โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แฮร์มันน์ เกอริง

ดัชนี แฮร์มันน์ เกอริง

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์".

46 ความสัมพันธ์: ชตูร์มับไทลุงฟรันซ์ ฟอน พาเพินฟือเรอร์พ.ศ. 2476พ.ศ. 2477พ.ศ. 2480พ.ศ. 2481พรรคนาซีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)กรกฎาคมกองทัพบกจักรวรรดิเยอรมันการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คการเป็นพิษจากไซยาไนด์กางเขนเหล็กกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินมอร์ฟีนมิวนิกระบอบเผด็จการราชอาณาจักรบาวาเรียลุฟท์วัฟเฟอสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสนธิสัญญาแวร์ซายอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฮยัลมาร์ ชัคท์ฮิเดะกิ โทโจจักรวรรดิเยอรมันทหารราบคาร์ลสรูเออคูร์ท ฟอน ชไลเชอร์ค่ายกักกันประเทศโปแลนด์ประเทศเฮตินาซีเยอรมนีโรแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์โรเซินไฮม์ไรชส์ทาคไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์)เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กเกสตาโพเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบเนือร์นแบร์ค10 เมษายน15 มกราคม26 พฤศจิกายน

ชตูร์มับไทลุง

ตูร์มับไทลุง (Sturmabteilung; ชื่อย่อ เอสเอ (SA);; แปลว่า "กองกำลังพายุ") เป็นหน่วยกองกำลังกึ่งทหารเดิมของพรรคนาซี หน่วยเอสเอมีบทบาทสำคัญในการก้าวขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในทศวรรษที่ 1920 ถึง 1930 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มกันการเคลื่อนทัพและการระดมพลของนาซี เข้าก่อกวนการประชุมพรรคฝ่ายค้าน สู้กับหน่วยกึ่งทหารของฝ่ายตรงข้าม เช่น สันนิบาตนักสู้แนวหน้าสีแดง (Rotfrontkämpferbund) ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี รวมถึงสร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวสลาวิกและโรมัน กลุ่มลัทธิ และกลุ่มยิว เช่นในช่วงการคว่ำบาตรชาวยิวของนาซี กลุ่มเอสเอบ้างก็รู้จักในยุคสมัยนั้นว่าพวกชุดกากี (Braunhemden) ทำนองเดียวกับกลุ่มชุดดำของมุโสลินี กลุ่มเอสเอมียศกึ่งทหารเป็นของตนเองซึ่งนำไปใช้กับกลุ่มนาซีหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่เป็นหัวหน้าก็เช่นกลุ่มชุทซ์ชทัฟเฟิล ซึ่งเคยอยู่ภายใต้กลุ่มเอสเอก่อนแยกตัวออกมาภายหลัง เหตุที่ใช้ชุดกากีเพราะว่าในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีชุดเหล่านี้จำนวนมากและราคาถูก เพราะได้เคยมีการสั่งชุดนี้สำหรับทหารประจำอาณานิคมของดินแดนอาณานิคมของเยอรมัน กลุ่มเอสเอสูญเสียอำนาจหลังจากฮิตเลอร์สั่งให้มีการฆ่าล้างอย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์คืนมีดยาว (die Nacht der langen Messer) และถูกแทนที่โดยกลุ่มเอสเอส แต่กลุ่มเอสเอก็ยังไม่ถูกเลิกถาวรจนกระทั่วอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1945.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและชตูร์มับไทลุง · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ฟอน พาเพิน

ฟรันซ์ โยเซฟ แฮร์มัน ไมเคิล มาเรีย ฟอน พาเพิน ซู คอนนิเกน(Franz Joseph Hermann Michael Maria von Papen zu Köningen)(29 ตุลาคม ค.ศ.1879 – 2 พฤษภาคม ค.ศ.1969)เป็นขุนนางเยอรมัน,เจ้าหน้าที่เสนาธิการและนักการเมือง เขาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในปี..1932 และในฐานะรองนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในปี..1933–1934 เขาเป็นกลุ่มที่ปรึกษาใกล้ชิดกับประธานาธิบดีเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กในช่วงปลายของสาธารณรัฐไวมาร.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและฟรันซ์ ฟอน พาเพิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟือเรอร์

ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและฟือเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2476

ทธศักราช 2476 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1933.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและพ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2477

ทธศักราช 2477 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1934ยวห.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและพ.ศ. 2477 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและพ.ศ. 2481 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและพรรคนาซี · ดูเพิ่มเติม »

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

ระยาพหลพลพยุหเสนา (แถวหน้าซ้ายมือ) นำคณะรัฐมนตรีของไทยเข้าเยือนประเทศญี่ปุ่น และพบกับ ฮิเดกิ โตโจ (แถวหน้าตรงกลาง) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เกิดวันที่ 29 มีนาคม..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) · ดูเพิ่มเติม »

กรกฎาคม

กรกฎาคม เป็นเดือนที่ 7 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกรกฎาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกรกฎ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีสิงห์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกรกฎาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่และปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปู เดิมเดือนนี้ใช้ชื่อว่า ควินตีลิส (Quintilis) ในภาษาละติน และเป็นเดือนที่ 5 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "July" ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เกิด และอ่านออกเสียงว่าจูลีจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและกรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน

กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Heer) เป็นกองทัพบกของจักรวรรดิเยอรมัน.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและกองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

การเป็นพิษจากไซยาไนด์

การเป็นพิษจากไซยาไนด์ (Cyanide poisoning) เป็นภาวะการเป็นพิษอย่างหนึ่งที่เกิดจากการได้รับสารไซยาไนด์ในรูปแบบต่างๆ อาการในช่วงแรกอาจปวดศีรษะ มึนงง หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก และอาเจียนได้ หลังจากนั้นอาจมีอาการชัก หัวใจเต้นช้า ความดันเลือดต่ำ หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นได้ ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการในเวลาไม่กี่นาทีหลังได้รับสาร หากรอดชีวิตก็ยังอาจมีผลแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบประสาทตามมาได้ สารประกอบที่มีไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบและเป็นพิษที่สำคัญเช่นก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ และเกลือไซยาไนด์บางชนิด การเป็นพิษจากไซยาไนด์ที่พบบ่อยมักเกิดตามหลังการหายใจในควันที่เกิดจากไฟไหม้บ้าน ช่องทางอื่นเช่นการได้รับสารในสถานที่ทำงานเช่นยาขัดโลหะ ยาฆ่าแมลงบางชนิด เมล็ดพืชบางชนิด เช่น เมล็ดแอปเปิล เมล็ดแอปปริคอต และมันสำปะหลังที่ปรุงไม่ถูกวิธี ไซยาไนด์ในรูปของเหลวอาจถูกดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ไอออนของไซยาไนด์จะเข้าไปรบกวนการหายใจระดับเซลล์ ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้ การวินิจฉัยโดยทั่วไปทำได้ยาก แพทย์อาจสงสัยเมื่อผู้ป่วยที่ประสบเหตุไฟไหม้บ้านมีอาการซึมลง ความดันเลือดต่ำ กรดแลคเตตในเลือดสูง ห้องปฏิบัติการสามารถตรวจหาระดับไซยาไนด์ในเลือดได้แต่มักต้องใช้เวลานาน.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและการเป็นพิษจากไซยาไนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนเหล็ก

กางเขนเหล็กแบบมาตรฐาน รูปหล่อทูตสวรรค์บนรถม้าชูคทามีตรากางเขนเหล็กเหนือประตูบรันเดินบวร์คในกรุงเบอร์ลิน กางเขนเหล็ก (Eisernes Kreuz, ไอเซอร์เนส ครอยซ์) เป็นเครื่องหมายทางทหารที่เกิดขึ้นในสมัยราชอาณาจักรปรัสเซีย ซึ่งใช้เรื่อยมาในยุคจักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1871–1918) และนาซีเยอรมนี (ค.ศ. 1933–1945) เครื่องหมายนี้เมื่อแรกเริ่มถูกสถาปนาขึ้นเป็นเหรียญอิสริยาภรณ์โดยพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและกางเขนเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน (Ritterkreuz des Eisernen Kreuzes) หรือเรียกอีกอย่างว่า กางเขนอัศวิน (Ritterkreuz) เป็นบำเหน็จความชอบขั้นสูงสุดในกองกำลังทหารและกึ่งทหารของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการมอบบำเหน็จนี้อย่างแพร่หลายด้วยสารพัดเหตุผล เช่น การนำทัพที่ยอดเยี่ยมของผู้บัญชาการ หรือความกล้าหาญในสมรภูมิของนายทหารระดับล่าง บำเหน็จนี้จะถูกมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ในสามเหล่าทัพของเวร์มัคท์ (''เฮร์'', ครีกซมารีเนอ และลุฟท์วัฟเฟอ) ตลอดจนสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส, กองแรงงานไรช์ และโฟล์คสชทูร์ม บำเหน็จนี้ถูกมอบไปมากกว่า 7,000 สำรับตลอดช่วงสงคราม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สถาปนาบำเหน็จนี้ขึ้นเมื่อ 1 กันยายน..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและกางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ฟีน

มอร์ฟีน (Morphine) ที่ขายภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ เป็นยาระงับปวดชนิดยาเข้าฝิ่น ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดความรู้สึกปวด ใช้ได้ทั้งกับอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง มอร์ฟีนยังมักใช้กับอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและระหว่างการคลอด สามารถให้ทางปาก โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง เข้าหลอดเลือดดำ เข้าช่องว่างระหว่างไขสันหลัง หรือทางทวารหนัก ฤทธิ์สูงสุดอยู่ประมาณ 20 นาทีเมื่อให้เข้าหลอดเลือดดำ และ 60 นาทีเมื่อให้ทางปาก ส่วนระยะออกฤทธิ์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีสูตรออกฤทธิ์ยาว ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดได้มีความพยายามหายใจลดและความดันเลือดต่ำ มอร์ฟีนมีศักยะสูงสำหรับการติดยาและการใช้เป็นสารเสพติด หากลดขนาดหลังการใช้ระยะยาว อาจเกิดอาการถอนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปมีซึม อาเจียนและท้องผูก แนะนำให้ระวังเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะมอร์ฟีนจะมีผลต่อทารก ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์เป็นผู้แรกที่แยกมอร์ฟีนระหว่าง..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและมอร์ฟีน · ดูเพิ่มเติม »

มิวนิก

มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 (เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบเผด็จการ

ระบอบเผด็จการ (Dictatorship) หมายถึง รูปแบบการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารของบุคคลเพียงคนเดียว หรือ ผู้เผด็จการ โดยไม่มีการสืบทอดตำแหน่งตามสายเลือด คำว่า เผด็จการ อาจมีได้หลายความหมายเช่น.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและระบอบเผด็จการ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบาวาเรีย

ราชอาณาจักรบาวาเรีย (Königreich Bayern; Kingdom of Bavaria) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเยอรมนีระหว่างปี ค.ศ. 1805 ถึงปี ค.ศ. 1918 พระเจ้าแม็กซิมิเลียนที่ 1 โจเซฟแห่งบาวาเรียแห่งราชวงศ์วิตเตลสบาคเป็นกษัตริย์องค์แรกเมื่อปี..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและราชอาณาจักรบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ลุฟท์วัฟเฟอ

ลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เป็นเหล่าทัพการสงครามทางอากาศของกองทัพเยอรมันเวร์มัคท์ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ลุฟท์ชไตรท์แครฟเทอ (Luftstreitkräfte) แห่งกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน และหน่วยนักบินทหารเรือ มารีเนอ-ฟีเกอร์อับไทลุงของไคแซร์ลีเชอ มารีเนอ (Kaiserliche Marine), ได้ถูกยุบในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและลุฟท์วัฟเฟอ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์ซาย

''The Signing of the Peace Treaty of Versailles'' สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและสนธิสัญญาแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮยัลมาร์ ชัคท์

ัลมาร์ โฮราเซอ เกรลี ชัคท์ (Hjalmar Horace Greeley Schacht) เป็นนักเศรษฐศาสตร์, นายธนาคาร, นักการเมืองฝ่ายขวา-กลางและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์เยอรมันในปี..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและฮยัลมาร์ ชัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิเดะกิ โทโจ

กิ โทโจ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2427 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของญี่ปุ่น (สมัยที่ 40) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ เขายังรู้จักกับแฮร์มันน์ เกอริง, พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นการส่วนตัวตั้งแต่สมัยเรียนวิชาการทหารอยู่ที่เยอรมัน.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและฮิเดะกิ โทโจ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทหารราบ

ทหารราบชาวอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทหารราบ (infantry) คือทหารที่มีหน้าที่เข้าดำเนินกลยุทธ์ในการรบโดยใช้อำนาจการยิงจากอาวุธประจำกาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ และทำลายข้าศึก มีขีดสามารถเคลื่อนที่โดยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเหล่าทหารที่มีจำนวนมากที่สุด ได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งสนามรบ" มีเครื่องหมายเป็นรูปปืนเล็กไขว้ประกอบกับตับกระสุน หมวดหมู่:ทหาร หมวดหมู่:ทหารราบ.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและทหารราบ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ลสรูเออ

Karlsruhe Palace คาร์ลสรูเออ (Karlsruhe) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี ใกล้ชายแดนประเทศฝรั่งเศส เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ เมืองตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและคาร์ลสรูเออ · ดูเพิ่มเติม »

คูร์ท ฟอน ชไลเชอร์

ูร์ท แฟร์ดีนันด์ ฟรีดริช แฮร์มันน์ ฟอน ชไลเชอร์ (Kurt Ferdinand Friedrich Hermann von Schleicher) เป็นคนสนิทของประธานาธิบดีเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กซึ่งได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของสาธารณรัฐไวมาร์ ภายหลังจากที่เขาลาออกจากตำแหน่งได้เพียง 17 เดือน เขาถูกลอบสังหารโดยเอ็สเอ็สภายใต้คำสั่งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในเหตุการณ์คืนแห่งมีดยาว โดยขณะที่ถูกสังหารกำลังพูดคุยโทรศัพท์กับเพื่อนคนหนึ่ง ในบ้านของตัวเอง และยังได้พูดลงไปในโทรศัพท์ว่า "รอเดี๋ยว มีคนเข้ามาในห้องนี้" เมื่อชะโงกหน้าออกไปดู จึงถูกยิงเสียชีวิต เมื่อภรรยาได้ยินเสียงจึงวิ่งเข้ามาดู ก็ถูกยิงเสียชีวิตตามไปอีกคน.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและคูร์ท ฟอน ชไลเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกัน

กักกัน (Concentration Camp) คือสถานที่ที่รัฐใช้คุมขังนักโทษหรือกักกันบุคคลเฉพาะกลุ่มด้วยเหตุผลทางการเมือง นักโทษทางการเมือง ชนกลุ่มน้อย บุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลหรือพลเมืองเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง นักโทษเหล่านี้จะถูกจับโดยไม่มีการสอบสวนตามกระบวนยุติธรรม และไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ทั้งยังถูกจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนด้วย ในแง่ประวัติศาสตร์ ค่ายกักกันที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ค่ายกักกันของพรรคนาซีในเยอรมันและค่ายกักกันแรงงานในสหภาพโซเวียต ค่ายกักกันมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเกิดสงครามบัวร์ในแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปค่ายกักกันจะประกอบด้วยโรงทหารกระท่อมหรือกระโจมที่พักและบริเวณรอบ ๆ ค่ายจะมีป้อมยามและลวดหนามล้อมรอบ ผู้คุมค่ายและยามรักษาการณ์มีอำนาจเหนือชีวิตนักโทษและจะปกครองอย่างเข้มงวด ค่ายกักกันที่สำคัญ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและค่ายกักกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเฮติ

ติ (Haiti; Haïti; ครีโอลเฮติ: Ajiti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเฮติ (Republic of Haiti; République d'Haïti; ครีโอลเฮติ: Repiblik Ayiti) เป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศแคริบเบียน ซึ่งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะฮิสปันโยลาในทะเลแคริบเบียน โดยมีเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียงด้วย คือ ลากอนาฟว์, ลาตอร์ตูว์, เลแกมิต, อีลาวัช, ลากร็องด์แก และนาวัส (ซึ่งมีข้อพิพาทกับสหรัฐอเมริกา) โดยประเทศเฮติมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐโดมินิกัน มีพื้นที่ 27,750 ตารางกิโลเมตร (10,714 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงคือปอร์โตแปรงซ์ อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งนี้ประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2347 ใช้ชื่อประเทศว่าเฮติ ซึ่งมาจากชื่อเกาะในคำอาราวักเก่าว่า อายีตี (Ayiti) โดยถือว่าเป็นประเทศเอกราชแห่งที่ 2 ในทวีปอเมริกา (รองจากสหรัฐอเมริกา) และเป็นสาธารณรัฐเอกราชของคนผิวดำแห่งแรกของโลกอีกด้วย แต่ทั้ง ๆ ที่เก่าแก่และมีอายุยาวนาน เฮติกลับเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและประเทศเฮติ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โรแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์

รแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์ (Robert Ritter von Greim) เป็นจอมพลและนักบินเยอรมันในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ได้มอบหมายแต่งตั้งให้ไกรม์เป็นผู้บัญชาการแห่งลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) แทนที่แฮร์มันน์ เกอริง ซึ่งถูกปลดออกจากตำแหน่งโทษฐานทรยศ และเมื่อเยอรมันได้ยอมจำนนต่อสัมพันธมิตร ไกรม์ถูกจับเป็นเชลยโดยกองทัพสหรัฐ เขาได้ฆ่าตัวตายในเรือนจำเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและโรแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์ · ดูเพิ่มเติม »

โรเซินไฮม์

รเซินไฮม์ (Rosenheim) เป็นเมืองในส่วนภูมิภาคโอเบอร์ไบเอิร์น รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ถือเป็นเมืองใหญ่สุดทางตอนใต้ของโอเบอร์ไบเอิร์น ตั้งอยู่กึ่งกลางของทางด่วนหมายเลข 8 ซึ่งเชื่อมนครมิวนิกกับเมืองอินส์บรุคและซาลซ์บูร์กในประเทศออสเตรีย เมืองโรเซินไฮม์ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตะวันตกของแม่น้ำอินน์ (Inn) แม่น้ำสายสำคัญซึ่งไหลลงสู่ประเทศออสเตรีย โรเซินไฮม์ยังเป็นบ้านเกิดของจอมพลไรช์ แฮร์มันน์ เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันสมัยนาซี.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและโรเซินไฮม์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์ทาค

รชส์ทาค (Reichstag) เป็นคำภาษาเยอรมัน หมายถึงฝ่ายนิติบัญญัติของไรช์ ปรากฎขึ้นในหลายยุคหลายสมัยในประวัติศาสตร์เยอรมัน อันได้แก่.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและไรชส์ทาค · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์)

รชส์ทาค (Reichstag) ของสาธารณรัฐไวมาร์ ดำรงอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์) · ดูเพิ่มเติม »

เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก

ล์ ลุดวิก ฮันส์ อันโทน ฟอน เบเนกเคินดอร์ฟ อุนด์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก (Paul Ludwig Hans Anton von Beneckendorff und von Hindenburg) รู้จักกันทั่วไปว่า เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก (2 ตุลาคม 1847 – 2 สิงหาคม 1934) เป็นจอมพล รัฐบุรุษและนักการเมืองชาวปรัสเซีย-เยอรมัน และเป็นประธานาธิบดีเยอรมนีคนที่สองตั้งแต่ปี 1925 ถึง 1934.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เกสตาโพ

รื่องแบบเกสตาโพ เกสตาโพ (Gestapo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทบวงตำรวจลับของรัฐ (Geheime Staatspolizei) เป็นตำรวจลับอย่างเป็นทางการของนาซีเยอรมนี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน..

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและเกสตาโพ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย

รื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (อังกฤษ: Order of the Rising Sun) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น สถาปนาในปี พ.ศ. 2448 โดย สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ

รื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ (Kungliga Svärdsorden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทางทหารของราชอาณาจักรสวีเดน สถาปนาครั้งแรก ค.ศ. 1748 โดย พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มอบให้แก่ข้าราชการทหารที่ปฎิบัติราชการสงคราม และ นายทหารชาวต่างประเทศ ปัจจุบันงดพระราชทานแต่ยังคงไว้ซึ่งในยามสงคราม.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ · ดูเพิ่มเติม »

เนือร์นแบร์ค

นือร์นแบร์ค (Nürnberg) หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า นูเร็มเบิร์ก (Nuremberg) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐไบเอิร์น (บาวาเรีย) ประเทศเยอรมนี ห่างจากนครมิวนิกขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 170 กิโลเมตร ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 500,000 คน เนือร์นแบร์คมีประวัติศาสตร์ถอยไปถึง ค.ศ. 1050 โดยเป็นเมืองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองนี้เป็นศูนย์ประชุมหลักของพรรคนาซี และหลังสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำพิจารณาคดีต่อเหล่าอาชญากรสงคราม หลังจากนาซีเยอรมันพ่ายแพ้.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

10 เมษายน

วันที่ 10 เมษายน เป็นวันที่ 100 ของปี (วันที่ 101 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 265 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและ10 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

15 มกราคม

วันที่ 15 มกราคม เป็นวันที่ 15 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 350 วันในปีนั้น (351 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและ15 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

26 พฤศจิกายน

วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 330 ของปี (วันที่ 331 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 35 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แฮร์มันน์ เกอริงและ26 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hermann Göringจอมพล แฮร์มันน์ วิลเฮร์ม เกอริงแฮร์มันน์ วิลเฮร์ม เกอริงแฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริงเกอริงเฮอร์มันน์ เกอริงเฮอร์แมน เกอริง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »