โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตบางกอกใหญ่

ดัชนี เขตบางกอกใหญ่

ตบางกอกใหญ่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

38 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2095พ.ศ. 2458พ.ศ. 2481พ.ศ. 2501พ.ศ. 2515พระราชวังเดิมพฤษภาคมกรุงเทพมหานครรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวัดราชสิทธารามราชวรวิหารวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารวัดเครือวัลย์วรวิหารวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามหอประชุมกองทัพเรืออาณาจักรธนบุรีอำเภอธันวาคมถนนรัชดาภิเษกถนนวังเดิมถนนอรุณอมรินทร์ถนนอิสรภาพถนนจรัญสนิทวงศ์ถนนเพชรเกษมคลองบางกอกใหญ่คลองมอญแม่น้ำเจ้าพระยาแยกพาณิชยการธนบุรีแยกท่าพระแขวงโรงเรียนทวีธาภิเศกเขตเขตบางกอกน้อยเขตพระนครเขตภาษีเจริญเขตธนบุรี

พ.ศ. 2095

ทธศักราช 2095 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และพ.ศ. 2095 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และพ.ศ. 2481 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2515

ทธศักราช 2515 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1972 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และพ.ศ. 2515 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเดิม

ท้องพระโรง พระราชวังกรุงธนบุรี (วังเดิม) พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในเขตที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งของพระราชวังเดิมเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคม และเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม) จึงได้ชื่อว่า "พระราชวังเดิม" ตั้งแต่บัดนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงกำหนดเขตวังให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองที่กล่าวแล้วคือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) อยู่ภายนอกพระราชวัง และ นอกจากนี้ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับที่นี่ อันเนื่องจากเห็นว่าพระราชวังนี้มีความสำคัญทางด้านทำเลที่ตั้ง ได้แก.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และพระราชวังเดิม · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร

วัดราชสิทธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพลับ ตั้งอยู่ริมคลองวัดราชสิทธารามและคลองวัดสังข์กระจาย ซอยอิสรภาพ 23 (วัดราชสิทธาราม) ถนนอิสรภาพ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ อยู่เลขที่ 72 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร สร้างในสมัย กรุงศรีอยุธยา ยุคนั้นเป็นวัดราษฎร์ เรียกว่า วัดเจ๊สัวหง หรือ แจ๊สัวหง หรือ เจ้าสัวหง หรือ วัดขรัวหง เพราะตั้งตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้าง คือ นายหง วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร วัดหลวงชั้นโท คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งตามทะเบียนเลขที่ ๑๐๒ ถนนวังเดิม ๒ หรือ ถนนอิสรภาพ ๒๘ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร และ กองทัพเรือ (พระราชวังธนบุรีเดิม) ตั้งอยู่บนเนื้อที่ขนาด ๔๖ ไร่ ๑ งาน ๒๓ ตารางวา จากหลักฐานจดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๔ ได้บันทึกไว้ว่า วัดหงส์รัตนารามนี้ พื้นที่วัดเดิมเป็นของโบราณมีมานานสำหรับเมืองธนบุรี คำคนแก่เก่า ๆ เป็นอันมากเรียกว่า วัดเจ้าขรัวหง แลว่ากันว่าจีนเจ๊สัวมั่งมี บ้านอยู่กะดีจีน สร้างขึ้นไว้แต่ในครั้งโน้น จีนที่มั่งมี คนเรียกว่า เจ้าขรัว ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเรียกชื่อว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช (รัชกาลที่ ๑) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาศวรวิหาร รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาสวรวิหาร รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) จนถึงปัจจุบัน เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ซึ่งขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงพระยศสถานที่ตั้งประวัติวัดหงส์รัตนาราม เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สืบต่อจาก กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสิงหนาทฯ ได้ประทับ ณ พระราชวังเดิม พระราชวังจึงมีฐานะเป็นพระบวรราชวังใหม่ ขึ้นตำแหน่งหนึ่ง สมตามนัยแห่ง ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าตอนประสูติของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ดังนี้ การประสูติดังนี้ เป็นไปที่พระที่นั่งข้างในหลังตะวันตก พระราชวังปากคลองบางกอกใหญ่ ครั้งนั้นเรียก พระบวรราชวังใหม่ อยู่ในกำแพงกรุงธนบุรีโบราณวัดหงส์ฯ ซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ตลอดสถานที่พระบวรราชวังนี้ จึงมีสร้อยนามเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ครั้งนั้นว่า วัดหงส์อาวาศขวรวิหาร ดังหลักฐานประกอบด้วยตามในพระราชทินนามสมณศักดิ์พระราชาคณะที่พระธรรมอุดม (พระธรรมวโรดมปัจจุบัน) ซึ่งได้เลื่อนจากพระธรรมไตรโลกฯ (พระธรรมไตรโลกาจารย์ปัจจุบัน) ในรัชกาลที่ ๑ ว่า พระธรรมอุดม บรมญาณอดุลยสุนทร ตีปีฎกธรามหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดหงส์อาวาศบวรวิหาร พระอารามหลวง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร มีสร้อยนามเปลี่ยนแปลงเป็นทางการว่า วัดหงส์อาวาสวรวิหาร หลักฐานในข้อนี้ พิจารณา ได้ตามพระราชทินนามสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ซึ่งได้เลื่อนจากสมณศักดิ์เดิมที่ พระพรหมมุนี (ด่อน) กล่าวไว้ดังนี้ ให้ พระพรหมมุนีเป็นพระพิมลธรรม อนันตญาณนายก ตีปฎกธรามหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดหงส์อาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร คงมีนามเรียกเต็มว่า วัดหงสาราม ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือประชุมพงศารภาคที่ ๒๕ ตอนที่ ๓ เรื่องตำนานสถานที่ และวัสดุต่าง ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะ และมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดหงส์ฯ ดังมีข้อความกล่าวไว้เป็นเชิงประวัติว่า วัดนี้นามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมา เป็น วัดหงสาราม และในสำเนาเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๒ ซึ่ง หม่อมเจ้าพระประภากร บวรวิสุทธิวงศ์ วัดบวรนิเวศน์วิหาร ทรงเทศนาถวาย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามว่า วัดหงสาราม ในเรื่องเกี่ยวกับวัดหงส์ฯ แม้แต่ในพระอารามหลวงที่ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เรียบเรียงถวายรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวไว้เช่นเคียวกัน แต่กล่าวพิเศษออกไปว่า เรียกวัดหงสาราม มาแต่รัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นว่าเมื่อเรียกโดยไม่มีพิธีรีตองสำคัญอะไร ก็คงเรียกวัดหงสาราม ทั้ง ๓ รัชกาล ก็เป็นได้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) นี้ สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์จากการทรงชักชวนของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเกณฑ์ต่อให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระยศ เจ้าฟ้ามงกุฎ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าแปลงปลูกเป็นวิหาร แต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงรับทำ จึงเป็นพระภาระของสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ แต่พระองค์เดียว ส่วน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งแรกทรงรับพระภาระสร้างโรงธรรมตึกใหญ่ขึ้นใหม่ แต่ในครั้งหลังสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์สิ้นพระชนม์ การยังไม่เสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงรับเป็นพระธุระทั้งพระอุโบสถ และพระวิหาร และสิ่งอื่นอีก ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ได้พระราชทานสร้อยนามวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหารใหม่ แลเป็นหลักฐานสืบมาจนบัดนี้ว่า วัดหงส์รัตนาราม ตามในจดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๔ ได้กล่าวไว้ว่า เดิมเป็นพระอุโบสถหลังเก่าวัดหงส์ฯ ครั้งก่อนสมัยอยุธยา เมื่อมาถึงสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ ขยายทั้งตัววัด และสร้างพระอุโบสถใหม่ และอื่นอีก คงเลิกใช้อุโบสถเก่า ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ จากหลักฐานประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ ว่าด้วยพระเจดีย์วิหาร ที่ทรงสถาปนาในรัชกาลที่ ๔ เรื่องที่ ๑๕ โดยมีเนื้อความว่า “วัดหงส์รัตนาราม วัดนี้ตามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมาเป็น วัดหงสาราม สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเขมาภิรตาราม โปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดหงส์ฯ การยังไม่ทันเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ และพระราชทานนามว่า วัดหงส์รัตนาราม คำสร้อยนามวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหารที่ว่า รัตนาราม นั้น บ่งความหมายเป็นสองประการคือ รัตน แปลว่า แก้ว ประการหนึ่ง และคำว่า อาราม ซึ่งแปลว่า วัด ประการหนึ่ง เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน จึงได้ความหมายว่า วัดท่านแก้ว มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานสร้อยนามวัดหงส์ฯ นั้น ก็เพื่อถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า แก้ว เป็นการถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จบรมราชอัยกี ผู้เป็นพระบุพการีของ พระบรมราชชนนี พระราชอนุชา และพระองค์ท่าน ตามธรรมเนียมนิยมของพุทธสานิกชน เมื่อบำเพ็ญบุญกุศลแล้ว จึงอุทิศผลบุญ อีกประการหนึ่ง วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดที่ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ ทรงเคยอุปถัมภ์ และปฏิสังขรณ์มาในอดีต ทรงคุ้นเคยกับสถานที่ และเสด็จบำเพ็ญกุศลเป็นประจำในขณะที่ทรงพระชนม์อยู่ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ได้ถูกจัดลำดับศักดิ์เป็น พระอารามหลวงชั้นโท และมีฐานะเป็น พระอารามชั้นราชวรวิหาร ตามพระบามราชโองการประกาศ เรื่องจัดระเบียบพระอารามหลวงเป็น ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นสามัญ โดยมีสร้อยนามตามฐานะเป็น ราชวรมหาวิหาร ราชวรวิหาร วรมหาวิหาร วรวิหาร โดยลำดับ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๘ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร จึงได้สร้อยว่า วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร มาจนถึงปัจจุบัน ย้อนไปในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ถือเป็นวัดที่มีสำคัญอย่างมาก นอกจากตั้งติดกับพระบรมราชวังที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเป็นเอกอุปถัมภก บูรณปฏิสังขรณ์ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นการใหญ่ และทรงสร้อยนามวัดอย่างเป็นทางการว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร ด้วย เดิมทีนั้นเป็นวัดร้าง ทั้งนี้ยังทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นที่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า ทรงสร้างศาลาโรงธรรมขนาดเท่าพระอุโบสถขึ้นทางด้านหน้า และทรงสร้างกุฏิ และเสนาสนะอื่น ๆ ทั้งพระอาราม ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี บันทึกไว้ว่า ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอุปถัมภ์ปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ทั่วพระอาราม พระอุโบสถ การเปรียญ เสนาสนะ และกุฏิ ได้ทรงสร้างใหม่ทั้งสิ้น ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ มีหลักฐานยืนยันตรงกันอีกว่า ครั้งมาเมื่อกรุงธนบุรี พระสงฆ์ผู้รู้หลักนักปราชญ์มาอยู่มาก ผู้ที่มีอุตสาหะเล่าเรียนก็ได้เข้าไปอยู่มาก เจ้าแผ่นดินกรุงธนบุรีจึงขยายภูมิวัดออกไปใหญ่ แล้วสร้างพระอุโบสถใหญ่ตรงหน้าพระอุโบสถเก่า แล้วสร้างโรงธรรมหันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถใหม่ สร้างฐานใหญ่เท่ากันทั้งสองหลัง ตั้งอยู่อย่างนั้นนานมาจนถึงเวลาแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ในพระบรมราชวงศ์นี้ ในปีพุทธศักราช ๒๓๓๓ สมเด็จพระลูกยาเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าจุ้ย) ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เสด็จผนวช ณ วัดหงษ์อาวาสวิหาร (วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร) นี้ เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบท ตลอดจนพระราชนิกูล และข้าใต้สำนัก ล้วนแต่อุปสมบทวัดแห่งนี้เกือบทั้งสิ้น และนอกจากนี้ สมเด็จพระอัครมเหสี (หอกลาง) กรมหลวงบาทบริจาสอน และพระเจ้าน้านางเธอ กรมหลวงเทวินทร์สุดา ได้เสด็จบำเพ็ญกุศล ฟังเทศน์ ถือศีลปฏิธรรมอยู่ ณ วัดแห่งนี้อยู่เนือง ๆ วัดหงษ์อาวาสวิหาร แห่งนี้ อยู่ในราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และพระองค์มักเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถ หลังว่างจากพระภารกิจเสมอ วัดหงษ์อาวาสวิหาร จึงนับว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และสวยงามวัดหนึ่งในยุคสมัยนั้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนในละแวกใกล้เคียง จึงพร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นที่ริมคลองคูวัดเชิงสะพานข้ามคลองหน้าวัด ด้านทิศตะวันตก เพื่อถวายเป็นพระราชอนุสรณ์เป็นแห่งแรก และปรากฏเป็นที่สักการะเคารพของประชาชนในท้องถิ่นแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คือ ศาลเจ้าพ่อตากวัดหงส์ฯ นอกจากทรงบูรณปฏิสังขรณ์ และทรงสร้างศาสนวัตถุอื่นแล้ว พระองค์ทรงนำความเจริญทางด้านการศึกษา วางไว้เป็นฐานรากแห่งพระพุทธศาสนาที่วัดหงษ์อาวาสวิหาร หรือ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร จึงเป็นแหล่งสรรพวิชา บ่มเพาะความรู้ขั้นสูงในยุคสมัยนั้น และเป็นชุมนุมสงฆ์ผู้รู้หลักนักปราชญ์ แห่งกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร จากหลักฐานบันทึก มีรายนาม ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร

วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร หรือชื่อลำลองว่า วัดท้ายตลาด เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และเหตุที่เรียกว่าวัดท้ายตลาดเนื่องจากอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี ปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมเรียกชื่อนี้อยู่ ในสมัยธนบุรี วัดนี้เป็นวัดในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่ตลอดช่วงรัชกาล ส่วนพระวิหาร สันนิษฐานว่าได้ใช้เป็นฉางเกลือของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในพระวิหารกั้นเป็น 2 ตอน ปัจจุบัน ตอนหน้าที่หันออกคลองบางกอกให้ ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นหมู่บนฐานชุกชี ส่วนตอนหลังเป็นพื้นที่ค่อนข้างแคบ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ในรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม และทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดโมลีโลกยสุธาราม" ภายหลังมาเรียกกันว่า "วัดโมลีโลกยาราม" วัดโมลีโลกยารามเคยเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีที่มีผู้สอบได้เปรียญธรรมมากเป็นระดับต้น ๆ ของประเทศ ที่ตั้ง พระราชวังเดิม ซอยวังเดิม 6 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเครือวัลย์วรวิหาร

วัดเครือวัลย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถและพระวิหารของวัดนี้หันหน้าเข้าสู่คลองมอญ และระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา 3 องค์ตั้งอยู่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดย เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) และธิดาคือ เจ้าจอมเครือวัลย์ ได้รับพระราชทานนามว่า วัดเครือวัลย์วรวิหาร ตามชื่อของเจ้าจอมเครือวัลย์ ธิดาเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) เจ้าจอมของพระองค์ และเป็นวัดประจำตระกูลบุณยรัตพัน.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และวัดเครือวัลย์วรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี (Thonburi Commercial College) เป็นวิทยาลัยด้านพาณิชยการที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ได้รับเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นในปี..

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (Siam Technology College) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เปิดสอนด้านช่างอุตสาหกรรม เป็นสถาบันในเครือเดียวกันกับมหาวิทยาลัยสยาม โดยเริ่มเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม · ดูเพิ่มเติม »

หอประชุมกองทัพเรือ

หอประชุมกองทัพเรือ (Royal Thai Navy Convention Center) เป็นหอประชุมที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่กรมสารวัตรทหารเรือ และปรับปรุงต่อเติมอาคารราชนาวิกสภา ติดแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และหอประชุมกองทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง..

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และอาณาจักรธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอ

อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครอง โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี..

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และอำเภอ · ดูเพิ่มเติม »

ธันวาคม

ันวาคม เป็นเดือนที่ 12 และเดือนสุดท้ายของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนธันวาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมกร แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนธันวาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูในปลายเดือน เดือนธันวาคมในภาษาอังกฤษ December มาจากภาษาละติน decem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 10 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนรัชดาภิเษก

นนรัชดาภิเษก (Thanon Ratchadaphisek) เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพร.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และถนนรัชดาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวังเดิม

นนวังเดิม (Thanon Wang Doem) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางยาว 837 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากทางแยกโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนอิสรภาพ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแนวคูข้างกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ (เดิม) ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์ที่ทางแยกวังเดิม ข้ามคลองบ้านหม้อ (คลองวัดท้ายตลาด) จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านกองบัญชาการกองทัพเรือ เลียบกำแพงวัดอรุณราชวราราม ข้ามคลองวัดอรุณ โค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปสิ้นสุดที่ถนนอรุณอมรินทร์บริเวณคลองบ้านหม้อ ถนนวังเดิมเป็น "ถนนสายที่ 6" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถนนสายนี้เป็นหนึ่งในถนนซอย 6 สายที่ตัดจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมต่อกับถนนหลัก 4 สายแรก มีแนวเส้นทางเริ่มตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือของกำแพงพระราชวังเดิม ไปผ่านถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนอรุณอมรินทร์) ไปออกถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) กว้าง 16 เมตร ยาวประมาณ 830 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ถนนสายที่ 6 เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2474กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และถนนวังเดิม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอรุณอมรินทร์

นนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ (Thanon Arun Ammarin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และถนนอรุณอมรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอิสรภาพ

นนอิสรภาพ (Thanon Itsaraphap) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และถนนอิสรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจรัญสนิทวงศ์

นนจรัญสนิทวงศ์ (Thanon Charan Sanit Wong) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ที่สี่แยกท่าพระ ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่สามแยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้ (จากสถานีรถไฟธนบุรี) เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่สามแยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่สี่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่พื้นที่แขวงบางอ้อ และไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 7 ในพื้นที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดทั้งสายกำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 ช่วงสถานีเตาปูนถึงสี่แยกท่าพระ เป็นลักษณะรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และถนนจรัญสนิทวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และถนนเพชรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกใหญ่

ปากคลองบางกอกใหญ่ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ช่วงที่ผ่านวัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ ๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และคลองบางกอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

คลองมอญ

ลองมอญ คลองมอญ เป็นคลองธรรมชาติคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่คลองบางน้อยและคลองบางเชือกหนังไหลมาบรรจบกัน ในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน คลองมอญมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีศาสนสถานและวัดสำคัญ ๆ มากมาย เช่น วัดเครือวัลย์ วัดนาคกลาง วัดพระยาทำ วัดครุฑ วัดโพธิ์เรียง วัดบางเสาธง วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดเกาะ คลองมอญจึงมีความสำคัญต่อการระบายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเป็นอย่างมาก ชื่ออื่นๆ ของคลองมอญที่นิยมเรียกกัน ก็คือคลองบางเสาธง ซึ่งเรียกกันในช่วงที่มารวมกับคลองบางน้อย และบางเชือกหนัง หรือบางครั้งก็ถือว่าคลองช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของคลองบางน้อ.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และคลองมอญ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แยกพาณิชยการธนบุรี

แยกพาณิชยการธนบุรี (Phanitchayakan Thon Buri Junction) หรือที่นิยมเรียกว่า แยกพาณิชย์ธนฯ และ แยกจรัญสนิทวงศ์ 13 เป็นสามแยกปากทางถนนพาณิชยการธนบุรี (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 เดิม) บรรจบถนนจรัญสนิทวงศ์ ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีและวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ทั้งยังสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากถนนจรัญสนิทวงศ์เชื่อมต่อไปยังถนนบางแวก ออกสู่ถนนราชพฤกษ์ในพื้นที่เขตภาษีเจริญและถนนกาญจนาภิเษกในพื้นที่เขตบางแคได้ โดยมีรถสองแถวให้บริการจากปากทาง นอกจากนี้บริเวณแยกยังเป็นจุดเริ่มต้นของรถโดยสารสี่ล้อเล็กและรถสามล้อสองแถวที่ให้บริการในเส้นทางจรัญฯ 13-แยกไฟฉาย-พรานนก-ท่าน้ำศิริร.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และแยกพาณิชยการธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

แยกท่าพระ

แยกท่าพระ (Tha Phra Intersection) เป็นสี่แยกบริเวณจุดตัดระหว่างถนนเพชรเกษม, ถนนรัชดาภิเษกและถนนจรัญสนิทวงศ์ ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร นับเป็นสี่แยกที่มีความสำคัญต่อการจราจรในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนรัชดาภิเษก ช่วงรัชดา-ท่าพระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเป็นทางแยกแรกของถนนเพชรเกษมจากจุดเริ่มต้นบริเวณสะพานเนาวจำเนียรซึ่งทอดยาวลงสู่ภาคใต้ของไทย นับเป็นบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นมากอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ฝั่งธนบุรีรองจากวงเวียนใหญ่ แม้ในปัจจุบันจะมีการตัดถนนในพื้นที่ข้างเคียงอีกหลายสาย เช่นถนนราชพฤกษ์ ซึ่งสามารถแบ่งเบาปริมาณการจราจรจากย่านวงเวียนใหญ่เข้าสู่แยกท่าพระได้ในระดับหนึ่ง โดยชื่อ "ท่าพระ" อันทั้งชื่อของแยกและแขวงในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ด้วย นั้นมาจากชื่อของวัดท่าพระ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงด้านถนนจรัญสนิทวงศ์ เดิมมีชื่อว่า "วัดเกาะ" ต่อมาได้มีการพบหลวงพ่อเกษร อันเป็นประธานในวัดลอยมาติดที่ท่าน้ำ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าพระดังเช่นในปัจจุบัน แยกท่าพระเดิมมีสภาพเป็นเพียงสามแยก ต่อมาทางด้านทิศใต้ได้มีการตัดถนนรัชดาภิเษกช่วงรัชดา-ท่าพระ จึงเปลี่ยนมาเป็นสี่แยก กระทั่งปี พ.ศ. 2534 มีการเปิดใช้สะพานลอยข้ามแยกตามแนวถนนเพชรเกษม ทำพิธีเปิดโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2544 มีการเปิดใช้อุโมงค์ลอดทางแยกตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนรัชดาภิเษก นับเป็นอุโมงค์ลอดทางแยกแห่งแรก ๆ ของกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการปิดซ่อมสะพานข้ามแยกระหว่างวันที่ 23 เมษายน ถึงวันที่ 7 กันยายน ซึ่งจากเดิมเปิดวันที่ 21 กรกฎาคม เนื่องจากสะพานตรงกลางแอ่นตัวในฝั่งขาออกและมาเปิดวันที่ 12 สิงหาคม แต่ไม่เสร็จและมาเปิดวันที่ 23 สิงหาคม และไม่เสร็จอีกจึงมาเปิดวันที่ 7 กันยายน นับเป็นสะพานข้ามแยกที่ 9 ที่ทางกรุงเทพมหานครปิดซ่อมและเปิดใช้.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และแยกท่าพระ · ดูเพิ่มเติม »

แขวง

แขวง เป็นชื่อเรียกของเขตการปกครอง โดยในประเทศลาวและประเทศพม่านั้น "แขวง" จะมีอำนาจปกครองในระดับเดียวกับจังหวัดของประเทศไท.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และแขวง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนทวีธาภิเศก

รงเรียนทวีธาภิเศก (Taweethapisek School) (อักษรย่อ: ท.ภ. / T.P.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 มีพื้นที่ 13 ไร่ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และโรงเรียนทวีธาภิเศก · ดูเพิ่มเติม »

เขต

ต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และเขต · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตภาษีเจริญ

ตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะด้านการคมนาคม) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และเขตภาษีเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: เขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อำเภอหงสารามอำเภอบางกอกใหญ่บางกอกใหญ่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »