โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮะรอม

ดัชนี ฮะรอม

รอม เป็นคำศัพท์นิติบัญญัติอิสลาม จากภาษาอาหรับ วิธีการสะกดอื่น ๆ มีเช่น หะรอม, ฮารอม ในภาษาพูดคำว่า ฮะรอม เพี้ยนเป็น ฮาหร่าม ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น เช่น.

9 ความสัมพันธ์: กะอ์บะฮ์ภาษาอาหรับมัสยิดมุฮัรรอมศาสนาอิสลามอัลลอฮ์ดอกเบี้ยซุลหิจญะฮฺเราะญับ

กะอ์บะฮ์

กะอ์บะฮ์ กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮ์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน (2:127 และ 22:26-27) ระบุว่า กะอ์บะฮ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอยกันเดินทางมาสักการะอัลลอฮ์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะอ์บะฮ์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮ์ ดังนั้น กะอ์บะฮ์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอฮฺ บ้านแห่งอัลลอฮ์ หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม ในสมัยที่อับดุลลอฮฺ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะฮฺ อะบูบักรฺ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะฮฺ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะฮ์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะอ์บะฮ์ออกไปสองด้านจนถึงกำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะอ์บะฮ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอฮฺแพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียก็เผาและถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ที่อับดุลลอฮฺทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง กะอฺบะหที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ มุมที่ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญ์ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะฮ์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะอ์บะฮ์ ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะอ์บะฮ์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ต่างหาก อีกอย่างกะอ์บะฮ์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะอ์บะฮ์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น.

ใหม่!!: ฮะรอมและกะอ์บะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ฮะรอมและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิด

มืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มัสยิด (مسجد มัสญิด) หรือ สุเหร่า (Surau) เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่การนมาซ และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ (อิอฺติกาฟ และ คอลวะหฺ) นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลาม (ฮะรอม) ทั้งมวล.

ใหม่!!: ฮะรอมและมัสยิด · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัรรอม

มุฮัรรอม (محرم) หรือที่คนไทยบางคนรู้จักกันในนาม "มะหะหร่ำ" เป็นเดือนแรกของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมชีอะฮ์ไว้อาลัยต่ออิมามฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด ตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 10 หรือที่เรียกว่าวันอาชูรออ์ มุสลิมในประเทศไทยและมาเลเซียจะร่วมกันทำขนมบูโบซูรอ หรือที่ชาวชีอะฮ์ในไทยเรียกว่า "หะยีส่า".

ใหม่!!: ฮะรอมและมุฮัรรอม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ฮะรอมและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: ฮะรอมและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอกเบี้ย

อกเบี้ย (Interest) คือเงินที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโดยการคำนวณเป็นอัตราร้อยละต่อปี ในทางเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยเป็นเครื่องควบคุมอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย คือ เมื่อใดที่เกิดอัตราเงินเฟ้อขึ้น แสดงว่า มีปริมาณเงินในตลาด(หมายถึงเงินในมือประชาชน)จำนวนมาก และสินค้าจะราคาแพงขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ทำให้เงินได้ออกจากตลาดไป ปริมาณเงินจะลดลง เงินเฟ้อก็จะลดลง.

ใหม่!!: ฮะรอมและดอกเบี้ย · ดูเพิ่มเติม »

ซุลหิจญะฮฺ

ซุลหิจญะฮฺ (ذو الحجة) คือเดือนที่ 12 ในปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์เป็นเดือนที่ชาวมุสลิมเดินทางไปมักกะฮฺเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ ในเดือนนี้มีวันสำคัญคือ วันอีดุลอัฏฮา นอกจากนี้สิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺยังเป็นช่วงเวลาที่มีความประเสริฐอย่างยิ่งสำหรับชาวมุสลิม ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานมีความหมายว่า “และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำหัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้าและโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา(ด้านโลกและด้านศาสนา) และกล่าวพระนามอัลลอฮ ในวันที่รู้กันอยู่แล้ว (คือวันเชือด) ตามที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า ดังนั้นพวกเธอจงกินเนื้อของมัน และจงให้อาหารแก่ผู้ยากจนขัดสน” (ซูเราะฮฺอัลหัจญ์ อายะฮฺ 27-28) และในการบันทึกของอิมามบุคอรีย์และอบูดาวูด รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลหิจญะฮฺ)” ศ่อฮาบะฮฺได้กล่าวว่า “แม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ” ท่านนบีตอบว่า “แม้กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลหิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ) และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย” ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบรรดาบ่าวของพระองค์จากนรกมากกว่าวันอะรอฟะฮ(วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ) และแท้จริงพระองค์จะทรงอยู่ใกล้ชิดและทรงภูมิใจ(ด้วยการขยันทำความดีของบ่าวของพระองค์)ต่อมะลาอิกะฮฺ โดยพระองค์จะตรัส(ด้วยความภูมิใจ)ว่า คนเหล่านี้ประสงค์อะไรกัน(หมายถึงกล่าวถึงความปรารถนาอันทรงเกียรติของบ่าวของอัลลอฮฺที่แสวงบุญในวันอะรอฟะฮฺ)” บันทึกโดยอิมามมุสลิม การทำความดีในสิบวันแรกของซุลหิจญ.

ใหม่!!: ฮะรอมและซุลหิจญะฮฺ · ดูเพิ่มเติม »

เราะญับ

ราะญับ หรือสะกด รอญับ (رجب) เป็นชื่อของเดือนที่ 7 ของปฏิทินฮิจญ์เร.

ใหม่!!: ฮะรอมและเราะญับ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »