โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เบราน์ชไวค์

ดัชนี เบราน์ชไวค์

ราน์ชไวค์ (Braunschweig; อังกฤษ, ฝรั่งเศส: Brunswick) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 247,000 คน ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของรัฐนีเดอร์ซัคเซินรองจากฮันโนเวอร์ เมื่อรวมเขตปริมณฑลของเมืองเข้าด้วยจะมีประชากรราว 1 ล้านคน เบราน์ชไวค์เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศและสหภาพยุโรป, Ec.europa.eu, 2014.

74 ความสัมพันธ์: บันดุงบารอกบาธพ.ศ. 2489พรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนีการวิจัยการขนส่งการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์กิโลเมตรภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษภูมิอากาศมัคเดอบวร์คมาร์แต็งแห่งตูร์มิลลิเมตรยุโรปเหนือระดับน้ำทะเลรัฐนีเดอร์ซัคเซินรถรางรถโดยสารประจำทางรถไฟความเร็วสูงวังวิทยาศาสตร์ว็อลฟส์บวร์คศิลปะโรมาเนสก์ศูนย์การค้าสมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติสวนพฤกษศาสตร์สวนสาธารณะสหภาพยุโรปสัมฤทธิ์สันนิบาตฮันเซอสาธารณรัฐไวมาร์สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สถาปนิกสงครามโลกครั้งที่สองหยาดน้ำฟ้าอารามอินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรสอุณหภูมิองศาเซลเซียสฮันโนเฟอร์ผู้ตัดสิน (ฟุตบอล)จักรยานทางรถไฟทิลล์ ออยเลนชปีเกลดยุกดอร์ทมุนท์...ดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คดัสลีดแดร์ดอยท์เชินคริสต์ศตวรรษที่ 12คริสต์ศตวรรษที่ 13คริสต์ศตวรรษที่ 19คริสต์ศตวรรษที่ 9คาร์ล ฟรีดริช เกาส์คาซานคณะซิสเตอร์เชียนคณิตศาสตร์ตารางกิโลเมตรประวัติศาสตร์ประเทศเยอรมนีนักบุญอันดรูว์นีมแฟรงก์เฟิร์ตแอบบีย์แคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรียโอมาฮาไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ไฮน์ริชที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรียเบอร์ลินเมืองพี่น้องและเมืองแฝดเอาโทบาน ขยายดัชนี (24 มากกว่า) »

บันดุง

บันดุง (Bandung, ᮘᮔ᮪ᮓᮥᮀ) เป็นเมืองเอกของจังหวัดชวาตะวันตก ในประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 768 เมตร โดยปกติจึงมีสภาพอากาศเย็นกว่าเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย เมืองนี้อยู่ในเขตแม่น้ำ รายล้อมด้วยภูเขาไฟ มีลักษณะทางภูมิประเทศที่มีระบบป้องกันตัวโดยธรรมชาติเป็นอย่างดี อันเป็นเหตุผลหลักที่ครั้งหนึ่งได้มีการย้ายเมืองเอกจากปัตตาเวีย มายังบันดุง หมวดหมู่:เมืองในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:จังหวัดชวาตะวันตก.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และบันดุง · ดูเพิ่มเติม »

บารอก

“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” (The Mystic Marriage of St. Catherine) โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ บารอก (Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และบารอก · ดูเพิ่มเติม »

บาธ

(ภาษาอังกฤษ: Bath) เป็นเมืองที่มีฐานะนครในมณฑลซอมเมอร์เซ็ทในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บาธตั้งอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตก 156 กิโลเมตร และจากบริสตอลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 21 กิโลเมตร บาธมีประชากรทั้งหมดประมาณ 80,000 คน บาธได้รับพระราชทานฐานะเป็น “นคร” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และบาธ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2489

ทธศักราช 2489 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1946 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และพ.ศ. 2489 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี

รรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (Social Democratic Party of Germany, Sozialdemokratische Partei Deutschlands, SPD) เป็นพรรคการเมืองในประเทศเยอรมนี มีนาย Martin Schulz เป็นหัวหน้าพรร.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่ง

รถไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชน การขนส่ง คือการเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การขนส่งแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ดังนี้ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และ อื่น.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และการขนส่ง · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

มัคเดอบวร์ค

เมืองมัคเดอบวร์ค มัคเดอบวร์ค (Magdeburg) เป็นเมืองหลวงของรัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำเอลเบอ เป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญมากในยุคกลางของยุโรป สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ประทับอยู่ที่เมืองในระหว่างปกครองเมือง หมวดหมู่:เมืองในประเทศเยอรมนี หมวดหมู่:สันนิบาตฮันเซียติก หมวดหมู่:รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และมัคเดอบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แต็งแห่งตูร์

นักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์ (Martin de Tours; Martin of Tours; Martinus) เกิดราวปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และมาร์แต็งแห่งตูร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปเหนือ

ยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปเหนือ ประกอบไปด้วย ดินแดนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์ อยู่ประมาณละติจูดที่ 55 องศาเหนือ - 71 องศาเหนือ ประกอบไปด้วยประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ซึ่งได้แก่ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศไอซ์แลนด์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์ดิก ในปีพ.ศ. 2541 มีประชากรทั้งหมด 35,086,982 คน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,502,7863 ตารางกิโลเมตร สำหรับภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาติวโตนิก ได้แก่ภาษาของพวกสแกนดิเนเวีย (ยุโรปเหนืออาจหมายถึงหมู่เกาะอังกฤษ และบางประเทศที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้)เ่รรร หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และยุโรปเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47'42.92"N/ 99°47'31.40"E ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ที่ 13°46'23.74"N/100°31'45.39"E ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป *มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง" หมุด BM-A ระดับน้ำทะเลปานกลาง.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนีเดอร์ซัคเซิน

นีเดอร์ซัคเซิน (Niedersachsen) เป็นรัฐของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางเหนือ-ตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรเป็นอันดับ 4 ใน 16 รัฐของเยอรมนี มีเมืองหลวงของรัฐชื่อ ฮันโนเวอร์ ตั้งป็นรัฐเมื่อ..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และรัฐนีเดอร์ซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

รถราง

รถรางเวียนนา หนึ่งในระบบรถรางที่ยาวที่สุดในโลก ป้ายเตือนผู้ขี่จักรยานให้ระวังร่องของรถราง รถราง (tram) เป็นพาหนะที่วิ่งบนรางชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายรถไฟแต่จะสั้นกว่าและมีน้ำหนักเบากว่า รถรางส่วนมากใช้ไฟฟ้าจากสายไฟด้านบน (pantograph) แต่ก็ยังมีบางส่วนใช้ดีเซลอยู่ ในปัจจุบันนิยมนับรถรางเป็นประเภทหนึ่งของรถไฟฟ้ารางเบาด้วย (light rail) รถรางในประเทศไทย ปัจจุบันมีที่เดียวคือ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ส่วนรถรางชมเมืองนั้นวิ่งด้วยล้อรถไม่ใช้ระบบราง บริการในปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และรถราง · ดูเพิ่มเติม »

รถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร Benz-Omnibus, 1896 รถโดยสารประจำทาง หรือที่นิยมเรียกกันว่า รถเมล์ เป็นระบบขนส่งมวลชนระบบหนึ่งที่ให้บริการบนถนน โดยมีลักษณะเป็นรถขนาดใหญ่ที่บรรทุกผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก โดยกำหนดเส้นทาง และส่วนใหญ่เรียกชื่อเส้นทางเป็นตัวเลข เช่น สาย1 สาย 2 และมีเก็บค่าโดยสารโดยวิธีต่างๆกันไป จำนวนผู้โดยสารบนรถเมล์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของรถ ตัวอย่างเช่นในประเทศเยอรมันมีรถเมล์ที่ยาวที่สุดในโลกบรรจุผู้โดยสารได้กว่า 200 คน รถโดยสารประจำทางมีเรียกกันหลายชื่อในประเทศไทยเช่น รถเมล์ รถทัวร์ รถสองแถว รถสองแถวใหญ่ หรือ รถสองแถวเล็ก หรือเรียกชื่อเฉพาะตามพื้นที่ เช่น รถสี่ล้อแดง เป็นชื่อเรียกทั้งรถโดยสารและรถรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และรถโดยสารประจำทาง · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟความเร็วสูง

รถไฟชิงกันเซ็ง รุ่น E5 TGV 2N2 ของ SNCF ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงที่พัฒนาให้มีห้องโดยสาร 2 ชั้น ขณะอยู่ที่เมืองแฟรงเฟิร์ตของเยอรมนี รถไฟความเร็วสูง หรือ ระบบรางความเร็วสูง (High-Speed Rail (HSR)) เป็นระบบการขนส่งทางรางที่วิ่งด้วยความเร็วสูงกว่าระบบขนส่งทางรางทั่วไปอย่างมาก โดยการใช้ระบบล้อเลื่อน (rolling stock) พิเศษรวมกับระบบรางที่ออกแบบมาให้ใช้โดยเฉ.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และรถไฟความเร็วสูง · ดูเพิ่มเติม »

วัง

้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และวัง · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ว็อลฟส์บวร์ค

ว็อลฟส์บวร์ค (Wolfsburg) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐโลว์เออร์แซกโซนี ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 123,000 คน ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 5 ของรัฐโลว์เออร์แซกโซนีหากเรียงตามจำนวนประชากร เมืองนี้เป็นที่รู้จักในฐานะที่ตั้งสำนักงานใหญ่โฟล์กสวาเกนกรุ๊ป ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และว็อลฟส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์การค้า

ูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต เป็นศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช เป็นศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์การค้า คืออาคารหรือกลุ่มของอาคารที่มีการขายสินค้าและบริการแบบขายปลีกอยู่ในพื้นที่พัฒนาเดียวกัน โดยต้องมีพื้นที่เช่าสุทธิ (NLA) ไม่น้อยกว่าประมาณ 1,850 ตารางเมตร (20,000 ตารางฟุต) สำหรับการพัฒนาพื้นที่แบบมิกซ์ยูส จะไม่รวมเนื้อที่ของกิจการอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่ค้าปลีก พื้นที่ศูนย์การค้าสามารถอยู่ในร่มภายใต้อาคารเดียวกันหรืออยู่กลางแจ้งที่มีพื้นที่ติดต่อกันแบบเปิดโล่งก็ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ขายในศูนย์การค้าไม่ได้จัดแบ่งตามแผนก ขึ้นอยู่กับตัวแทนจำหน่ายที่จะขอเช่าพื้นที่หรือล็อกที่ศูนย์การค้าได้จัดสรรไว้ให้ จึงสามารถเห็นภัตตาคารตั้งอยู่ข้างร้านหนังสือหรือร้านเครื่องดนตรีก็ได้ในศูนย์การค้า ศูนย์การค้ามีความแตกต่างจากห้างสรรพสินค้า กล่าวคือ ห้างสรรพสินค้าจะเป็นผู้ไปติดต่อผู้ผลิตหรือพ่อค้าคนกลางเพื่อนำสินค้ามาขายเอง ในขณะที่ศูนย์การค้าไม่ต้องไปหาผลิตภัณฑ์มาวางขาย แต่เปิดให้เช่าพื้นที่กับตัวแทนจำหน่ายจากธุรกิจอื่น และมีการทำสัญญาเก็บค่าเช่าตามระยะเวลาที่กำหนด ในปัจจุบันมีสถานที่ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งศูนย์การค้าแต่มีห้างสรรพสินค้าตั้งอยู่ภายในในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปมักจะนับรวมทั้งอาคารเป็นศูนย์การค้าทั้งหม.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และศูนย์การค้า · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ

อ็นบีเอ (NBA) ย่อมาจาก National Basketball Association เป็นชื่อของลีกบาสเกตบอลอาชีพในอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีนักกีฬาบาสเก็ตบอลชั้นนำของโลกเล่นอยู่ในเอ็นบีเอนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้มาตรฐานระดับการแข่งขันนั้นถือว่าอยู่ในระดับสูง สัญลักษณ์ประจำเอ็นบีเอทางด้านขวานั้น เป็นภาพเงาของ เจอร์รี เวสต์ (อดีตเคยเป็นผู้จัดการทั่วไปของทีมเลเกอร์ส และทีมเมมฟิส กริซลีส์) เอ็นบีเอ ก่อตั้งขึ้นที่นครนิวยอร์ก ในวันที่ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สวนพฤกษศาสตร์

วนพฤกษศาสตร์ เป็นสถาบันทางวิชาการที่เป็นแหล่งรวบรวมพรรณพืชต่างๆ เอาไว้เพื่อทำการอนุรักษ์ ศึกษา วิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางด้านพฤกษศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ว่าด้วยพืช โดยมากจะมีการปลูกรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ตามแต่ละนโยบาย ลักษณะพื้นที่ และงบประมาณของสวนพฤกษศาสตร์นั้นๆ เช่น สวนกล้วยไม้ สวนสมุนไพร สวนพืชให้สี สวนพืชมีพิษ หรือ ตามการจัดจำแนกพืชเป็นวงศ์ต่างๆ เช่น วงศ์ปาล์ม วงศ์ขิงข่า เป็นต้น โดยสวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตรฐานจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น แปลงรวบรวมพรรณพืช ห้องสมุด หอพรรณไม้ ห้องปฏิบัติการ นอกจากงานด้านอนุรักษ์พืชแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสำหรับการศึกษาของนักวิจัย นักเรียนนักศึกษา หรือตอบสนองต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งแนวโน้มในปัจจุบันสวนพฤกษศาสตร์จะต้องตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น การเป็นแหล่งพันธุกรรมให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น Curitiba, ประเทศบราซิล.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสวนพฤกษศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสาธารณะ

วนลุมพินี สวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะ หมายถึงบริเวณสาธารณะที่ภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนตามชุมชนและเมืองต่างๆ โดยรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา ปัจจุบัน การจัดที่พักผ่อนหย่อนใจถือเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่สวนสาธารณะในความหมายนี้ อาจจัดสร้างโดยเอกชนแล้วอุทิศให้แก่ประชาชนก็ได้.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสวนสาธารณะ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สัมฤทธิ์

รื่องมือโบราณบางส่วนที่ทำจากสัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ (bronze; โบราณเขียน "สำริด") หมายถึง โลหะประสมทองแดงชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะแปรผันหลากหลาย ปกติมีดีบุกเป็นส่วนประกอบหลัก แต่บางครั้งก็มีธาตุอื่นๆ เช่นฟอสฟอรัส, แมงกานีส, อะลูมิเนียม หรือ ซิลิกอน สัมฤทธิ์เป็นโลหะที่แข็งแรง และเหนียว และมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางอุตสาหกรรม และมีความสำคัญเป็นพิเศษในสมัยโบราณ จนนักโบราณคดีเรียกยุคหนึ่งว่า ยุคสัมฤท.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตฮันเซอ

ทางอากาศของลือเบค "''ราชินีแห่งฮันเซ่อ''" สันนิบาตฮันเซอ (Hanseatic League) และรู้จักในชื่อ ฮันเซอ (Hanse) หรือ ฮันซา (Hansa) ด้วย คือกลุ่มพันธมิตรทางทหารของเมืองการค้าและสมาคมพ่อค้าที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรักษาเอกสิทธิ์ในการค้าขายตามชายฝั่งทะเลของยุโรปเหนือตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงทะเลเหนือ และบนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยยุคกลางตอนปลายไปจนถึงสมัยใหม่ตอนต้น (ราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึง คริสต์ศตวรรษที่ 17) เมืองฮันเซอมีระบบกฎหมายและการป้องกันที่เป็นของตนเองและระบบความช่วยเหลือระหว่างกันและกัน.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสันนิบาตฮันเซอ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐไวมาร์

รณรัฐไวมาร์ (Weimarer Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสาธารณรัฐไวมาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส

อินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส หรือ อีเซเอ เป็นชื่อของรถไฟความเร็วสูงที่มีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนีและยุโรปตะวันตก ทำรายได้สูงสุดในกลุ่มของดอยท์เชบาห์น โดยรู้จักกันกว้างขวางที่สุดในเยอรมนี ปัจจุบัน อีเซเอ มีรถไฟฟ้าทั้งหมด 259 ขบวน ในรูปแบบที่แตกต่างกัน 5 รุ่น ได้แก่ อีเซเอ 1 (ปรับใช้งานใน ค.ศ. 1991), อีเซเอ 2 (ค.ศ. 1996), อีเซเอ ที (ค.ศ. 1999), อีเซเอ 3 (ค.ศ. 1999) และ อีเซเอ ทีดี (ค.ศ. 2001–2003 กลับมาให้บริการอีกครั้งใน ค.ศ. 2007) โดยอีซีเอ 3 มีรุ่นย่อยมากที่สุด ผลิตโดย การขนส่งบอมบาร์ดิเออร์ และ ซีเมนส์ นอกจากในเยอรมนีแล้ว อีเซเอยังให้บริการในประเทศใกล้เคียงอีกด้วย เช่น อีเซเอ 1 วิ่งไปถึงเมืองบาเซิลและซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับอีเซเอ 3 วิ่งไปถึงเมืองลีแยฌและบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และวิ่งไปไกลถึงกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และอินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ฮันโนเฟอร์

ันโนเฟอร์ (Hannover) เป็นเมืองหลวงของรัฐนีเดอร์ซัคเซินในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,772 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) เคยถูกปกครองโดยเป็นรัฐร่วมประมุขของราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ โดยดยุกแห่งดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ต่อมาหลังจากสงครามนโปเลียน ได้ตั้งเป็นราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ ปัจจุบัน ฮันโนเฟอร์เป็นศูนย์กลางในการจัดงานแสดงสินค้าและการประชุม เป็นเจ้าภาพในการจัดงานแสดงนิทรรศการนานาชาติหรือเอ็กซ์โป 2000 และจัดงาน CeBIT กับ Hanover Fair เป็นประจำทุกปี ฮันโนเฟอร์เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และฮันโนเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ตัดสิน (ฟุตบอล)

ผู้ตัดสิน (referee) ในกีฬาฟุตบอลคือผู้เฝ้าดูการแข่งขันและมีอำนาจบังคับตามกติกาฟุตบอลในการแข่งขันนัดฟุตบอล การตัดสินของผู้ตัดสินถือเป็นคำชี้ขาดในการเล่น ผู้ตัดสินมีผู้ช่วยอีกสองคน เรียกว่าผู้ช่วยผู้ตัดสิน อาจเรียกว่า ไลนส์แมน (linesmen) และในบางครั้งยังมีผู้ตัดสินที่ 4 ผู้ตัดสินส่วนใหญ่เป็นผู้ตัดสินสมัครเล่น คือได้รับค่าจ้างเล็กน้อยต่อการแข่งขัน อย่างไรก็ตามในบางประเทศมีการกำหนดจำนวนของผู้ตัดสิน เพื่อตัดสินในการแข่งขันระดับสูงสุดในลีก ผู้ตัดสินในบางประเทศได้รับการว่าจ้างเป็นงานประจำจากสมาคมฟุตบอลแห่งชาติ ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ต้นฤดูกาล บวกกับค่าจ้างในแต่ละนัด ผู้ตัดสินอาชีพได้รับการฝึกและใบอนุญาตจากสมาคมภายใต้การดูแลของฟีฟ่าของแต่ละชาติ โดยสมาคมในแต่ละชาติจะรับรองผู้ตัดสินระดับยอดให้ฟีฟ่าเพื่อเป็นเกียรติให้บันทึกอยู่ในรายชื่อผู้ตัดสินระหว่างประเทศของฟีฟ่า ซึ่งในการแข่งขันระหว่างประเทศ ต้องการใช้ผู้ตัดสินของฟีฟ่า ส่วนในการแข่งขันท้องถิ่นของแต่ละประเทศ สมาคมแต่ละประเทศพิจารณาจากการปฏิบัติ อันดับ และการพัฒนาของผู้ตัดสินจาก การตัดสินรุ่นเยาวชนไปจนถึงการแข่งขันอาชี.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และผู้ตัดสิน (ฟุตบอล) · ดูเพิ่มเติม »

จักรยาน

accessdate.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และจักรยาน · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟ

ทางรถไฟในไซตามะ ทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรถไฟเป็นยานพาหนะ รางรถไฟนั้นประกอบด้วยรางสองราง ซึ่งปกติทำมาจากเหล็กกล้า วางบนวัตถุที่ตั้งฉากกับตัวราง โดยสร้างจากไม้หรือคอนกรีต วัตถุนี้เป็นตัวกำหนดระยะระหว่างของรางเรียกว่า "เกจ" (gauge).

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และทางรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ทิลล์ ออยเลนชปีเกล

แกะไม้รูปตัวตลกทิลล์ ออยเลนชปีเกล ในมือถือนกฮูกและกระจก จากหนังสือของ Straßburg ฉบับปี 1515 แก้ไข ทิลล์ ออยเลนชปีเกล (Mölln) ตัวตลกแต่งชุดทิลล์ ออยเลนชปีเกลในปัจจุบัน แก้ไข ทิลล์ ออยเลนชปีเกล (Mölln) ทิลล์ ออยเลนชปีเกล (Till Eulenspiegel) เป็นตัวละครในตำนานพื้นบ้านเยอรมันยุคกลาง ว่ากันว่าเป็นชายชาวชนบทจากเมืองเบราน์ชไวก์ที่ออกตระเวนท่องไปในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ โบฮีเมีย และอิตาลี ชอบทำอะไรตลกขบขัน เป็นที่พอใจของบุคคลทั่วไปที่ได้รู้จัก มีชีวิตอยู่ราว..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และทิลล์ ออยเลนชปีเกล · ดูเพิ่มเติม »

ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และดยุก · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์ทมุนท์

อร์ทมุนท์ (Dortmund) เป็นเมืองในประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ในเขตบุนเดสแลนด์ รัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย มีประชากรประมาณ 587,830 คน (ข้อมูลปี 2005) ดอร์ทมุนท์เป็นบ้านของสโมสรฟุตบอลโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (BVB 09) ซึ่งเตะในสนาม Signal Iduna Park (ชื่อเดิมคือ Westfalenstadion) ซึ่งเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และดอร์ทมุนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค

ราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค (Herzogtum Braunschweig-Lüneburg, Brunswick-Lunenburg) เป็นดัชชีที่เป็นรัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ดำรงอยู่ในช่วงยุคกลางตอนปลายจนกระทั่งถึงยุคใหม่ตอนต้น ระหว่างปี ค.ศ. 1235 จนถึงปี ค.ศ. 1806.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน

ลงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีชื่อว่า ดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน (Das Lied der Deutschen, แปลว่า "เพลงแห่งชาวเยอรมัน) หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ ดัสดอยท์ชลันด์ลีด (Das Deutschlandlied, แปลว่า "เพลงแห่งเยอรมนี") สำหรับในต่างประเทศในบางครั้งจะรู้จักกันในชื่อ "ดอยท์ชลันด์อือเบอร์อัลเลส" (Deutschland über alles, แปลว่า "เยอรมนีเหนือทุกสิ่ง") ซึ่งเป็นวรรคแรกและท่อนแยกของเพลงนี้ในบทที่ 1 แต่ชื่อดังกล่าวไม่ใช่ชื่อของเพลงนี้อย่างแท้จริง ทำนองของเพลงนี้ประพันธ์โดย โจเซฟ ไฮเดิน เมื่อปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 12

ริสต์ศตวรรษที่ 12 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1101 ถึง ค.ศ. 1200.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคริสต์ศตวรรษที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 13

ริสต์ศตวรรษที่ 13 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1201 ถึง ค.ศ. 1300.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคริสต์ศตวรรษที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 9

ริสต์ศตวรรษที่ 9 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 801 ถึง ค.ศ. 900.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคริสต์ศตวรรษที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ฟรีดริช เกาส์

ันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (1777-1855) โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (Johann Carl Friedrich Gauß) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1777) เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เป็นหนึ่งในตำนานนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มี อาร์คิมิดีส นิวตัน เกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" (Prince of Mathematics) เนื่องจากอุทิศผลงานในทุก ๆ ด้านของคณิตศาสตร์ในยุคสมัยของเขา นอกจากนี้เกาส์ยังมีผลงานสำคัญทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์อีกด้ว.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคาร์ล ฟรีดริช เกาส์ · ดูเพิ่มเติม »

คาซาน

ซาน (p; Qazan) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐตาตาร์สถาน ประเทศรัสเซีย มีประชากร 1,143,535 คน เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 8 ในประเทศรัสเซีย คาซานตั้งอยู่บนจุดรวมแม่น้ำโวลกาและแม่น้ำคาซาน.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคาซาน · ดูเพิ่มเติม »

คณะซิสเตอร์เชียน

ตราอาร์มของคณะซิสเตอร์เชียน คณะซิสเตอร์เชียน (Ordo Cisterciensis, Cistercian Order,.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคณะซิสเตอร์เชียน · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และนักบุญอันดรูว์ · ดูเพิ่มเติม »

นีม

นีม (Nîmes) หรือ นีเมส (Nimes) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดการ์ ในแคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง ประเทศฝรั่งเศส เมืองนีมเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานนับพันปี นับตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันเป็นต้นมา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักอีกแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสด้วย เมืองนีมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญในสมัยโรมโบราณ รวมทั้งอัฒจันทร์แบบโรมันโบราณ วิหารโรมัน (แมซงกาเร) และหอคอยมาญ ซึ่งสถานที่ทั้งสามยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จนเมืองนีมได้ถูกเรียกเป็น "กรุงโรมแห่งฝรั่งเศส" หอคอยมาญ (Tour Magne) อัฒจันทร์โบราณ.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และนีม · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์เฟิร์ต

แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt) หรือ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ (Frankfurt am Main) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเฮสส์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไมน์ (Main river) และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตและธนาคารกลางยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในเขตเมืองและปริมณฑลมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ชื่อเมืองแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี นิยมเรียกชื่อเต็มคือ "ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์" หมายถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ตที่อยู่บนแม่น้ำไมน์ เพื่อแยกความแตกต่างจากเมืองฟรังค์ฟวร์ทอันเดอร์โอเดอร์ (Frankfurt an der Oder) ริมฝั่งแม่น้ำโอเดอร์ในรัฐบรันเดนบูร์กทางด้านตะวันออกของประเท.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และแฟรงก์เฟิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย (ภาษาอังกฤษ: St. Catherine of Alexandria หรือ St. Catherine of the Wheel หรือ The Great Martyr Saint Catherine; ภาษากรีก: ἡ Ἁγία Αἰκατερίνη ἡ Μεγαλομάρτυς) เป็นนักบุญเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ ศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ถือกันว่านักบุญแคเธอรินเป็นมรณสักขีคนสำคัญ และทางศาสนจักรโรมันคาทอลิกนับนักบุญแคเธอรินเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ นักบุญแคเธอรินเป็นนักบุญองค์หนึ่งที่มาปรากฏตัวต่อนักบุญโยนออฟอาร.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

โอมาฮา

อมาฮา หรือ โอมาฮอ (Omaha) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา เป็นเคาน์ตีซีตของดักลาสเคาน์ตี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมิสซูรีห่างจากบริเวณที่แม่น้ำมิซูรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำแพลตต์ไปทางทิศเหนือราว 20 ไมล์ (30 กม.) จากข้อมูลการสำรวจประชากรในปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และโอมาฮา · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์

อน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ (Eintracht Braunschweig) หรือชื่อเต็ม Braunschweiger Turn- und Sportverein Eintracht von 1895 e.V. (BTSV) เป็นสโมสรฟุตบอลและสโมสรกีฬาจากเมืองเบราน์ชไวค์ รัฐโลว์เออร์แซกโซนี ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริชที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรีย

น์ริคที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรีย หรือ ไฮน์ริคสิงห์ (Heinrich der Löwe, Henry the Lion) (ราว ค.ศ. 1129 - 6 สิงหาคม ค.ศ. 1195) เฮนรีที่ 12 สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเกลฟ ผู้มีตำแหน่งเป็นปกครองเป็นดยุกแห่งแซกโซนีในนามว่า "ไฮน์ริคที่ 3" ตั้งแต..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และไฮน์ริชที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

ฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา เมืองพี่น้อง (Sister cities) และเมืองแฝด (Twin cities) เป็นคำที่ใช้เรียกเมืองที่การเจริญสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน (ส่วนใหญ่จะเป็นเมืองที่อยู่กันคนละประเทศ) โดยมีความร่วมมือกันระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ และสนับสนุนความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ถ่ายทอดซึ่งกันและกัน นำสิ่งดีๆที่อีกฝ่ายหนึ่งมี มาพัฒนาต่อยอดเมืองของตนเอง หรือในบางครั้ง เมืองพี่เมืองน้อง มักจะถูกตีความไปตามลักษณะเมืองที่มีความคล้ายคลึงกัน ทางด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองที่คล้ายคลึงกัน เราก็เรียกว่าเมืองพี่เมืองน้องได้ อย่างเช่น เมืองปายกับวังเวียง ที่มีบรรยากาศของเมืองพักกลางทางท่ามกลางขุนเขา ลำน้ำ และสายหมอกเหมือนกัน หรืออย่าง จังหวัดยโสธรกับเมืองโยชิดะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการเรียกว่าเป็นเมืองคู่แฝด เพราะมีประเพณีการเล่นบั้งไฟคล้ายคลึงกัน ในเมืองไทยมีหลายจังหวัดที่มีการเจริญความสัมพันธ์อันดีเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆทั่วโลก หรือเป็นเมืองพี่เมืองน้องกันเองภายในประเทศ อย่างกรุงเทพมหานคร ที่สถาปนาเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกรุงเทพมหานคร.กับจังหวัดแพร่ ภายหลังจากที่ กรุงเทพฯได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดแพร่ในการอนุญาตให้พลีต้นสักทองจำนวน 6 ต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ที่อำเภอเด่นชัย มาทำเป็นเสาชิงช้าต้นใหม่ หรือการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีกับเมือง Courtenay ประเทศแคนาดา ความเป็นเมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับเมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส จังหวัดเพชรบุรี กับข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่ เมืองน้องระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับเมืองพารามัตตา ประเทศออสเตรเลีย เหล่าล้วนเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและประชากรทั้งสองประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และเมืองพี่น้องและเมืองแฝด · ดูเพิ่มเติม »

เอาโทบาน

อาโทบานสาย 3 ตัดกับสาย 5 บริเวณแฟรงเฟิร์ต เอาโทบาน (Autobahn ออกเสียง: เอาโทบาน) เป็นศัพท์ภาษาเยอรมันหมายถึง ทางด่วนระหว่างเมือง ซึ่งเป็นทางคู่และมีทางยกระดับข้ามทางแยก ศัพท์คำนี้ใช้เรียกทางด่วนในเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ แต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปมักหมายถึงทางหลวงในเยอรมนี เอาโทบานในเยอรมนีเป็นทางด่วนที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าผ่านทาง ส่วนในออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์มีด่านเก็บค่าผ่านทาง ในเยอรมนีและออสเตรีย กำหนดให้พาหนะที่ใช้งานเอาโทบานได้ จะต้องเป็นพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กม/ชม (37 mph) ส่วนในสวิตเซอร์แลนด์ต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 80 กม/ชม (50 mph) ส่วนขีดจำกัดความเร็วนั้น กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 130 กม/ชม (80 mph) สำหรับออสเตรีย, ไม่เกิน 120 กม/ชม (75 mph) สำหรับสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนในเยอรมนีนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีจำกัดความเร็วสูงสุด แต่มีการกำหนดความเร็วแนะนำที่ 130 กม/ชม (80 mph) ยกเว้นในบางรัฐเช่น เบรเมิน ที่เริ่มจำกัดความเร็วเพื่อควบคุมระดับเสียงและลดมลภาวะ เอาโทบานในสมัยนาซีเยอรมนี ค.ศ. 1939 ทางหลวงในลักษณะเดียวกับเอาโทบานนี้ เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เบราน์ชไวค์และเอาโทบาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BraunschweigBrunswickบรันสวิคเบราน์ชไวก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »