โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพนเทียม

ดัชนี เพนเทียม

นเทียม (Pentium) เป็นเครื่องหมายการค้าและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 หลายตัวจากบริษัทอินเทล เพนเทียมเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยใช้สถาปัตยกรรม P5 และมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยชิปตัวใหม่ที่ออกมาจะใช้ชื่อรหัสตามหลังคำว่าเพนเทียมเช่น เพนเทียมโปร หรือ เพนเทียมดูอัล-คอร์ จนกระทั่งในปี 2553 ทางอินเทลได้เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อชิปในตระกูลเพนเทียมทั้งใหม่หมดให้ใช้เพียงแค่คำว่า "เพนเทียม" โดยไม่มีคำใดต่อท้าย แม้ว่าเพนเทียมถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ใช้สถาปัตยกรรม P5 ชิปที่พัฒนาต่อมาได้มีการนำสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่นำมาพัฒนามาใช้ภายใต้ชื่อตระกูลเพนเทียม เช่น P6, เน็ตเบิรสต์, คอร์, เนเฮเลม และล่าสุดคือสถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์ ในปี 2541 เพนเทียมได้ถูกจัดให้เป็นซีพียูสำหรับตลาดบนของทางอินเทลเมื่อบริษัทได้เปิดตัวแบรนด์เซเลรอน เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ที่ประสิทธิภาพลดลงมา จนกระทั่งในปี 2549 อินเทลได้เปิดตัวตระกูลคอร์ โดยออกมาในชื่อ อินเทล คอร์ 2 ทำให้สถานะทางการตลาดของเพนเทียมอยู่ในระดับกลาง รองจากตระกูลคอร์แต่อยู่สูงกว่าตระกูลเซเลรอน โดยในปัจจุบันชื่อเพนเทียมเป็นชิปที่อยู่ในราคากลางโดยอยู่ระหว่างอินเทลคอร์และอินเทลเซเลรอน.

21 ความสัมพันธ์: บัสคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2536การตลาดภาษากรีกสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์อินเทลอินเทล คอร์อินเทล คอร์ 2อินเทล P5คลาร์กเดลตราสินค้าซ็อกเก็ตซีพียูแซนดีบริดจ์ไมโครโพรเซสเซอร์เพนเทียมดูอัล-คอร์เพนเทียมโปรเอกซ์86เครื่องหมายการค้าเซเลรอนเนเฮเลม22 มีนาคม

บัสคอมพิวเตอร์

บัส (BUS) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ เส้นทางการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลร่วมกัน (shared transmission medium) ระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่าง ๆ บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์, ซีดีรอมไดรฟ์, การ์ดเสียง และการ์ดแสดงผล เป็นต้น เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางจะต้องอ่านเอาคำสั่งหรือโปรแกรมจากหน่วยความจำ มาตีความและทำตามคำสั่งนั้น ๆ ซึ่งในบางครั้งจะต้องอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้ประกอบในการทำงาน หรือใช้ในการประมวลผลด้วยผลลัพธ์ของการประมวลผล ก็ต้องส่งไปแสดงผลที่จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ดังนั้นบัสจึงมีความสำคัญในการส่งถ่ายข้อมูลเป็นอย่างมาก ทั้งนี้บัสจะมีความกว้างหลายขนาด ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องพีซี เช่น บัสขนาด 8 บิต 16 บิต และ 32 บิต ซึ่งบัสยิ่งกว้างก็จะทำให้การส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้ครั้งละมาก ๆ จะมีผลทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้เร็วตามไปด้วย หมวดหมู่:อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล หมวดหมู่:แผงวงจรหลัก หมวดหมู่:บัสคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: เพนเทียมและบัสคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพนเทียมและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

การตลาด

การตลาด คือกระบวนการของการสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการไปยังลูกค้า การตลาดอาจถูกตีความว่าเป็นศิลปะแห่งการขายสินค้าในบางครั้ง แต่การขายนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของการตลาด การตลาดอาจถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การและกลุ่มกระบวนการเพื่อการผลิต การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่าไปยังลูกค้า และการจัดการความสัมพันธ์ต่อลูกค้า ในทางที่เป็นประโยชน์แก่องค์การและผู้ถือหุ้น การจัดการการตลาดเป็นศิลปะของการเลือกตลาดเป้าหมาย ตลอดจนการได้มาและการรักษาลูกค้า ผ่านทางการจัดหาคุณค่าของลูกค้าที่เหนือกว่า มีมโนทัศน์ห้าอย่างหลัก ๆ ที่องค์การสามารถเลือกเพื่อนำไปดำเนินการธุรกิจได้แก่ มโนทัศน์เน้นการผลิต เน้นผลิตภัณฑ์ เน้นการขาย เน้นการตลาด และเน้นการตลาดองค์รวม ซึ่งองค์ประกอบสี่อย่างของการตลาดองค์รวมคือ การตลาดความสัมพันธ์ การตลาดภายใน การตลาดครบวงจร และการตลาดรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มของภาระหน้าที่ที่สำคัญต่อการจัดการการตลาดที่ประสบผลสำเร็จประกอบไปด้วย การมองการตลาดเชิงลึก การติดต่อเชื่อมโยงกับลูกค้า การสร้างตราสินค้าที่มั่นคง การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองลูกค้า การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่า การสร้างความเจริญเติบโตในระยะยาว และการพัฒนากลยุทธ์และแผนการตลาด Kotler, Philip & Keller, L. Kevin (2012).

ใหม่!!: เพนเทียมและการตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: เพนเทียมและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

ปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นทฤษฎีที่อยู่ฉากหลังของการออกแบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปหมายถึง การออกแ.

ใหม่!!: เพนเทียมและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล

ำนักงานใหญ่อินเทล ที่ซานตาคลารา อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร อินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน แต่เดิมนั้น ชื่อของอินเทลจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่วิศวกรและนักเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หลังจากที่โฆษณา อินเทล อินไซด์ ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 ชื่อของอินเทลก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในทันที โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักคือ หน่วยประมวลผลกลางตระกูลเพนเทียม (Pentium).

ใหม่!!: เพนเทียมและอินเทล · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล คอร์

อินเทล คอร์ (Intel Core) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู สถาปัตยกรรมประมวลผล แบบ x86 ของบริษัทอินเทล.

ใหม่!!: เพนเทียมและอินเทล คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล คอร์ 2

อร์ 2 (Core 2 - /คอร์ทู/) เป็นแบรนด์ของทางอินเทลสำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ x86 และ x86-64 ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมไมโครคอร์ ที่มีการทำงาน 1, 2 หรือ 4 คอร์ร่วมกัน สถาปัตยกรรมคอร์นั้นได้ลดอัตรานาฬิกาและลดการใช้พลังงานลงโดยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งแตกต่างจากสถาปัตยกรรมเน็ตเบิร์สต์รุ่นก่อนหน้าที่ใช้กับเพนเทียม 4 และ เพนเทียม D การตลาดของทางผลิตภัณฑ์คอร์ 2 นั้น อินเทลได้วางเป็นผลิตภัณฑ์ในราคากลางถึงบน โดยได้ลดชั้นของซีพียูภายใต้ชื่อเพนเทียมไปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดราคาปานกลางแทนที่ (เพนเทียมดูอัล-คอร์) โดยต่อมาทางอินเทลได้ถอนแบรนด์ของคอร์ 2 ออกและใช้ อินเทล คอร์ แทนที่สำหรับตลาดราคากลางถึงบน ภายใต้ชื่อ คอร์ i3, คอร์ i5 และ คอร์ i7 โดยใช้สถาปัตยกรรมใหม่คือเนเฮเลม.

ใหม่!!: เพนเทียมและอินเทล คอร์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล P5

ปตระกูลเพนเทียม P5 เป็นสถาปัตยกรรมไมโครรุ่นแรกของเพนเทียม เป็นไมโครโพรเซสเซอร์แบบ x86 รุ่นที่ 5 ผลิตโดยบริษัทอินเทล วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1993 โดยเป็นรุ่นต่อจากไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น 80486 เดิมทีอินเทลตั้งชื่อซีพียูรุ่นที่ 5 ว่า "586" (หรือ 80586, i586) ตามซีพียูรุ่นก่อนๆ แต่อินเทลพบปัญหาในด้านกฎหมาย เมื่อไม่สามารถร้องขอต่อศาล ให้จดชื่อทางการค้าที่เป็นตัวเลข (เช่น 486) เพื่อป้องกันคู่แข่งอย่างบริษัทเอเอ็มดีในการตั้งชื่อซีพียูชื่อใกล้เคียงกัน (เช่น Am486) ได้ อินเทลจึงหันมาใช้ชื่อที่สามารถจดเป็นชื่อการค้าแทน สัญลักษณ์ยี่ห้อ "เพนเทียม" ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีเพนเทียมรุ่นถัดๆ มามากมาย ขณะนี้อินเทลได้อยู่ในช่วงเวลาที่จะทดแทนยี่ห้อเพนเทียมด้วยยี่ห้อ อินเทล คอร์ (Intel Core) ซึ่งออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า P6 โดยมีลักษณะเด่นที่สามารถประมวลผลได้ดี ในความเร็วรอบ (frequency) ที่ต่ำ และใช้พลังงานไฟที่ต่ำมาก.

ใหม่!!: เพนเทียมและอินเทล P5 · ดูเพิ่มเติม »

คลาร์กเดล

ลาร์กเดล (Clarkdale) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เพนเทียมและคลาร์กเดล · ดูเพิ่มเติม »

ตราสินค้า

ลักษณ์ (ตัวอย่าง) ที่สร้างขึ้นโดย เพอซอเมค โคเวล ตราสินค้า หรือ ยี่ห้อ (brand) เป็นรูปแบบของภาพพจน์และแนวความคิด ในรูปอัตลักษณ์ คำขวัญ และผลงานออกแบบ ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งยังเป็นข้อมูลเชิงมโนธรรม ที่แสดงออกทางรูปธรรมด้วยสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงบริษัท สินค้า บริการ หรือกลุ่มผู้ขาย ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การสร้างตราสินค้า ให้เป็นที่จดจำของลูกค้า เกิดขึ้นได้จากการโฆษณา การบอกต่อ การออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในปัจจุบัน การสร้างตราสินค้า กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม และปรัชญาการออกแบบ ตราสินค้าประกอบด้วย ชื่อตราสินค้า (Brand name) หรือ (ชื่อ) ยี่ห้อ (แต้จิ๋ว: หยี่ห่อ) คือส่วนที่สามารถอ่านออกเสียงได้ และ เครื่องหมายตราสินค้า (Brandmark) คือส่วนที่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ แต่สามารถจดจำได้ อาทิสัญลักษณ์ รูปแบบ สีสัน ตัวอักษรประดิษฐ์ เสียง หรือรูปทรงที่จดจำได้ง่ายอย่างรองเท้าบูตแฟชั่น เป็นต้น หากเป็นภาพสัญลักษณ์อย่างเดียว ส่วนนี้อาจเรียกว่าเป็นตราเครื่องหมาย (logo) ได้เช่นกัน.

ใหม่!!: เพนเทียมและตราสินค้า · ดูเพิ่มเติม »

ซ็อกเก็ตซีพียู

ซ็อกเก็ต 370 ของอินเทล ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU socket) หรือ สล็อตซีพียู (CPU slot) คือฐานรองเพื่อบรรจุซีพียูเข้ากับแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์ ซ็อกเก็ตแต่ละรุ่นจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียูที่ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกัน ดังนั้นเราจะไม่สามารถนำซีพียูที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับซ็อกเก็ตแบบหนึ่งไปใช้กับซ็อกเก็ตแบบอื่นได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ผลิตจะผลิตซีพียูที่ใช้ซ็อกเก็ตเพียงแบบเดียวสำหรับซีพียูแต่ละรุ่น จึงทำให้ไม่ค่อยพบปัญหาที่เกี่ยวกับซ็อกเก็ตเท่าไรนัก หมวดหมู่:หน่วยประมวลผลกลาง.

ใหม่!!: เพนเทียมและซ็อกเก็ตซีพียู · ดูเพิ่มเติม »

แซนดีบริดจ์

แซนดีบริดจ์ (Sandy Bridge) เป็นชื่อรหัสของซีพียูหรือหน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ ของบริษัทอินเทล เป็นซีพียูที่พัฒนาต่อจากซีพียูรหัสเนเฮเลม เริ่มพัฒนาเมื่อ..

ใหม่!!: เพนเทียมและแซนดีบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครโพรเซสเซอร์

อินเทล 4004 ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วไปตัวแรกที่มีการจำหน่าย ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: เพนเทียมและไมโครโพรเซสเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียมดูอัล-คอร์

นเทียมดูอัล-คอร์ (Pentium Dual-Core) เป็นแบรนด์ซีพียู x86 ของอินเทลในตระกูลเพนเทียม ในช่วงปี..

ใหม่!!: เพนเทียมและเพนเทียมดูอัล-คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียมโปร

ซีพียูเพนเทียมโปร เพนเทียมโปร (Pentium Pro) เป็นหน่วยประมวลผลภายใต้ชื่อเพนเทียม โดยเป็นซีพียูรุ่นที่ 6 โดยใช้สถาปัตยกรรม P6 ที่ออกแบบมาใช้กับคำสั่งแบบ 32 บิตเท่านั้น ส่วนคำสั่งแบบ 16 บิต สามารถทำงานได้แต่ก็ยังไม่สามารถทำงานได้เร็วเท่ากับคำสั่งแบบ 32 บิต ในขณะที่การพัฒนาทาง อินเทลคาดว่าคำสั่งแบบ 16 บิต จะถูกแทนที่ด้วยคำสั่งแบบ 32 บิต เมื่อหน่วยประมวลผลนี้ออกจำหน่าย แต่เมื่อเพนเทียมโปร ออกจำหน่าย ในท้องตลาดก็ยังมีโปรแกรม 16 บิตอยู่มากมาย ทำให้เพนเทียมโปรไม่เป็นที่นิยมในผู้ใช้ทั่วไป แต่เพนเทียมโปรนิยมใช้กันมากในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจากมีหน่วยความจำแคช L2 ที่ทำงานความเร็วเดียวกับหน่วยประมวลผล ทำให้ไม่มีปัญหาคอขว.

ใหม่!!: เพนเทียมและเพนเทียมโปร · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86

ปเพนเทียม 4 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม x86 ในยุคหลัง เอกซ์86 (x86) เป็นชื่อทั่วไปของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัทอินเทล ปัจจุบันสถาปัตยกรรมแบบ x86 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊คและเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก นับตั้งแต่เริ่มใช้ในไอบีเอ็มพีซี ช่วงทศวรรษที่ 80 ชื่อสถาปัตยกรรมถูกเรียกว่า "x86" เนื่องจากชื่อเรียกของไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกๆ จะลงท้ายด้วยตัวเลข 86 ได้แก่ 8086, 80186, 80286, 386 และ 486 ในภายหลังอินเทลได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ "เพนเทียม" (Pentium) (ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า "80586") แทนเนื่องจากไม่สามารถจดเครื่องหมายการค้าในชื่อตัวเลขได้ ใน..

ใหม่!!: เพนเทียมและเอกซ์86 · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายการค้า

รื่องหมายการค้า (Trademark) หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ จังต้องมีการออกแบบโลโก้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นสัญลักษณ์สากล คือการกำกับด้วย ™ หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ซึ่งจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหม.

ใหม่!!: เพนเทียมและเครื่องหมายการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เซเลรอน

ซเลรอน (Celeron) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู x86 ของทางอินเทล โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาย่อมเยา โพรเซสเซอร์เซเลรอนสามารถทำงานได้เหมือนตัวอื่นทั่วไป แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าโดยมักจะมี หน่วยความจำแคชที่น้อยกว่า หรือมีคุณสมบัติที่น้อยกว่า เซเลรอนเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2541 ซีพียูภายใต้ชื่อเซเลรอนตัวแรกพัฒนาจาก เพนเทียม II และต่อมาได้พัฒนาบนฐานของ เพนเทียม III, เพนเทียม 4, เพนเทียม M และ คอร์ 2 ดูโอ ตามลำดับ โดยการออกแบบเซเลรอนรุ่นล่าสุด (2552) พัฒนาบนฐานของ คอร์ 2 ดูโอ วูล์ฟเดลสำหรับเดสก์ทอป และ เพนรินสำหรับแล็ปท็อป โดยทำงานลักษณะของคอร์แยกจากกันอิสระ แต่มีแคชเพียง 25% เมื่อเทียบกับซีพียูคอร์ 2 ดูโอทั่วไป และถัดไปจะพัฒนาบนแซนดีบร.

ใหม่!!: เพนเทียมและเซเลรอน · ดูเพิ่มเติม »

เนเฮเลม

ปัตยกรรมเนเฮเลม เนเฮเลม (Nehalem มักเรียกผิดเป็น เนฮาเลม) เป็นชื่อรหัสของสถาปัตยกรรมไมโครซีพียูของทางอินเทล เป็นตัวที่พัฒนาต่อจากสถาปัตยกรรมไมโครคอร์ โดยโพรเซสเซอร์ตัวแรกที่พัฒนาออกมาคือซีพียู คอร์ i7 สำหรับเดสก์ท็อป ที่เปิดตัวเมื่อพฤศจิกายน 2551 และมีการพัฒนาตามออกมาอีกหลายตัวในชื่อ ซีออน, i3 และ i5 ในช่วงแรกโพรเซสเซอร์เนเฮเลมใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตร เช่นเดียวกับเพนรินที่ใช้ในอินเทล คอร์ 2 โดยได้ออกมาแสดงในงาน อินเทลเดเวโลเปอร์ฟอรัม ในปี 2550 นอกจากนี้ในตอนแรกสุดเนเฮเลมคาดหวังว่าจะเป็นการพัฒนาภายใต้สถาปัตยกรรมเน็ตเบิรสต์ ภายหลังได้เปลี่ยนโครงการจึงได้นำชื่อเนเฮเลมกลับมาใช้ใหม่ภายใต้โครงการใหม่ แต่ยังคงนำเทคโนโลยีหลายตัวกลับมาใช้เช่น ไฮเปอร์เทร็ดดิง กับ แคช L3 ชื่อของเนเฮเลมตั้งตามชื่อเมืองเนเฮเลมในรัฐออริกอน.

ใหม่!!: เพนเทียมและเนเฮเลม · ดูเพิ่มเติม »

22 มีนาคม

วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันที่ 81 ของปี (วันที่ 82 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 284 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เพนเทียมและ22 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Intel PentiumPentiumอินเทล เพนเทียมเพนเที่ยม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »