โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เศรษฐกิจอินเดีย

ดัชนี เศรษฐกิจอินเดีย

รษฐกิจของอินเดีย มีขนาดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อวัดด้วยค่าจีดีพี และเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อเทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ หลังจากที่ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยนักสังคมนิยมเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เศรษฐกิจของประเทศหลังจากได้รับเอกราช อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกิจกรรมตลาดเสรีซึ่งริเริ่มในปี..

28 ความสัมพันธ์: ฟอสฟอไรต์การจ้างทำกระบวนการธุรกิจการทำเหมืองแร่การค้าปลีกการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อยิปซัมรายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)รูปีอินเดียสินค้าบริโภคหินปูนองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นธาราวีธนาคารโลกทาทา มอเตอร์สทาทา นาโนตลาดเสรีซิลิกอนไดออกไซด์ประเทศภูฏานประเทศเนปาลแมงกานีสแร่ใยหินไมกาเหล็กเทคโนโลยีสารสนเทศเดอะ บีเอ็มเจเดอะนิวยอร์กไทมส์

ฟอสฟอไรต์

ฟอสฟอไรต์ หรือ หินฟอสเฟต (Phosphorite หรือ Phosphate rock) เป็นหินตะกอนชนิดหนึ่งที่มีปริมาณของฟอสเฟตเป็นจำนวนมาก ปริมาณของฟอสเฟตในฟอสฟอไรต์นั้นพบว่ามีมากถึงร้อยละ 15 - 20 ของปริมาณหินทั้งหมด ซึ่งมากกว่าหินตะกอนโดยทั่วไปที่มีปริมาณฟอสเฟตน้อยกว่าร้อยละ 0.2Blatt, Harvey and Robert J. Tracy, Petrology, Freeman, 1996, 2nd ed.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและฟอสฟอไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

การจ้างทำกระบวนการธุรกิจ

การจ้างทำกระบวนการธุรกิจ (business process outsourcing) คือการจ้างผู้อื่นให้ทำหน้าที่หรือกระบวนการทางธุรกิจให้แทน โดยให้ทำการแทนในขอบเขตความรับผิดชอบตามที่ได้ตกลงกันไว้ ส่วนใหญ่กระบวนการธุรกิจที่จ้างบริษัทอื่นให้ทำแทนนั้นมักจะเป็นกระบวนการที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เช่นงานด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ในบริษัท ประเทศที่เป็นศูนย์กลางของธุรกิจนี้ คือ อินเดีย จีน และมาเลเซี.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและการจ้างทำกระบวนการธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

การทำเหมืองแร่

หมืองทองแดงเอลชิโน ตัวอย่างเหมืองเปิดในสหรัฐอเมริกา การทำเหมืองแร่ คือการสกัดเอาแร่ที่มีค่า หรือ วัสดุทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากใต้ผืนแผ่นดิน ปกติขุดที่ตัวแหล่งแร่หรือสายแร่ที่อยู่ใต้ดิน วัสดุทั่วไปที่สกัดได้ แร่โลหะ ได้แก่ บอกไซต์ (สำหรับหลอมเป็นอะลูมิเนียม) ทองแดง เหล็ก ทองคำ ตะกั่ว แมงกานีส แมกนิเซียม นิเกิล ฟอสเฟต แพลทินัม เงิน ดีบุก ไททาเนียม ยูเรเนียม สังกะสี แร่อโลหะ เช่น เกลือหิน ถ่านหินและ แร่รัตนชาติ เช่น เพชร พลอย วัสดุมีค่าอื่นๆ ที่มีการทำเหมืองเช่นกันได้แก่ ดินเหนียว ดินขาว ทราย กรวด หินแกรนิต หินปูนและหินอ่อน วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถผลิตจากพืชจะมากจากการทำเหมือง การทำเหมืองในความหมายที่กว้าง รวมถึงการขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่น้ำบาดาล อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย เพราะหากเราไม่มีการนำทรัพยากรในประเทศมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดดุลด้านการค้า และการนำเข้าแร่โดยทั่วไปจะแร่ที่นำเข้าจะมีราคาที่สูงกว่าแร่ที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์นั่นหมายถึงราคาสินค้าย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย หากมีการทำเหมืองแร่ในประเทศ เพื่อผลิตแร่ที่สำคัญมาใช้ประโยชน์จะเป็นการทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรม และหากมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องในการนำทรัพยากรแร่มาใช้ในการผลิตอย่างครบวงจร ก็จะเป็นการสร้างงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาลกว่าการนำแร่ดิบขายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนให้เกิดขึ้น การทำเหมืองแร่ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองแร่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ๆ มีการทำเหมืองแร่ แต่การทำเหมืองแร่ไม่ได้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม หากผู้ทำเหมืองปฏิบัติตามหลักวิชาการ ซึ่งการทำหมืองแร่ตามหลักวิชาการ จะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์แร่ ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเหมืองแร่ทุกประเภทและทุกขนาดต้องมีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากนี้ เหมืองแร่จะเกิดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการยอมรับของสังคม หรือชุมชนที่มีเหมืองแร่อยู่บริเวณใกล้เคียง เหมืองแร่ในอดีตมักก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุนทรียภาพ ซึ่งพบเห็นได้ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดจิตสำนึก ขาดความรู้ ขาดกฎหมายควบคุม และเหมืองในอดีตอยู่ห่างไกลเมืองมาก แต่ปัจจุบันเรามีกฎหมายควบคุม มีหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องดูแลป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง และทำการฟื้นฟูสภาพ (Reclamation) ซึ่งปกติมีงานภูมิสถาปัตยกรรมเป็นส่วนสำคัญ หากจะเป็นปัญหาปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องจิตสำนึก การลักลอบทำเหมืองผิดกฎหมาย การสอดส่องดูแลของเจ้าหน้าที่ๆอาจไม่ทั่วถึง การบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น ตัวอย่างที่ดีของการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยได้แก่เหมืองแม่เมาะ ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยทั่วไปเราจำแนกการทำเหมืองแร่ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและการทำเหมืองแร่ · ดูเพิ่มเติม »

การค้าปลีก

การค้าปลีก (retail) คือ การค้าขายสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภคผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เพื่อแสวงหากำไร ความต้องการของสินค้าสร้างผ่านการพัฒนาการตลาดและการส่งเสริมการขาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ผ่านทางห่วงโซ่อุปทาน ในช่วง..

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและการค้าปลีก · ดูเพิ่มเติม »

การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน

การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน (privatization) เป็นกรณีหรือกระบวนการโอนความเป็นเจ้าของธุรกิจ วิสาหกิจ หน่วยงาน บริการสาธารณะหรือทรัพย์สินจากภาครัฐ (รัฐหรือรัฐบาล) มาเป็นภาคเอกชน (ธุรกิจซึ่งดำเนินการเพื่อกำไรส่วนตน) หรือองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชน คำดังกล่าวยังใช้ในความหมายที่แตกต่างออกไปด้วย โดยหมายถึง การที่รัฐบาลจ้างบริษัทเอกชนทำงานแทน เช่น การเก็บรายได้และภาษีอากร การบังคับใช้กฎหมาย การรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และการจัดการเรือนจำหรือสถานคุมขังกักกัน การแปรรูปกิจการของรัฐโดยทั่วไปเชื่อกันว่าจะเพิ่มผลผลิต กำไรและประสิทธิภาพขององค์การที่ถูกแปรรูป.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ

ีดีพีต่อหัว (พีพีพี) ในปี ค.ศ. 2014 ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity, PPP) หรือ ประสิทธิผลของเงิน เป็นค่าค่าหนึ่งที่เกิดจากการประมาณทางเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อคำนวณหาระดับการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ โดยใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ และแสดงผลในสกุลเงินดอลลาร์สหรั.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ยิปซัม

ปซัม (Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและยิปซัม · ดูเพิ่มเติม »

รายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)

ทความนี้เป็นการจัดอันดับประเทศตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product หรือ GDP) ซึ่งเป็นมูลค่าตลาดของสินค้า หรือบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศในแต่ละปี โดยค่า GDP ที่ได้นำเสนอนี้ได้ประเมินโดยใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยนตามตลาด หรือที่รัฐบาลได้ประกาศไว้.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและรายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) · ดูเพิ่มเติม »

รูปีอินเดีย

ความหมายอื่น โปรดดูที่ รูปีเนปาล รูปีอินเดีย เป็นสกุลเงินที่ใช้ในประเทศอินเดีย มีราคาหน้าเหรียญ หรือธนบัตร ดังนี้ 5 รูปี 10 รูปี 20 รูปี 50 รูปี 100 รูปี 500 รูปี และ 1,000 รูปี หมวดหมู่:สกุลเงินเอเชีย หมวดหมู่:ประเทศอินเดีย.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและรูปีอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สินค้าบริโภค

ในเชิงของวิชาเศรษฐศาสตร์ สินค้าบริโภค หมายถึงสินค้าที่สุดท้ายแล้วใช้บริโภคมากกว่าที่จะนำไปผลิตสินค้าอื่นต่อ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ขายให้ผู้บริโภคถือเป็นสินค้าบริโภค หรือ "สินค้าสุดท้าย" (final goods) ส่วนยางล้อรถที่ขายให้ผู้ผลิตรถยนต์ไม่ถือเป็นสินค้าสุดท้ายแต่เป็นสินค้าช่วงกลาง (intermediate goods)ที่นำมาใช้ประกอบเป็นสินค้าสุดท้าย เมื่อนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดรายได้ประชาชาติ คำว่า "สินค้าสุดท้าย" จะรวมเฉพาะสินค้าใหม่ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะแยกสินค้าที่คิดไปแล้วในปีก่อนๆ ออกเพื่อป้องกันการนับผลิตภัณฑ์ที่นำมาขายต่อซ้อนมือที่สองและสาม "สินค้าบริโภค" นับเป็น "สินค้าสุดท้าย" ที่จงใจทำลายเพื่อป้อนตลาดมวลชน เช่นสินค้าบริโภคจะไม่รวมการขึ้นทุน หนี้สิน เช่นปัจจุบันวัตถุที่ไร้ค่า และสินค้าดังกล่าวจะจัดเป็นสินค้าเริ่มต้มด้วย "สินค้าประดิษฐกรรม" (Manufactured goods) หมายถึงสินค้าที่ผ่านกระบวนการด้วเครื่องจักรกล จึงตรงข้ามกับวัตถุดิบ แต่ถ้านับเป็นสินค้าสุดท้ายก็จะรวมสินค้าช่วงกลางไปด้วย หมวดหมู่:สินค้าอุตสาหกรรม หมวดหมู่:เศรษฐทรัพย์ หมวดหมู่:สินค้าประดิษฐกรรม.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและสินค้าบริโภค · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance, Comecon) เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต) ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น · ดูเพิ่มเติม »

ธาราวี

ราวี (Dharavi) เป็นย่านแหล่งเสื่อมโทรมในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ระหว่างทางรถไฟสองสายของมุมไบ คือสายตะวันตก และสายกลาง ทางทิศเหนือจดแม่น้ำมีที (Mithi river) ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอาหรับ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.7 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรสำรวจเมื่อปี..

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและธาราวี · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารโลก

นาคารโลก (World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและธนาคารโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทาทา มอเตอร์ส

ตราสัญลักษณ์ ทาทา มอเตอร์ส (Tata Motors) บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอินเดีย เป็นบริษัทย่อยของทาทา กรุ๊ป มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เดิมมีชื่อว่า TELCO (TATA Engineering and Locomotive Company) ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและทาทา มอเตอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ทาทา นาโน

ทาทา นาโน (Tata Nano) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมากสำหรับการขับขี่ในเมือง ผลิตโดยบริษัทรถยนต์สัญชาติอินเดีย ทาทา มอเตอร์ส นาโนเปิดตัวครั้งแรกด้วยราคาหนึ่งแสนรูปีหรือเพียง 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ จนได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "รถยนต์ที่มีราคาจำหน่ายถูกที่สุดในโลก" รถออกแบบมาเพื่อจำหน่ายในประเทศอินเดีย สำหรับผู้มีรายได้น้อยแต่ต้องการมีรถยนต์แทนจักรยานยนต์ ทาทา นาโน ใช้เครื่องยนตร์ขนาด 624 ซีซี ระบบเกียร์ 4 สปีด ซินโครเมต 4 จังหวะ 4 ประตู 5 ที่นั่ง เป็นรถที่ไม่มีถุงลมนิรภัยและระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) ในปี..

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและทาทา นาโน · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดเสรี

ตลาดเสรี คือตลาดในอุดมคติ ที่การตัดสินใจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา สินค้า และบริการ กระทำด้วยความ สมัครใจ นั่นคือไม่มีการบีบบังคับและการลักทรัพย์ (บางครั้งนิยามของ "การบีบบังคับ" จะครอบคลุมถึง "การลักทรัพย์" ด้วย) เมื่อกล่าวโดยทั่วไป เศรษฐกิจตลาดเสรี หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีตลาดที่ ค่อนข้าง เสรี เช่นในระบบเศรษฐกิจเมื่อรัฐบาลใช้นโยบายปล่อยให้ทำไป ซึ่งจะแตกต่างกับระบบ แบบผสม หรือ แบบนิยมอำนาจรัฐ ในทางเศรษฐศาสตร์มักใช้คำว่า "ตลาด" หรือ "กลไกตลาด" เพื่อหมายถึงการจัดสรรการผลิตโดยผ่านทางอุปสงค์และอุปทาน ตลาดเสรีได้รับการสนับสนุนโดยผู้นิยมในเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยม หมวดหมู่:การตลาด หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและตลาดเสรี · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิกอนไดออกไซด์

ทราย หนึ่งในอัญรูปของซิลิกา ซิลิกอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซิลิกาได้นำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่หลากหลาย อาทิ แก้ว, คริสตัล, เจล, แอโรเจล, ซิลิการมควัน และคอลลอยดอลซิลิกา ยิ่งไปกว่านั้น ซิลิกานาโนสปริงก็ผลิตขึ้นจากวิธีความดันไอ-ของเหลว-ของแข็ง ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ซิลิกาใช้เป็นวัสดุเบื้องต้นในการผลิตกระจก, แก้วน้ำและขวดแก้ว สายใยแก้วที่ใช้ในการโทรคมนาคมก็เป็นผลิตผลจากซิลิกาเช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นวัสถุดิบแรกเริ่มในผลิตภัณฑ์จำพวกเซรามิกเช่น เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องหิน, เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและซิลิกอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

แมงกานีส

แมงกานีส (Manganese) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Mn มีหมายเลขอะตอมเป็น 25 ร่างกายจะขาดไม่ได้จะพบมากที่ สุดในโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ มีคุณสมบัติเป็นด่าง แมงกานีส ส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วจะออกทางอุจจาร.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและแมงกานีส · ดูเพิ่มเติม »

แร่ใยหิน

ก้อนแร่และเส้นใย แร่ใยหิน (asbestos) เป็นกลุ่มของแร่ซิลิเกตที่เกิดตามธรรมชาติหกชนิดที่นิยมนำมาใช้ทางการค้าเพราะคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดี แร่ใยหินมีผลึกที่เป็นเส้นใยยาว (อัตราส่วนขนาดต่อความยาวราว 1:20) การหายใจเอาใยหินเข้าไปเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคปอดได้ ซึ่งมักพบบ่อยในคนงานเหมืองใยหิน การทำเหมืองแร่ใยหินเริ่มขึ้นกว่า 4,000 ปีมาแล้ว แต่มีขนาดจำกัดจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การทำเหมืองแร่ใยหินมีปริมาณสูงสุดในราว..

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและแร่ใยหิน · ดูเพิ่มเติม »

ไมกา

รูปแสดงกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite)รูปแสดงรอยแตกกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite) กลุ่มแร่ไมกา (Mica Group) ได้แก่ แร่ดิน (Clay mineral) และแร่กลีบหิน (flaky minerals) ประกอบด้วย ปิรามิดฐานสามเหลี่ยมที่จับตัวกันเป็นแผ่นซิลิเกด (sheet silicste) โดยแต่ละปิรามิดมีการใช้ออกซิเจนร่วมกับปิรามิดอื่นสามตัว จึงเหลือออกซิเจนอีกตัวที่ยังไม่สมดุล จึงมีสูตรทั่วไปว่า (Si4O10)n-4 ในกรณีที่ง่ายที่สุดก็คือเอา Al+3 มาจับกับออกซิเจน จนเกิดเป็นแร่ดินขาว (kaolinite) ในกรณีของแร่ไมกาตัวอื่น เช่น คลอไรด์หรือไบโอไทด์ นอกจาก Al แล้วยังมีไอออนตัวอื่นปรากฏและจับตัวเป็นแผ่นซิลิเกด แรงเกาะยึดก็มีลักษณะคล้ายพวกที่เป็นโซ่ คือแรงเกาะยึดระหว่างซิลิเกดกับออกซิเจนมากกว่าแรงจากออกซิเจนกับแคทไอออนตัวอื่น ด้วยเหตุนี้เองแร่ดินและแร่กลีบหินจึงมักแตกออกหรือปรากฏรอยแตกถี่ๆ ไปตามระนาบของแผ่นนั่นเองสำหรับกรณีกลุ่มแร่แผ่น (mica group) เช่น ไบโอไทต์ (biotite) แคทไอออน Al+3 สามารถเข้ามาแทนที่ Si+4 ในปิรามิดโดยการแทนที่ไอออน และไม่ทำให้สมบัติการจัดต่อสายโซ่เปลี่ยนแปลง เนื่องจาก Al+3 มีขนาดประจุเล็กกว่า Si+4 เล็กน้อย จึงอาจจับกับปิรามิดที่มีประจุลบเกินค่าอยู่หนึ่งประจุก็พบการทำให้ประจุสมดุลไม่สามารถทำได้การจัดต่อเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องนำเอาแคทไอออนมาเพิ่มในโครงสร้างผลึก โดยทั่วไปประมาณหนึ่งในสี่ของปิรามิดในกลุ่มแร่ไมกา (หรือกลุ่มแร่แผ่น) ประกอบด้วย Al+3 (แทนที่จะเป็น Si+4 ตามปกติ) ดังนั้นเพื่อให้ประจุสมดุล ต้องมีการเพิ่มประจุบวกของ K+1 หรือ Mg+2 หรือแม้แต่ Al+3 ด้วยกัน ภายนอกปิรามิด ตัวอย่างแร่ที่สำคัญคือ แร่กลีบหินขาว (Muscovite-มัสโคไวต์ ซึ่งมีสูตร KAl2(Si3Al)O10(OH) 2 แร่คลอไรต์ (Chlorite) นับได้ว่าเป็นแร่แผ่น ซึ่งโดยมากเป็นสีเขียว (คลอไรต์มาจากภาษากรีกซึ่งก็แปลว่าเขียว) มีปิรามิดจับต่อสายโซ่เป็นแผ่น ซึ่งประกอบด้วยประจุไม่สมดุล ดังนั้นจึงต้องต่อกันหรือเกาะกับไอออนประจุบวกของ Mg+2,Fe+2 และ Al+3 เพื่อให้ได้มากซึ่งสูตร (Mg,Fe,Al)6(Si,Al)4O10(OH)8 แร่กลีบหินเขียว (หรือแร่คลอไรด์) นี้มักเป็นแร่ที่เป็นผลมาจากการแปลงเปลี่ยน (alteration) มาจากแร่ตัวอื่นที่มี Fe และ Mg เป็นองค์ประกอบ เช่น ไบโอไทด์ ฮอนเบลด์ หรือออ.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและไมกา · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและเทคโนโลยีสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: เศรษฐกิจอินเดียและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เศรษฐกิจของอินเดีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »