โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซปทิเมเนีย

ดัชนี เซปทิเมเนีย

ซปทิเมเนียในปี ค.ศ. 537 เซปทิเมเนีย (Septimania) คือภูมิภาคประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกของมณฑลแกลเลียนาร์โบเนนซิสของโรมัน ที่ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของทีโอโดริกที่ 2 กษัตริย์วิซิกอท ในปี..

15 ความสัมพันธ์: ชาววิซิกอทชาวแฟรงก์พรอว็องส์รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาสงครามครูเสดแอลบิเจนเซียนอาณาจักรชายแดนจักรวรรดิการอแล็งเฌียงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนีมแกลเลียนาร์โบเนนซิสแม่น้ำโรนแคว้นกาตาลุญญาแคว้นล็องก์ด็อก-รูซียงเทือกเขาพิเรนีสเคานต์แห่งตูลูซ

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและชาววิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

พรอว็องส์

มืองมุสตีเย-แซ็งต์-มารีในพรอว็องส์ พรอว็องส์ (Provence) โดยทั่วไปแล้วหมายถึงบริเวณที่ประกอบไปด้วยจังหวัดวาร์, โวกลูซ และบุช-ดูว์-โรน รวมทั้งบางส่วนของอาลป์-เดอ-โอต-พรอว็องส์และอาลป์-มารีตีม ซึ่งเป็นบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนติดกับประเทศอิตาลี เดิมพรอว็องส์เป็นจังหวัดโรมันนอกคาบสมุทรอิตาลี.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและพรอว็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา

รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา (خلافة قرطبة, Khilāfat Qurṭuba) ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือจากเมืองกอร์โดบา ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดแอลบิเจนเซียน

แผนที่ของล็องก์ด็อกก่อนสงครามครูเสดแอลบิเจนเซียน สงครามครูเสดแอลบิเจนเซียน หรือ สงครามครูเสดแคทาร์ (Albigensian Crusade หรือ Cathar Crusade; ค.ศ. 1209-ค.ศ. 1229) เป็นการสู้รบที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกเป็นฝ่ายริเริ่มขึ้นเพื่อกำจัดลัทธิแคทาร์ในแคว้นล็องก์ด็อก (ทางภาคใต้ของฝรั่งเศสปัจจุบัน) เนื่องจากทางคริสตจักรถือว่าลัทธินี้มีพฤติการณ์นอกรีต สงครามครั้งนี้ดำเนินการโดยชาวฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่และกลายเป็นประเด็นทางการเมืองในเวลาไม่นานนัก ผลจากสงครามทำให้มีผู้นับถือลัทธิแคทาร์ลดจำนวนลงไปมาก และยังเป็นการนำบริเวณอ็อกซิเทเนีย (Occitania) เข้ามาอยู่ในการอารักขาของราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดอิทธิพลของราชบัลลังก์อารากอนลงอีกด้วย เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงพยายามใช้วิธีทางการทูตเพื่อลดอำนาจของลัทธิแคทาร์ (Catharism) ลง แต่ได้รับผลสำเร็จเพียงเล็กน้อย และหลังจากปีแยร์ เดอ กัสแตลโน (Pierre de Castelnau) ผู้แทนของพระองค์ถูกฆาตกรรม (เชื่อกันว่าโดยผู้ที่เป็นสายให้แก่เคานต์แห่งตูลูซ) พระสันตะปาปาอินโนเซนต์จึงทรงประกาศครูเสดต่อล็องก์ด็อก โดยการประกาศมอบดินแดนที่ได้มาให้แก่ขุนนางฝรั่งเศสที่จะยกอาวุธเข้าช่วย ความรุนแรงในการต่อสู้นำไปสู่การยึดดินแดนของผู้คนที่มีวัฒนธรรมและประเพณีที่ใกล้ชิดกับราชรัฐกาตาลุญญา ประชากรประมาณ 200,000 ถึง 1,000,000 คนถูกสังหารระหว่างสงครามครั้งนี้ สงครามครูเสดแอลบิเจนเซียนมีบทบาทในการก่อตั้งทั้งคณะดอมินิกันและสถาบันการไต่สวนศรัทธาสมัยกลาง (Medieval Inquisition) ด้ว.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและสงครามครูเสดแอลบิเจนเซียน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรชายแดน

ริเวณชายแดนแห่งสเปน-ฝรั่งเศส บริเวณชายแดน หรือ อาณาจักรชายแดน หรือ อาณาจักรมาร์ช (March หรือ Mark) คือบริเวณชายแดนที่คล้ายคลึงกับพรมแดนเช่นภูมิภาคชายแดนเวลส์ (Welsh Marches) ซึ่งเป็นบริเวณระหว่างอังกฤษและเวลส์ หรือ ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย (Marca Hispanica) ที่ชาร์เลอมาญทรงกำหนดขึ้นในปี..

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและอาณาจักรชายแดน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิการอแล็งเฌียง

ร์ล มาร์แตลในยุทธการที่ตูร์ที่ทรงหยุดยั้งการรุกรานของอุมัยยะห์เข้ามาในยุโรป จักรวรรดิการอแล็งเฌียง (Carolingian Empire) เป็นคำประวัติศาสตร์ที่บางครั้งก็หมายถึงราชอาณาจักรแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ที่เห็นกันว่าเป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี จักรวรรดิการอแล็งเฌียงอาจจะถือว่าเป็นปลายสมัยจักรวรรดิแฟรงก์หรือต้นสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเป็นการเน้นถึงการที่สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงราชาภิเษกชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800 ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญและบรรพบุรุษของพระองค์เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงก์ (พระอัยกาชาร์ล มาร์แตลเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ) การราชาภิเกมิได้เป็นการประกาศการเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิใหม่ นักประวัติศาสตร์นิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มราชอาณาจักรแฟรงก์” ("Frankish Kingdoms" หรือ "Frankish Realm") ในการเรียกดินแดนบริเวณที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศสปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและจักรวรรดิการอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

นีม

นีม (Nîmes) หรือ นีเมส (Nimes) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดการ์ ในแคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง ประเทศฝรั่งเศส เมืองนีมเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานนับพันปี นับตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันเป็นต้นมา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักอีกแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสด้วย เมืองนีมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญในสมัยโรมโบราณ รวมทั้งอัฒจันทร์แบบโรมันโบราณ วิหารโรมัน (แมซงกาเร) และหอคอยมาญ ซึ่งสถานที่ทั้งสามยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จนเมืองนีมได้ถูกเรียกเป็น "กรุงโรมแห่งฝรั่งเศส" หอคอยมาญ (Tour Magne) อัฒจันทร์โบราณ.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและนีม · ดูเพิ่มเติม »

แกลเลียนาร์โบเนนซิส

แกลเลียนาร์โบเนนซิส (สีเหลือง) แกลเลียนาร์โบเนนซิส หรือ กัลเลียนาร์โบเนนซิส (อังกฤษ, Gallia Narbonensis) เป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นภูมิภาคล็องก์ด็อกและพรอว็องส์ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "แกลเลียทรานแซลไพนา" ซึ่งเดิมเป็นชื่อเรียกบริเวณกอล ที่อยู่บริเวณเทือกเขาแอลป์จากอิตาเลีย แกลเลียนาร์โบเนนซิสมีฐานะเป็นจังหวัดโรมันเมื่อปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช และเป็นดินแดนสำคัญนอกคาบสมุทรอิตาลีดินแดนแรกของจักรวรรดิ ทางตอนใต้ของจังหวัดจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางตอนเหนือและทางตะวันตกจรดทิวเขาเซแวนและเทือกเขาแอลป์ ต่อมาแกลเลียทรานแซลไพนาเปลี่ยนชื่อเป็น "แกลเลียนาร์โบเนนซิส" ตามชื่อของนาร์โบมาร์ตีอุส (นาร์บอน) เมืองหลวงที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 118 ก่อนคริสต์ศักราช โรมันเรียกจังหวัดนี้ว่า "โปรวินเกียนอสตรา" (จังหวัดของเรา) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "โปรวินเกีย" ต่อมาแผลงมาเป็นชื่อภูมิภาคหนึ่งของฝรั่งเศสคือ "พรอว็องส์".

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและแกลเลียนาร์โบเนนซิส · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโรน

แม่น้ำโรน (Rhone river) เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปยังทางมุมตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส โดยมีต้นแม่น้ำอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ที่ไหลมาจากสวิตเซอร์แลนด์ไปยังปากแม่น้ำที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แม่น้ำโรนมีความยาวทั้งสิ้น 813 กิโลเมตร แม่น้ำแยกออกเป็นสองแคว คือ "โรนใหญ่" (Grand Rhône) และ "โรนเล็ก" (Petit Rhône).

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและแม่น้ำโรน · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นกาตาลุญญา

กาตาลุญญา (Catalunya; Cataluña), กาตาลุญญอ (อารัน: Catalonha) หรือ แคทาโลเนีย (Catalonia) เป็นภูมิภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ปัจจุบัน สถานะทางรัฐธรรมนูญของภูมิภาคนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรสเปนซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นแคว้นปกครองตนเองแห่งหนึ่งของตน กับฌานาราลิตัตดากาตาลุญญา (ทบวงการปกครองในท้องถิ่น) ซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นสาธารณรัฐเอกราชหลังจากที่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม..

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและแคว้นกาตาลุญญา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง

ล็องก์ด็อก-รูซียง (Languedoc-Roussillon) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นอ็อกซีตานี หมวดหมู่:ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของฝรั่งเศส.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและแคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาพิเรนีส

ทือกเขาพิเรนีสตอนกลาง ยอดเขาบูกาเตในเขตสงวนธรรมชาติเนอูวีเยย์ เทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees; Pirineus; Pyrénées; Pirineos; Pirinioak) เป็นทิวเขาในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน เทือกเขานี้ยังแบ่งคาบสมุทรไอบีเรียออกจากฝรั่งเศสและมีความยาวประมาณ 430 กิโลเมตร (267 ไมล์) จากมหาสมุทรแอตแลนติก (อ่าวบิสเคย์) จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (แหลมแกร็วส์) ส่วนใหญ่แล้ว ยอดเขาหลัก ๆ จะเป็นแนวพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ซึ่งมีอันดอร์ราแทรกอยู่ตรงกลาง ข้อยกเว้นหลักของกฎนี้คือ บัลดารันที่เป็นของสเปน แต่ตั้งอยู่ทางลาดเขาด้านเหนือของทิวเขา ส่วนข้อผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่ ซาร์ดัญญา และดินแดนส่วนแยกของสเปนที่ชื่อยิบิอ.

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและเทือกเขาพิเรนีส · ดูเพิ่มเติม »

เคานต์แห่งตูลูซ

นตนาการของแรมงที่ 4 ผู้ก่อตั้งเคาน์ตีตริโปลี เคานต์แห่งตูลูซ (Count of Toulouse) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองเคาน์ตีตูลูซ เคานต์แห่งตูลูซคนแรก ๆ เป็นผู้บริหารเมืองและอาณาเขตภายใต้ราชวงศ์เมโรแว็งฌีย็อง เมื่อมาถึงสมัยของราชวงศ์กาโรแล็งเชียง การแต่งตั้ง “เคานต์” หรือ “ดยุก” ก็เป็นเรื่องทำกันเป็นปกติขึ้นและเป็นที่รู้จักกันดีมากขึ้น แต่ในที่สุดตำแหน่งก็กลายเป็นตำแหน่งสืบตระกูล “เคานต์แห่งตูลูซ” ที่เป็นตำแหน่งสืบตระกูลครองเมืองตูลูซและอาณาบริเวณรอบ ๆ มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนกระทั่งปี..

ใหม่!!: เซปทิเมเนียและเคานต์แห่งตูลูซ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Septimaniaเซ็พติเมเนีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »