โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพนกวินมาเจลลัน

ดัชนี เพนกวินมาเจลลัน

นกวินมาเจลลัน (Magellanic penguin) เป็นเพนกวินที่พบในทวีปอเมริกาใต้ที่แพร่พันธุ์ในบริเวณริมฝั่งทะเลชิลี, อาร์เจนตินา และหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ แถบช่องแคบมาเจลลัน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ โดยบางกลุ่มอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังบราซิล เพนกวินมาเจลลันเป็นเพนกวินในสกุล Spheniscus ที่มีจำนวนมากที่สุด ส่วนชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกันก็ได้แก่ เพนกวินแอฟริกา, เพนกวินฮัมโบลต์ และเพนกวินกาลาปาโกส เพนกวินมาเจลลันเป็นเพนกวินขนาดกลางที่เมื่อโตเต็มที่สูงราวระหว่าง 61 ถึง 76 เซนติเมตร และหนักระหว่าง 2.7 ถึง 6.5 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย แต่น้ำหนักนี้จะลดลงพอสมควรในฤดูที่ต้องเลี้ยงลูกนก เพนกวินมาเจลลัน เป็นเพนกวินที่อาศัยอยู่เป็นคู่ ซึ่งจะจับคู่กันเป็นระยะเวลานานหลายปี ตัวเมียจะหาตัวผู้พบจากเสียงร้อง.

13 ความสัมพันธ์: ช่องแคบมาเจลลันสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ประเทศบราซิลประเทศชิลีประเทศอาร์เจนตินาโยฮันน์ ไรน์โฮลด์ ฟอร์สเตอร์เพนกวินเพนกวินลายเพนกวินฮัมโบลต์เพนกวินแอฟริกัน

ช่องแคบมาเจลลัน

วเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน ช่องแคบมาเจลลัน (Strait of Magellan, Magellanic Strait; Estrecho de Magallanes) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาใต้กับกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก ตั้งชื่อตามชื่อของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณเกาะการ์โลสที่ 3 ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลายพอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" (Strait of All Saints) แต่ต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของชิลี แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของอาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี ก่อนที่จะมีการเปิดใช้คลองปานามาซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1914 ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้ช่องแคบเดรกซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและช่องแคบมาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falkland Islands) หรือ หมู่เกาะมัลบีนัส (Islas Malvinas) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ในหมู่เกาะแอตแลนติกใต้บนไหล่ทวีปปาตาโกเนีย หมู่เกาะหลักอยู่ห่างจากชายฝั่งปาตาโกเนียที่ละติจูดราว 52° ใต้ ไปทางตะวันออกราว 500 กิโลเมตร กลุ่มเกาะมีพื้นที่ 12,173 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก ฟอล์กแลนด์ตะวันตก และเกาะที่เล็กกว่าอื่นอีก 776 เกาะ หมู่เกาะดังกล่าวเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร มีระดับการปกครองตนเองภายในสูง โดยมีสหราชอาณาจักรรับประกันรัฐบาลที่ดีและรับผิดชอบด้านการป้องกันภัยและการต่างประเทศ เมืองหลวง คือ สแตนลีย์บนเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก มีการถกเถียงว่าด้วยการค้นพบหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ครั้งแรกและการล่าอาณานิคมโดยชาวยุโรปในกาลต่อมา หลายช่วง หมู่เกาะมีนิคมฝรั่งเศส อังกฤษ สเปนและอาร์เจนตินา อังกฤษสถาปนาการปกครองอีกครั้งใน..

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา (อังกฤษและArgentina อารฺเฆนตีนา (สเปน)) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic; República Argentina) เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและประเทศอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ไรน์โฮลด์ ฟอร์สเตอร์

ันน์ ไรน์โฮล์ด ฟอร์สเตอร์ (Johann Reinhold Forster) (22 ตุลาคม ค.ศ. 1729 - (9 ธันวาคม ค.ศ. 1798) ฟอร์สเตอร์เป็นชาวเยอรมันเชื้อสายสกอตแลนด์ผู้มีอาชีพเป็นนักเทศน์ (pastor) นิกายลูเทอรัน และเป็นนักธรรมชาติวิทยา ฟอร์สเตอร์มีบทบาทสำคัญในสมัยแรกของสาขาปักษาวิทยาของยุโรป และอเมริกาเหนือ แต่สิ่งสร้างความสำคัญให้แก่ฟอร์สเตอร์คือการร่วมในการเดินทางสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกครั้งที่สองของเจมส์ คุกในฐานะนักธรรมชาติวิทยากับลูกชายจอร์จ ฟอร์สเตอร.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและโยฮันน์ ไรน์โฮลด์ ฟอร์สเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวิน

นกวิน (Penguin) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Spheniscidae อันดับ Sphenisciformes.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและเพนกวิน · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินลาย

นกวินลาย (Banded penguin) เป็นเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Spheniscus (แปลว่า "รูปลิ่ม") เพนกวินในสกุลนี้เป็นเพนกวินขนาดกลาง มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีลายพาดสีดำตรงหน้าอกบนพื้นลำสีขาว และมีจุดกลมดำเล็ก ๆ บนหน้าท้อง ซึ่งจุดนี้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนลายนิ้วมือของมนุษย์ ซึ่งจุดนี้อาจเป็นสีชมพู หรือขาวก็ได้ เป็นเพนกวินที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของซีกโลกทางใต้ เช่น อเมริกาใต้, แอฟริกาใต้ หรือหมู่เกาะกาลาปากอส มีพฤติกรรมวางไข่บนพื้นดิน และเจริญเติบโตขึ้นในโพรงดิน ในบางครั้ง เพนกวินสกุลนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น เช่น "เพนกวินแจ็ค-แอส" เนื่องจากมีเสียงร้องเหมือนลา ปัจจุบัน หลงเหลืออยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและเพนกวินลาย · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินฮัมโบลต์

นกวินฮัมโบลต์ หรือ เพนกวินเปรู (Humboldt penguin, Peruvian penguin) หรือ ปาตรังกา (Patranca) เป็นเพนกวินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spheniscus humboldti จัดเป็นเพนกวินขนาดกลาง มีความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มที่มีจุดเด่นคือ มีสีดำคาดที่หน้าอก บริเวณใต้คอและรอบดวงตาสีขาว จะงอยปากเป็นเนื้อสีชมพู พบกระจายพันธุ์อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกในทวีปอเมริกาใต้ทางแถบประเทศเปรูและชิลี และถือว่าเป็นเพนกวินเพียงชนิดเดียวที่สามารถพบได้ในพื้นที่แห้งแล้งอย่างทะเลทราย ออกลูกเป็นไข่ครั้งละ 2 ฟอง อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งและโขดหินริมทะเล โดยตัวผู้เป็นฝ่ายกกไข่ ทำรังด้วยการขุดโพรงตามพุ่มไม้หรือป่าละเมาะริมทะเล สร้างรังด้วยก้อนหิน กิ่งไม้หรือใบไม้ เป็นสัตว์สังคมอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงร้อง ลูกเพนกวินฮัมโบลต์ที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เมื่อพ่อแม่นกมิได้อยู่ดูแล จะมีการป้องกันตัวเองด้วยการถ่ายมูลใส่ผู้คุกคามหรือหันหลังถีบเศษหินเศษกรวดใส่ เพนกวินชนิดนี้นิยมเลี้ยงกันตามสวนสัตว์ ในประเทศไทย มีการเลี้ยงที่สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์สงขลา และสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นต้น.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและเพนกวินฮัมโบลต์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินแอฟริกัน

นกวินแอฟริกัน หรือ เพนกวินตีนดำ (African penguin, Black-footed penguin) เป็นเพนกวินชนิดหนึ่ง เพนกวินแอฟริกัน เป็นเพนกวินขนาดเล็ก มีลำตัวยาวประมาณ 68–70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2–5 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีจะงอยปากที่แหลมกว่าเพนกวินฮัมโบลด์ ซึ่งเป็นเพนกวินที่อยู่ร่วมสกุลเดียวกัน เดิมได้ชื่อว่า "เพนกวินลา" (Jackass penguin) เนื่องจากมีเสียงร้องเหมือนลา ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินแอฟริกัน เพราะเป็นเพนกวินเพียงชนิดเดียวที่พบได้ในทวีปแอฟริกา โดยจะพบได้ตามชายฝั่งแถบแหลมกูดโฮป ในแอฟริกาใต้ และพบได้มากที่สุด ที่ชายหาดโบลส์เดอร์ ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศแอฟริกาใต้ นิคมใหญ่ของเพนกวินแอฟริกัน ที่ชายหาดโบลส์เดอร์ เพนกวินแอฟริกัน เป็นนกที่จับคู่อยู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต มีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นนิคมใหญ่ เมื่ออากาศร้อนจะขุดหลุมฝังตัวในพื้นทรายและอ้าปากรับลมเพื่อระบายความร้อนออกจากตัว จัดเป็นเพนกวินอีกชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: เพนกวินมาเจลลันและเพนกวินแอฟริกัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Magellanic PenguinSpheniscus magellanicusเพนกวินแมเจลเล็น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »