โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮาเร็ม

ดัชนี ฮาเร็ม

ฉากใน “ฮาเร็ม” โดย จิโอวานนิ อันโตนิโอ กวาร์ดิ (Giovanni Antonio Guardi) ฮาเร็ม (Harem) เป็นตุรกีที่มาจากอาหรับ “حرم” (ḥaram) ที่แปลว่า “สถานที่ต้องห้าม, สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือที่ปลอดภัย” ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “حريم” (ḥarīm) ที่แปลว่า “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามเข้าสำหรับสมาชิกสตรีในครอบครัว” และคำว่า “حرام ” (ḥarām) ที่แปลว่า “ห้าม หรือ ศักดิ์สิทธิ์” ฮาเร็ม หมายถึงบริเวณสำหรับสตรีโดยเฉพาะสำหรับครอบครัวระบบพหุภริยา (polygyny) ที่เป็นบริเวณที่ต้องห้ามสำหรับบุรุษ คำว่าฮาเร็มมาจากตะวันออกใกล้และนำเข้ามาใช้ทางตะวันตกทางจักรวรรดิออตโตมัน การใช้คำนี้ในสมัยใหม่รวมถึงกลุ่มสตรีที่มีความสัมพันธ์กับบุรุษคนเดียวกัน.

8 ความสัมพันธ์: การสมรสกิ๊กภาษาอาหรับภาษาตุรกีสุลัยมานผู้เกรียงไกรฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์จักรวรรดิออตโตมันตะวันออกใกล้

การสมรส

การสมรส เป็นการรวมกันทางสังคมหรือสัญญาตามกฎหมายระหว่างคู่สมรสที่สร้างสิทธิและข้อผูกพันระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่งคู่สมรสและบุตร และระหว่างคู่สมรสกับญาติโดยการสมรส นิยามของการสมรสแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วเป็นสถาบันซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดหรือความสัมพันธ์ทางเพศ ได้รับการรับรอง เมื่อนิยามอย่างกว้าง การสมรสถูกพิจารณาว่าเป็นวัฒนธรรมสากล ในหลายวัฒนธรรม การสมรสถูกทำให้เป็นทางการผ่านพิธีแต่งงาน ในแง่ของการรับรองตามกฎหมาย รัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นส่วนมากจำกัดการสมรสไว้เฉพาะระหว่างคู่สมรสต่างเพศหรือสองบุคคลที่มีเพศภาวะตรงข้ามกันในสองเพศภาวะ (gender binary) และบางรัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นอนุญาตการสมรสที่มีภรรยาหลายคนได้ นับแต่ปี 2543 หลายประเทศและบางเขตอำนาจอื่นอนุญาตให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ในบางวัฒนธรรม แนะนำหรือบังคับให้มีการสมรสก่อนมีกิจกรรมทางเพศใด ๆ บุคคลสมรสด้วยหลายเหตุผล มีทั้งทางกฎหมาย สังคม ลิบิโด อารมณ์ การเงิน จิตวิญญาณและศาสนา การสมรสสามารถกระทำในพิธีทางกฎหมายฝ่ายฆราวาส หรือทางฝ่ายศาสนาก็ได้ โดยปกติการสมรสสร้างข้อผูกพันที่เป็นนามธรรมหรือทางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางวัฒนธรรมอนุญาตให้เลิกการสมรสได้ผ่านการหย่าร้างหรือการเพิกถอนการสมรส การสมรสที่มีคู่ครองหลายคนอาจยังเกิดขึ้นแม้จะมีกฎหมายประจำชาติก็ตาม รัฐ องค์การ ฝ่ายศาสนา กลุ่มชนเผ่า ชุมชนท้องถิ่นหรือผู้เท่าเทียมกันสามารถรับรองการสมรสได้ มักถูกมองว่าเป็นสัญญา การสมรสตามกฎหมายเป็นมโนทัศน์ทางกฎหมายที่มองการสมรสว่าเป็นสถาบันของรัฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตามกฎหมายการสมรสของเขตอำนาจ การบังคับสมรส (forced marriage) มิชอบด้วยกฎหมายในบางเขตอำน.

ใหม่!!: ฮาเร็มและการสมรส · ดูเพิ่มเติม »

กิ๊ก

กิ๊ก (บางทีจะหมายถึง เดต หรือ คู่เดต เป็นคำเรียกของ ความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างบุคคล (short-term relationship) โดยจะแตกต่างกับคำว่ากับความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เรียกว่า แฟน ที่โดยรวมจะหมายถึงความสัมพันธ์ระยะยาว ความสัมพันธ์ของกิ๊กหลายครั้งที่จะมีการเข้าใจผิดกัน โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีการกล่าวถึง โดยอาจจะมีความเข้าใจผิดระหว่าง ความสัมพันธ์ระยะสั้น หรือความสัมพันธ์ระยะยาว ในปัจจุบัน คำว่ากิ๊ก จะกล่าวถึงพฤติกรรมการหาเพื่อน ของกลุ่มวัยรุ่น โดยต้องการหาเพื่อนคุยหรือเพื่อนเที่ยว โดยใช้คำว่า กิ๊ก แทนคำว่าเพื่อน ซึ่งจะเป็นศัพท์แฟชั่นมากกว.

ใหม่!!: ฮาเร็มและกิ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ฮาเร็มและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: ฮาเร็มและภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: ฮาเร็มและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์

็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ (Jean-Auguste-Dominique Ingres; 24 สิงหาคม ค.ศ. 1780 - 14 มกราคม ค.ศ. 1867) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูคลาสสิกชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนประวัติศาสตร์และภาพเหมือน แอ็งกร์เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1780 ในจังหวัดตาร์เนการอน ประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1867 ที่ปารีส แอ็งกร์ถือว่าตนเองเป็นจิตรภาพประวัติศาสตร์ตามแบบนีกอลา ปูแซ็ง และฌัก-หลุยส์ ดาวิด (Jacques-Louis David) แต่ในบั้นปลายความสามารถในการเขียนภาพเหมือนภาพเหมือนทั้งภาพเขียนและการวาดเส้นเป็นสิ่งที่ทำให้แอ็งกร์เป็นที่รู้จัก แอ็งกร์เป็นผู้ที่นับถือชื่นชมประวัติศาสตร์และเป็นผู้ที่พยายามพิทักษ์ความรู้แบบสถาบันต่อขบวนการลัทธิจินตนิยมที่กำลังคืบคลานเข้ามาที่นำโดยเออแฌน เดอลาครัว แอ็งกร์กล่าวสรรเสริญจิตรกรรมของจิตรกรสำคัญ ๆ ที่ผ่านมาเช่นราฟาเอล และประกาศตนว่าเป็นผู้รักษากฎเกณฑ์การวาดภาพที่สูงส่งเช่นนั้นและไม่ใช่เป็นผู้ “คิดค้น” วิธีใหม่ แต่อย่างไรก็ตามในความเห็นสมัยใหม่เห็นว่าแอ็งกร์และศิลปินฟื้นฟูคลาสสิกเป็นผู้ที่โอบอุ้มปรัชญาจินตนิยมของสมัยนั้น นอกจากนั้นการแสดงความบิดเบือนของรูปทรงและช่องว่างของแอ็งกร์เป็นแนวโน้มของของศิลปะสมัยใหม่ที่จะมาถึง.

ใหม่!!: ฮาเร็มและฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: ฮาเร็มและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกใกล้

ตะวันออกใกล้ในบริบททางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ตะวันออกใกล้ (Near East) เป็นคำที่มีความหมายกำกวมที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศที่ต่างกันระหว่างนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง และนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สื่อข่าวอีกฝ่ายหนึ่ง เดิมคำว่า "ตะวันออกใกล้" หมายถึงรัฐในคาบสมุทรบอลข่านทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป แต่ในปัจจุบันมักจะหมายถึงประเทศในบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอิหร่านโดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ คำว่า “ตะวันออกใกล้” ที่ใช้โดยนักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ และ นักประวัติศาสตร์ยุโรปหมายถึงบริเวณที่รวมทั้งอานาโตเลีย (บริเวณตุรกีที่อยู่ในเอเชีย), บริเวณเลแวนต์ (ซีเรีย, เลบานอน, จอร์แดน, ไซปรัส, อิสราเอล และดินแดนในปาเลสไตน์ (Palestinian territories)), เมโสโปเตเมีย (อิรัก) และคอเคซัสใต้ (จอร์เจีย, อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) แต่ในบริบททางการเมืองและการสื่อข่าว "ตะวันออกใกล้" หมายถึงจะรวมบริเวณที่กว้างกว่าของตะวันออกกลาง ขณะที่คำนี้หรือคำว่าเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นคำที่นิยมมากกว่าในบริบทของการศึกษาทางโบราณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา และพันธุศาสตร์ของประชากร.

ใหม่!!: ฮาเร็มและตะวันออกใกล้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Harem

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »