โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกาะแคโรไลน์

ดัชนี เกาะแคโรไลน์

กาะแคโรไลน์ (Caroline Island) หรือ แคโรไลน์อะทอลล์ (Caroline Atoll) บ้างเรียก เกาะมิลเลนเนียม (Millennium Island) และ เกาะเบสซีซา (Beccisa Island) เป็นเกาะปะการังวงแหวนไร้คนอาศัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไลน์ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ชาวยุโรปพบเกาะนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ..

64 ความสัมพันธ์: ชั้นหินอุ้มน้ำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดใกล้สูญพันธุ์ฟอสเฟตพอลินีเชียการเพิ่มของระดับน้ำทะเลกิ้งก่ามรดกโลกมหาสมุทรแปซิฟิกยอรัฐอะแลสกาลมค้าลากูนวุฒิสภาสหรัฐวงกลมแอนตาร์กติกสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สหประชาชาติสุริยุปราคาสงครามโลกครั้งที่สองหมาหมู่เกาะฮาวายหมู่เกาะแชทัมหอยมือเสือหอยมือเสือยักษ์หินปูนอะทอลล์ผักบุ้งทะเลจุดร้อนทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอนตาร์กติกาดวงอาทิตย์เที่ยงคืนคิริสมาสงวงช้างทะเลตาราวาตูอาโมตัสประเทศคิริบาสประเทศตองงาประเทศนิวซีแลนด์ประเทศเปรูปลาฉลามครีบดำปลานโปเลียนปุ๋ยขี้นกปูมะพร้าวปูเสฉวนนีวเวน้ำขึ้นลงแมวแผ่นแปซิฟิกโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติไม้พุ่ม...ไนโตรเจนเฟรนช์พอลินีเชียเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันเกาะเล็กเส้นศูนย์สูตรเส้นแบ่งเขตวันสากลเส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันตกเขตร้อนเขตสงวนชีวมณฑลเขตเวลาเต่าตนุUTC+14:00UTC−10:00235 แคโรไลนา ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

ชั้นหินอุ้มน้ำ

ั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer).

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และชั้นหินอุ้มน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

อกบัวตอง language.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และชนิดพันธุ์ต่างถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดใกล้สูญพันธุ์

ันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ คือสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ วลีนี้ถูกใช้เรียกอย่างคลุมเครือถึงสปีชีส์ที่มีคำอธิบายเป็นดังข้างต้น แต่สำหรับนักชีววิทยาอนุรักษ์จะหมายถึงสปีชีส์ที่อยู่ในกลุ่มใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานะการอนุรักษ์ที่มีความร้ายแรงเป็นลำดับที่สอง รองจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันมีสัตว์และพืช 3079 และ 2655 ชนิดตามลำดับที่จัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์ เทียบกับในปี..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และชนิดใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟอสเฟต

ฟอสเฟต (phosphate) คือ หินชนิดหนึ่ง แร่ที่สำคัญของฟอสเฟต คือ อะพาไทต์ เกิดจากการสะสมตัวจากฟอสเฟต ส่วนใหญ่มักจะใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ไฟล์:3-phosphoric-acid-3D-balls.png| ไฟล์:2-dihydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:1-hydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:0-phosphate-3D-balls.png|.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และฟอสเฟต · ดูเพิ่มเติม »

พอลินีเชีย

นแดนพอลินีเชีย พอลินีเชีย หรือ พอลินีเซีย (Polynesia) คือภูมิภาคที่อยู่ในเขตโอเชียเนีย มหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือที่เรียกกันว่าสามเหลี่ยมโพลินีเซียน สำหรับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ มีความเจริญสูงสุดในบรรดาภูมิภาคในโอเชียเนียทั้งหมด ซึ่งมีจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่หลายจักรวรรดิ มีวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นการเต้นรำเป็นต้น ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยดินแดนและประเทศทั้งหมด 4 ประเทศ 8 ดินแดน คือ.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และพอลินีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

การเพิ่มของระดับน้ำทะเล

แผนที่โลกโดยระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นหกเมตรแสดงด้วยสีแดง มีการประมาณว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง +2.6 มิลลิเมตรถึง 2.9 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีนับแต่ปี 2536 นอกจากนี้ การเพิ่มของระดับน้ำทะเลยังเร่งขึ้นในปีหลัง ๆ ในระยะระหว่างปี 2413 ถึง 2547 มีการประมาณว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มรวม 195 มิลลิเมตร และ 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีความเร่งของการเพิ่มของระดับน้ำทะเลสำคัญ 0.013 มิลลิเมตร ± 0.006 มิลลิเมตรต่อปีต่อปี ตามการศึกษาการวัดหนึ่งซึ่งมีตั้งแต่ปี 2493 ถึง 2552 การวัดเหล่านี้แสดงการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปีในช่วงนี้ โดยข้อมูลดาวเทียมแสดงการเพิ่ม 3.3 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2552 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเป็นหลักฐานกระแสหลักอย่างหนึ่งซึ่งสนับสนุนทัศนะว่าสภาพภูมิอากาศของโลกเพิ่งร้อนขึ้น ในปี 2557 การประเมินสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของ USGCRP ทำนายว่าเมื่อถึงปี 2643 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยจะอยู่ร่ะหว่าง 300 ถึง 1,200 มิลลิเมตรนับแต่วันที่มีการประเมินในปี 2557 อัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลปัจจุบันเพิ่มเป็นประมาณสองเท่าเทียบกับอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนปี 2535 ในปี 2550 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แถลงว่า เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าการร้อนขึ้นที่มนุษย์ชักนำมีส่วนให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มที่สังเกตในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รายงานของ IPCC ปี 2556 (AR5) สรุปว่า "มีความเชื่อมั่นสูงว่าอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเพิ่มระหว่างสองศตวรรษหลังสุด และเป็นไปได้ที่ GMSL (ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยโลก) เร่งขึ้นนับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1900" การเพิ่มของระดับน้ำทะเลสามารถมีอิทธิพลต่อประชากรมนุษย์ในพื้นที่ชายฝั่งและเกาะและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ระบบนิเวศทะเลพอสมควร คาดว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจะดำรงต่อไปอีกหลายศตวรรษ มีการประมาณว่ามนุษย์ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 2.3 เมตรต่ออุณหภูมิที่เพิ่มแต่ละองศาเซลเซียสภายใน 2,000 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีความเฉื่อยต่ำ และเวลาสนองตอบนานสำหรับบางส่วนของระบบสภาพภูมิอากาศ มีการเสนอแนะว่า นอกจากการลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์แล้ว การปฏิบัติระยะสั้นเพื่อลดการเพิ่มของระดับน้ำทะเล คือ การตัดการปล่อยแก๊สกักเก็บความร้อนอย่างมีเทนและละอองธุลีอย่างเขม.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และการเพิ่มของระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ยอ

อกยอ ยอ (L.) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และยอ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอะแลสกา

รัฐอะแลสกา (State of Alaska) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ".

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และรัฐอะแลสกา · ดูเพิ่มเติม »

ลมค้า

ลมค้า (ลูกศรสีเหลืองและน้ำตาล) และลมตะวันตก (ลูกศรสีน้ำเงิน) ลมค้า (trade wind) เป็นลมประจำปีทางทิศตะวันออก เป็นลมที่มีความเร็วลมปานกลางถึงแรงจัด ทำให้อากาศแจ่มใสและใช้ประโยชน์ได้ในด้านการเดินเรือและการบิน.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และลมค้า · ดูเพิ่มเติม »

ลากูน

ลากูนบาลอสในเกาะครีต ลากูน หรือ ทะเลสาบน้ำเค็มชายฝั่ง (lagoon) คือแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่แบ่งแยกจากทะเลโดยเกาะสันดอนหรือแนวปะการัง โดยอยู่ขนานกับชายฝั่ง ส่วนมากจะมีทางเปิดสู่ทะเล โดยมากแล้วจะแบ่งเป็นลากูนชายหาดและลากูนอะทอลล์ โดยแยกแยะด้วยทรายและกรว.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และลากูน · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาสหรัฐ

วุฒิสภาสหรัฐ (United States Senate) เป็นสภาสูงของรัฐสภาสหรัฐ โดยเป็นสภานิติบัญญัติแห่งสหรัฐร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐซึ่งเป็นสภาล่าง องค์ประกอบและอำนาจของวุฒิสภาตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ มาตรา 1 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนจากแต่ละรัฐ โดยแต่ละรัฐมีผู้แทนเท่ากันรัฐละสองคน ไม่ว่ามีประชากรมากน้อยเพียงใด โดยมีวาระดำรงตำแหน่งสลับฟันปลา (staggered term) วาระละ 6 ปี ปัจจุบันในสหภาพมี 50 รัฐ ฉะนั้นจึงมีสมาชิกวุฒิสภา 100 คน ตั้งแต่ปี 1789 ถึง 1913 สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งของสภานิติบัญญัติของรัฐที่ตนเป็นผู้แทน หลังการให้สัตยาบันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 17 ในปี 1913 ปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน ห้องประชุมวุฒิสภาตั้งอยู่ปีกเหนือของอาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และวุฒิสภาสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมแอนตาร์กติก

แผนที่วงกลมแอนตาร์กติก วงกลมแอนตาร์กติก คือส่วนที่อยู่ไปทางขั้วโลกใต้มากที่สุดของ 5 วงกลมหลักของวงกลมละติจูดในแผนที่โลก พื้นที่ในบริเวณวงกลมขั้วโลกใต้นี้เป็นที่รู้จักในชื่อแอนตาร์กติก ด้านใต้ของวงกลมแอนตาร์กติกนี้ จะมีเหตุการที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้า 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน และอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งที่ดวงอาทิตย์จะไม่โผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ไม่เห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบริเวณขั้วโลกเหนือ ที่วงกลมอาร์กติกด้วย ตำแหน่งของวงกลมแอนตาร์กติกยังไม่ใช่พิกัดคงที่ จนถึง 9 ธันวาคม 2559 พิกัดอยู่ที่ตำแหน่ง 66°33′46.5″ ด้านใต้ของเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้ละติจูดขึ้นอยู่กับการเอียงของโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ในรอบ 40,000 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากแรงกระทำของการโคจรของดวงจันทร์ ทำให้วงกลมแอนตาร์กติกเลื่อนลงใต้ไปเรื่อยๆ ด้วยความเร็วประมาณปีละ 15 เมตร.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และวงกลมแอนตาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (United Kingdom of Great Britain and Ireland.) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักร ในช่วงตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1801)1 มกราคม..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา

ริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2542 สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และสุริยุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะฮาวาย

หมู่เกาะฮาวายเป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วย 8 เกาะใหญ่, อะทอลล์, เกาะเล็ก ๆ และภูเขาใต้ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทอดตัวยาวเป็นระยะทาง 2,400 กิโลเมตรจากเกาะฮาวายทางตอนใต้ไปถึงอะทอลล์เคอร์ทางตอนเหนือ ในอดีตชาวยุโรปและชาวอเมริกันเรียกกลุ่มเกาะนี้ว่า"หมู่เกาะแซนวิช"อันเป็นชื่อที่เจมส์ คุกตั้งให้เพื่อเป็นเกรียติแก่จอห์น มอนทากิว เอิร์ลที่ 4 แห่งแซนด์วิช ปัจจุบันเรียกชื่อว่าหมู่เกาะฮาวายตามชื่อของเกาะที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเกาะนี้ การปกครองแบบราชาธิปไตยฮาวายถูกล้มล้างใน..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และหมู่เกาะฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะแชทัม

หมู่เกาะแชทัม (Chatham Islands) เป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศนิวซีแลนด์ ห่างจากเกาะใต้ราว 680 กม.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และหมู่เกาะแชทัม · ดูเพิ่มเติม »

หอยมือเสือ

มุกของหอยมือเสือยักษ์ หอยมือเสือ (Giant clam) เป็นสกุลของหอยสองฝาขนาดใหญ่ ในวงศ์หอยมือเสือ (Tridacninae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tridacna (/ไทร-แดก-นา/).

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และหอยมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

หอยมือเสือยักษ์

หอยมือเสือยักษ์ (Giant clam;, /ไทร-เดก-นา-ไก-เกส/) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มหอยสองฝา (Bivalves หรือ Pelecypods) มีฝาเปลือก 2 ชิ้นประกบติดกันทางด้านล่าง ขอบด้านบนหยักเป็นคลื่น บนเปลือกเป็นแนวสันยาวโค้งจากฐานมาถึงขอบเปลือกข้างละประมาณ 4–5 แนว มีเกล็ดเปลือกเป็นแผ่นบางๆ ระบายเป็นชั้นๆ ขนานกันในแนวขวางโดยรอบเปลือกด้านนอก ฝาทั้งสองด้านของหอยมือเสือยักษ์ ยึดติดกันด้วยเอ็น ฝาด้านบนจะเปิดออกเพื่อรับแสงและจะแผ่ส่วนเนื้อเยื่อที่เรียกว่าแมนเทิล (Mantle) ซึ่งมีสีสันสวยงามออกมา ลวดลายบนแมนเทิลของหอยแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน ส่วนที่เปลือกประกบกันอยู่เป็นบานพับเปลือก ต่อจากบานพับเปลือกออกมาจะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อ เยื่อที่เรียกว่า บิสซัส (Byssus) ทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยจะมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม กว้าง 120 เซนติเมตร มีชีวิตยืนยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่าจัดเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ติดอยู่ในอนุสัญญาไซเตส (CITES) ในน่านน้ำไทยไม่พบตัวที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่พบเป็นซากฟอสซิล ปัจจุบันยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในประเทศไท.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และหอยมือเสือยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

อะทอลล์

กดาวเทียมของอะทอลล์อาตาฟูในโตเกเลาในมหาสมุทรแปซิฟิก อะทอลล์ (atoll) เป็นเกาะปะการังรูปวงแหวนที่ล้อมรอบลากูน ที่อาจล้อมปิดลากูนโดยสมบูรณ์หรือล้อมรอบเป็นบางส่วนก็ได้.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และอะทอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเลริมหาด อ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน ผักบุ้งทะเล เป็นไม้ล้มลุกเถาเลื้อย ลำต้นทอดไปตามยาวบนพื้นดิน มักขึ้นใกล้ทะเล ผิวเถาเรียบสีเขียวและม่วง ใบเป็นรูปหัวใจปลายเว้าเข้าหากัน ตามเถาและใบมียางสีขาว ดอกจะออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 2 - 6 ดอก แต่จะทยอยกันบานทีละดอกเท่านั้น ลักษณะของดอกเป็นรูปปากแตรยาวประมาณ 2.5 นิ้ว มีสีม่วงอมชมพู ม่วงอมแดง ชมพูหรือม่วง ผักบุ้งทะเลมีพิษ ถ้ารับประทานจะเกิดอาการเมา คลื่นไส้ วิงเวียน และ เสียชีวิตได้.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และผักบุ้งทะเล · ดูเพิ่มเติม »

จุดร้อน

การแสดงให้เห็นภาพตัดขวางของชั้นธรณีฐาน(สีเหลือง)เมื่อมีแมกม่าขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลก จุดร้อน (Hotspot) ในทางธรณีวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวโลกที่คาดว่าอยู่ห่างจากขอบเขตการแปรสัณฐานของเปลือกโลก และเป็นปรากฏการณ์ทางภูเขาไฟอย่างหนึ่งซึ่งเกิดเนื่องมาจาก Mantle plume.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และจุดร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน

วงอาทิตย์เที่ยงคืนที่ประเทศนอร์เวย์ ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในฤดูร้อนของทวีปยุโรปและบริเวณใกล้เคียง ทางตอนเหนือของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล และตอนใต้ของเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ที่ดวงอาทิตย์ยังคงมองเห็นในเวลาเที่ยงคืน โดยมีโอกาสตามสภาพอากาศ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้สำหรับอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลและตอนใต้ของแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนที่อาจเกิดขึ้นในจำนวนวันที่ไม่แน่นอน ไม่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ถาวรทางตอนใต้ของขั้วโลกเหนือ ดังนั้นประเทศและดินแดนที่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์เที่ยงคืนได้จะจำกัดให้คนข้ามเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล เช่น แคนาดา (ยูคอน, นูนาวุต), สหรัฐอเมริกา (อะแลสกา), เดนมาร์ค (กรีนแลนด์), นอร์เวย์, สวีเดน, ฟินแลนด์, รัสเซีย, ไอซ์แลนด์ โดยดินแดนของ นอร์เวย์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลเป็นจุดที่ดวงอาทิตย์ไม่ได้ตกดินเป็นเวลายาวนานที่สุด (73 วัน) ในช่วงฤดู​​ร้อนในสฟาลบาร.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และดวงอาทิตย์เที่ยงคืน · ดูเพิ่มเติม »

คิริสมาส

กาะคิริสมาส (Kiritimati) หรือ เกาะคริสต์มาส (Christmas Island) เป็นเกาะในประเทศคิริบาส เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะไลน์ ตั้งอยู่ตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนใต้ของหมู่เกาะฮาวาย เป็นเกาะปะการังวงแหวนอะทอลล์ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก มีเนื้อที่ 322 ตร.กม.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และคิริสมาส · ดูเพิ่มเติม »

งวงช้างทะเล

งวงช้างทะเล หรือ Heliotropium foertherianum เป็นพืชในวงศ์ Boraginaceae เป็นไม้พุ่มลำต้นสีเทา แตกกิ่งจำนวนมาก ทรงพุ่มเป็นครึ่งวงกลม ใบเดี่ยว ออกแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว ติดกับก้านช่อเพียงด้านเดียว ก้านดอกอวบน้ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเดี่ยวกลม ขนาดเล็ก สีเขียว มีฐานรองดอกหุ้มผลไว้ครึ่งหนึ่ง ผิวเรียบเป็นมัน.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และงวงช้างทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ตาราวา

ชายหาดร้างในตาราวา ตาราวา เป็นอะทอลล์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เป็นเมืองหลวงเก่าของหมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของสาธารณรัฐคิริบาสในปัจจุบัน ซึ่งก็คือตาราวาใต้ เกาะนี้เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในยุทธภูมิตาราวา ซึ่งเป็นหนึ่งในสมรภูมิสำคัญในมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หมวดหมู่:ประเทศคิริบาส หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:อะทอลล์ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์คิริบาส.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และตาราวา · ดูเพิ่มเติม »

ตูอาโมตัส

ตูอาโมตัส หรือ กลุ่มเกาะตูอาโมตู (Îles Tuamotu, หรือชื่อทางการคือ Archipel des Tuamotu) เป็นกลุ่มเกาะในดินแดนเฟรนช์โปลินีเซีย อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ส่วนใหญ่เป็นเกาะปะการังวงแหวน มีเกาะเล็ก ๆ รวมกันประมาณ 80 เกาะ เป็นแนวเกาะปะการังวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ขนาดราวยุโรปตะวันตก เปโดร เฟร์นันเดส เด เกย์รอส นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนมาพบบางส่วนของกลุ่มเกาะนี้ใน..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และตูอาโมตัส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคิริบาส

ริบาส (Kiribati ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคิริบาส (Republic of Kiribati; กิลเบิร์ต: Ribaberiki Kiribati) เป็นชาติเกาะที่ตั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนตอนกลาง หมู่เกาะปะการัง 33 แห่งของประเทศกระจายทั่วพื้นที่ 3,500,000 ตารางกิโลเมตรใกล้เส้นศูนย์สูตร ชื่อประเทศที่เขียนในภาษาอังกฤษคือ "Kiribati" ออกเสียงในภาษาพื้นเมืองว่า ซึ่งมาจากการทับศัพท์คำว่า "Gilberts" ของคนในท้องถิ่น เนื่องจากว่าชื่อเดิมในภาษาอังกฤษของหมู่เกาะหลักคือ "หมู่เกาะกิลเบิร์ต" (Gilbert Islands).

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และประเทศคิริบาส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตองงา

ตองงา (อังกฤษและTonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (Kingdom of Tonga; Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และประเทศตองงา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเปรู

ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364 ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และประเทศเปรู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (Blacktip reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลานโปเลียน

ปลานโปเลียน หรือ ปลานกขุนทองหัวโหนก (Napoleonfish, Humphead wrasse, Mauri wrase) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cheilinus undulatus จัดอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae).

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และปลานโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ๋ยขี้นก

รังของ Peruvian Booby ทำด้วย “ขี้นก” ปุ๋ยขี้นก (Guano) มาจากภาษาเกชัวว่า “wanu” ที่มาจากภาษาสเปนที่แปลว่าสิ่งที่มาจากการขับถ่าย (อุจจาระและปัสสาวะ) ของนกทะเล, ค้างคาว และแมวน้ำ ขี้นกเป็นปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนผสมที่ใช้ทำดินปืนเพราะมีฟอสฟอรัส และ ไนโตรเจนสูง และไม่มีกลิ่น โมโนแคลเซียมฟอสเฟตที่ทำจากขี้นกใช้ในการการหว่านปุ๋ยทางอากาศ ดินที่ขาดสารชีวภาพสามารถทำให้เป็นดินที่มีประสิทธิภาพได้โดยการใช้ปุ๋ยขี้นก.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และปุ๋ยขี้นก · ดูเพิ่มเติม »

ปูมะพร้าว

ปูมะพร้าวขณะอยู่บนพื้น ปูมะพร้าว (Coconut crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Birgus latro) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน และเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน กิตติศัพท์ที่ว่าปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ในบางครั้งปูมะพร้าวถูกเรียกว่า ปูปล้น หรือ ปาล์มขโมย (เยอรมัน: Palmendieb) ทั้งนี้เนื่องจากปูมะพร้าวมักจะขโมยข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ส่องประกาย อย่างเช่น หม้อ หรือถ้วยสแตนเลส บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า ปูเสฉวนบก แต่อันที่จริงนอกจากปูมะพร้าวแล้ว ยังมีปูชนิดอื่นอีกที่จัดได้ว่าเป็นปูเสฉวนบกเช่นกัน นอกจากนี้ ปูมะพร้าวอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกในแต่ละที่ เช่น ที่เกาะกวม เรียกปูมะพร้าวว่า อายูยู.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และปูมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปูเสฉวน

ปูเสฉวน (Hermit crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในไฟลัมอาร์โธรพอด ในไฟลัมย่อยครัสเตเชียน ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ในวงศ์ใหญ่ Paguroidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก 7 วงศ์ (ดูในตาราง) โดยรวมแล้ว ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขาทั้งหมด 10 ขา ไม่มีเปลือกแข็งแบบปูหรือกุ้ง จึงต้องอาศัยในเปลือกหอยเปล่า โผล่เฉพาะหัวและขา 2 คู่ออกจากเปลือก ส่วนขาอีก 2 คู่ใช้ยึดกับเปลือกหอย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร มักอาศัยอยู่ตามหาดทรายชายทะเล บางชนิดอาจอาศัยอยู่ในน้ำลึก มีประมาณ 1,100 ชนิด บางสกุลอาศัยอยู่แต่เฉพาะบนบก ได้แก่ Coenobita ปูเสฉวนมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะต่อสู้กันด้วยก้ามเพื่อแย่งชิงตัวเมีย เหมือนกุ้ง หรือปูทั่วไป เมื่อตัวผู้ที่ชนะแล้วจะจับตัวเมียไว้ เมื่อตัวเมียลอกคราบ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมบริเวณขาว่ายส่วนท้อง เกิดเมื่อการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ไปในทะเลเพื่อปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปในทะเล ซึ่งลูกขนาดเล็กจะยังมีลักษณะไม่เหมือนตัวเต็มวัย จะต้องลอกคราบและมีพัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ ในปูเสฉวนบกก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน แต่กระทำกันบกบก และตัวเมียจะลงไปปล่อยในทะเล ก่อนที่ลูกเมื่อแรกเกิดจะกลับมาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่บนบก.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และปูเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

นีวเว

นีวเว (Niue; นีวเว: Niuē) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มักเรียกว่า "Rock of Polynesia" นีวเวปกครองตนเอง แต่นอกจากนี้ นีวเวยังอยู่ในความสัมพันธ์เสรี (free association) กับประเทศนิวซีแลนด์ด้วย นั่นหมายความว่าประมุขโดยชอบธรรมของนิวซีแลนด์เป็นประมุขรัฐของนีวเวด้วย และความสัมพันธ์ทางการทูตส่วนใหญ่จะจัดโดยนิวซีแลนด์ นีวเวตั้งอยู่ห่างจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของนิวซีแลนด์ 2,400 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมระหว่างประเทศตองงา ประเทศซามัว และหมู่เกาะคุก.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และนีวเว · ดูเพิ่มเติม »

น้ำขึ้นลง

น้ำขึ้นน้ำลง (อังกฤษ: tide) เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง) น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด (Spring tide) เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุกๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยหรือน้ำตาย (Neap tide)เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็กๆนั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง (flood tides) และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง (ebb tide) เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึงซึ่งอาจเป็นดินหรือทรายก็ได้ ว่า หาดโคลน (tidal flat หรือ mud flat) หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีวัชพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่รายชนิดนี้ว่า ลุ่มดินเค็ม (salt marsh) หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของหอยหลอดได้.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และน้ำขึ้นลง · ดูเพิ่มเติม »

แมว

แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนี.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และแมว · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นแปซิฟิก

แผ่นแปซิฟิกแสดงในสีเหลือง แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) คือแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 103 ล้านตารางกิโลเมตรจึงถือว่าเป็นแผ่นเปลือกโลกที่ใหญ่ที่สุด แผ่นแปซิฟิกมีจุดร้อนภายในที่ทำให้เกิดหมู่เกาะฮาว.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และแผ่นแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

รงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1972 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ตลอดจนเสริมสร้างการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด ผ่านสถาบันและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อนำไปสู่ความมีสุขภาพชีวิตที่ดี ด้วยการไม่ผลักภาระด้านสิ่งแวดล้อมให้อนุชนรุ่นหลังต้องเผชิญเคราะห์กรรมที่บรรพชนใดก่อเอาไว้ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือตั้งใจทำลายสภาพแวดล้อมให้เสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวล.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ไม้พุ่ม

ต้นไม้กวาด ไม้ดอกที่ออกดอกเต็มต้นในฤดูใบไม้ผลิในเขตอบอุ่น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้พุ่ม บางครั้งเรียก ไม้กอ เป็นคำเทคนิคที่ใช้ในสาขาวิชาพืชสวนมากกว่าสาขาพฤกษศาสตร์ที่เข้มงวดที่หมายไปถึงประเภทของไม้มีแก่นที่สัณบานแตกต่างไปจากไม้ต้นเนื่องจากการมีหลายลำต้นแตกขยายเป็นพุ่มและเตี้ย ปกติจะเตี้ยกว่า 5-6 เมตร มีต้นไม้หลายชนิดที่จะจำแนกเป็นไม้พุ่มก็ได้หรือไม้ต้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการขึ้นของมัน รวมทั้งการตัดแต่งโดยจงใจของมนุษย์ ต้นเฟื่องฟ้าที่จำแนกเป็นไม้พุ่ม บางครั้งและบางพันธุ์ตามสัณฐานธรรมชาติอาจจำแนกเป็นไม้เลื้อยได้เช่นกัน และยังสามารถตัดแต่งต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ต้นขนาดเล็กเป็นไม้ประดับได้ด้วย ชุมชนพืชที่ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มขึ้นรวมอยู่กันเป็นหมู่ เรียกว่า ละเมาะ ถ้ามีมาก เรียกป่าละเมาะ บริเวณไม้พุ่มที่ปลูกรวมเป็นที่เฉพาะไว้ในอุทยานหรือสวนเพื่อการจัดแสดงเรียกว่าสวนไม้พุ่ม เมื่อไม้พุ่มถูกตัดแต่งด้วยการขริบเป็น "ไม้ตัด" มันจะแตกกิ่งก้านและมีใบเล็กลงทำให้พุ่มใบแน่นขึ้น ไม้พุ่มหลายชนิดตอบสนองได้รวดเร็วต่อการตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกกิ่งก้านและใบใหม่ "การตัดแต่งหนัก" คือตัดถึงตอ จะทำให้ไม้พุ่มแตกกิ่งใหม่ที่ยาว ไม้พุ่มบางชนิดตอบสนองต่อการตัดแต่งพิเศษเพื่อแสดงลักษณะโครงสร้างที่สวนงามได้ดี ไม้พุ่มที่ใช้ในงานทำสวนทั่วไปมักเป็นประเภทไม้ใบกว้าง แต่ที่เป็นไม้ใบรูปเข็มก็มี โดยเฉพาะในประเทศเขตอบอุ่น เช่น สนเขาขนาดเล็ก ไม้พุ่มมีทั้งที่เป็นไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใ.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และไม้พุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์พอลินีเชีย

ฟรนช์พอลินีเชีย (French Polynesia; Polynésie française; ตาฮีตี: Pōrīnetia Farāni) เป็นดินแดนของฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ มีฐานะเป็น "overseas collectivity" พร้อมกับ "overseas country" ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ประกอบด้วยกลุ่มเกาะหลายเกาะในภูมิภาคโพลินีเซีย เกาะที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ตาฮีตีในหมู่เกาะโซไซตี ซึ่งยังเป็นเกาะที่มีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของดินแดน (ปาเปเอเต) อีกด้วย และแม้จะไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่เกาะกลีแปร์ตอนก็ถูกบริหารโดยเฟรนช์พอลินีเชี.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเฟรนช์พอลินีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

ฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan), ฟือร์เนา ดือ มากัลไยช์ (Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 5 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเล็ก

กาะเล็ก (Islet) เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กมาก ๆ อาจเกิดจากเกาะขนาดใหญ่ที่ถูกกัดเซาะจากลมและฝน หรืออาจเกิดจากการทับทมตามธรรมชาต.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเกาะเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เส้นแบ่งเขตวันสากล

รูปแสดงเส้นแบ่งเขตวันสากล (สีดำกลางภาพ) เส้นแบ่งเขตวันสากล (International Date Line: IDL) เป็นเส้นสมมติที่ลากในแนวเหนือ-ใต้บนพื้นผิวของโลก ผ่านใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งกำหนดสถานที่ซึ่งวันตามปฏิทินเริ่มต้น เส้นดังกล่าวอยู่ที่ประมาณลองติจูด 180 องศา ตรงข้ามกับเส้นเมริเดียนแรก แต่ลากอ้อมบางดินแดนและกลุ่มเกาะบางกลุ่ม เวลาทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากลช้ากว่าทางตะวันตกอยู่ 1 วัน เมื่อข้ามเส้นดังกล่าวไปทางตะวันออกจึงต้องหักวันออกหนึ่งวัน และเมื่อข้ามเส้นดังกล่าวไปทางตะวันตกต้องเพิ่มวันเข้าหนึ่งวัน.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเส้นแบ่งเขตวันสากล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปอเมริกาเหนือ (ทั้งหมดอยู่ภายในรัฐอลาสก้า) มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ ในแอนตาร์กติกา เส้นเมริเดียนนี้ มีความหมายเป็นเส้นเขตแดนทางตะวันออกสุดของดินแดนอ้างสิทธิ์ของนิวซีแลนด์ โดยดินแดนต่อมาในด้านตะวันออกไม่ได้ถูกอ้างสิทธิ์โดยชาติใด เส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 30 องศาตะวันออก สำหรับเขตเวลาฮาวาย-อะลูเชียน เส้นนี้เป็นฐานของเวลาสุริยะเฉลี.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เขตสงวนชีวมณฑล

ตสงวนชีวมณฑล (biosphere reserve) ตามความหมายขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) คือ พื้นที่ระบบนิเวศบนบก และ/หรือชายฝั่งทะเล ที่ได้รับการยอมรับจากโครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก (Man and the Biosphere - MAB) ประกอบไปด้วยพื้นที่แกนกลาง พื้นที่กันชน และพื้นที่รอบนอก.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเขตสงวนชีวมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

เขตเวลา

ตเวลา เขตเวลา คือ พื้นที่บนผิวโลกที่ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน โดยปกติหมายถึง เวลาท้องถิ่นประยุทธ์บอก เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น (สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหาโดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15° ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าแต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ ทุกๆ เขตเวลามีความสัมพันธ์กับเวลาพิกัดสากล จุดอ้างอิงของเขตเวลาคือเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ซึ่งพาดผ่าน Royal Greenwich Observatory ในกรีนิช (กรีนิช) กรุงลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้จึงมักพบการใช้คำว่า เวลามาตรฐานกรีนิช เพื่อแสดงเวลาพื้นฐานซึ่งมีความสัมพันธ์กับเขตเวลาต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ใช้ UTC เป็นหน่วยเวลาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมของกรีนิชที่ใช้การอ้างอิงเวลาตามหลักดาราศาสตร์ ทั้งนี้เวลา GMT (UTC) จะเป็นเวลาประจำกรีนิชเฉพาะในช่วง 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ถึงเวลา 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ส่วนในช่วงเวลาที่เหลือของปีเวลาของกรีนิชจะเป็น UTC+1 ซึ่งในประเทศอังกฤษจะเรียกเวลานี้ว่า (BST - British Summer Time) ตัวอย่างการแสดงเวลาท้องถิ่นโดยใช้เวลาพิกัดสากล ณ เวลา 11.00 UTC.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเขตเวลา · ดูเพิ่มเติม »

เต่าตนุ

ต่าตนุ (Green turtle) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas อยู่ในวงศ์ Cheloniidae และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelonia เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้ว่าอีกชื่อหนึ่งว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" อันเนื่องจากมีกระดองเหลือบสีเขียวนั่นเอง พบกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย โดยมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป เต่าตนุเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวก หญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป โตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4-7 ปี เชื่อว่าอายุยืนถึง 80 ปี ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทยและอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด เป็นเต่าที่มักพบในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ สำหรับในน่านน้ำไทย พบเต่าชนิดนี้ขึ้นวางไข่มากที่เกาะครามและเกาะกระในอ่าวไทย และทางฝั่งทะเลอันดามันพบวางไข่มากที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนชายหาดและเกาะหลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตและพังง.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และเต่าตนุ · ดูเพิ่มเติม »

UTC+14:00

UTC+14:00 เป็นเขตเวลาที่เวลาท้องถิ่นเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 14 ชั่วโมง ใช้ใน.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และUTC+14:00 · ดูเพิ่มเติม »

UTC−10:00

UTC−10 เป็นเขตเวลาที่เวลาท้องถิ่นช้ากว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 10 ชั่วโมง ใช้ใน.

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และUTC−10:00 · ดูเพิ่มเติม »

235 แคโรไลนา

235 แคโรไลนา (235 Carolina) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อย ค้นพบโดย โยฮันน์ พาลิซา เมื่อ 28 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เกาะแคโรไลน์และ235 แคโรไลนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เกาะมิลเลเนี่ยมเกาะคาโรไลน์เกาะปะการังวงแหวนมิลเลนเนียม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »