โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทือกเขาวีรูงกา

ดัชนี เทือกเขาวีรูงกา

ทือกเขาวีรูงกา (Virunga Mountains) เป็นแนวภูเขาไฟในแอฟริกาตะวันออก ตามพรมแดนด้านเหนือของรวันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และยูกันดา เทือกเขานี้เป็นสาขาหนึ่งของอัลเปอร์ไทน์ริฟต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกรตริฟต์แวลลีย์ ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเอ็ดเวิร์ดและทะเลสาบกิวู คำว่า "วีรูงกา" เป็นคำในภาษาอังกฤษของคำว่า ibirunga ในภาษากินยาร์วันดา ซึ่งมีความหมายว่า "เทือกเขา" เทือกเขาวีรูงกาประกอบด้วยภูเขาไฟหลัก 8 ลูก ส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว ยกเว้นภูเขาไฟเอ็นยิรากอนโก (3,462 เมตร) และภูเขาไฟนัยยะมูรกิรา (3,063 เมตร) ทั้งสองอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ..

10 ความสัมพันธ์: บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติกอริลลาภูเขาภาษาอังกฤษภูเขาไฟสารานุกรมบริตานิกาสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกประเทศยูกันดาประเทศรวันดาแอฟริกาตะวันออกเกรตริฟต์แวลลีย์

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

#D59D00nbspเสี่ยงต่ออันตราย ตามที่ระบุใน “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ค.ศ. 2007” บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ บัญชีแดง (IUCN Red List of Threatened Species หรือ IUCN Red List หรือ Red Data List) บัญชีแดงที่เป็นดัชนีที่เริ่มสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 เป็นดัชนีรายชื่อที่สมบูรณ์ที่สุดของสถานภาพของสปีชีส์พืชและสัตว์ต่างๆ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นสถาบันหลักผู้มีอำนาจในการระบุฐานะสถานภาพต่างๆ ของสปีชีส์ นอกจากบัญชีแดงโดยทั่วไปแล้วก็ยังมีบัญชีแดงระดับท้องถิ่น (Regional Red List) ที่รวบรวมขึ้นโดยประเทศ หรือ องค์การต่างๆ ที่ประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์ภายในเขตการปกครองของแต่ละท้องถิ่นในความรับผิดชอบ “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” กำหนดขึ้นจากข้อกำหนด (criteria) ที่วางไว้อย่างจำเพาะเจาะจงในการประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์และสปีชีส์ย่อยเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของรวบรวมดัชนีรายชื่อก็เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเร่งด่วนเกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์แก่สาธารณชน และผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาคมนานาชาติในการพยายามลดจำนวนการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ต่างตามที่ระบุในดัชนี องค์การที่ร่วมในการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสปีชีส์หลักก็รวมทั้งองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International), สถาบันสัตวศาสตร์ (Institute of Zoology) (แผนกค้นคว้าของสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอน (Zoological Society of London), องค์การติดตามผลการอนุรักษ์นานาชาติ (Conservation Monitoring Centre) และกลุ่มชำนัญพิเศษต่างๆ ภายในคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ การประเมินระดับความเสี่ยงจากองค์การต่างๆ ดังว่ารวมกันได้เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของสปีชีส์ในบัญชีแดง “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นดัชนีที่มีความมีจุดมุ่งหมายและมีหลักการที่สุดในการจัดระดับสปีชีส์ตามระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินระดับความเสี่ยงของทุกสปีชีส์ใหม่ทุก 5 ถ้าทำได้ หรืออย่างน้อยก็ทุก 10 ปี ที่ทำโดยวิธีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) โดยคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ (Species Survival Commission (SSC)) ซึ่งเป็นกลุ่มชำนัญพิเศษของสหภาพเอง ผู้มีความรับผิดชอบดัชนีรายชือสปีชีส์, กลุ่มสปีชีส์ หรือ กลุ่มสปีชีส์ของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือในกรณีขององค์การชีวปักษานานาชาติก็จะตรวจสอบสปีชีส์ในอันดับนก “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ฉบับล่าสุดออกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาร์เซโลนาในประเทศสเปน.

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

กอริลลาภูเขา

กอริลลาภูเขา (Mountain gorilla) เป็นชนิดย่อยของกอริลลาตะวันออก (G. ฺberingei) ชนิดหนึ่ง กอริลลาภูเขาเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นพบกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเทือกเขาวีรูงกาในเขตแดน 3 ประเทศเท่านั้น คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, รวันดา และอูกันดา โดยแบ่งออกได้เป็นฝูงทั้งหมด 3 ฝูง ฝูงแรกมีชื่อเรียกว่า "วีรูงกา" มีจำนวนประมาณ 480 ตัว อาศัยอยู่ในเทือกเขาวีรูงกาและภูเขาไฟในอุทยานแห่งชาติทางตอนเหนือของรวันดา ในป่ามงตาน ซึ่งเป็นป่าไผ่ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 2,500–4,000 เมตร, ฝูงที่สองมีชื่อเรียกว่า "มจาฮิงจา" พบทางตอนใต้ของอูกันดา และ "บวินดี" พบในอุทยานแห่งชาติบวินดี ในอูกันดา อาศัยอยู่ในเทือกเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,500–2,300 เมตร มีประมาณ 400 ตัว โดยถือเป็นสถานที่ ๆ มีชื่อเสียงที่พบได้มากที่สุดอีกด้วย โดยจำนวนกอริลลาภูเขาในปัจจุบันในธรรมชาติมีประมาณ 880 ตัว กอริลลาภูเขา มีพฤติกรรมเหมือนกับกอริลลาชนิดอื่น ๆ คือ อาศัยอยู่เป็นครอบครัว ประกอบด้วยตัวผู้จ่าฝูงที่มีหลังขนหลังสีหงอกเทาหรือสีเงิน หรือที่เรียกว่า "หลังเงิน" (Silverback) ตัวเมียและลูก ๆ จัดเป็นกอริลลาที่มีขนาดใหญ่มากอีกชนิดหนึ่ง โดยเป็นกอริลลาที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากกอริลลาที่ลุ่มตะวันออก (G. b. graueri) ซึ่งถือเป็นกอรริลาตะวันออกอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ตัวผู้ที่โตเต็มที่หนักได้ถึง 195 กิโลกรัม (430 ปอนด์) และสูงเมื่อยืนด้วยสองขาหลังประมาณ 150 เซนติเมตร (59 นิ้ว) และน้ำหนักในตัวเมีย 100 กิโลกรัม (220 ปอนด์) และสูงประมาณ 130 เซนติเมตร (51 นิ้ว)ช่วงแขนที่วัดจากปลายนิ้วข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่งอาจยาวถึง 2 เมตร อาศัยอยู่ในป่าดิบทึบและป่าเมฆที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,200–4,300 เมตร (7,200–14,100 ฟุต) ในพื้นที่ ๆ อุณหภูมิมีความหนาวเย็นประมาณ 10 องศาเซลเซียสและชื้นแฉะ กอริลลาภูเขา เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมีชนิดพืชที่กินได้หลากหลาย เมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอุจจาระของมนุษย์ตามสุมทุมพุ่มไม้ต่าง ๆ หรีอบางครั้งอาจถ่ายทิ้งไว้ที่ระหว่างทาง มีพฤติกรรมย้ายที่หากินไปเรื่อย ๆ ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน ตัวผู้ในวัยโตเต็มที่จะกินอาหารมากถึงวันละ 30 กิโลกรัม ขณะที่ในตัวเมีย 18 กิโลกรัม ในฝูง ๆ หนึ่งประกอบไปด้วยตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง โดยมีตัวเมียประมาณ 3 ตัว และมีกอริลลาที่ยังไม่โตเต็มวัยซึ่งเป็นลูก ๆ อีกราว 3 ตัว ซึ่งแต่ละฝูงจะมีอาณาเขตเป็นของตัวเองชัดเจน โดยตัวผู้จ่าฝูงจะทำหน้าที่ปกป้องดูแลอาณาเขตของตัวเอง อีกทั้งยังมีพฤติกรรมคล้ายกับมนุษย์มาก กล่าวคือ จับคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต, มีการแข่งขันกันเองในหมู่พี่น้อง, ลูกตัวผู้มีการต่อสู้กับพ่อ หรือการที่จ่าฝูงที่อายุมากแล้วส่งมอบการเป็นจ่าฝูงให้แก่ตัวที่แข็งแรงกว่าตัวใหม่ขึ้นเป็นจ่าฝูงแทน เป็นต้นหน้า 7 จุดประกาย, Mountain Gorilla ออกเดินทางตามหากอริลลาภู.

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและกอริลลาภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดา

ูกันดา (Uganda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้ว.

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและประเทศยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรวันดา

รวันดา (กิญญาร์วันดา, อังกฤษ และRwanda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐรวันดา (กิญญาร์วันดา: Republika y'u Rwanda; Republic of Rwanda; République du Rwanda) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแต่อยู่ติดกับทะเลสาบเกรตเลกส์ (Great Lakes) ทางตะวันออกของประเทศ รวันดาเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่ทางระหว่างตอนกลางและตะวันออกของทวีปแอฟริกา มีประชากรร่วม ๆ 8 ล้านคน รวันดามีอาณาเขตติดต่อกับยูกันดาทางตอนเหนือ บุรุนดีทางตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนถึงตะวันตก และแทนซาเนียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ไล่ขึ้นมาถึงทางตะวันออก รวันดามีลักษณะทางภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ได้สมญานามจากเบลเยียม เจ้าอาณานิคมเก่าว่าเป็น ดินแดนแห่งเขาพันลูก (Pays des Mille Collines เป็นภาษาฝรั่งเศส หรือ Igihugu cy'Imisozi Igihumbi เป็นภาษากิญญาร์วันดา) รวันดายังถือเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในแอฟริกาส่วนภูมิภาค (ไม่นับเกาะเล็ก ๆ) เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดของประเทศรวันดาในระดับสากลคือเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทุตซีในปี พ.ศ. 2537 (1994) ซึ่งส่งผลให้ประชากรเกือบล้านคนต้องเสียชีวิตไป เศรษฐกิจของรวันดาล้วนมาจากการเกษตรกรรม แต่เกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ มิใช่เพื่อการค้า ในปัจจุบันที่ความหนาแน่นและจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่คุณภาพดินที่เสื่อมลงและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทำให้รวันดาเป็นประเทศที่มีปัญหาร้ายแรงด้านการขาดสารอาหารของประชาชนที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงประสบกับปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง หมวดหมู่:ประเทศรวันดา ร หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2505 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของเบลเยียม.

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและประเทศรวันดา · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เกรตริฟต์แวลลีย์

แนวหุบเขาทรุดถ่ายจากดาวเทียม เกรตริฟต์แวลลีย์ (Great Rift Valley) คือหุบเขารอยเลื่อนขนาดใหญ่ เป็นรอยแยกยาวต่อเนื่องขนาดยาวที่สุดในโลก ขนาดความกว้างประมาณ 30-100 กิโลเมตร เป็นหน้าผาดิ่งจากที่ราบสูงรอบ ๆ ลึกกว่า 450-800 เมตร พาดผ่าน 19 ประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เรียงกันได้ดังนี้ เริ่มต้นจากประเทศซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน เวสต์แบงก์ (ปาเลสไตน์) ผ่านเข้าสู่ทะเลแดง เลียบชายฝั่งอียิปต์และซูดาน ก่อนจะเข้าสู่เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) รวันดา บุรุนดี แทนซาเนีย แซมเบีย มาลาวี และสิ้นสุดในโมซัมบิก รวมความยาวที่พาดผ่านตั้งแต่เหนือจรดใต้ ประมาณ 6,750 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 เท่าของเส้นรอบวงโลก (เส้นศูนย์สูตร) โดยที่ขอบด้านข้างของหุบเขาทรุดสูงมากกว่า 2,000 เมตร หุบเขาทรุดเกิดจากการที่แผนเปลือกโลก 2 แผ่นแยกออกจากกัน คือ แผ่นเปลือกโลกที่รองรับคาบสมุทรอาหรับและแอฟริกาตะวันออก กับแผ่นเปลือกโลกที่รอบรับทวีปแอฟริกาทั้งทวีป ซึ่งค่อย ๆ แยกตัวออกจากกันอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดแนวทรุดตัวเป็นแนวยาว เกิดที่ที่ราบทรุดตัวแม่น้ำ ร่องธารลึก และภายในยุคหน้าน้ำทะเลจะท่วมเข้ามาจนกระทั่งตัดทวีปแอฟริกาขาดออกจากกัน.

ใหม่!!: เทือกเขาวีรูงกาและเกรตริฟต์แวลลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »