โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกรฟแอกเซนต์

ดัชนี เกรฟแอกเซนต์

กรฟแอกเซนต์ (grave accent) เรียกย่อว่า เกรฟ (grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาอยู่เหนืออักษร (`) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินเพื่อใช้ในภาษาต่าง ๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษานอร์เวย์ ภาษาเวียดนาม ฯลฯ กำกับอักษรกรีกในภาษากรีก (ใช้จนถึง ค.ศ. 1982) หรือใช้กำกับอักษรอื่น ๆ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทั้งการเปลี่ยนระดับเสียง การแปรเสียง การเน้นเสียง หรือการแยกแยะคำ เป็นต้น คำว่า grave มาจากภาษาละติน gravis แปลว่า หนัก ในภาษาอังกฤษมีการอ่านว่า กราฟ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้แตกต่างจากคำว่า grave เกรฟ ที่แปลว่า ร้ายแรง หรือหลุมศพ ซึ่งเลียนแบบมาจากภาษาฝรั่งเศส accent grave อักซอง กราฟ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์มีแป้นเกรฟอยู่บริเวณมุมบนซ้ายของผัง บางภูมิภาคใช้ร่วมกับแป้นตาย (dead key) เพื่อประสมกับอักษร บางภูมิภาคใช้เพื่อสลับภาษาป้อนเข้า (คนไทยเรียก "ปุ่มตัวหนอน" ซึ่งเป็นปุ่มเดียวกับทิลเดอ) วงการโปรแกรมเมอร์เรียกเครื่องหมายนี้ว่า แบ็กโควต (back quote) หรือแบ็กทิก (backtick) ในยูนิโคดมีทั้งรูปแบบเดี่ยว (U+0060 `) และตัวผสาน (U+0300 ◌̀).

40 ความสัมพันธ์: พระสันตะปาปาพินอินกลุ่มภาษาโรมานซ์ภาษากรีกภาษากรีกโบราณภาษากาตาลาภาษาฝรั่งเศสภาษาละตินภาษาอิตาลีภาษาอ็อกซิตันภาษาจีนกลางภาษาดัตช์ภาษานอร์เวย์ภาษาโปรตุเกสภาษาเวลส์ภาษาเวียดนามยูนิโคดรูปสามเหลี่ยมลิงค์ (ภาษาศาสตร์)วรรณยุกต์สระสัญประกาศอะพอสทรอฟีอักษรอักษรกรีกอักษรละตินอักษรตัวใหญ่อักขรวิธีจู้อินดับเบิลเกรฟแอกเซนต์คำบุพบทคำกริยาคำกริยาวิเศษณ์คำสันธานคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์แพร์โมเสสเดฌา-วูว์เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโรมานซ์

ภาษาโรมาเนีย กลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และเป็นกลุ่มภาษาที่กลายพันธุ์มาจากภาษาละติน ประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาโรมาเนีย และ ภาษากาตาลา เป็นต้น มีผู้พูดภาษาในกลุ่มนี้ทั่วโลกมากกว่า 700 ล้านคน รโมานซ์ หมวดหมู่:กลุ่มภาษาโรมานซ์.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และกลุ่มภาษาโรมานซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีกโบราณ

ทเปิดเรื่องมหากาพย์ ''โอดิสซีย์'' ภาษากรีกโบราณ เป็นรูปแบบของภาษากรีกที่ใช้ในยุคกรีซโบราณ และกรีซยุคคลาสสิค ตลอดจนโลกยุคโบราณของอารยธรรมเมดิเตอเรเนียน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 6..

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษากรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาตาลา

ษากาตาลา (català) หรือ ภาษาแคทาแลน (Catalan) เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาโรมานซ์ รวมทั้งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศอันดอร์ราและภาษาราชการร่วมในแคว้นปกครองตนเองหมู่เกาะแบลีแอริก บาเลนเซีย (ในชื่อ ภาษาบาเลนเซีย) และกาตาลุญญาของประเทศสเปน มีผู้พูดหรือผู้รู้ภาษานี้ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งอาศัยทั้งในสเปน อันดอร์รา รวมไปถึงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส (โดยเฉพาะในจังหวัดปีเรเน-ออเรียงตาล) และเมืองอัลเกโรบนเกาะซาร์ดิเนีย ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษากาตาลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอ็อกซิตัน

ษาอ็อกซิตัน เป็นภาษาในกลุ่มโรมานซ์ พูดในอ็อกซิตาเนียดินแดนตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสและโมนาโก บางส่วนของสเปน.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาอ็อกซิตัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์เวย์

ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานือนอชก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") หมวดหมู่:สแกนดิเนเวีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศนอร์เวย์.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษานอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวลส์

ษาเวลส์ (Cymraeg หรือ y Gymraeg, ออกเสียง, Welsh) เป็นสมาชิกของกลุ่มภาษาบริตตัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาเคลต์ เป็นภาษาที่มีการพูดในเวลส์แห่งสหราชอาณาจักร และในเมือง Y Wladfa (อาณานิคมเวลส์ในชูบุตของอาร์เจนตินา) ในอดีตมีหลายชื่อในภาษาอังกฤษ ได้แก่ "ภาษาบริเตน" ("the British tongue") "Cambrian" "Cambric" และ "Cymric".

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

รูปสามเหลี่ยม

รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี หรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย ในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ).

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และรูปสามเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ลิงค์ (ภาษาศาสตร์)

ลิงค์ (อ่านว่า ลิง) หรือ เพศทางไวยากรณ์ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทคำนามในบางตระกูลภาษา โดยเฉพาะตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เช่น ภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต แม้ในภาษาสมัยใหม่ ก็ยังมีการใช้ลิงค์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี เป็นต้น ลิงค์โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 จำพวก คือ เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง ตำราไวยากรณ์ของไทย มักจะใช้ศัพท์บาลี หรือสันสกฤต ว่า ปุลลิงค์ (ปุงลิงค์), อิตถีลิงค์ (สตรีลิงค์) และนปุงสกลิงค์ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว ลิงค์ ในทางไวยากรณ์ไม่ได้ผูกพันกับลักษณะทางเพศในเชิงชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตแต่อย่างใด หมวดหมู่:ไวยากรณ์.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และลิงค์ (ภาษาศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และวรรณยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และสระ · ดูเพิ่มเติม »

สัญประกาศ

ัญประกาศ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง เป็นการขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญหรือข้อความที่ควรสังเกตพิเศษ อาจจะมีหนึ่งเส้นหรือสองเส้น ตัวอย่างการใช้เช่น.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และสัญประกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อะพอสทรอฟี

อะพอสทรอฟี (') (apostrophe; ἡ ἀπόστροφος, hē apóstrophos) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดตั้งเล็ก ๆ เขียนอยู่เหนือและถัดจากอักษร หรือปรากฏคล้ายอัญประกาศเดี่ยว (ดูภาพทางขวา) ใช้มากในภาษาที่ใช้อักษรละติน แต่ไม่มีใช้ในภาษาไทย และบางครั้งก็ใช้เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษร.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และอะพอสทรอฟี · ดูเพิ่มเติม »

อักษร

แผนที่โลกแบ่งตามอักษรที่ใช้ อักษร คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสำหรับใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาหนึ่ง ๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และอักษร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตัวใหญ่

การเก็บตัวพิมพ์แยกระหว่างตัวใหญ่กับตัวเล็ก อักษรกรีก บีตา ตัวใหญ่อยู่ทางซ้าย อักษรตัวใหญ่ (อังกฤษ: capital letter, majuscule) คือกลุ่มของอักษรประเภทหนึ่งในระบบการเขียน เช่นในอักษรละติน: A, B, C, D,...

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และอักษรตัวใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อักขรวิธี

อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และอักขรวิธี · ดูเพิ่มเติม »

จู้อิน

ู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ㄌㄨㄢ (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน) ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (ㄅㄆㄇㄈ: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (國語注音符號第一式) หรือย่อเป็น MPS I (注音一式) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และจู้อิน · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลเกรฟแอกเซนต์

ับเบิลเกรฟแอกเซนต์ (double grave accent) เรียกย่อว่า ดับเบิลเกรฟ (double grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาสองขีดอยู่เหนืออักษร (◌̏) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินในภาษาโครเอเชีย ภาษาสโลวีเนีย กำกับทั้งอักษรละตินและอักษรซีริลลิกในภาษาเซอร์เบีย บางครั้งก็ใช้ในสัทอักษรสากล เครื่องหมายนี้ในภาษาโครเอเชีย ภาษาสโลวีเนีย และภาษาเซอร์เบีย ใช้แสดงเสียงวรรณยุกต์ตกลงที่เป็นเสียงสั้น แต่ไม่ค่อยใช้ในชีวิตประจำวัน จะใช้เครื่องหมายนี้เพื่ออธิบายการออกเสียงในภาษาเหล่านี้เท่านั้น สำหรับอักษรซีริลลิก А Е И О Р У ที่เทียบเท่าอักษรละติน A E I O R U ไม่มีอักขระเฉพาะตัวในรูปแบบดับเบิลเกรฟ ต้องประสมขึ้นเองจากตัวผสานดับเบิลเกรฟ (U+030F) เช่น И + ◌̏.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และดับเบิลเกรฟแอกเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คำบุพบท

ำบุพบท บางตำราก็ว่า คำบุรพบท คือคำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อบอกสถานภาพของคำเหล่านั้น หรือเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือปร.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และคำบุพบท · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยา

ำกริยา คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา อันมีองค์ประกอบจากกาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก หรือรวมทั้งบุรุษ เพศ และพจน์ของสิ่งที่กล่าวถึงด้ว.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และคำกริยา · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยาวิเศษณ์

ำกริยาวิเศษณ์ เป็นคำชนิดหนึ่งมีใช้ในหลายภาษา ตัวอย่างที่เห็นชัดคือภาษาอังกฤษ คำกริยาวิเศษณ์หมายถึงคำที่ทำหน้าที่ขยายความคำกริยาหรือคำอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากคำนาม เช่นคำคุณศัพท์ (รวมทั้งจำนวน) อนุประโยค ประโยค และคำกริยาวิเศษณ์อื่น คำกริยาวิเศษณ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำวิเศษณ์ในภาษาไท.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และคำกริยาวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำสันธาน

ในไวยากรณ์ คำสันธาน คือชนิดของคำที่เชื่อมคำ ประโยค วลี หรือประโยคย่อยเข้าด้วยกัน คำสันธานที่เชื่อมประโยคเข้าด้วยกันเรียกว่า คำเชื่อมสัมพันธสาร (discourse connective) บทนิยามนี้อาจทับซ้อนกับชนิดของคำชนิดอื่น ดังนั้น สิ่งที่ประกอบเป็น "คำสันธาน" จะต้องถูกนิยามขึ้นสำหรับแต่ละภาษา โดยทั่วไป คำสันธานเป็นคำอนุภาคที่ไม่ผันรูป และมันอาจจะวางอยู่ระหว่างประโยคสองประโยคที่เชื่อมกันหรือไม่ก็ได้ บทนิยามของคำสันธานอาจขยายรวมไปถึงวลีสำนวนที่มีลักษณะเป็นหน่วยหนึ่งหน่วยซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน เช่น "as well as" (เช่นเดียวกับ), "provided that" (ในเงื่อนไขที่ว่า, ต่อเมื่อ) หมวดหมู่:ไวยากรณ์ หมวดหมู่:วจีวิภาค.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และคำสันธาน · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แพร์

แพร์ (European Pear)เป็นผลไม้เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรป โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่าได้มีการนำแพร์ที่เป็นพืชป่ามาปลูกเป็นพืชสวน จากหลักฐานในยุโรปสมัยยุคหินใหม่และยุคบรอนซ์ การปลูกแพร์มีบันทึกในเอกสารของกรีกโบราณและจักรวรรดิโรมัน เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดผลใกล้เคียงกับแอปเปิล เปลือกบาง สุกแล้วเนื้อนิ่มมาก ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวและหวานหอม เป็นพืชคนละสปีชีส์กับสาลี่ แพร์เองแบ่งได้เป็นหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมในตลาดมากที่สุดคือ Williams pear หรือเรียกว่า Bartlett ในสหรัฐและแคนาดา เปรียบเทียบแพร์ 8 สายพันธุ์จากซ้ายไปขวาคือ Williams' Bon Chrétien (ในสหรัฐเรียก Bartlett), พันธ์ Bartlett สีแดงสองแบบ, d'Anjou, Bosc, Comice, Concorde, และ Seckel.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และแพร์ · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

เดฌา-วูว์

-วูว์ (déjà-vu, แปลตรงตัวว่า "เคยเห็นแล้ว") เป็นคำที่เอมีล บัวรัก (Emile Boirac) ใช้ในหนังสือ ลาเวอนีร์เดซีย็องส์ปซีชิก (L'Avenir des sciences psychiques) เป็นคนแรก หมายความถึง อาการที่รู้สึกว่า เหตุการณ์ที่เพิ่งพบเจอนั้นคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยพบเจอมาแล้ว เป็นประสบการณ์ทางจิต เกิดได้กับทุกคนและทุกเวลา ไม่ว่าหลับหรือตื่น.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และเดฌา-วูว์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

รื่องหมายเสริมสัทอักษร เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับอักษรโรมัน ซึ่งมีอยู่ในแป้นพิมพ์ ซึ่งได้แก่ เกรฟ และดับเบิลเกรฟ.

ใหม่!!: เกรฟแอกเซนต์และเครื่องหมายเสริมสัทอักษร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Back quoteBackquoteBacktick`แบ็กทิกแบ็กโควตเกรฟ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »