โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกาะลำพู

ดัชนี เกาะลำพู

กาะลำพู เกาะลำพู เป็นเกาะแม่น้ำในแม่น้ำตาปีและเป็นที่ราชพัสดุ เดิมทางจังหวัดเคยให้สัมปทานแก่เอกชนสร้างบังกาโล สร้างสวนอาหาร ต่อมาภายหลังหมดสัญญาทางจังหวัดได้พัฒนาและสร้างเป็นสวนสาธารณะเป็นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมงดงามเหมาะแก่การพักผ่อนอย่างยิ่ง ประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีโอกาสแวะเวียนมาใช้พื้นที่บริเวณนี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีลานกิจกรรมและลานกีฬาและสันทนาการอยู่กลางเมืองสุราษฎร์ธานี โดยการเดินทาง เดิมต้องเดินทางทางเรือ แต่ปัจจุบันมีสะพานเชื่อมไปได้อย่างสะดวกสบายสามารถเห็นทิวทัศน์ริมเขื่อนแม่น้ำตาปีอีกด้วย บริเวณเกาะลำพูซึ่งอยู่กลางแม่น้ำตาปี ยังเป็นสนามแข่งขันเจ็ตสกีแห่งหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณนี้เองยังใช้ในการแข่งเรือยาวและชักพระของเรือพระทางน้ำอีกด้ว.

3 ความสัมพันธ์: จังหวัดสุราษฎร์ธานีแม่น้ำตาปีเกาะแม่น้ำ

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวั.

ใหม่!!: เกาะลำพูและจังหวัดสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำตาปี

แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่านเมืองสุราษฎร์ธานี แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่าน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช แม่น้ำตาปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และไหลสู่อ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักปราชญ์ชาวกรีกนามว่าปโตเลมี ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ ซึ่งหมายถึง แม่น้ำตาปี.

ใหม่!!: เกาะลำพูและแม่น้ำตาปี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะแม่น้ำ

เกาะลำพูกลางแม่น้ำแม่น้ำตาปี เกาะแม่น้ำ คือเกาะที่อยู่กลางแม่น้ำหรือเกาะที่ถูกน้ำท่วมรอบ ๆ ไม่นับรวมเกาะกึ่งชายฝั่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและดอนทรายใต้น้ำที่โพล่พ้นน้ำแค่บางเวลา เกาะแม่น้ำเป็นผลมาจากกระบวนการของธารน้ำอย่างการทับทมและการกร่อน เช่นน้ำที่ค่อย ๆ เซาะดินบริเวณลำน้ำโค้งตวัดจนกลายเป็นเกาะหรือการทับทมบริเวณดอนทรายใต้น้ำ หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานวิทยา หมวดหมู่:เกาะ หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานธารน้ำ หมวดหมู่:เกาะแม่น้ำ.

ใหม่!!: เกาะลำพูและเกาะแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »