โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตอิทธิพล

ดัชนี เขตอิทธิพล

ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขตอิทธิพล (sphere of influence; SOI) หมายถึงพื้นที่หรือภูมิภาคซึ่งมีรัฐหรือองค์กรหนึ่ง ๆ มีอิทธิพลเหนือกว่าในด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การทหารหรือการเมือง ขณะที่อาจมีการจัดตั้งพันธมิตรอย่างเป็นทางการหรือพันธกรณีในรูปสนธิสัญญาอื่น ๆ ระหว่างดินแดนที่แผ่อิทธิพลและดินแดนที่อยู่ภายใต้อิทธิพล การจัดการอย่างเป็นทางการในรูปแบบเขตอิทธิพลนี้ไม่จำเป็น และบ่อยครั้งที่อิทธิพลสามารถเป็นตัวอย่างของอำนาจอย่างอ่อน และเช่นเดียวกัน พันธมิตรอย่างเป็นทางการก็ไม่จำเป็นจะต้องหมายความว่าประเทศหนึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของอีกประเทศหนึ่งด้วย ในกรณีสุดขั้ว ประเทศที่อยู่ใน "เขตอิทธิพล" ของอีกประเทศหนึ่งนั้นอาจเป็นรองรัฐนั้นและเป็นเสมือนกับรัฐบริวารหรืออาณานิคมในทางพฤตินัย ระบบเขตอิทธิพลซึ่งชาติทรงอำนาจเข้าแทรกแซงกิจการภายในของอีกประเทศหนึ่งนั้นยังคงมีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และบ่อยครั้งมักจะถูกวิเคราะห์ในรูปแบบของอภิมหาอำนาจ มหาอำนาจ และ/หรือรัฐระดับกลาง ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดของจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง จักรวรดิญี่ปุ่นมีเขตอิทธิพลขนาดใหญ่มาก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปกครองดินแดนบางส่วนโดยตรงในกรณีของเกาหลี แมนจูเรีย เวียดนาม ไต้หวัน และบางส่วนของจีน ดังนั้น "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" จึงสามารถถูกวาดอย่างง่าย ๆ บนแผนที่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นวงขนาดใหญ่ล้อมรอบหมู่เกาะญี่ปุ่นและชาติเอเชียและแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้การควบคุมนั่นเอง บางครั้งหลายส่วนของประเทศอาจอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลสองเขตที่แตกต่างกัน ในสมัยอาณานิคม อิหร่านและไทยมีสถานะเป็นรัฐกันชนตั้งอยู่ระหว่างจักรวรรดิของอังกฤษกับรัสเซียและอังกฤษกับฝรั่งเศสตามลำดับ ถูกแบ่งแยกระหว่างเขตอิทธิพลของรัฐจักรวรรดิ เช่นเดียวกัน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็นเขตยึดครองสี่ส่วน ซึ่งในภายหลังได้รวมตัวกันเป็นเยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออก อดีตสมาชิกของนาโต และประเทศหลังเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาวอร์ซอ หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมวดหมู่:สังคมวิทยา.

20 ความสัมพันธ์: กติกาสัญญาวอร์ซอมหาสมุทรแปซิฟิกมหาอำนาจรัฐบริวารรัฐกันชนวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาสงครามโลกครั้งที่สองอภิมหาอำนาจอาณานิคมจักรวรรดิญี่ปุ่นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประเทศอิหร่านประเทศจีนประเทศไต้หวันประเทศเยอรมนีตะวันออกประเทศเยอรมนีตะวันตกประเทศเวียดนามแมนจูเรียเกาหลีเนโท

กติกาสัญญาวอร์ซอ

กติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) หรือชื่อทางการว่า สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Treaty of Friendship, Co-operation, and Mutual Assistance; Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи) บางครั้งเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า วอร์แพ็ก (WarPac) เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของคณะกรรมาธิการเพื่อการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันหรือ โคเมคอน (Council for Mutual Economic Assistance; CoMEcon) ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)"In reaction to West Germany’s NATO accession, the Soviet Union and its Eastern European client states formed the Warsaw Pact in 1955." Citation from: ในปี..

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและกติกาสัญญาวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนาDanilovic, Vesna.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบริวาร

รัฐบริวาร (Client state หรือ Satellite state) เป็นคำศัพท์ทางการเมือง หมายถึง ประเทศที่มีเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมาก หรือถูกควบคุมโดยอีกประเทศหนึ่ง โดยเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อโดยเปรียบเทียบกับดาวบริวาร ซึ่งโคจรรอบดาวดวงอื่น และคำว่า รัฐบริวาร มักจะใช้หมายความถึง รัฐในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ระหว่างสงครามเย็น รัฐบริวารอาจหมายถึงประเทศที่ถูกครอบงำทางการเมืองและทางเศรษฐกิจโดยอีกประเทศหนึ่ง ในเวลาสงคราม รัฐบริวารบางครั้งทำหน้าที่เป็นรัฐกันชนระหว่างประเทศฝ่ายศัตรูกับประเทศที่มีอิทธิพลอยู่เหนือรัฐบริวารนั้น คำว่า "รัฐบริวาร" เป็นหนึ่งในคำที่ใช้อธิบายถึงสภาพที่รัฐหนึ่งตกอยู่ใต้อำนาจของอีกรัฐหนึ่งซึ่งคล้ายกับ รัฐหุ่นเชิด โดยทั่วไปแล้ว คำว่า "รัฐบริวาร" แสดงให้เห็นถึงความสวามิภักดิ์ทางความคิดให้กับอำนาจความเป็นประมุขอย่างลึกซึ้ง.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและรัฐบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกันชน

รัฐกันชน (Buffer state) คือประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่างรัฐมหาอำนาจคู่แข่งหรือเป็นปรปักษ์ระหว่างกัน ซึ่งสาเหตุของการคงอยู่มีเพื่อเป็นการป้องกันความขัดแย้งระหว่างรัฐมหาอำนาจด้วยกัน รัฐกันชนที่มีเอกราชอย่างแท้จริง มักจะดำเนินนโยบายต่างประเทศสายกลาง ซึ่งเป็นการป้องกันตนเองจากการตกเป็นรัฐบริวาร ความร่วมมือกันระหว่างรัฐกันชนเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งเข้าสู่ยุทธศาสตร์และการคิดในเชิงการทูตของยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 บ่อยครั้งที่การรุกรานรัฐกันชนโดยหนึ่งในมหาอำนาจที่รายล้อมมันอยู่มักจะก่อให้เกิดสงครามระหว่างประเทศ อย่างเช่น การรุกรานเบลเยียมของเยอรมนี ทำให้สหราชอาณาจักรตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและรัฐกันชน · ดูเพิ่มเติม »

วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

อาณาบริเวณวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ในปี ค.ศ. 1942 โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อ แสดงภาพสันติภาพระหว่างญี่ปุ่น จีนฮั่น และแมนจูกัว สแตมป์รูปแผนที่วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) เป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่จะรวบรวมและสร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเชียเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายพลฮะชิโร อะริตะ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีอุดมการณ์ทางการทหารอย่างแรงกล้าที่จะสร้างมหาเอเชียตะวันออก "Greater East Asia" ในระหว่างที่สงครามกำลังดำเนินอยู่นั้น ญี่ปุ่นได้พยายามโฆษณาชวนเชื่อ โดยมีประโยคที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asians) โดยเนื้อหานั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับการปลดปล่อยชาติในเอเชียให้หลุดพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม โดยทำการบุกประเทศเพื่อนบ้าน และขับไล่ทหาร อังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา ออกไปจากภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อภิมหาอำนาจ

แผนที่อภิมหาอำนาจในปีค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา (น้ำเงิน), สหภาพโซเวียต (แดง), และ จักรวรรดิอังกฤษ (เขียวน้ำเงิน) รัสเซีย อภิมหาอำนาจ (superpower) คือ รัฐซึ่งเป็นผู้นำในระบบระหว่างประเทศและความสามารถในการใช้อำนาจชักจูงให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและวางแผนใช้อำนาจในระดับทั่วโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ รัฐ "อภิมหาอำนาจ" ถูกพิจารณาว่ามีความเหนือกว่ารัฐ "มหาอำนาจ" อลิซ ไลแมน มิลเลอร์ ศาสตราจารย์แห่งกิจการความมั่นคงแห่งชาติ ณ บัณฑิตวิทยาลัยกองทัพเรือ ให้คำจำกัดความของอภิมหาอำนาจว่า "ประเทศซึ่งมีความสามารถจะรักษาอำนาจครอบงำและส่งอิทธิพลได้ในทุกพื้นที่ในโลก และในบางครั้ง ในมากกว่าหนึ่งภูมิภาคของโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่าบรรลุสถานะความเป็นเจ้าโลก คำดังกล่าวเริ่มถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและอภิมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (international relations) หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันออก

อรมนีตะวันออก (East Germany) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik - DDR; German Democratic Republic - GDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตร National Front of Democratic Germany 29 October 1989.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและประเทศเยอรมนีตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและประเทศเยอรมนีตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

แมนจูเรีย

นแดนแมนจูเรีย แมนจูเรีย เป็นแคว้นหนึ่งทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในบางบริบทอาจหมายถึงแคว้นหนึ่งของประเทศจีน (ปัจจุบันเรียกว่าจีนตะวันออกเฉียงเหนือ) หรือครอบคลุมถึงประเทศรัสเซีย ดินแดนนี้เป็นถิ่นอาศัยของชาวเซียนเปย์ ชาวชี่ตัน และชาวแมนจู (ชื่อแคว้นมาจากชื่อชนกลุ่มนี้) ซึ่งสถาปนารัฐของตนขึ้นหลายรัฐในดินแดนนี้.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและแมนจูเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เนโท

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization; Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท (NATO) หรือ ออต็อง (OTAN) หรือ นาโต (ตามที่คนไทยเรียก) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

ใหม่!!: เขตอิทธิพลและเนโท · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »