โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮาโลวีน

ดัชนี ฮาโลวีน

''Snap-Apple Night'' วาดโดย Daniel Maclise ในปี 1833 แสดงฮาโลวีนในไอร์แลนด์ ฮาโลวีน (Halloween, เสียงอ่าน /ˌhæləˈwiːn, -oʊˈiːn, ˌhɑːl-/, กร่อนเสียงจาก "ออลแฮโลอีฟนิง" หมายถึง "เย็นนักบุญทั้งหลาย") เป็นเทศกาลประจำปีเฉลิมฉลองในหลายประเทศทุกวันที่ 31 ตุลาคม อันเป็นวันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายของศาสนาคริสต์ตะวันตก นักวิชาการจำนวนมากว่า ออลแฮโลวส์อีฟ (All Hallows' Eve) เป็นวันสมโภชที่ศาสนาคริสต์รับมาซึ่งเดิมได้รับอิทธิพลจากเทศกาลเก็บเกี่ยวของเคลต์ โดยอาจมีเหง้าเพเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซาวิน (Samhain) ของชาวเกล (Gaels) นักวิชาการบางส่วนยังยืนยันว่า ฮาโลวีนกำเนิดขึ้นแยกกับซาวินและมีเหง้าศาสนาคริสต์อย่างเดียว กิจกรรมฮาโลวีนตรงแบบมีทริกออร์ทรีต (trick-or-treating) ร่วมงานเลี้ยงเครื่องแต่งกาย ประดับตกแต่ง แกะสลักฟักทองเป็นแจ็กโอแลนเทิร์น (jack-o'-lantern) จุดคบเพลิง ไปบ้านผีสิงที่จัดขึ้น เล่นตลก เล่าเรื่องสยองขวัญและดูภาพยนตร์สยองขวัญ.

7 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษชาวเคลต์ลัทธินอกศาสนาวันสมโภชนักบุญทั้งหลายศาสนาคริสต์ตะวันตกทริกออร์ทรีตแจ็กโอแลนเทิร์น

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ฮาโลวีนและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ฮาโลวีนและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ฮาโลวีนและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย

วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints' Day; All Hallows) เป็นวันสมโภชในศาสนาคริสต์ ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงนักบุญทั้งหลายที่สถิตอยู่บนสวรร.

ใหม่!!: ฮาโลวีนและวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันตก

นาคริสต์ตะวันตกหมายถึงกลุ่มคริสตจักรโรมันคาทอลิก คริสตจักรแองกลิคัน และคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีคุณสมบัติร่วมกันย้อนได้ถึงสมัยกลาง คำนี้ใช้เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกับศาสนาคริสต์ตะวันออก ศาสนาคริสต์ตะวันตกส่วนใหญ่แล้วพบได้ในทวีปยุโรปตะวันตก สแกนดิเนเวีย ยุโรปกลาง ยุโรปใต้ บางส่วนของยุโรปตะวันออก แอฟริกาเหนือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย รวมเป็น 90% ของประชาคมชาวคริสต์ทั่วโลก คริสตจักรโรมันคาทอลิกเองมีผู้นับถือมากกว่าครึ่งหนึ่ง.

ใหม่!!: ฮาโลวีนและศาสนาคริสต์ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ทริกออร์ทรีต

็กทริกออร์ทรีต ทริกออร์ทรีต (trick or treat, ท. หลอกหรือเลี้ยง) เป็นประเพณีฮาโลวีนสำหรับเด็กในหลายประเทศ เด็กจะแต่งชุดตระเวนไปตามบ้านขอเลี้ยง เช่น ลูกกวาด (หรือเงินในบางวัฒนธรรม) ด้วยวลี "ทริกออร์ทรีต" "ทริก" เป็นการขู่กระทำปัญหาแก่เจ้าบ้านหรือทรัพย์สินของเขาหากไม่เลี้ยงเขา (แต่โดยปกติมักเฉย) ตรงแบบมีขึ้นในเย็นวันที่ 31 ตุลาคม เจ้าบ้านบางคนส่งสัญญาณว่าตนเต็มใจเลี้ยงขนม ตัวอย่างเช่น ประดับเครื่องตกแต่งฮาโลวีนไว้นอกบ้าน บางคนอาจทิ้งขนมไว้ที่ชานบ้าน ในทวีปอเมริกาเหนือ ทริกออร์ทรีตเป็นประเพณีฮาโลวีนตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ในบริเวนและไอร์แลนด์ ประเพณีการไปตามบ้านเพื่อเก็บอาหารในฮาโลวีนย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับประเพณีคนแต่งชุดในฮาโลวีน ในบริเตนและไอร์แลนด์คริสต์ศตวรรษที่ 19 มีบันทึกจำนวนมากว่าบุคคลไปตามบ้านในฮาโลวีน ท่องบทร้อยกรองแลกอาหาร และบ้างเตือนว่าอาจเกิดโชคร้ายหากไม่ต้อนรับตน แม้ว่าการตระเวนไปตามบ้านในชุดจะยังได้รับความนิยมในหมู่ชาวสกอตและไอริช แต่ประเพณีการกล่าว "ทริกออร์ทรีต" เพิ่งมาแพร่หลายเมื่อไม่นานนี้ กิจกรรมดังกล่าวพบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เปอร์โตริโกและเม็กซิโกภาคตะวันตกเฉียงเหนือและกลาง.

ใหม่!!: ฮาโลวีนและทริกออร์ทรีต · ดูเพิ่มเติม »

แจ็กโอแลนเทิร์น

ตะเกียงฟักทอง ตะเกียงฟักทอง หรือ แจ็ก-โอ-แลนเทิร์น (Jack-o'-lantern) เป็นอุปกรณ์ประดับตกแต่งสถานที่ซึ่งนิยมใช้ในเทศกาลฮาโลวีน มีลักษณะเป็นผลฟักทองสีส้ม (ไม่นิยมใช้ฟักทองเอเซีย) แกะสลักเป็นรูปหน้าคนในกริยาต่างๆ โดยมากมักเป็นกริยาแสดงอาการข่มขวัญ หรือโอดครวญ ทั้งนี้ การใช้ตะเกียงฟักทอง เป็นการระลึกถึงแจ็ก ชายชาวนาในตำนานที่หาญกล้าต่อกรกับซาตาน.

ใหม่!!: ฮาโลวีนและแจ็กโอแลนเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HalloweenHaloweenวันฮัลโลวีนวันฮาลโลวีนวันฮาโลวีนฮัลโลวีนแฮลโลวีนแฮโลวีนเทศกาลฮาโลวีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »