โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เลโอโปลด์ รูซิคกา

ดัชนี เลโอโปลด์ รูซิคกา

ลโอโปลด์ รูซิคกา (Leopold Ružička; 13 กันยายน ค.ศ. 1887 – 26 กันยายน ค.ศ. 1976) เป็นนักชีวเคมีชาวโครเอเชีย/สวิส เกิดที่เมืองวูคอวาร์ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศโครเอเชีย) มีชื่อเกิดว่าลาโวสลาฟ สเตปัน รูซิคกา (Lavoslav Stjepan Ružička) เป็นบุตรของสเตปัน รูซิคกาและลูบิกา เซเวอร์ เรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนในเมืองโอซีเยกโดยเขาตั้งใจจะเป็นพระ แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียนวิชาเคมี รูซิคกาเรียนต่อที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเออ หลังเรียนจบ รูซิคกาทำงานเป็นผู้ช่วยแฮร์มันน์ สเตาดิงเงอร์ อาจารย์ของเขาที่เมืองซูริก รูซิคกาศึกษาสารธรรมชาติหลายชนิดและสนใจในด้านอุตสาหกรรมน้ำหอม ในปี..

22 ความสัมพันธ์: ชาวสวิสชาวโครแอตชีวเคมีพ.ศ. 2430พ.ศ. 2519กลิ่นชะมดราชสมาคมแห่งลอนดอนรางวัลโนเบลสาขาเคมีวูคอวาร์สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเออสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกสงครามโลกครั้งที่สองอดอล์ฟ บูเทนันต์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีซือริชประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศโครเอเชียโอซีเยกเทสโทสเตอโรนเทอร์พีน13 กันยายน26 กันยายน

ชาวสวิส

วสวิส (die Schweizer, les Suisses, gli Svizzeri, ils Svizzers, Swiss) คือประชาชนที่เกิดในประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและชาวสวิส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโครแอต

วโครแอต (Croats, Hrvati) เป็นกลุ่มเชื้อชาติสลาฟใต้ซึ่งส่วนใหญ่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในโครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ตลอดจนประเทศใกล้เคียง มีชาวโครแอตอาศัยอยู่ในโครเอเชียราว 4 ล้านคน และอาศัยอยู่ในส่วนที่เหลือของโลกอีกมากถึง 4.5 ล้านคน, Croatian World Congress, "4.5 million Croats and people of Croatian heritage live outside of the Republic of Croatia and Bosnia and Herzegovina", also quoted เนื่องจากแรงกดดันทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ชาวโครแอตจำนวนมากจึงได้อพยพไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และเกิดเป็นชาวโครแอตพลัดถิ่นที่มีชื่อเสียง สหรัฐอเมริกา ชิลี อาร์เจนตินา เยอรมนี ออสเตรีย ออสเตรเลีย โบลิเวีย แคนาดา เซอร์เบีย นิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้ ชาวโครแอตเป็นที่รู้จักจากวัฒนธรรมของพวกเขา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอันหลากหลายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่อิทธิพลส่วนใหญ่นั้นมาจากยุโรปกลางและเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งในขณะเดียวกัน ชาวโครแอตเองก็ได้มีส่วนในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเหล่านั้นด้วย ชาวโครแอตส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และพูดภาษาโครเอเชี.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและชาวโครแอต · ดูเพิ่มเติม »

ชีวเคมี

ชีวเคมี (biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุกๆ ด้าน หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:ชีวเคมี.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและชีวเคมี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2430

ทธศักราช 2430 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1887 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและพ.ศ. 2430 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

กลิ่นชะมด

''Moschus moschiferus'', กวางชะมดไซบีเรีย กลิ่นชะมด (Musk) เดิมเป็นชื่อเรียกสารที่มีกลิ่นแรงที่ได้มาจากต่อมของกวางชะมดตัวผู้ซึ่งอยู่ระหว่างท้องและอวัยวะเพศ สารนี้ใช้ในการทำน้ำหอมมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นสารจากสัตว์ที่มีราคาสูงที่สุดสารหนึ่งในโลก คำว่า “muṣká” มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “อัณฑะ” ที่มาหมายถึงสารหลายอย่างที่มีกลิ่นคล้ายกันแม้ว่าจะมีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน และอาจจะเป็นสารที่ได้จากสัตว์อื่นที่ไม่ใช่กวาง หรืออาจจะได้จากพืช หรือจากสิ่งที่ทำขึ้นที่ให้กลิ่นเดียวกับกลิ่นดังว่า กลิ่นชะมดธรรมชาติเป็นสิ่งที่ใช้ในการทำน้ำหอมกันอย่างกว้างขวางมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ปัญหาทางราคาและทางจริยธรรมทำให้ต้องหันกันมาใช้กลิ่นชะมดสังเคราะห์แทนที.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและกลิ่นชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ราชสมาคมแห่งลอนดอน

นที่ตั้งของราชสมาคมแห่งลอนดอน ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society หรือชื่อเต็มว่า The Royal Society of London for the Improvement of Natural Knowledge) เป็นสมาคมนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและราชสมาคมแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาเคมี

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและรางวัลโนเบลสาขาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

วูคอวาร์

วูคอวาร์ (Vukovar; Вуковар) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของแขวงวูคอวาร์-ซีร์เมีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างภูมิภาคสลาโวเนียทางตะวันออกของโครเอเชียกับภูมิภาคย่อยบาชกาที่เป็นส่วนหนึ่งของวอยโวดีนาในเซอร์เบีย มีประชากรราวๆเกือบสามหมื่นคน ในอดีตวูคอวาร์เคยเป็นเมืองท่าริมแม่น้ำดานูบที่มีความเจริญเฟื่องฟูในระดับหนึ่ง หากแต่ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพของโครเอเชียได้ทำให้ฝ่ายชาวเซิร์บติดอาวุธในสลาโวเนียซึ่งต่อต้านรัฐบาลของโครเอเชียร่วมมือกับกองทัพร่วมของยูโกสลาเวียบุกเข้ามาทำลายล้างเมืองอย่างราบคาบและได้กระทำอาชญากรรมสงครามด้วยการสังหารชาวเมืองเชื้อสายโครแอทเป็นจำนวนมากในระหว่างสงคราม ทำให้วูคอวาร์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองซึ่งได้รับความเสียหายมากที่สุดในสงครามการประกาศอิสรภาพของโครเอเชียและถือกันว่าเป็นเมืองที่ถูกทำลายเสียหายจากสงครามอย่างเลวร้ายที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับชาวโครเอเชียวูคอวาร์จึงมีฐานะเป็นนครวีรชนเทียบเท่าสตาลินกราดของสหภาพโซเวียต และทุกๆปีในวันที่ 18 พฤศจิกายน จะมีการวางพวงหรีดรำลึกถึงการแตกพ่ายของวูโควาร์ต่อฝ่ายชาวเซิร์บเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและวูคอวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเออ

ันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเออ (Karlsruhe Institute of Technology) หรือ KIT เป็นสถาบันอุดมศึกษาในเมืองคาร์ลสรูเออ รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ประเทศเยอรมนี สถาบันแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและสถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเออ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก

ันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (Swiss Federal Institute of Technology in Zurich, ชื่อเต็มในภาษาเยอรมันคือ Eidgenössische Technische Hochschule Zürich โดยมีชื่อย่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ETH Zürich) เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเป็นสมาชิกของ IDEA League และ International Alliance of Research Universities IARU.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ บูเทนันต์

อดอล์ฟ ฟรีดริช โยฮันน์ บูเทนันต์ (Adolf Friedrich Johann Butenandt; 24 มีนาคม ค.ศ. 1903 – 18 มกราคม ค.ศ. 1995) เป็นนักชีวเคมีชาวเยอรมัน เกิดที่ใกล้เมืองเบรเมอร์ฮาเฟิน เป็นบุตรของออทโท หลุยส์ มักซ์ บูเทนันต์และวิลเฮล์มินา ทอมฟอห์ด บูเทนันต์ เรียนที่มหาวิทยาลัยมาร์บูร์กและมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน บูเทนันต์มีโอกาสได้เรียนกับอดอล์ฟ วินเดาส์ นักเคมีรางวัลโนเบลที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน หลังเรียนจบ บูเทนันต์เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงินและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคนิกดานซิก ในปี..

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและอดอล์ฟ บูเทนันต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ซือริช

ซือริช (Zürich) หรือ ซูริก (Zurich) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเป็นเมืองหลวงของรัฐซือริช ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนเหนือของประเทศ บริเวณจุดเหนือสุดของทะเลสาบซือริช (Lake Zurich) มีประชากรในเขตตัวเมืองทั้งหมด 400,028 คน และประชากรบริเวณรอบตัวเมืองรวมทั้งสิ้น 1.4 ล้านคน ซือริชเป็นศูนย์กลางของระบบการขนส่งมวลชนของประเทศ อาทิ ระบบขนส่งรถไฟ เส้นทางการคมนาคม การจราจรทางอากาศ โดยเป็นที่ตั้งของสนามบินและสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดและการจราจรหนาแน่นที่สุดในประเทศ ซือริชได้ถูกก่อตั้งมานานกว่า 2,000 ปี โดยชาวโรมันช่วง 150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งขณะนั้นซือริชมีชื่อเรียกว่า Turicum อย่างไรก็ตามร่องรอยการเข้าอยู่อาศัยในซือริชได้ถูกค้นพบว่ายาวนานถึง 6,400 ปีแล้ว ในช่วงยุคกลาง ซือริชได้รับเอกราชเมื่อปี..

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและซือริช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโครเอเชีย

รเอเชีย (Croatia; Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia; Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและประเทศโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

โอซีเยก

อซีเยก (Osijek; Eszék; Esseg) คือเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ในภูมิภาคทางทิศตะวันออกของโครเอเชียที่เรียกว่าสลาโวเนีย (Slavonija; Slavonia) ใกล้กับชายแดนประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย มีแม่น้ำดราวาเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านเมือง ได้รับการยกย่องอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นเมืองหลวงของภูมิภาคสลาโวเนีย ด้านประวัติศาสตร์โอซีเยกมีอายุยืนยาวติดต่อกันมากว่า 800 ปี ผ่านการปกครองจากหลายอาณาจักรทั้งราชอาณาจักรฮังการี, อาณาจักรออตโตมัน, ฮับส์บูร์ก, ออสเตรีย-ฮังการี รวมถึง ยูโกสลาเวีย ในช่วงทศวรรษที่ 90 โอซีเยกเป็นหนึ่งในเมืองซึ่งได้รับความเสียหายมากที่สุดในสงครามการประกาศอิสรภาพของโครเอเชีย ทำให้เมืองซึ่งเคยเฟื่องฟูในฐานะเมืองอุตสาหกรรมหลักแห่งนึงของรัฐโครเอเชียในสหพันธรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียประสบกับปัญหาความซบเซาทางเศรษฐกิจ แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก ปัจจุบันนี้ด้วยประชากรราวๆ 108,000 คน โอซีเยกจึงเป็นศูนย์กลางการปกครองของเขตโอซีเยก-บารานยา เป็นที่ตั้งของสนามบินเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคสลาโวเนียตะวันออก มีความสำคัญในฐานะศูนย์รวมความเจริญทางเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา การคมนาคม และการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและโอซีเยก · ดูเพิ่มเติม »

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและเทสโทสเตอโรน · ดูเพิ่มเติม »

เทอร์พีน

ทอร์พีนหลายชนิดที่ใช้ประโยชน์ทางการค้าได้มาจากเรซินของสน เทอร์พีน (Terpene) เป็นไขมันที่ประกอบขึ้นจากหน่วยไอโซพรีน (Isoprene) ซึ่งมีคาร์บอน 5 อะตอม พบมากในน้ำมันหอมระเหยในพืช โดยเฉพาะจากสนโคนิเฟอร์,ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อแมลง มีกลิ่นแรง แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ตามจำนวนของไอโซพรีนในโมเลกุล ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักดีคือเมนทอล (Menthol).

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและเทอร์พีน · ดูเพิ่มเติม »

13 กันยายน

วันที่ 13 กันยายน เป็นวันที่ 256 ของปี (วันที่ 257 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 109 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและ13 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

26 กันยายน

วันที่ 26 กันยายน เป็นวันที่ 269 ของปี (วันที่ 270 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 96 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เลโอโปลด์ รูซิคกาและ26 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Leopold Ruzicka

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »