โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย

ดัชนี เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย

รื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย หมายถึงกกุธภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยและพระราชพิธีที่สำคัญอื่นๆ เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งแห่งประเทศไทย ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร หรือเรียกรวมกันว่า "เบญจราชกกุธภัณฑ์" กกุธภัณฑ์มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 2 มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น 7 สิ่ง.

14 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระมหาพิชัยมงกุฎพระมหากษัตริย์พระขรรค์พระแสงขรรค์ชัยศรีพิธีราชาภิเษกวาลวีชนีธารพระกรดาบฉลองพระบาทฉัตรประเทศไทยเครื่องราชกกุธภัณฑ์เครื่องราชอิสริยยศไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาพิชัยมงกุฎ

ระมหาพิชัยมงกุฎ ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 แสดงภาพจำลองพระมหาพิชัยมงกุฎ พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องทรงในพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและพระมหาพิชัยมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระขรรค์

ระขรรค์ คืออาวุธมีคม ลักษณะคล้ายดาบ มีคมสองด้าน ตรงกลางคอด สมมุติเป็นอาวุธของเทพเจ้า เห็นได้ในภาพประกอบเรื่องราวในวรรณคดี หรือตราสัญลักษณ์ที่มีเทวดาทรงพระขรรค์ นอกจากนี้ยังมีใช้ในพิธีกรรมสำคัญบางอย่างด้ว.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและพระขรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

พระแสงขรรค์ชัยศรี

ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 แสดงภาพจำลองพระแสงขรรค์ชัยศรี พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงศาสตราวุธประจำองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระขรรค์หมายถึง พระสติปัญญาความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง พระแสงองค์นี้มีประวัติอันเก่าแก่ พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นราชสมบัติจากเขมรเมืองพระนครตั้งแต่ยุคนครวัดถึงยุคนครธม มีหลักฐานสำคัญอยู่ในหลักศิลาจารึก วัดศรีชุม ยุคสุโขทัย ว่าพระเจ้าแผ่นดินเขมรนครธมสมัยนั้น พระราชทาน "ขรรค์ชัยศรี" ให้พ่อขุนผาเมืองแห่งกรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัย พร้อมด้วยธิดานามว่าสุขรมหาเทวี ให้เป็นชายา พระแสงขรรค์ชัยศรีจึงตกเป็นพระราชสมบัติของพ่อขุนผาเมืองนี้เอง เป็นพยานสำคัญแสดงว่าพ่อขุนผาเมืองก็คือพระเจ้าอู่ทองที่ครองกรุงศรีอโยธยาศรีรามเทพนคร (หรือต่อมาเป็นกรุงศรีอยุธยา) เพราะมีในพงศาวดารเหนือยืนยันสอดรับ ว่าท้าวอู่ทองเสด็จลงมาจากเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัยสุโขทัย) แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยพระแสงขรรค์ชัยศรีก็เป็นสมบัติกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา สุดท้ายจวบจนสมัยพระเจ้าเอกทัศ เบญจราชกกุธภัณฑ์ก็ได้หายสาปสูญไป รวมทั้งพระแสงขรรค์ชัยศรีซึ่งท้ายสุดไปตกจมอยู่ในทะเลสาบเขมร (Tonle sap) ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ชาวประมงได้ทอดแหแล้วเห็นพระขรรค์องค์นี้ ชาวประมงผู้นั้นจึงนำมาถวายเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เจ้าเมืองเสียมราฐ และเจ้าเมืองเสียมราฐได้นำทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อวันที่พระแสงองค์นี้มาถึงกรุงเทพมหานคร ได้เกิดฟ้าผ่าในพระนครถึง ๗ แห่ง เช่นที่ประตูวิเศษไชยศรีในพระราชฐานชั้นนอก ประตูพิมานไชยศรีในพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นทางที่อัญเชิญพระแสงองค์นี้เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นพระแสงศาสตราวุธที่สำคัญที่สุดในพระราชพิธีที่สำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและพระแสงขรรค์ชัยศรี · ดูเพิ่มเติม »

พิธีราชาภิเษก

น ดาร์ก'' (''Jeanne d'Arc'') พ.ศ. 2429-2433 โดยฌูลส์ เออแฌน เลอเนิปเวอ พิธีราชาภิเษก (coronation) เป็นเป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษกซึ่งมีพระราชอำนาจ อย่างเป็นทางการ เกี่ยวข้องกับการวางมงกุฎบนพระเศียรของพระองค์หรือการนำเสนอเครื่องราชกกุธภัณฑ์รายการอื่น โดยพิธีการนี้อาจหมายรวมถึง การตรัสคำปฏิญาณพิเศษโดยกษัตริย์ การแสดงคารวะจากคนในบังคับ ของผู้ปกครองใหม่ และการแสดงพิธีกรรมอื่น ซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อชาตินั้น.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและพิธีราชาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

วาลวีชนี

ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 แสดงภาพวาลวิชนีและพระแส้หางจามรีจำลอง พัดวาลวิชนี และ พระแส้หางจามรี เป็นเครื่องใช้ประจำองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระแส้หางจามรีมีที่มาจากคำว่า "จามร" ซึ่งเป็นแส้ทำด้วยขนหางจามรี ส่วนวาลวิชนี เดิมนั้นคือพัดใบตาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ชื่อ วาลวิชนี นั้น คำว่า"วาล" เป็นขนโคชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า "จามรี" จึงทรงทำแส้ขนจามรีขึ้น มีด้ามเป็นแก้ว ต่อมา ได้เปลี่ยนขนจามรีเป็นขนหางช้างเผือกแทน และใช้คู่กันกับพัดวาลวิชนี ซึ่งประดิษฐ์จากใบตาล ด้ามและลวดลายประกอบทำด้วยทองลงยา หมวดหมู่:เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและวาลวีชนี · ดูเพิ่มเติม »

ธารพระกร

ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 แสดงภาพธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์จำลอง ธารพระกร อันเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือเป็นไม้เท้าของพระมหากษัตริย์นั้น เดิมเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ เนื่องจากทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทอง หัวและส้นเป็นเหล็ก คร่ำลายทอง ใช้ในพระราชพิธีฉัตรมงคล หมวดหมู่:เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและธารพระกร · ดูเพิ่มเติม »

ดาบ

ญี่ปุ่น หรือ คะตะนะ เป็นดาบที่มีคมด้านเดียว ดาบ เป็นชื่อเรียกของอาวุธที่มีขนาดยาวและมีคมที่ด้าน มีการใช้ทั่วโลกโดยมีชื่อเรียกและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ส่วนประกอบหลักของดาบจะประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ คมดาบ ไว้สำหรับฟันและตัด, ปลายดาบไว้สำหรับแทง, และ ด้ามดาบไว้สำหรับจับถือ.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและดาบ · ดูเพิ่มเติม »

ฉลองพระบาท

ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 แสดงภาพฉลองพระบาทเชิงงอนจำลอง ฉลองพระบาทเชิงงอนเป็นสิ่งประจำองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือรองเท้าของพระมหากษัตริย์ ที่ทำมาจากเกือกแก้ว ซึ่งหมายถึง ผืนแผ่นดินอันเป็นที่รองรับของเขาพระสุเมรุ และเป็นที่อยู่อาศัยของ อาณาประชาราษฎร์ทั่วทั้งแว่นแคว้น ฉลองพระบาทเชิงงอนนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามแบบประเพณีอินเดียโบราณ หมวดหมู่:เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและฉลองพระบาท · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตร

ระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ฉัตร เป็นเครื่องสูงสำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติยศ ฉัตรมีรูปร่างคล้ายร่มที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ฉัตรถือเป็นของสูง เปรียบเสมือนสวรรค์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจักรวาล.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและฉัตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

รื่องราชกกุธภัณฑ์ 5 อย่าง) แห่งราชอาณาจักรไทย กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ (Crown jewels) ตามรูปศัพท์แปลว่าเครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลี มาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงหมายถึง อุปกรณ์, เครื่องทรง และ/หรือ สิ่งอื่นๆ ที่เป็นของพระมหากษัตริย์ของประเทศต่างๆ ที่มอบให้แก่พระมหากษัตริย์องค์ต่อไปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการมอบสิทธิในการครองราชบัลลังก์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จะประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ, พระแสงขรรค์ชัยศรี, ธารพระกร, วาลวิชนี(พัดวาลวิชนี,พระแส้จามรี), ฉลองพระบาทเชิงงอน และสิ่งอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นสิ่งประกอบเกียรติยศของประมุขของประเทศตามแต่ประเทศไป.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยยศไทย

รื่องยศ หรือ เครื่องราชอิสริยยศ คือ เครื่องหมายแสดงเกียรติยศ เครื่องประกอบยศ และบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยโบราณสร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานให้แก่ ราชตระกูล ขุนนาง ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ที่มีตำแหน่ง หน้าที่ ความชอบในแผ่นดินให้ปรากฏตามยศชั้น และฐานันดรศักดิ์นั้นๆ ของผู้ได้รับพระราชทาน จากจดหมายเหตุของ นิโคลาส แซแว กล่าวถึงความหมายของเครื่องยศในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า เราจะรู้จักความสำคัญของขุนนางเหล่านี้ในหน้าที่สาธารณได้ ไม่เพียงแต่จากหีบหมากพระราชทาน จากรูปพรรณและเนื้อโลหะ ขอบหลอมพอก จากฐานะของเรือที่ใช้เป็นยานพาหนะ จากดาบที่คาด หรือที่มีผู้เชิญไปข้างหน้าเท่านั้น แต่ยังจะรู้ได้จากจำนวนทาสที่ติดตามหลังอีกด้ว.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยยศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เบญจราชกกุธภัณฑ์เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »