โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพลงชาติสหภาพโซเวียต

ดัชนี เพลงชาติสหภาพโซเวียต

Slav’sya, Otechestvo nashe svobodnoye! (Славься, Отечество наше свободное!; Slav’sya, Otechestvo nashe svobodnoye!, แปล "Be glorious, our free Fatherland!"), หรือมีชื่อที่รู้จักอย่างเป็นทางการคือ "เพลงชาติสหภาพโซเวียต" (r) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มีนาคม 1944 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียโดยพวกบอลเชวิคเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) ในปีต่อมา ได้มีการใช้เพลง L'Internationale (หรือในภาษาอังกฤษ The Internationale) ซึ่งเพลงประจำของการปฏิวัติสังคมนิยมสากลเป็นเพลงชาติรัสเซีย เนื้อร้องฉบับภาษารัสเซียเป็นผลงานแปลของ อาร์คาดี้ ยาคอฟเลวิช ก็อตส์ เมื่อปี ค.ศ. 1902 (พ.ศ. 2445) เพลงนี้ได้ใช้เป็นเพลงชาติสหภาพโซเวียตที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) และใช้ต่อมาจนถึงปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) จากนั้นมีการใช้เพลงชาติใหม่ ที่ประพันธ์ทำนองโดย อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานดรอฟ และประพันธ์เนื้อร้องโดย เซอร์เกย์ มิคาลกอฟ และ จี.แอล. เรจิสตาน ก่อนที่เพลงนี้จะได้ใช้เป็นเพลงชาติสหภาพโซเวียต ทำนองของเพลงนี้เคยถูกใช้ในงานหลายชิ้นของอเล็กซานดรอฟ ครั้งแรกได้ใช้เป็นเพลงประจำพรรคบอลเชวิคใน ค.ศ. 1938 (พ.ศ. 2481) และเมื่อ องค์การคอมมิวนิสต์สากล หรือโคมินเทิร์นสลายตัวไปในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) ผู้นำประเทศมองว่าเพลงชาติใหม่ของสหภาพโซเวียต สมควรเข้ามาแทนที่เพลง L'Internationale ซึ่งตามประวัติแล้วเกี่ยวข้องกับขบวนการคอมมิวนิสต์สากลมากกว่า โจเซฟ สตาลิน ผู้นำประเทศในยุคนั้นจึงตัดสินใจเลือกเอาทำนองที่อเล็กซานดรอฟประพันธ์ มาใช้เป็นทำนองเพลงชาติฉบับใหม่ ส่วนคำร้องที่ร่วมประพันธ์โดย มิคาลกอฟ และ แอล.

30 ความสัมพันธ์: บอลเชวิกพ.ศ. 2445พ.ศ. 2460พ.ศ. 2465พ.ศ. 2481พ.ศ. 2486พ.ศ. 2487พ.ศ. 2496พ.ศ. 2513พ.ศ. 2520พ.ศ. 2534ภาษายูเครนภาษารัสเซียภาษาลิทัวเนียภาษาอังกฤษลัทธิคอมมิวนิสต์วลาดีมีร์ เลนินสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียสหภาพโซเวียตสงครามโลกครั้งที่สององค์การคอมมิวนิสต์สากลธงชาติสหภาพโซเวียตตุลาคมปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนียแองเตอร์นาซิอองนาลโจเซฟ สตาลินเพลงชาติเพลงชาติรัสเซียOgg1 กันยายน

บอลเชวิก

การประชุมพรรคบอลเชวิก บอลเชวิก (Bolshevik "บอลเชอวิก"; большеви́к "บาลชือวิก") แผลงมาจากคำว่าБольшинство แปลว่า ส่วนใหญ่ หรือ หมู่มาก บอลเชวิก หมายถึงสมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (RSDLP ย่อมาจาก Russian Social Democratic Labour Party) ซึ่งนิยมลัทธิมากซ์ กลุ่มนี้นำโดยเลนิน ในพรรคนี้ยังมีอีกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่า меньшевик เมนเชวิก ซึ่งแผลงมาจากคำในภาษารัสเซีย Меньшинство แปลว่า ส่วนน้อย กลุ่มเมนเชวิกนำโดย จูเลียส มาร์ตอฟ เพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดคนหนึ่งของเลนิน การแตกคอกันมีขึ้นในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์และลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1903 และท้ายที่สุดแล้วกลุ่มบอลเชวิกก็กลายมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต พวกบอลเชวิกมองเศรษฐกิจในแนวสัมคมนิยมสุดขั้วและเชื่อในความเป็นสากลของชนชั้นกรรมาชีพ พวกเขายึดหลักอำนาจเผด็จการพรรคเดียวและเป้าหมายสูงสุดเรื่องการปฏิวัติโลก พวกเขาปฏิเสธความเป็นชาติรัฐของรัสเซีย ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติของพวกเขามักถูกเรียกรวม ๆ ว่า ลัทธิบอลเชวิก (Bolshevism).

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและบอลเชวิก · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2445

ทธศักราช 2445 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1902 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2445 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2460

ทธศักราช 2460 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1917 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2460 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2465

ทธศักราช 2465 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1922 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2465 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2481 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2486

ทธศักราช 2486 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1943.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2486 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2487

ทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2496

ทธศักราช 2496 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1953 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2496 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายูเครน

ภาษายูเครน (украї́нська мо́ва, ukrayins'ka mova) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกตะวันออก เป็นภาษาทางการของยูเครน ระบบการเขียนใช้อักษรซีริลลิก และใช้คำร่วมกับภาษาของประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาษาเบลารุส ภาษาโปแลนด์, ภาษารัสเซีย และภาษาสโลวัก ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน ยูเครน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและภาษายูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลิทัวเนีย

ษาลิทัวเนีย (lietuvių kalba) เป็นภาษาทางการของประเทศลิทัวเนีย และเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่งของสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและภาษาลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov, Владимир Ильич Ульянов) เป็นผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและวลาดีมีร์ เลนิน · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (date|r.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การคอมมิวนิสต์สากล

นิตยสารของโคมินเทิร์นชื่อ''คอมมิวนิสต์ อินเตอร์เนชันเนล''เป็นนิตยสารที่แปลทุกภาษาในยุโรปพิมพ์ตั้งแต่ปี 1919 ถึง 1943 องค์การคอมมิวนิสต์สากล (Comintern หรือ Communist International; Коммунистический Интернационал) หรือเรียกว่า โคมินเทิร์น เป็นองค์การที่ทำหน้าที่เผยแพร่แนวความคิดปฏิวัติ ล้มล้างนายทุนและจักรวรรดินิยมตามแบบการปฏิวัติของบอลเชวิก เมื่อโจเซฟ สตาลินขึ้นมามีอำนาจสืบต่อจากเลนิน ซึ่งถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1924 สตาลินได้พัฒนาแนวนโยบายของเลนินออกไปเพื่อให้โซเวียตรัสเซียมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยใช้หลักสังคมนิยมประเทศเดียว (Socialism in one country) ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-Existence) โคมินเทิร์นถูกยุบลงในปี 1943 และถูกแทนที่ด้วยโคมินฟอร์ม.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและองค์การคอมมิวนิสต์สากล · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหภาพโซเวียต

งชาติสหภาพโซเวียต ประกอบด้วยพื้นธงสีแดงและรูปค้อนเคียวบนขอบธงด้านซ้ายบน สีแดงแสดงถึงสีของพรรคคอมมิวนิสต์ และระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ส่วนค้อนเคียวแสดงถึงชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นชนชั้นที่สำคัญที่สุดในระบอบคอมมิวนิสต์ ธงค้อนเคียวดาวแดงแบบแรกสุดประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 รัฐบัญญัติเกี่ยวกับธงฉบับใหม่ได้ออกบังคับใช้ ให้มีการแก้ไขรูปค้อนเคียวในธงเล็กน้อย โดยแก้ให้ด้ามค้อนยาวขึ้นและเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเคียวใหม่ ครั้งสุดท้ายที่มีการแก้ไขธงคือในปี พ.ศ. 2523 ได้แก้ให้พื้นสีแดงในธงสว่างขึ้นและได้ใช้ต่อมาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในวันที่ 25 ธันวาคมในปี พ.ศ. 2534เมื่อเวลา 19.32 น. มีการลดธงชาติสหภาพโซเวียตลงจากเครมลินเป็นครั้งสุดท้ายและแทนที่ด้วยธงไตรรงค์ของรัสเซี.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและธงชาติสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

ปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย

ปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย (Патриотическая Песня, Patrioticheskaya Pesnya; คำแปลในภาษาอังกฤษ: "A Patriotic Song" หรืออาจแปลเป็นชื่อภาษาไทยได้ว่า "เพลงของผู้รักชาติ") เป็นเพลงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (Russian SFSR) และสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2543 คำแปลของชื่อเพลงนี้ ยังสามารถหมายถึงเพลงชาติเกาหลีเหนือและเพลงชาติเกาหลีใต้ได้ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แองเตอร์นาซิอองนาล

เออแฌน ปอตีเย (Eugène Pottier) ผู้ประพันธ์คำร้องของเพลงแล็งแตร์นาซียอนาล แองเตอร์นาซิอองนาล (L'Internationale; แล็งแตร์นาซียอนาล, The Internationale; ดิอินเตอร์แนชนาล, Die Internationale; "ดี อินเทอร์นาโชนาล") เป็นเพลงปลุกใจที่ใช้ในการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ มีที่มาจากบทกวีต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสของ เออแฌน ปอตีเย (Eugène Pottier) ในปี..

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและแองเตอร์นาซิอองนาล · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติ

ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487) เพลงชาติ (National anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและเพลงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติรัสเซีย

ลงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย (Государственный гимн Российской Федерации) หรือ เพลงสรรเสริญสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นชื่อของเพลงชาติอย่างเป็นทางการของรัสเซีย องค์ประกอบทางดนตรีและเนื้อร้องของเพลงได้รับดัดแปลงมาจากเพลงชาติสหภาพโซเวียต ประพันธ์โดย อเล็กซันเดอร์ อเล็กซันดรอฟ และผู้แต่งบทร้อง เซียร์เกย์ มิฮัลคอฟ และกาบรีล เอล-เรกิสตัน เพลงชาติโซเวียตใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 โดยแทน "แองเตอร์นาซิอองนาล" ด้วยเพลงที่เน้นรัสเซียเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพลงชาติดังกล่าวถูกแก้ไขใน ค.ศ. 1956 เพื่อลบเนื้อร้องที่อ้างถึงอดีตผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน เพลงดังกล่าวถูกแก้ไขอีกครั้งใน ค.ศ. 1977 เพื่อนำเนื้อร้องใหม่ที่เขียนโดยมิฮัลคอฟ รัสเซียมองหาเพลงชาติใหม่ใน ค.ศ. 1990 เพื่อเริ่มต้นใหม่หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เพลง "ปาทริโอติเชสกายา เปสนยา" ที่ไม่มีเนื้อร้อง ประพันธ์โดย มิฮาอิล กลินคา ซึ่งรับมาอย่างเป็นทางการใน..

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและเพลงชาติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

Ogg

ogg ("อ็อก") เป็นรูปแบบหีบห่อดิจิทัลแบบมาตรฐานเปิดสำหรับบรรจุสื่อผสม มันถูกออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพในการกระจายเสียง (สตรีมมิง) และการเปลี่ยนแปร รูปแบบ ogg ออกแบบโดยมูลนิธิ Xiph.Org และปลอดจากสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ คำว่า "ogg" ยังถูกใช้บ่อย ๆ เพื่อเรียกรูปแบบแฟ้มเสียง Ogg Vorbis ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกเข้ารหัสแบบ Vorbis แล้วเก็บลงในหีบห่อ Ogg การเข้ารหัสอื่นที่เด่น ๆ ของ Xiph ที่มักถูกใส่ใน Ogg ก็คือ Theora ซึ่งเป็นการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ), และ Speex ซึ่งเป็นการบีบอัดเสียงพูดของมนุษย์ MIME type ของ ogg คือ application/ogg.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและOgg · ดูเพิ่มเติม »

1 กันยายน

วันที่ 1 กันยายน เป็นวันที่ 244 ของปี (วันที่ 245 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 121 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เพลงชาติสหภาพโซเวียตและ1 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »