) ประชากรของแคว้นมาดริดจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหลวง ส่วนเมืองสำคัญทางการค้าหรือประวัติศาสตร์อื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในแคว้นนี้ได้แก่ อัลกาลาเดเอนาเรส โกสลาดา ตอร์เรฆอนเดอาร์โดซ เคตาเฟ โมสเตเลส ซานโลเรนโซเดเอลเอสโกเรียล นาบัลการ์เนโร และอารังฆูเอซ ก่อนหน้าที่จะเป็นแคว้นนั้น จังหวัดมาดริดเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคกัสติยาใหม่ (แคว้นคาลตีล-ลามันชาปัจจุบัน) มาก่อน เมื่อรูปแบบการปกครองแบบแคว้นปกครองตนเองได้รับการจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2521 จึงมีการตั้งจังหวัดนี้ให้มีฐานะเป็นแคว้นในตนเอง เนื่องจากสภาพความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างจังหวัดนี้กับท้องที่อื่น ๆ ในแคว้นกัสติยา-ลามันชา โดยมาดริดได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นแคว้นตามกฎหมายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 ส่วนกฎหมายปกครองตนเองก็ผ่านการอนุมัติในวันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกัน มาดริด มาดริด หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2526.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและแคว้นมาดริด · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอารากอน

แผนที่การกระจายภาษาในแคว้นอารากอน ภาษาสเปนใช้พูดทั่วไปในแคว้น และเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว อารากอน (สเปนและAragón) หรือ อะราโก (Aragó) เป็นแคว้นปกครองตนเองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดต่อกับแคว้นกาตาลุญญา ทางทิศใต้ติดต่อกับแคว้นบาเลนเซีย และทางทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นกัสติยา-ลามันชา แคว้นกัสติยาและเลออน แคว้นลารีโอคา และแคว้นนาวาร์ ประกอบด้วยจังหวัดซาราโกซา จังหวัดอูเอสกา และจังหวัดเตรูเอล มีแม่น้ำเอโบรไหลผ่านในพื้นที่ ตอนเหนือเป็นภูเขาสูง มีหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ส่วนตอนใต้ค่อนข้างแห้งแล้ง นอกจากจังหวัดทั้งสามแล้ว แคว้นอารากอนยังแบ่งย่อยออกเป็น 33 เทศมณฑล (comarcas) อีกด้ว.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและแคว้นอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย

ซาร์ดิเนีย (Sardinia), ซาร์เดญญา (Sardegna) หรือ ซาร์ดิญญา (ซาร์ดิเนีย: Sardìgna) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (อันดับหนึ่งคือเกาะซิซิลี) มีพื้นที่ 24,090 ตารางกิโลเมตร (9,301 ตารางไมล์) มีแผ่นดินที่อยู่ใกล้ที่สุดได้แก่ (เรียงจากทิศเหนือตามเข็มนาฬิกา) เกาะคอร์ซิกาของประเทศฝรั่งเศส คาบสมุทรอิตาลี ประเทศตูนิเซีย และหมู่เกาะแบลีแอริกของประเทศสเปน แคว้นซาร์ดิเนียเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิตาลีและเป็นพื้นที่ปกครองตนเองตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ที่มาของชื่อแคว้นนั้นยังไม่ทราบแน่นอน บางทีอาจมาจากชื่อเรียกของชนเผ่าท้องถิ่นที่เรียกท้องที่นั้นว่า ซาร์ดี.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและแคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปุลยา

ปุลยา (Puglia) หรือ อะพิวเลีย (Apulia) เป็นแคว้นหนึ่งในยี่สิบแคว้นของประเทศอิตาลี อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกทางทิศตะวันออก จรดทะเลไอโอเนียนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจรดช่องแคบโอตรันโตและอ่าวตารันโตทางทิศใต้ ส่วนใต้สุดของแคว้นเป็นคาบสมุทรเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่าซาเลนโต มีรูปร่างคล้ายกับส้นรองเท้าหากเปรียบอิตาลีเป็นรองเท้าบูต แคว้นปุลยามีพื้นที่ทั้งหมด 19,358 ตารางกิโลเมตร (7,474 ตารางไมล์) และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4 ล้านคน มีอาณาเขตทางพื้นดินจรดแคว้นโมลีเซทางทิศเหนือ จรดแคว้นคัมปาเนียทางทิศตะวันตก และจรดแคว้นบาซีลีคาตาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ โครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร แอลเบเนีย และกรีซซึ่งตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของทะเลเอเดรียติกและทะเลไอโอเนียน แคว้นนี้มีอาณาเขตขยายไปทางตอนเหนือถึงมอนเตการ์กาโน และเป็นสถานที่ปฏิบัติการครั้งสุดท้ายในสงครามพิวนิกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและแคว้นปุลยา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นเอซเตรมาดูรา

Palacio de los Golfines de Abajo เมืองกาเซเรส เอซเตรมาดูรา (Extremadura) หรือ เอห์ทเทรมาอูรา (เอซเตรมาดูรา: Estremaúra) เป็นแคว้นปกครองตนเองทางภาคตะวันตกของประเทศสเปน ประกอบด้วย 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาเซเรสและจังหวัดบาดาโฆซ แคว้นเอซเตรมาดูรามีอาณาเขตติดต่อกับประเทศโปรตุเกสทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญ โดยเฉพาะเขตสงวนใหญ่ที่เมืองมอนฟรากูเอ ซึ่งเพิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแม่น้ำเทกัสนานาชาติ (Parque Natural Río Tajo internacional) ส่วนทางทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นกัสติยาและเลออน (จังหวัดซาลามังกาและจังหวัดอาบิลา) ทางทิศใต้ติดต่อกับแคว้นอันดาลูซิอา (จังหวัดอูเอลบา จังหวัดเซบิยา และจังหวัดกอร์โดบา) และทางทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นกัสติยา-ลามันชา (จังหวัดโตเลโดและจังหวัดซิวดัดเรอัล) มณฑลลูซีตาเนียซึ่งเป็นเขตการปกครองหนึ่งของจักรวรรดิโรมันในอดีต มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ประเทศโปรตุเกสเกือบทั้งประเทศ (ยกเว้นภาคเหนือ) รวมทั้งภาคตะวันตกของประเทศสเปนในปัจจุบันด้วย แคว้นเอซเตรมาดูราจึงเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลนี้ด้วยเช่นกัน เมืองเมริดากลายเป็นเมืองหลวงของมณฑลนี้และเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของจักรวรรดิ เมื่อปี ค.ศ. 1516 พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนได้สิ้นพระชนม์ในหมู่บ้านมาดริกาเลโฆที่เมืองกาเซเรส เอซเตรมาดูราเป็นบ้านเกิดของนักสำรวจและนักพิชิตดินแดนทวีปอเมริกาที่มีชื่อเสียงหลายคน ได้แก่ เอร์นัน กอร์เตส, ฟรันซิสโก ปิซาร์โร, เปโดร เด อัลบาราโด, เปโดร เด บัลดิเบีย, ฟรันซิสโก เด โอเรยานา และบัสโก นุญเญซ เด บัลโบอา ต่างเกิดในแคว้นนี้ เมืองในทวีปอเมริกาหลายเมืองตั้งชื่อตามบ้านเกิดของพวกเขาเหล่านั้น เช่น เมริดา เป็นชื่อของเมืองศูนย์กลางการบริหารของแคว้นและยังเป็นชื่อเมืองสำคัญของประเทศเม็กซิโกและประเทศเวเนซุเอลาอีกด้วย, เมเดยิน เมืองเล็ก ๆ ของแคว้นได้กลายเป็นชื่อเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศโคลอมเบีย, แอลบูเคอร์คีซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐนิวเม็กซิโกเพี้ยนมาจากชื่อเมืองอัลบูร์เกร์เกในแคว้นนี้เช่นกัน เปโดร เด บัลดิเบีย ได้ตั้งเมืองขึ้นหลายแห่งในประเทศชิลีโดยใช้ชื่อตามชื่อเมืองเล็ก ๆ หลายแห่งของแคว้นนี้ เช่น บัลดิเบียและลาเซเรนา กรุงซานเตียโก เมืองหลวงของชิลีก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในชื่อ "ซานเตียโกเดนูเอบาเอซเตรมาดูรา" (Santiago de Nueva Extremadura - ซานเตียโกแห่งเอซเตรมาดูราใหม่).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและแคว้นเอซเตรมาดูรา · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะฮนชู

นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World. Dorling kindersley: London, 2003.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเกาะฮนชู · ดูเพิ่มเติม »

เลมนอส

ลมนอส เลมนอส หรือ ลีมนอส (Λήμνος, Limnos; Lemnos) เป็นเกาะในประเทศกรีซ ตั้งอยู่ในทะเลอีเจียนทางตอนเหนือ มีพื้นที่ 477 กม² เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศกรีซ ชาวกรีกได้เข้าไปอาศัยอยู่ที่เกาะนี้เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาตกอยู่ใต้การปกครองของเปอร์เซีย จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ และจักรวรรดิออตโตมันตามลำดับ จนตกเป็นของประเทศกรีซในปี..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเลมนอส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 41 องศาเหนือ

้นขนานที่ 41 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 8 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 13 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเส้นขนานที่ 41 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเส้นเมริเดียนแรก · ดูเพิ่มเติม »

เหมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกใต้ในวันเหมายัน เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววันที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นราวเดือนมิถุนายน มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้ามกับครีษมายัน (summer solstice).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเหมายัน · ดูเพิ่มเติม »

เทียนจิน

ทียนจิน หรือ เทียนสิน (พินอินระบบไปรษณีย์: Tientsin) คือหนึ่งใน 4 เทศบาลนครของจีน เทศบาลนครเทียนจินมีระดับเทียบเท่ากับมณฑลและปกครองจากรัฐบาลกลางโดยตรง พื้นที่ของเทียนจินเป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในจีนแผ่นดินใหญ่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศจีน มีฉายา "เซี่ยงไฮ้ทางเหนือ" เนื่องจากประวัติที่เดิมเคยเป็นเมืองเช่าของตะวันตก การส่งออกอุตสาหกรรมหนัก เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่และมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเทียนจิน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ตปกครองตนเองมองโกเลียใน (มองโกล) มีลักษณะพื้นที่แคบยาวพาดตามชายแดนภาคเหนือของจีน กั้นระหว่างจีนกับประเทศมองโกเลียและรัสเซีย มีเมืองหลวงชื่อ ฮูฮอต มีเนื้อที่ 1,183,000 ก.ม.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »