โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เว็บเพจ

ดัชนี เว็บเพจ

หน้าจอของเว็บเพจหนึ่งบนวิกิพีเดีย เว็บเพจ (web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น เว็บเพจสถิต (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งมาเป็นเนื้อหาเว็บเหมือนกับข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบแฟ้มของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ เว็บเพจพลวัต (dynamic web page) จะถูกสร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ด้านเซิร์ฟเวอร์หรือสคริปต์ด้านไคลเอนต์ เว็บเพจพลวัตช่วยให้เบราว์เซอร์ (ด้านไคลเอนต์) เพิ่มสมรรถนะของเว็บเพจผ่านทางอินพุตของผู้ใช้ไปยังเซิร์ฟเวอร.

20 ความสัมพันธ์: ภาษามาร์กอัปภาษาสไตล์ชีตลิงก์วิกิพีเดียสคริปต์ด้านไคลเอนต์สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์อินทราเน็ตจอภาพโฮมเพจโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไฟล์คอมพิวเตอร์เวิลด์ไวด์เว็บเว็บไซต์เว็บเบราว์เซอร์เว็บเพจพลวัตเว็บเพจสถิตเว็บเซิร์ฟเวอร์เอชทีทีพีเอชทีเอ็มแอลเอกสารเว็บ

ภาษามาร์กอัป

ษามาร์กอัป (markup language) คือประเภทภาษาคอมพิวเตอร์ที่แสดงทั้งข้อมูล และข้อมูลรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยข้อมูลรูปแบบอธิบายถึงโครงสร้างหรือการแสดงผลซึ่งส่วนนี้เรียกว่า มาร์กอัป โดยจะอยู่รวมกับข้อมูลปกติ ภาษามาร์กอัปที่รู้จักกันดีที่สุดคือ HTML ตามความเป็นมาแล้ว ภาษารูปแบบนี้ได้มีการใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ในการติดต่อสื่อสารงานพิมพ์ระหว่างผู้เขียน บรรณาธิการ และเครื่องพิม.

ใหม่!!: เว็บเพจและภาษามาร์กอัป · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสไตล์ชีต

ษาสไตล์ชีต (style sheet language) คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้อธิบายลักษณะการนำเสนอของเอกสารต้นฉบับที่ถูกจัดเป็นโครงสร้าง ซึ่งมีส่วนต่างๆ ถูกกำหนดและจัดกลุ่มไว้อย่างชัดเจนแล้ว (well-formed) โปรแกรมหนึ่งๆ จะนำเอกสารต้นฉบับไปนำเสนอโดยใช้ลักษณะที่แตกต่างกันตามกลุ่มที่ได้กำหนดไว้ เนื่องจากคุณลักษณะอย่างหนึ่งของเอกสารที่ถูกจัดเป็นโครงสร้างคือ เนื้อหาที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลายบริบทและนำเสนอได้หลายวิธี ลักษณะการนำเสนอที่แนบติดไปกับเอกสาร จะทำให้การแสดงผลแตกต่างกันตามความต้องการในแต่ละงาน ภาษาสไตล์ชีตอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางเช่น CSS ใช้สำหรับกำหนดลักษณะการแสดงผลของเอกสาร HTML, XHTML, SVG, XUL, และภาษามาร์กอัปอื่นๆ และเพื่อที่จะนำเสนอเนื้อหาของเอกสารที่ถูกจัดเป็นโครงสร้างนั้น กฎเกณฑ์การแสดงผลต่างๆ จะถูกนำมาใช้ เช่น สีตัวอักษร แบบอักษร โครงร่างการจัดหน้า เป็นต้น กฎเกณฑ์เหล่านี้เรียกรวมกันว่าเป็น สไตล์ชีต สไตล์ชีตแต่เดิมนั้นเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นและที่มีประวัติยาวนาน ถูกใช้โดยผู้อำนวยการพิมพ์ นักพิมพ์ดีด และนักเขียน เพื่อทำให้แน่ใจว่าสิ่งตีพิมพ์จะมีลักษณะการนำเสนอที่ถูกต้อง คือการสะกดคำและการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ส่วนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบัน สไตล์ชีตถูกใช้ในการจัดลักษณะการปรากฏของเนื้อหาหรือความสวยงามมากกว่าการสะกดคำ.

ใหม่!!: เว็บเพจและภาษาสไตล์ชีต · ดูเพิ่มเติม »

ลิงก์

ลิงก์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เว็บเพจและลิงก์ · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดีย

วิกิพีเดีย (Wikipedia, หรือ) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.9 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน จนถึงเดือนเมษายน..

ใหม่!!: เว็บเพจและวิกิพีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สคริปต์ด้านไคลเอนต์

ริปต์ด้านไคลเอนต์ (Client-side scripting) เป็นเทคโนโลยีที่สคริปต์ทำงานบนบนฝั่งไคลเอนต์ เช่น จาวาสคริปต์ โดยมากมักจะฝังอยู่ใน HTML และถูกประมวลผลโดยเว็บเบราว์เซอร์เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้อย่างทันที เช่น การแสดงข้อความเตือน การตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน การปรับเปลี่ยนเนื้อหา รวมถึงการแสดงแอนิเมชัน ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในเทคนิค AJAX เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานให้กับเว็บไซต.

ใหม่!!: เว็บเพจและสคริปต์ด้านไคลเอนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์

ริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ (Server-side scripting) เป็นเทคโนโลยีที่สคริปต์ทำงานบนบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งแตกต่างกับสคริปต์ด้านไคลเอนต์ อย่างJavascriptที่ทำงานบนฝั่งไคลเอนต์ และยังใช้สำหรับสร้างเว็บเพจแบบมีการตอบสนอง (dynamic) ซึ่งอยู่ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งมีใช้อยู่แพร่หลายในปัจจุบัน เช่น Web-base อีเมล การทำรายการบัญชีออนไลน์ (online banking) รายงานข่าว หรือ Search Engine.

ใหม่!!: เว็บเพจและสคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินทราเน็ต

อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟร์วอลล์สำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้.

ใหม่!!: เว็บเพจและอินทราเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

จอภาพ

การวัดระดับพิกเซล บนจอภาพที่จัดเรียงพิกเซลต่างกัน ประสิทธิภาพของจอภาพสามารถวัดได้จากหลายปัจจัยดังนี้ * ความส่องสว่าง วัดในหน่วยแคนเดลาต่อตารางเมตร * ขนาดของจอภาพ วัดความยาวตามแนวทแยง สำหรับหลอดภาพ บริเวณที่เห็นภาพมักจะเล็กกว่าขนาดของหลอดภาพอยู่หนึ่งนิ้ว * อัตราส่วนลักษณะ คืออัตราส่วนของพิกเซลในแนวนอนต่อแนวตั้ง อัตราส่วนปกติคือ 4:3 เช่นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 768 พิกเซล ถ้าเป็นจอภาพไวด์สกรีน จะมีอัตราส่วนเป็น 16:9 ดังนั้นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 576 พิกเซล * ความละเอียดจอภาพ คือจำนวนพิกเซลตามความกว้างและความสูงที่สามารถแสดงผลได้ (ไม่ได้หมายถึงพิกเซลที่กำลังแสดงผลภาพอยู่ในปัจจุบัน) ความละเอียดที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยระดับพิกเซล (ดูถัดไป) * ระดับพิกเซล คือระยะระหว่างพิกเซลสีเดียวกันในหน่วยมิลลิเมตร หากระดับพิกเซลน้อยลง ภาพจะมีความคมชัดมากขึ้น * อัตรารีเฟรช คือจำนวนครั้งในหนึ่งวินาทีที่ภาพนั้นถูกฉายลงบนหน้าจอ อัตรารีเฟรชที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยเวลาตอบสนอง (ดูถัดไป) * เวลาตอบสนอง คือเวลาที่ใช้ไปขณะพิกเซลเปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีขาว และกลับมาเป็นสีดำอีกครั้ง วัดในหน่วยมิลลิวินาที ค่าที่น้อยลงหมายความว่าจอสามารถเปลี่ยนภาพได้เร็วขึ้น และหลงเหลือภาพก่อนหน้าน้อยกว่า * อัตราส่วนความแตกต่าง คืออัตราส่วนความส่องสว่างของสีที่สว่างที่สุด (สีขาว) ต่อสีที่มืดที่สุด (สีดำ) ที่จอภาพนั้นสามารถสร้างได้ * การใช้พลังงาน วัดในหน่วยวัตต์ * มุมในการมอง คือมุมที่มากที่สุดที่หันเหหน้าจอออกไปแล้วยังสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ปรากฏยังไม่ลดคุณภาพ เช่นสีเพี้ยนเป็นต้น Monotor Technology จอภาพทำงานโดยการแสดงภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพกราฟิกหรือตัวอักษร ซึ่งเกิดจากการประมวลผลของการ์ดวีจีเอ (VGA Card) จอภาพแบ่งเป็น 2 ประเภท คือจอภาพสีเดียวหรือจอภาพโมโนโครม (Monochrome) และจอสี (Color Monitor) ปัจจุบันจอภาพสีเดียวนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ หากจะมีใช้ก็เฉพาะงานเฉพาะอย่างเท่านั้น ส่วนที่นิยมใช้ก็คือจอสี โดยแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภท คือจอสีวีจีเอ (VGA.

ใหม่!!: เว็บเพจและจอภาพ · ดูเพิ่มเติม »

โฮมเพจ

มเพจ (home page) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรกที่ปรากฏของแต่ละเว็บไซต.

ใหม่!!: เว็บเพจและโฮมเพจ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดตและดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่ายและติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิก.

ใหม่!!: เว็บเพจและโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟล์คอมพิวเตอร์

ฟล์ (file) หรือ แฟ้ม ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มระเบียนสารสนเทศใด ๆ หรือทรัพยากรสำหรับเก็บบันทึกสารสนเทศ ซึ่งสามารถใช้งานได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโดยปกติจะอยู่บนหน่วยเก็บบันทึกถาวรบางชนิด ซึ่งไฟล์นั้นคงทนถาวรในแง่ว่า ยังคงใช้งานได้สำหรับโปรแกรมอื่นหลังจากโปรแกรมปัจจุบันใช้งานเสร็จสิ้น ไฟล์คอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นของทันสมัยคู่กับเอกสารกระดาษ ซึ่งแต่เดิมจะถูกเก็บไว้ในตู้แฟ้มเอกสารของสำนักงานและห้องสมุด จึงเป็นที่มาของคำนี้ ไฟล์อาจเรียกได้หลายชื่อเช่น แฟ้มข้อมูล, แฟ้มอิเล็กทรอนิกส์, แฟ้มคอมพิวเตอร์, แฟ้มดิจิทัล, ไฟล์ข้อมูล, ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์, ไฟล์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ไฟล์, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ.

ใหม่!!: เว็บเพจและไฟล์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เว็บเพจและเวิลด์ไวด์เว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บไซต์

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น.

ใหม่!!: เว็บเพจและเว็บไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: เว็บเพจและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเพจพลวัต

ว็บเพจพลวัต: ตัวอย่างของสคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ (พีเอชพีและมายเอสคิวแอล) เว็บเพจพลวัต หรือ ไดนามิกเว็บเพจ (dynamic web page) คือเว็บเพจที่เนื้อหาเว็บสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่กำหนดโดยผู้ใช้หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: เว็บเพจและเว็บเพจพลวัต · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเพจสถิต

เว็บเพจสถิต: ถูกส่งออกมาเหมือนกับที่เก็บบันทึกไว้ เว็บเพจสถิต หรือ สแตติกเว็บเพจ (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งออกมาเหมือนกับที่เก็บบันทึกไว้ ซึ่งตรงข้ามกับเว็บเพจพลวัตที่สร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน เว็บเพจสถิตมักจะเป็นเอกสารเอชทีเอ็มแอลที่เก็บบันทึกเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบแฟ้ม และถูกจัดเตรียมให้ใช้งานได้ด้วยเว็บเซิร์ฟเวอร์บนเอชทีทีพี (ถึงกระนั้นก็ตาม ยูอาร์แอลที่ลงท้ายด้วย ".html" ก็ไม่ได้เป็นเว็บเพจสถิตเสมอไป) อย่างไรก็ดี การตีความหมายศัพท์อย่างหลวม ๆ รวมไปถึงเว็บเพจที่เก็บบันทึกในฐานข้อมูล และเว็บเพจต่าง ๆ ที่จัดรูปแบบโดยใช้แม่แบบและให้บริการผ่านทางแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ ตราบเท่าที่เว็บเพจนั้นไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและนำเสนออย่างที่เก็บบันทึกโดยพื้นฐาน เว็บเพจสถิตเหมาะสำหรับเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องอัปเดตหรืออัปเดตเพียงนาน ๆ ครั้ง อย่างไรก็ตาม การบำรุงรักษาเว็บเพจสถิตในฐานะแฟ้มข้อมูลจำนวนมหาศาลไม่อาจปฏิบัติได้หากปราศจากเครื่องมืออัตโนมัติ การทำให้เป็นส่วนบุคคลหรือความสามารถในการโต้ตอบต้องทำงานด้านไคลเอนต์ ซึ่งก็มีข้อจำกัดของมัน หมวดหมู่:การพัฒนาเว็บ.

ใหม่!!: เว็บเพจและเว็บเพจสถิต · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเซิร์ฟเวอร์

ว็บเซิร์ฟเวอร์ สามารถมีได้ 2 ความหมาย คือ.

ใหม่!!: เว็บเพจและเว็บเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

ใหม่!!: เว็บเพจและเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: เว็บเพจและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารเว็บ

อกสารเว็บ เป็นเอกสารในมโนทัศน์ที่คล้ายกับเว็บเพจ แต่ก็ยังสอดคล้องกับนิยามที่กว้างขึ้นของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) ดังต่อไปนี้ ศัพท์ "เอกสารเว็บ" ถูกใช้เป็นศัพท์ที่มีความหมายคลุมเครือในแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง แต่นิยามของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียมด้านบนสามารถใช้อธิบายได้ทั้งหมด การวิจัยในสาขา "การค้นคืนเอกสารเว็บ" (web document retrieval) และ "การวิเคราะห์เอกสารเว็บ" (web document analysis) เมื่อไม่นานมานี้ ได้รื้อฟื้นความสนใจเรื่องการทำความเข้าใจวิธีใช้ศัพท์ให้ถูกต้อง ความคิดหลักก็คือ ทรัพยากรเบื้องหลังทรัพยากรเดียวในระบบเอชทีทีพี อาจมีการแทนหลายชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเปิดเผยได้โดยกลไกบางอย่างอาทิ การเจรจาเนื้อหา (content negotiation).

ใหม่!!: เว็บเพจและเอกสารเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หน้าเว็บ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »