โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน

ดัชนี สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน

ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State หรือ Supreme Council of the State) เป็นสภาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่างๆ ด้านนิติบัญญัติ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานในที่ประชุม เมื่อข้อราชการใดเป็นที่เห็นชอบของเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุม ก็ให้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรา พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตด พุทธศักราช ๒๔๑๗ ระบุที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ว.

24 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2417พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล)พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณกฎหมายสภานิติบัญญัติสภาแห่งรัฐสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยามคณะองคมนตรีปรีวีเคาน์ซิลเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)8 พฤษภาคม

พ.ศ. 2417

ทธศักราช 2417 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1874.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพ.ศ. 2417 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)

ระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตกุล) (พ.ศ. 2362 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439) เป็นขุนนางในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ที่มีความรู้ในเชิงช่าง สามารถซ่อมเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า มีความสามารถในวิชาช่างชุบโลหะ สามารถประดิษฐ์สร้างเครื่องกลึง พระยากระสาปนกิจโกศล เดิมชื่อ โหมด เกิดเมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกั..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล)

ระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) เป็นบุตรของ พระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี (อธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ) กับคุณหญิงอิ่ม (ธิดา หลวงชาติสุรินทร) เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) · ดูเพิ่มเติม »

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์

ลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (3 กันยายน พ.ศ. 2386 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441) พระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร มาลากุล อดีตผู้บัญชาการกรมทหารเรือระหว่าง 8 เมษายน พ.ศ. 2430 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441 และทรงเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือในสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาท ร.ศ. 112อีกด้วย หม่อมเจ้าขจร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ประสูติแต่หม่อมกลีบ ต่อมาทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ ทรงเป็นผู้กำกับกรมช่างสิบหมู่ กรมพระคชบาล เป็นผู้ออกแบบสร้างพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข เพื่อเป็นที่ประทับในคราวเสด็จประพาสต้น เมื่อปี..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์

มหาเสวกเอก จางวางเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ประสูติเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท้าวทรงกันดาล (เจ้าจอมมารดาหุ่น) พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา

มหาอำมาตย์ตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร ทรงเป็นต้นราชสกุลจันทรทัต.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2411 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล รับหน้าที่เป็นนายด่าน ทำการก่อสร้างหอพระคันธารราฐ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งก่อสร้างค้างมาตั้งแต่รัชกาลก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสังเกตเห็นว่าพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นี้ มีพระอัธยาศัยนิยมศึกษาตัวบทกฎหมายและอรรถคดี จึงโปรดฯ ให้ไปศึกษากฎหมายและการพิจารณาความกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งทรงบัญชาการศาลรับสั่ง อยู่ในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตั้งองคมนตรีสภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นองคมนตรีในครั้งนั้นด้วย และแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี พิจารณาความรับสั่งบางเรื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตั้งศาลฎีกา ขึ้นในปี พ.ศ. 2419 พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล ทรงเป็นอธิบดีศาลฎีกา พระองค์แรก และทรงได้รับการสถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมหมื่นพิชิตปรีชากร และเป็นอธิบดีศาลแพ่งกลาง และศาลแพ่งเกษม อีก 2 ศาล ในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงขึ้นไปรักษาเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้ทรงจัดการศาลต่างประเทศ และจัดการระเบียบการปกครองภาคเหนือใหม่ ต่อมาเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2428 ทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ในปี พ.ศ. 2434 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงเป็นข้าหลวงใหญ่ เสด็จขึ้นไปว่าราชการอยู่ที่มณฑลอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองทางภาคอีสาน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงหัวเมืองชั้นนอก ประมาณ 20 หัวเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ยังมิได้รวมเป็นมณฑล ในการเสด็จออกตรวจราชการตามท้องที่ต่าง ๆ ทำให้พระองค์ทรงมีความรู้เกี่ยวกับชายแดนลาว และเขมร เป็นอย่างดี เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นผู้พิพากษาฝ่ายไทยร่วมกันพิจารณาคดีความร่วมกับฝรั่งเศส ในกรณีพระยอดเมืองขวาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ที่สอง สืบต่อจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์ ซึ่งถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเสด็จไปราชการ ณ ประเทศยุโรป และได้เป็นรัฐมนตรีในสภารัฐมนตรีอีกด้วย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2438/013/102.PDF พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงมีความรู้ด้านการแพทย์ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่คิดประดิษฐ์ปรุงยาไทยผสมกับยาต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีพระอัจฉริยภาพในด้านการพระนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเรื่อง เช่น ท้ายกาสีหา นางปทุมสังกา พระองค์ยังได้ร่วมกับพระเจ้าพี่ยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอจัดตั้งหอสมุดวชิรญาณขึ้นในปี พ.ศ. 2423 เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงศึกษาภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองจนกระทั่งอ่านสามารถ fiction และ novel ภาษาอังกฤษได้คล่อง ทรงนิพนธ์เรื่องสนุกนึก ซึ่งเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรก ที่เรียกว่าเป็นบันเทิงคดี ตามแบบอย่างนิยายฝรั่งถือเป็นนิยายเรื่องแรกของไทย ในปี พ.ศ. 2439 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เพราะทรงพระประชวร และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2452 พระชันษาได้ 53 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลคัคณาง.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 62 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) ซึ่งท้าววรจันทร์(เจ้าจอมมารดาวาด)เป็นธิดานายสมบุญ งามสมบัติ กับท้าวปฏิบัติบิณฑทาน (ถ้วย) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาประสูตรเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุนเบญจศก..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2399 พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ เป็นพระเจ้าน้องยาเธอที่มีบทบาทในงานวรรณกรรมในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดรุโณวาท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่เผยแพร่แก่ประชาชน และดำเนินการโดยคนไทย เริ่มออกฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2417 ชื่อหนังสือมีความหมายว่า "โอวาทหรือคำสอนของคนหนุ่ม" มีทั้งสารคดีและบันเทิงคดี มีสาระทันสมัย แสดงความสามารถและสติปัญญาของคนหนุ่มรุ่นใหม่ในยุคนั้น พระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย์ รับราชการในโรงพิมพ์และการเสื้อหมวก เป็นพนักงานจารึกอักษรในแผ่นศิลาประดับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2467 สิริพระชันษาได้ 67 ปี.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ

ระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ มีพระนามเดิมว่าพระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี ทรงเป็นต้นสกุล "จรูญโรจน์" ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สภาแห่งรัฐ

แห่งรัฐ (Council of State) เป็นชื่อหน่วยงานในหลายประเทศ ปรกติมีหน้าที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นศาลปกครอง หรือให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ ในบางประเทศทำหน้าที่เป็นองคมนตรีก็มี.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและสภาแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

อมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (11 มกราคม พ.ศ. 2402 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 เป็นพระราชโอรสลำดับสุดท้ายในพระบรมราชชนนี เมื่อพระบรมราชชนนีสวรรคตสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระชันษาเพียง 2 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ชาววังมักเอ่ยพระนามอย่างลำลองว่า "สมเด็จพระราชปิตุลาฯ" ส่วนชาวบ้านมักออกพระนามว่า "สมเด็จวังบูรพา" เพราะทรงมีวังชื่อว่า "วังบูรพาภิรมย์" ซึ่งก็คือตำแหน่งที่เป็นย่านวังบูรพาในปัจจุบัน และทรงเป็น "ตา" ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ตามพระประวัตินั้น ทรงเป็นจอมพลในรัชกาลที่ 7 ที่ทหารรักมาก เล่ากันมาว่าพวกทหารมักจะแบกพระองค์ท่านขึ้นบนบ่าแห่แหนในวาระที่มีการฉลองต่างๆ เช่น ฉลองคล้ายวันประสูติ เป็นต้น ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย ครั้งถึงร.7 ในพิธีบรมราชาภิเศก ทรงโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระปิตุลา(อา)แท้ๆที่เหลืออยู่พระองค์เดียวนี้เป็นสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ศักดินา 100,000 เป็นพิเศษ เทียบเท่า ศักดินา ตำแหน่ง พระบรมโอรสาธิราช, พระบรมราชินี, พระบรมราชเทวี ท่านจึงทรงเป็นผู้มีบุญพิเศษ ที่เป็นเจ้าฟ้าชั้นโทจากแรกประสูติ แล้วได้เฉลิมพระเกิยรติยศขึ้นเป็นเจ้าฟ้าชั้นพิเศษที่มีศักดินาสูงเช่นนี้ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงใช้คำว่า "ทิวงคต" ท่านได้เสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ทรงเป็นต้นราชสกุลภาณุพัน.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในรัชกาลที่ 4) ร่วมพระชนนีเดียวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี โดยเป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 42 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระอง.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณร.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม

วามคิดและความเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของราชอาณาจักรสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นประชาธิปไตยนั้น มีมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ร..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม · ดูเพิ่มเติม »

คณะองคมนตรี

ณะองคมนตรี (privy council) คือ กลุ่มบุคคลที่ให้คำปรึกษาแก่ประมุขแห่งรัฐ โดยทั่วไปในประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตย ในภาษาอังกฤษ คำว่า "privy" หมายถึง "ส่วนตัว" หรือ "ลับ" ดังนั้นแรกเริ่มเดิมที privy council คือคณะที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดที่สุดของกษัตริย์ที่ให้คำปรึกษาที่รักษาเป็นความลับในเรื่องกิจการรัฐ ประเทศที่มีสภาองคมนตรีหรือองค์กรเทียบเท่าในปัจจุบัน เช่น สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ, ประเทศแคนาดา, ราชอาณาจักรเดนมาร์ก, ราชอาณาจักรตองกา และ ราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและคณะองคมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ปรีวีเคาน์ซิล

ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (privy council) เป็นสภาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ตาม พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิล พุทธศักราช ๒๔๑๗ ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวน 49 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย ในปี..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและปรีวีเคาน์ซิล · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)

้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นเป็นข้าราชการชาวไทย ต้นสกุล "เพ็ญกุล" ผู้ก่อตั้งโรงละครอย่างตะวันตกโดยใช้ชื่อว่า ปรินซ์เธียร์เตอร์ (Prince Theatre) และการริเริ่มแสดงละครโดยเก็บค่าชม.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ นามเดิม หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ กับหม่อมสุด กุญชร ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๗ ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) · ดูเพิ่มเติม »

8 พฤษภาคม

วันที่ 8 พฤษภาคม เป็นวันที่ 128 ของปี (วันที่ 129 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 237 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและ8 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเคาน์ซิลออฟสเตดเคาน์ซิลออฟเสตด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »