โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคมีบำบัด

ดัชนี เคมีบำบัด

มีบำบัด (chemotherapy) หรือ คีโม (chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง) ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น.

23 ความสัมพันธ์: พันธุศาสตร์การบริบาลบรรเทาการกลายพันธุ์การกดภูมิคุ้มกันการรักษาแบบมุ่งเป้าการถ่ายโอนสัญญาณการแบ่งเซลล์การแพร่กระจายมะเร็งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์มะเร็งเต้านมลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่างศัลยศาสตร์อะพอพโทซิสทางเดินอาหารข้ออักเสบรูมาตอยด์โรคภูมิต้านตนเองโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งไมโทซิสไขกระดูกเซลล์

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การบริบาลบรรเทา

การรักษาบรรเทา, การบริบาลประทัง (palliative treatment, palliative care) หรือนิยมเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคอง คือการให้การดูแลรักษาแบบใดๆ ทางการแพทย์ ที่เน้นไปที่การลดความรุนแรงของอาการของโรค มากกว่าจะหยุด ชะลอ หรือย้อนกระบวนการของโรค หรือรักษาให้หายจากโรค เป้าหมายของการรักษาแบบนี้คือเพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงหรือซับซ้อนมาก การรักษาบรรเทานี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับพยากรณ์โรคของผู้ป่วยว่าดีหรือแย่เพียงใด และสามารถให้พร้อมกันกับการรักษาเพื่อให้หายและการรักษาอื่นๆ ทั้งหลายได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างการรักษาบรรเทากับการรักษาระยะสุดท้าย (hospice care) ซึ่งเป็นการให้การรักษาบรรเทากับผู้ป่วยระยะสุดท้าย การรักษาทั้งสองแบบในสหรัฐอเมริกามีหลักการบางอย่างร่วมกันแต่มีแหล่งเงินสนับสนุนคนละแหล่งกัน.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและการบริบาลบรรเทา · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและการกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การกดภูมิคุ้มกัน

การกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppression) คือการที่มีการลดการกระตุ้นของระบบภูมิคุ้มกัน หรือลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ในบางกรณีแพทย์อาจตั้งใจให้การรักษาด้วยการกดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะปลูกถ่าย เพื่อรักษาภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย หรือเพื่อรักษาโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ลูปัส ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กลุ่มอาการโจเกรน หรือโรคโครห์น การรักษาด้วยการกดภูมิคุ้มกันเหล่านี้มักทำโดยใช้ยากดภูมิคุ้มกันเป็นส่วนใหญ่ วิธีอื่นเช่น การผ่าตัด (ผ่าตัดเอาม้ามออก) การกรองพลาสมา หรือการฉายรังสี เป็นต้น หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:วิทยาภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและการกดภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

การรักษาแบบมุ่งเป้า

การรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นวิธีการรักษาด้วยยาอย่างหนึ่งโดยใช้ยาที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วยวิธีการไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเป้าหมาย (targeted molecule) ที่จำเป็นต่อการเจริญของเซลล์มะเร็ง แทนที่จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วอย่างเคมีบำบัดทั่วไป ทางทฤษฎีแล้วการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า น่าจะได้ประสิทธิภาพดีกว่าและเป็นอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่าการรักษาในปัจจุบัน แม้ในภาษาอังกฤษการใช้คำนี้ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ โดยบางครั้งมีการกล่าวว่าการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้นั้นยังมีความจำเพาะไม่มากพอ คำ targeted therapy นี้หลายครั้งก็ยังถูกใส่เครื่องหมายคำพูดเอาไว้ (เช่น ใช้เป็น "targeted therapy" หรือ 'targeted therapy').

ใหม่!!: เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายโอนสัญญาณ

วิถีการถ่ายโอนสัญญาณหลัก ๆ (แบบทำให้ง่าย) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเซลล์ การถ่ายโอนสัญญาณ หรือ การแปรสัญญาณ (signal transduction) เป็นกระบวนการทางเคมีหรือทางกายภาพโดยเป็นลำดับการทำงาน/ลำดับเหตุการณ์ในระดับโมเลกุล ที่โมเลกุลส่งสัญญาณ (ปกติฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท) จะเริ่มการทำงาน/ก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับ ซึ่งในที่สุดมีผลให้เซลล์ตอบสนองหรือเปลี่ยนการทำงาน โปรตีนที่ตรวจจับสิ่งเร้าโดยทั่วไปจะเรียกว่า หน่วยรับ (receptor) แม้ในบางที่ก็จะใช้คำว่า sensor ด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการจับของลิแกนด์กับหน่วยรับ (คือการพบสัญญาณ) จะก่อลำดับการส่งสัญญาณ (signaling cascade) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ทางเคมีชีวภาพตามวิถีการส่งสัญญาณ (signaling pathway) เมื่อวิถีการส่งสัญญาณมากกว่าหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกันและกัน นี่ก็จะกลายเป็นเครือข่าย เป็นการประสานการตอบสนองของเซลล์ บ่อยครั้งโดยเป็นการส่งสัญญาณแบบร่วมกัน ในระดับโมเลกุล การตอบสนองเช่นนี้รวม.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและการถ่ายโอนสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเซลล์

Three types of cell division การแบ่งเซลล์คือกระบวนการที่เซลล์ตั้งต้น (parent cell) แบ่งตัวออกเป็นเซลล์ลูก (daughter cell) จำนวนสองเซลล์ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:วัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:กระบวนการของเซลล์ หมวดหมู่:เทโลเมียร์.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและการแบ่งเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจาย (metastasis) คือการที่มะเร็งได้แพร่ออกมาจากอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะเดิม ไปยังอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอื่น ที่ไม่ได้อยู่ติดกันกับส่วนเดิม หมวดหมู่:วิทยามะเร็ง.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและการแพร่กระจาย · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: เคมีบำบัดและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกติคือป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและโรคบางชนิด ทำให้ลิมโฟซัยต์ทำหน้าที่ผิดปกติไป ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติอาจแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติหรืออาจมีอายุยืนกว่าปกติ ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติเหล่านี้อาจอยู่เป็นก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก ในเลือด หรือในอวัยวะอื่นได้.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's lymphoma) หรือ โรคฮอดจ์กิน (Hodgkin's disease) เป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดหนึ่งที่ได้รับการอธิบายโดย Thomas Hodgkin ในปี พ.ศ. 2375 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีลักษณะทางคลินิคคือจะแพร่กระจายจากต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปยังต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปเรื่อยๆ และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายในที่สุด ทางพยาธิวิทยาจะพบว่าโรคนี้มี Reed-Sternberg cell อยู่ โรค Hodking'sมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นโรคมะเร็งชนิดแรกที่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสี ต่อมาก็เป็นมะเร็งชนิดแรกที่ได้รับการรักษาด้วย combination chemotherapy อีกด้วย อัตราการรักษาอยู่ที่ประมาณ 93% ทำให้โรคนี้เป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (Acute myeloid leukemia, acute myelogenous leukemia, AML) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดในสายไมอิลอยด์ มีลักษณะเฉพาะของโรคคือมีการเจริญอย่างรวดเร็วผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ สะสมในไขกระดูกจนรบกวนการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ แม้มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะเป็นโรคที่ค่อนข้างพบน้อยโดยนับเป็น 1.2% ของการตายจากมะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม อุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เกิดจากการที่เซลล์ในไขกระดูกถูกแทนที่โดยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งทำให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวปกติน้อยลง อาการเหล่านี้เช่น อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย เลือดออกง่าย มีจ้ำตามตัวง่าย ติดเชื้อง่าย ถึงแม้จะมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์แล้วหลายอย่างก็ตามแต่สาเหตุที่แท้จริงของโรคนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และเช่นเดียวกันกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดอื่นๆ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายในเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีวิธีการรักษาและพยากรณ์โรคแตกต่างกัน อัตรารอดชีวิตที่ห้าปีมีตั้งแต่ 15-70% และอัตราการกลับเป็นซ้ำมีตั้งแต่ 78-33% แล้วแต่ชนิด การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ในระยะแรกนั้นใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยมุ่งเหนี่ยวนำให้โรคสงบ โดยผู้ป่วยอาจต้องได้รับเคมีบำบัดเพิ่มเติมหรือต้องได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโลหิตในไขกระดูก งานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านพันธุศาสตร์เกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ทำให้มีการทดสอบที่สามารถทำนายได้ว่ายาชนิดใดจะได้ผลดีกับผู้ป่วยรายใดโดยเฉพาะ และยังทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากเท่าใดอีกด้ว.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและมะเร็งเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง หรือ เอสแอลอี (systemic lupus erythematosus, SLE, lupus) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเข้าโจมตีเนื้อเยื่อปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการป่วย ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายแบบตั้งแต่เล็กน้อยแทบไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต อาการที่พบบ่อยได้แก่ ข้ออักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ผมร่วง แผลในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และมีผื่นแดง ซึ่งมักพบที่บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยมักมีระยะที่อาการเป็นมาก อาจเรียกว่าระยะกำเริบ และระยะที่อาการเป็นน้อย เรียกว่าระยะสงบ สาเหตุที่แท้จริงของเอสแอลอีนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในแฝดไข่ใบเดียวกัน (แฝดเหมือน) จะพบว่าหากคนหนึ่งป่วยเอสแอลอี อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูงถึง 24% ที่จะเป็นโรคด้วย ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าเพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้แก่ ฮอร์โมนเพศหญิง แสงแดด การสูบบุหรี่ ภาวะพร่องวิตามินดี และโรคติดเชื้อบางชนิด กลไกหลักที่ทำให้เกิดอาการของโรคคือการเกิดแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อร่างกายตัวเอง เรียกว่า ออโตแอนดิบอดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแอนติบอดีต่อนิวเคลียส ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ การวินิจฉัยบางครั้งอาจทำได้ยาก ต้องใช้ทั้งอาการและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการประกอบกัน โรคอื่นๆ ในกลุ่มของโรคลูปัสมีอีกหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคอาจมีอาการทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่างจากเอสแอลอี โรคเหล่านี้ เช่น ลูปัส อีริทีมาโตซัส ชนิดรูปคล้ายจาน, ลูปัส อีริทีมาโตซัส ที่ผิวหนังแบบกึ่งเฉียบพลัน และ ลูปัส อีริทีมาโตซัส ในทารกแรกเกิด เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเอสแอลอีให้หายขาด การรักษาจะเน้นไปที่การระงับอาการด้วยการลดการอักเสบ และลดกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาที่ใช้ เช่น ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน และเมโทเทรกเซท ส่วนการแพทย์ทางเลือกนั้นยังไม่พบว่ามีวิธีใดที่รักษาแล้วเห็นผล ผู้ป่วยอาจมีอายุขัยสั้นกว่าคนปกติ โดยโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ป่วย 80% จะอยู่รอดได้นานกว่า 15 ปี หากผู้ป่วยหญิงเกิดตั้งครรภ์จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก แต่ส่วนใหญ่จะสามารถมีลูกได้ ความชุกของเอสแอลอีมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยอยู่ที่ 20-70 ต่อ 100,000 ประชากร ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะพบโรคนี้บ่อยที่สุดโดยพบถึง 9 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย ช่วงอายุที่พบได้บ่อยอยู่ที่ 15-45 ปี แต่ก็พบในช่วงอายุอื่นๆ ได้เช่นกัน ชาวแอฟริกา แคริบเบียน และจีน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนขาว ส่วนความชุกของโรคในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้คือ ลูปัส (Lupus) เป็นภาษาลาตินที่แปลว่า หมาป่า ชื่อนี้มีที่มาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 13 โดยเชื่อว่ามาจากการที่ผื่นที่พบในผู้ป่วยมีลักษณะเหมือนถูกหมาป่ากัด คนไทยหลายคนรู้จักโรคนี้ในชื่อ "โรคพุ่มพวง" เนื่องจาก พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดังได้เสียชีวิตจากโรคนี้.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อะพอพโทซิส

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ใหม่!!: เคมีบำบัดและทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ข้ออักเสบรูมาตอยด์

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis, RA) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อของร่างกายเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ ร่วมกับอาการบวมและร้อน อาการเจ็บปวดและตึงเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากข้อต่อนั้นได้พัก มักเป็นที่ข้อต่อของมือและข้อมือ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง นอกจากข้อต่อแล้วยังสามารถแสดงอาการที่ระบบอื่นของร่างกายได้อีก เช่น เม็ดเลือดแดงต่ำ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยมักมีอาการไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน หมวดหมู่:ข้ออักเสบ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง หมวดหมู่:โรคของฟาสเชีย หมวดหมู่:โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและข้ออักเสบรูมาตอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคภูมิต้านตนเอง

โรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) เกิดจากภาวะภูมิต้านตนเองที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดตอบสนองต่อสารหรือเนื้อเยื่อที่มีอยู่เป็นปกติในร่างกาย อาจเกิดกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง (เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบภูมิต้านตนเอง) หรือเนื้อเยื่อประเภทหนึ่งๆ ในบริเวณต่างๆ (เช่น กลุ่มอาการกูดปาสเจอร์ ที่เกิดภูมิต้านตนเองต่อชั้น basement membrane ของปอดและไต) ก็ได้ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและโรคภูมิต้านตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

รคมัลติเพิล สเกลอโรซิส (multiple sclerosis, MS, disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata) เป็นโรคซึ่งทำให้มีการทำลายปลอกไมอีลินซึ่งหุ้มใยประสาทของสมองและไขสันหลังเอาไว้ ทำให้ใยประสาทไม่มีปลอกไมอีลินหุ้ม เกิดเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น และมีอาการและอาการแสดงอื่นๆ ตามมา ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมักพบในเพศหญิง มีความชุกอยู่ระหว่าง 2 - 150 ต่อ 100,000 ประชากร โดยพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เคมีบำบัดและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทซิส

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์แบบแบ่งตัวโดยตรง คือ นิวเคลียสค่อยๆ ยาวออกและเกิดคอดลงแล้วแบ่งไซโตพลาสซึมเป็น 2 ส่วนกลายเป็น 2 เซลล์ โดยทั้ง 2 เซลล์ต่างมีคุณสมบัติเหมือนเซลล์เดิม จำนวนโครโมโซม หลังการแบ่งจะเท่าเดิม (2n) เพราะไม่มีการแยกคู่ ของโฮโมโลกัสโครโมโซม การแบ่งเซลล์แบบนี้จะพบมากในสัตว์เซลล์เดียว.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและไมโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและไขกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์

ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.

ใหม่!!: เคมีบำบัดและเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chemotherapyคีโม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »