โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เชอร์ชาห์สุรี

ดัชนี เชอร์ชาห์สุรี

อร์ ชาห์ สุรี (ค.ศ. 1486 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1545) (ภาษาเปอร์เซีย/فريد خان شير شاہ سوري – Farīd Xān Šer Šāh Sūrī, พระนามเดิม ฟาริด คาน, หรือนิยมกล่าวพระนามว่า เชอร์ คาน, "กษัตริย์เจ้าพยัคฆา") เป็นกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์ซูร์ ซึ่งปกครองจักรวรรดิซูร์ในอินเดียตอนเหนือ โดยมีเมืองหลวงที่เดลี โดยกำเนิดเป็นชาวอัฟกันพื้นเมือง โดยพระองค์สามารถยึดจักรวรรดิโมกุลมาเป็นของพระองค์ได้ในปีค.ศ. 1540 ต่อมาหลังจากสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 1545 พระโอรสจึงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ในพระนามว่า "อิสลาม ชาห์ สุรี" ในช่วงแรกนั้นรับราชการเป็นพลทหารของจักรวรรดิโมกุล ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ และต่อมาได้เป็นผู้ปกครองพิหาร ในปีค.ศ. 1537 ในขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุนเสด็จแปรพระราชฐานต่างเมือง เชอร์ คานได้นำกองทัพเข้าบุกยึดครองรัฐเบงกอลและสถาปนาราชวงศ์ซูร์ขึ้น พระองค์ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหลักแหลมทางด้านการวางแผน ทรงเป็นทั้งผู้ปกครองและจอมทัพผู้เก่งกล้า การจัดระเบียบการปกครองภายในจักรวรรดิในรัชสมัยของพระองค์เป็นการปูรากฐานสำคัญของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลในรัชสมัยต่อๆมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร ในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ซึ่งกินเวลาเพียง 5 ปีนั้น ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองทั้งพลเรือนและการทหาร และยังเริ่มการใช้สกุลเงิน "รูปี" และยังจัดระเบียบการไปรษณีย์ของอินเดียอีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงพัฒนาเมืองดินา-ปานาห์ ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุน และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น "เชอร์การห์" และยังพัฒนาเมืองปาตลีบุตร ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า "ปัฎนา" พระองค์ยังเป็นที่จดจำจากการฆ่าเสือขนาดตัวเต็มวัยด้วยมือเปล่าในป่าของพิหาร ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์ พระองค์ยังเป็นผู้ที่ปรับปรุงและขยาย "แกรนด์ ทรังก์ โรด" ซึ่งเป็นถนนที่เก่าแก่และมีความยาวที่สุดในอนุทวีปอินเดีย กินระยะทางจากจิตตะกองในบังคลาเทศ ไปยังคาบูลในอัฟกานิสถาน.

30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2015พ.ศ. 2029พ.ศ. 2080พ.ศ. 2083พ.ศ. 2088พลทหารกษัตริย์ภาษาเปอร์เซียรัฐพิหารรัฐอุตตรประเทศสารานุกรมบริตานิกาอนุทวีปอินเดียจักรพรรดิบาบูร์จักรพรรดิหุมายูงจักรพรรดิอักบัรจักรวรรดิโมกุลจิตตะกองธากาคริสต์ศตวรรษที่ 7คาบูลประวัติศาสตร์ประเทศบังกลาเทศประเทศอัฟกานิสถานประเทศอินเดียปัฏนาไปรษณีย์เสือเดลี17 พฤษภาคม22 พฤษภาคม

พ.ศ. 2015

ทธศักราช 2015 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและพ.ศ. 2015 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2029

ทธศักราช 2029 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและพ.ศ. 2029 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2080

ทธศักราช 2080 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและพ.ศ. 2080 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2083

ทธศักราช 2083 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและพ.ศ. 2083 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2088

ทธศักราช 2088 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและพ.ศ. 2088 · ดูเพิ่มเติม »

พลทหาร

ลทหาร (ย่อว่า พลฯ)หมายถึง ทหารเกณฑ์ หรือทหารที่สมัครเข้ากองประจำการเพราะกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นทหาร คือทหารกองประจำการที่ชั้นยศต่ำสุดในกองทัพ มีหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแล้วปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จ เมื่อบุคคลใดที่ได้รับราชการเป็นทหารเกณฑ์ ก็จะมีตำแหน่งเป็นพลทหาร.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและพลทหาร · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพิหาร

หาร คือ รัฐที่อยู่ในประเทศอินเดีย มีพุทธคยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภาษาที่ใช้ในรัฐพิหาร คือ ภาษาฮินดีถูกแบ่งเป็นสองส่วนด้วยแม่น้ำคงคาซึ่งไหลผ่านจากตะวันตกไปตะวันออก เดิมคือแคว้นมคธ มีสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พุทธคยา นาลันทา มีความสำคัญด้านคมนาคมขนส่งเพราะเป็นประตูสู่เนปาลและรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือ สินค้าเกษตรที่สำคัญคืออ้อย ปอ ชา มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาล สุราและเอทานอล.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและรัฐพิหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของประเทศโดยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาฮินดู เช่น เมืองพาราณสี อโยธยา (เมืองเกิดของพระราม) มธุรา (เมืองเกิดของพระกฤษณะ) และอัลลาลาบัดหรือเมืองโกสัมพีในสมัยพุทธกาล อุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐอุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2377.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและรัฐอุตตรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิบาบูร์

ซาฮีร์-อุด-ดิน มูฮัมมัด บาบูร์ หรือนิยมเรียกพระนามว่า จักรพรรดิบาบูร์ (نصیر الدین محمد همایون, Zahir-ud-din Muhammad Babur, พระบรมราชสมภพ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1483 - เสด็จสวรรคต 26 ธันวาคม ค.ศ. 1530) ทรงเป็นนักรบจากเอเชียกลางซึ่งมีชัยชนะและสถาปนาราชวงศ์โมกุลขึ้นบริเวณอนุทวีปอินเดีย และสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ แห่งจักรวรรดิโมกุล ทรงเป็นทายาทโดยตรงจากตีมูร์ผ่านทางพระราชบิดา และยังมีเชื้อสายของเจงกีส ข่านผ่านทางพระราชมารดา พระองค์เป็นผู้ที่นำอิทธิพลและวัฒนธรรมเปอร์เซียเข้าไปเผยแพร่ในอาณาจักรของพระองค์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการขยายอาณาจักรของโมกุลในเวลาต่อม.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและจักรพรรดิบาบูร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหุมายูง

นะซีร์ อุดดีน มุฮัมมัด ฮุมายูน (نصیر الدین محمد همایون) หรือนิยมเรียกพระนามว่า จักรพรรดิหุมายูง (हुमायूँ; ہمایوں; ราชสมภพ 7 มีนาคม ค.ศ. 1508 - สวรรคต 17 มกราคม ค.ศ. 1556) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา คือสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรโมกุลอันกว้างขวางที่รวมถึงอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และอินเดียทางตอนเหนือในปัจจุบัน ทรงปกครองจักรวรรดิทั้งหมดสองช่วงคือ ช่วงแรก ระหว่าง 26 ธันวาคม ค.ศ. 1530 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540 และช่วงที่สอง ระหว่าง 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1555 จนกระทั่งสวรรคตเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ. 1556 ซึ่งคล้ายกับกรณีของพระราชบิดาซึ่งเสียอาณาจักรในช่วงแรกของรัชสมัย แต่ด้วยความช่วยเหลือจากราชวงศ์ซาฟาวิดแห่งเปอร์เซีย พระองค์สามารถเอาชนะกลับคืนได้กว้างขวางกว่าเดิม ในขณะที่สวรรคต จักรวรรดิโมกุลได้ขยายอาณาบริเวณกว่าหนึ่งล้านตารางกิโลเมตร พระองค์ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในส่วนของอินเดียเมื่อปีค.ศ. 1530 ในขณะที่พระอนุชาต่างพระมารดา คือ คัมราน มีร์ซา (Kamran Mirza) ได้ปกครองคาบูล และละฮอร์ ซึ่งเป็นจักรวรรดิของพระราชบิดาทางตอนเหนือ สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายูงขึ้นครองราชย์ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง 22 พระชันษา ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ค่อยเจนจัดด้านการปกครองอาณาจักรของพระองค์นัก พระองค์เสียอาณาจักรโมกุลให้แก่เชอร์ชาห์สุรี (Sher Shah Suri) ขุนนางเชื้อสายอัฟกัน และในภายหลังได้อาณาจักรกลับคืนมาด้วยความช่วยเหลือของราชวงศ์เปอร์เซียในอีก 15 ปีต่อมา โดยหลังจากเสด็จกลับจากลี้ภัยในเปอร์เซียแล้วได้เกณฑ์เหล่าขุนนาง และคหบดีจากเปอร์เซีย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ธรรมเนียมในราชสำนักโมกุลนั้นได้รับอิทธิพลจากราชสำนักเปอร์เซีย รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ภาษา และวรรณคดีอีกด้วย นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ หลักศิลาจารึกต่าง ๆ นั้นได้ทำขึ้นเป็นภาษาเปอร์เซี.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและจักรพรรดิหุมายูง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอักบัร

ญะลาล อุดดีน มุฮัมมัด อักบัร (جلال الدین محمد اکبر; Jalaluddin Muhammad Akbar, 24 ตุลาคม พ.ศ. 2085 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2248) หรือที่รู้จักในชื่อ อักบัรมหาราช (Akbar the Great) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2099 ถึง พ.ศ. 2148 ด้วยการให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา พระองค์จึงถือเป็นกษัตริย์มุสลิมที่อยู่ในใจประชาชนอินเดียตลอดมา จักรพรรดิอักบัรเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิหุมายุน พระองค์ได้ประสูติกาล ณ รัฐสินธุ์ ขณะที่พระราชบิดาเสด็จหนีไปยังเปอร์เซีย พระองค์ได้ครองราชย์ต่อจากพระบิดาในปี พ.ศ. 2099 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 13 ปีเศษ พระองค์เคยย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองลัคเนาเป็นเวลา 13 ปี มีพระสหายคู่พระทัยชาวฮินดูคือ ราชามานสิงห์ ในรัชกาลของพระองค์ทรงได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และไม่บีบบังคับให้ศาสนิกอื่นให้เข้ามานับถือศาสนาอิสลามเช่นดังรัชกาลก่อน โดยทรงยกเลิกกฎเชซิยะห์ ซึ่งเป็นกฎหมายให้ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามต้องจ่ายภาษีสูงกว่าดาวสยาม วชิรปัญโญ, พระมห.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและจักรพรรดิอักบัร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโมกุล

ักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์ตีมูร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและจักรวรรดิโมกุล · ดูเพิ่มเติม »

จิตตะกอง

ตตะกอง (จิตตะกอง, চট্টগ্রাম, Chôţţogram, Chittagong) เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า อุตสาหกรรม และเมืองท่า ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบังกลาเทศ เป็นเมืองหลวงของแคว้นชื่อเดียวกัน เป็นเมืองท่าทางทะเลที่คับคั่งที่สุดในบังกลาเทศ มีประชากรมากกว่า 5.5 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ จิตตะกองเป็นเมืองที่มีมรดกที่หลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งอิสลาม ฮินดู และพุทธ เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือชาวโปรตุเกสเข้าครอบครองโดยสุลต่านเบงกอลใน..

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและจิตตะกอง · ดูเพิ่มเติม »

ธากา

กา (ঢাকা; Dhaka เดิมเขียนว่า Dacca) เป็นเมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ มีประชากร 13,900,027 คน (พ.ศ. 2546) ตั้งอยู่บนแม่น้ำบุรีคงคา (Buriganga River) ซึ่งเป็นร่องน้ำที่แยกจากแม่น้ำธเลศวรี (Dhaleshwari River) ในใจกลางของพื้นที่ปลูกปอกระเจาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรม การค้า และการปกครองของบังกลาเทศ เป็นเมืองค้าปอกระเจา ข้าวสาร เมล็ดพืชให้น้ำมัน น้ำตาล และชา อุตสาหกรรมในเมืองรวมถึงสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา นอกจากนี้ ธากายังขึ้นชื่อเรื่องงานหัตถกรรมด้วย ธากาทีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ 23°42' เหนือ 90°22'30" ตะวันออก (23.7, 90.375).

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและธากา · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 7

ริสต์ศตวรรษที่ 7 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 601 ถึง ค.ศ. 700.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและคริสต์ศตวรรษที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

คาบูล

ูล (Kabul): Kâb'l, ภาษาเปอร์เซีย: کابل) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอัฟกานิสถาน มีประชากรที่มีการประมาณการณ์ระหว่าง 2 - 4 ล้านคน เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม มีตั้งทางยุทธศาสตร์ในหุบเขาแคบ ๆ บนแม่น้ำคาบูล, ในภูเขาสูง ๆ ก่อนถึงช่องเขาไคเบอร์ คาบูลติดต่อกับพรมแดนทาจิกิสถานผ่านทางอุโมงค์ใต้เทือกเขาฮินดู คูช อยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,800 เมตร (5,900 ฟุต) ผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ของคาบูล คือ ปืนใหญ่ ผ้า เฟอร์นิเจอร์ และน้ำตาลบีท อย่างไรก็ดี สงครามที่มีมาต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2522 ได้จำกัดผลผลิตทางเศรษฐกิจของเมือง คาบูลเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการวางระเบิดไว้มากที่สุดในโลก ประชากรของคาบูลมีหลากหลายวัฒนธรรม และหลากหลายชนชาติ สะท้อนถึงความหลากหลายของอัฟกานิสถาน โดยที่ชนชาติพาชตุน ทาจิก และฮาซารา ประกอบเป็นประชากรของคาบูลส่วนใหญ่ คาบูลยังคงกำลังก่อสร้างใหม่ หลังจากที่เกิดสงครามมาหลายทศวรรษ ทำให้การสำรวจประชากรที่แม่นยำยาก จึงมีเฉพาะค่าประมาณ.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและคาบูล · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปัฏนา

ปัฏนา (อังกฤษ: Paṭnā ฮินดี: पटना) (ชื่ออื่น: ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งในประเทศอินเดีย ปัฏนาเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน ในสมัยพุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ในแคว้นมคธ ที่ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับการเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชี หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญ เพราะได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น) เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร (แคว้นมคธในสมัยโบราณ) มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและปัฏนา · ดูเพิ่มเติม »

ไปรษณีย์

ในที่ทำการไปรษณีย์ โดยในภาพเป็นที่ทำการไปรษณีย์นาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไปรษณีย์ เป็นคำที่มีความหมายได้หลายอย่าง อาจหมายถึง จดหมาย (mail) บริการรับส่งจดหมายและพัสดุภัณฑ์ (postal service) รวมทั้งเป็นคำเรียกย่อ ๆ ของ ที่ทำการไปรษณี.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและไปรษณีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เดลี

ลี หรือในชื่อท้องถิ่นว่า ดิลลี (Delhi, दिल्ली, ਦਿੱਲੀ, دلّی) ชื่อเต็มคือ National Capital Territory of Delhi (NCT) เป็นมหานครที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอินเดียและมีประชากรมากเป็นอันดับสองของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ เดลีเก่า และเดลีใหม่ (นิวเดลี) ซึ่งเป็นเมืองหลวงปัจจุบันของอินเดี.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและเดลี · ดูเพิ่มเติม »

17 พฤษภาคม

วันที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันที่ 137 ของปี (วันที่ 138 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 228 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและ17 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 พฤษภาคม

วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นวันที่ 142 ของปี (วันที่ 143 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 223 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เชอร์ชาห์สุรีและ22 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »