โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แครอน

ดัชนี แครอน

อเล็กซานเดอร์ ลีตอฟเชนโค แครอน (Charon หรือ Kharon,; Χάρων) เป็นคนแจวของเฮดีสผู้นำวิญญาณของผู้เพิ่งตายข้ามแม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก บางครั้งญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจะใส่ "เหรียญของแครอน" (Charon's obol) ในปากของผู้เสียชีวิตเพื่อเป็นค่าโดยสาร นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้ที่ไม่มีเงินจ่ายค่าโดยสารหรือผู้ที่ไม่ได้ถูกฝังต้องเดินร่อนเร่อยู่ริมฝั่งเป็นเวลาหนึ่งร้อยปีจึงจะข้ามไปได้ วีรบุรุษที่ได้เดินทางข้ามจากมนุษยโลกไปยังยมโลก และข้ามกลับมายังมนุษยโลกอีกเช่น เฮราคลีส, ออร์เฟียส, อีเนียส, ไดอะไนซัส และไซคี ต่างก็ใช้เรือของแครอน.

6 ความสัมพันธ์: อีเนียสคิวปิดและไซคีไดอะไนซัสเหรียญของแครอนเฮราคลีสเฮดีส

อีเนียส

อีเนียสพาคนหนีจากเมืองทรอย อีเนียส (Aeneas) เป็นชื่อวีรบุรุษคนหนึ่งในตำนานปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายคนหนึ่งแห่งเมืองทรอย เป็นบุตรของเทพีอโฟรไดท์กับแอนไคซีส ญาติผู้น้องของท้าวเพรียม เจ้าเมืองทรอย อีเนียสจึงมีศักดิ์เป็นหลานของท้าวเพรียม เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเฮกเตอร์และปารีส อีเนียสมีส่วนร่วมรบอยู่ในสงครามเมืองทรอย แต่ได้รับการปกป้องระหว่างการรบหลายครั้งจากเทพมารดาคืออโฟรไดท์ รวมถึงอพอลโลและโพไซดอน ก่อนทรอยจะแตก อโฟรไดท์ช่วยให้อีเนียสหนีออกมาได้ เขาพาพลเมืองและทหารติดตามที่หลงเหลือ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ทรอยอีกจำนวนหนึ่ง เดินทางระหกระเหินไปจนถึงดินแดนอิตาลี และตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นชื่อว่า อาณาจักรโรมัน ด้วยเหตุนี้ เทพปกรณัมของโรมันจึงมีเค้าที่มาจากเทพปกรณัมของกรีก เป็นชื่อวีรบุรุษคนหนึ่งในตำนานปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายคนหนึ่งแห่งเมืองทรอย เป็นบุตรของเทพีอโฟรไดท์กับแอนไคซีส ญาติผู้น้องของท้าวเพรียม เจ้าเมืองทรอย อีเนียสจึงมีศักดิ์เป็นหลานของท้าวเพรียม เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเฮกเตอร์และปารีส อีเนียสมีส่วนร่วมรบอยู่ในสงครามเมืองทรอย แต่ได้รับการปกป้องระหว่างการรบหลายครั้งจากเทพมารดาคืออโฟรไดท์ รวมถึงอพอลโลและโพไซดอน ก่อนทรอยจะแตก อโฟรไดท์ช่วยให้อีเนียสหนีออกมาได้ เขาพาพลเมืองและทหารติดตามที่หลงเหลือ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ทรอยอีกจำนวนหนึ่ง เดินทางระหกระเหินไปจนถึงดินแดนอิตาลี และตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นชื่อว่า อาณาจักรโรมัน ด้วยเหตุนี้ เทพปกรณัมของโรมันจึงมีเค้าที่มาจากเทพปกรณัมของกรีก อี่เนียเมียตู่ดม (Aeneas) เป็นชื่อวีรบุรุษคนหนึ่งในตำนานปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายคนหนึ่งแห่งเมืองทรอย เป็นบุตรของเทพีอโฟรไดท์กับแอนไคซีส ญาติผู้น้องของท้าวเพรียม เจ้าเมืองทรอย อีเนียสจึงมีศักดิ์เป็นหลานของท้าวเพรียม เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเฮกเตอร์และปารีส อีเนียสมีส่วนร่วมรบอยู่ในสงครามเมืองทรอย แต่ได้รับการปกป้องระหว่างการรบหลายครั้งจากเทพมารดาคืออโฟรไดท์ รวมถึงอพอลโลและโพไซดอน ก่อนทรอยจะแตก อโฟรไดท์ช่วยให้อีเนียสหนีออกมาได้ เขาพาพลเมืองและทหารติดตามที่หลงเหลือ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ทรอยอีกจำนวนหนึ่ง เดินทางระหกระเหินไปจนถึงดินแดนอิตาลี และตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นชื่อว่า อาณาจักรโรมัน ด้วยเหตุนี้ เทพปกรณัมของโรมันจึงมีเค้าที่มาจากเทพปกรณัมของกรีก เป็นชื่อวีรบุรุษคนหนึ่งในตำนานปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายคนหนึ่งแห่งเมืองทรอย เป็นบุตรของเทพีอโฟรไดท์กับแอนไคซีส ญาติผู้น้องของท้าวเพรียม เจ้าเมืองทรอย อีเนียสจึงมีศักดิ์เป็นหลานของท้าวเพรียม เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเฮกเตอร์และปารีส อีเนียสมีส่วนร่วมรบอยู่ในสงครามเมืองทรอย แต่ได้รับการปกป้องระหว่างการรบหลายครั้งจากเทพมารดาคืออโฟรไดท์ รวมถึงอพอลโลและโพไซดอน ก่อนทรอยจะแตก อโฟรไดท์ช่วยให้อีเนียสหนีออกมาได้ เขาพาพลเมืองและทหารติดตามที่หลงเหลือ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ทรอยอีกจำนวนหนึ่ง เดินทางระหกระเหินไปจนถึงดินแดนอิตาลี และตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นชื่อว่า อาณาจักรโรมัน ด้วยเหตุนี้ เทพปกรณัมของโรมันจึงมีเค้าที่มาจากเทพปกรณัมของกรีกคนเห็นหมี หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: แครอนและอีเนียส · ดูเพิ่มเติม »

คิวปิดและไซคี

ประติมากรรมรูปคิวปิดและไซคี ''ไซคีและอมอร์'' หรืออีกชื่อ ไซคีขณะรับจูบแรกจากคิวปิด (''Psyche Receiving Cupid's First Kiss; ค.ศ.'' 1798) โดย François Gérard ผีเสื้อเหนือศีรษะของไซคีเป็นสัญลักษณ์ของความความบริสุทธิ์ก่อนการปลุกเร้าทางเพศDorothy Johnson, ''David to Delacroix: The Rise of Romantic Mythology'' (University of North Carolina Press, 2011), pp. 81–87. คิวปิดและไซคี (Cupid and Psyche) เป็นเรื่องจากนวนิยายละติน Metamorphoses หรืออีกชื่อหนึ่งว่า The Golden Ass เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 โดย แอพยูเลียส เนื้อหาว่าด้วยการเอาชนะอุปสรรคต่อความรักระหว่างไซคี (Ψυχή, "วิญญาณ" หรือ "ลมหายใจแห่งชีวิต") และคิวปิด (Cupido, "ความปรารถนา") หรืออมอร์ ("ความรัก", ตรงกับอีรอสของกรีก) และอยู่กินร่วมกันหลังสมรสในที่สุด แม้เรื่องเล่าโดยละเอียดของแอพยูเลียสจะเป็นชิ้นเดียวที่เหลือรอดจากยุคโบราณก็ตาม แต่อีรอสและไซคีปรากฏในศิลปะกรีกตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล องค์ประกอบทางลัทธิเพลได้ใหม่ของเนื้อเรื่องและการอ้างอิงถึงศาสนามิสเตอรีส์นำไปสู่การตีความอันหลากหลาย และถูกวิเคราะห์ว่าเป็นอุปมานิทัศน์ในรูปของนิทานพื้นบ้าน เทพนิยาย และตำนาน ตั้งแต่นวนิยายของแอพยูเลียสถูกค้นพบอีกครั้งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เรื่องราวของคิวปิดและไซคี ถูกเล่าใหม่ในรูปแบบของกวีนิพนธ์ นาฏกรรม และอุปรากร และยังถูกแสดงในภาพวาด ประติมากรรม และแม้แต่กระดาษปิดฝาผนัง.

ใหม่!!: แครอนและคิวปิดและไซคี · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะไนซัส

อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..

ใหม่!!: แครอนและไดอะไนซัส · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญของแครอน

แม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก โดยลูกา จอร์ดาโน เหรียญของแครอน (Charon's obol) หมายถึงเหรียญที่ใส่ในปากหรือบนปาก ของผู้ตายก่อนที่จะทำการฝัง ประเพณีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับประเพณีกรีกและโรมันโบราณ แต่ก็พบว่าทำกันในตะวันออกใกล้ด้วย และต่อมาในยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเคลต์ของวัฒนธรรมกอล-โรมัน, ฮิสเปเนีย-โรมัน และโรมันบริเตน และในกลุ่มชนเจอร์แมนิกของปลายยุคโบราณตอนปลาย และในสมัยคริสเตียนตอนต้น และมีปฏิบัติกันอยู่บ้างมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในวรรณกรรมภาษากรีกโบราณ และ ภาษาลาตินของตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2 กล่าวกันว่าเหรียญของแครอนใช้เป็นค่าโดยสารหรือค่าติดสินบนสำหรับแครอนคนพายเรือของเฮดีสผู้มีหน้าที่นำวิญญาณของผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตข้ามแม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าตำนานสะท้อนไปถึงวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันจริง และไม่แต่จะจำกัดอยู่เพียงใส่เหรียญเพียงเหรียญเดียวในปากเท่านั้น นอกจากนั้นก็ยังมีประเพณีการให้เหรียญหรือเงินจำนวนมากเช่นที่ทำกันในการฝังผู้ตายพร้อมกับเรือซึ่งก็ตรงกับอุปมาของความคิดดังกล่าว คำว่า "เหรียญของแครอน" ที่ใช้โดยนักโบราณคดีบางครั้งก็อาจจะหมายความถึงประเพณีทางศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่งแต่มักจะมีนัยยะถึงเงินที่ใช้โดยผู้ตายในยมโลกหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ในภาษาละติน เหรียญของแครอนบางครั้งก็เรียกว่า "viaticum" หรือ "sustenance for the journey" บางครั้งก็จะให้คำอธิบายว่าการใส่เหรียญในปากผู้ตายเป็นการป้องกันไม่ให้วิญญาณของผู้ตายกลับมาอีกได้.

ใหม่!!: แครอนและเหรียญของแครอน · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

ใหม่!!: แครอนและเฮราคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮดีส

(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.

ใหม่!!: แครอนและเฮดีส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Charon (mythology)เคอเริน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »