สารบัญ
19 ความสัมพันธ์: บูดูกรดอะมิโนกลูตาเมตกะปิการรับรู้รสการหมักดองภาษาญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยโตเกียวมะเขือเทศรสสารชูรสหน่วยรับรสทุพโภชนาการคัตสึโอบูชิซอสถั่วเหลืองปลาร้าน้ำปลาโปรตีนเนยแข็ง
- การรับรู้รส
- คำศัพท์เกี่ยวกับการทำอาหาร
- คำและวลีภาษาญี่ปุ่น
- ผลิตภัณฑ์ที่ออกในปี พ.ศ. 2451
บูดู
ูดู. บูดูเป็นอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ได้มาจากการหมักปลากับเกลือเช่นเดียวกับการหมักน้ำปลาโดยอาศัยเอนไซม์และจุลินทรีย์จากปลาที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ใช้เวลาในการหมัก 8-15 เดือน ที่ต่างจากน้ำปลาคือบูดูเป็นของเหลวขุ่นที่เป็นสารแขวนลอย ต้องเขย่าให้เข้ากันเสียก่อนรับประทาน ส่วนน้ำปลาไม่มีชิ้นส่วนของตะกอน ปริมาณเกลือของน้ำปลา(ร้อยละ 22-37) จะสูงกว่าบูดูซึ่งมีความเค็มอยู่ในช่วงร้อยละ19-25.
กรดอะมิโน
กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.
กลูตาเมต
กลูตาเมต หรือ กรดกลูตามิค เป็นกรดอะมิโนชนิดที่พบมากที่สุดในโปรตีนตามธรรมชาติ กรดกลูตามิคจัดเป็นกรดอะมิโนชนิดที่ไม่จำเป็น ในทางเคมีนั้นกลูตาเมตเป็นไอออนลบของกรดกลูตามิก.
กะปิ
กะปิของมาเลเซีย กะปิ (shrimp paste หรือ shrimp sauce) เป็นเครื่องปรุงรสอย่างหนึ่งที่แพร่หลายในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน คำว่า กะปิ ใช้กันแพร่หลายทั้งในไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนในอินโดนีเซีย เรียกกะปิว่าเตอราซี terasi (หรือ trassi, terasie), มาเลเซีย เรียกว่า เบลาจัน belacan (หรือ belachan, blachang), เวียดนาม เรียกว่า mắm tôm, ฟิลิปปินส์ เรียกว่า bagoong alamang (หรือ bagoong aramang) และ ภาษาจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า hom ha หรือ hae ko (POJ: hê-ko) คำว่า "กะปิ" ในภาษาไทยมาจากคำในภาษาพม่าว่า "ง่าปิ" (ငါးပိ) แปลว่า "ปลาหมัก" ในประเทศไทย มีกะปิมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน กะปิแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณภาพ วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตามแต่ท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่ทำจากกุ้งเคย ซึ่งมีมากในแทบชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงทำให้มีการผลิตกะปิในหลาย ๆ แห่ง ในพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเล.
การรับรู้รส
ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.
การหมักดอง
การหมักดอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารพวกคาร์โบไฮเดรทในอาหารให้กลายเป็นสารประกอบอื่น เช่น แอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิร.
ภาษาญี่ปุ่น
ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).
มหาวิทยาลัยโตเกียว
หอประชุมยาสุดะในมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือย่อว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว ศูนย์ฮงโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลั.
ดู อุมะมิและมหาวิทยาลัยโตเกียว
มะเขือเทศ
มะเขือเทศ (Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชน.
รส
รสหรือรสชาติ เป็นความประทับรับความรู้สึกของอาหารหรือสารอื่น และส่วนใหญ่ตัดสินจากสัมผัสเคมีของการรับรู้รสและกลิ่น "ประสาทไทรเจมินัล" ซึ่งตรวจจับยาระคายเคมีในปากและลำคอ ตลอดจนอุณหภูมิและเนื้อ (texture) ยังสำคัญต่อเกสทัลท์การรับรู้รสโดยรวม รสของอาหารดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยสารปรุงรส (flavorant) ธรรมชาติหรือสังเคราะห์ ซึ่งมีผลต่อสัมผัสเหล่านี้ ในสามสัมผัสเคมีเหล่านี้ กลิ่นเป็นตัวกำหนดหลักของรสอาหารหนึ่ง ๆ ขณะที่การรับรู้รสอาหารจำกัดอยู่เพียงหวาน เปรี้ยว ขม เค็ม และอุมะมิ อันเป็นห้าการรับรู้รสพื้นฐาน หมวดหมู่:การรับรู้รส หมวดหมู่:ระบบรู้รส.
ดู อุมะมิและรส
สารชูรส
รชูรส (flavour enhancers) หรือ ผงชูรส เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ในวัฒนธรรมตะวันตกรสชาติที่ห้าหรืออุมะมิ ไม่ได้รับการยอมรับมาเป็นเวลานาน กล่าวกันว่าผงชูรสไม่มีรสชาติของตัวเอง แต่กระตุ้นการทำงานของต่อมรับรสอุมะมิ และทำให้ผู้ทานผงชูรสรู้สึกถึงรสชาติอาหารที่ดีขึ้น สารชูรสที่ใช้กันมานานได้แก่กรดกลูตามิกและเกลือของมัน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในอาหารหลายชนิดในธรรมชาติ มีรายงานว่าการรับประทานสารชูรสในกลุ่มกรดกลูตามิกอาจก่อให้เกิดอาการภัตตาคารจีน (Chinese Restaurant Syndrome; CRS)ในผู้บริโภคบางกลุ่มได้ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันในทางการแพทย์ ทั้งนี้สารชูรสกลุ่มกรดกลูตามิกเป็นวัตถุเจือปนอาหารควบคุมในหลายประเทศ ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปต้องระบุไว้บนฉลากให้ชัดเจนเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค นอกจากกรดกลูตามิกแล้วกรดอะมิโนชนิดอื่นๆ เช่น ไกลซีนและลิวซีน ก็ทำหน้าที่เป็นสารชูรสได้ รวมไปถึงเกลือของนิวคลีโอไทด์ เช่น GMP และ IMP.
หน่วยรับรส
หน่วยรับรส (taste receptor) เป็นหน่วยรับความรู้สึกประเภทหนึ่ง อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์รับรส และอำนวยให้รู้รส เมื่ออาหารหรือสารอื่น ๆ เข้ามาในปาก โมเลกุลของอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำลายจะจับกับหน่วยรับรสในช่องปากและในที่อื่น ๆ ซึ่งก่อปฏิกิริยาภายในเซลล์ และในที่สุดทำให้เซลล์หลั่งสารสื่อประสาท อำนวยให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังสมอง แล้วทำให้รู้รส ระบบรับรสมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับสารอาหาร มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถรับรู้รสหลัก ๆ ได้ 5 อย่างคือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน ขม และอุมะมิ หน่วยรับรสสามารถแบ่งออกเป็นแบบทั่ว ๆ ไปสองหมู่คือ.
ทุพโภชนาการ
ทุพโภชนาการ (malnutrition) เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ เกิน หรือผิดสัดส่วน ผลอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางโภชนาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าสารอาหารที่ได้รับนั้นขาดหรือเกิน องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงทุพโภชนาการว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณสุขของโลก การปรับปรุงสารอาหารถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นรูปแบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาตรการฉุกเฉินมีทั้งการจัดสารอาหารรองที่ขาดโดยใช้ผงกระแจะ (sachet powder) เสริมอาหาร เช่น เนยถั่ว หรือผ่านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง แบบจำลองการบรรเทาทุพภิกขภัยได้มีการใช้เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มช่วยเหลือ ที่เรียกร้องให้ส่งเงินหรือคูปองเงินสดแก่ผู้หิวโหยเพื่อจ่ายชาวนาท้องถิ่น แทนที่จะซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค ซึ่งมักกำหนดโดยกฎหมาย เพราะจะเสียเงินไปกับค่าขนส่ง มาตรการระยะยาวรวมถึงการลงทุนในเกษตรกรรมสมัยใหม่ในที่ซึ่งขาดแคลน เช่น ปุ๋ยและชลประทาน ซึ่งกำจัดความหิวโหยได้อย่างใหญ่หลวงในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกตำหนิหน่วยงานของรัฐที่จำกัดชาวนาอย่างรุนแรง และการขยายการใช้ปุ๋ยถูกขัดขวางโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อมบางกลุ่ม.
คัตสึโอบูชิ
''คัตสึโอบูชิ'' คัตสึโอบูชิ (鰹節), โอกากะ (おかか), หรือ ปลาโอแห้ง เป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น หมายถึงเนื้อปลาโอแถบที่ผ่านการรมควันและหมักและนำไปตากแห้งจนแข็งตัวแล้ว คัตสึโอบูชิที่ถูกขูดจนเป็นฝอยนั้นถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่การทำดาชิ ซึ่งเป็นซุปตั้งต้นที่สามารถนำไปประกอบอาหารประเภทน้ำหลายอย่าง หมวดหมู่:วัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น.
ซอสถั่วเหลือง
ซอสถั่วเหลือง เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองหมัก, เมล็ดข้าวย่าง, น้ำเกลือ และเชื้อรา Aspergillus oryzae หรือ Aspergillus sojae ซอสถั่วเหลืองมีการคิดค้นมาราว 2,200 ปี ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ของจีนโบราณ และแพร่ขยายไปทั่วเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร.
ปลาร้า
องปลาร้าขณะหมัก ปลาร้า หรือ ปลาแดก (ปาแดก) ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนามและพม่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักตามตลาดสดต่างๆ ในวรรณกรรมลาวโบราณบางเรื่องเรียกปลาร้าว่า ปลาแดกฮ้า หรือปลาแดกร้า ในลาวและอีสานมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปลาร้าโดยตรงคือวรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ หรือลำบุษบา หรือท้าวกำพร้า คนไทยทางภาคเหนือนิยมเรียกปลาร้าว่า ฮ้า ดังนั้นคำว่าปลาร้าจึงเป็นภาษาลาวที่ชาวไทยภาคกลางและภาคเหนือรับอิทธิพลทางภาษามาจากชนชาติลาว.
น้ำปลา
น้ำปลา น้ำปลา เป็นเครื่องปรุงรสที่ได้จากการหมักปลา กับเกลือให้มีรสเค็มและกลิ่นชวนรับประทาน เป็นส่วนผสมสำคัญของแกงและน้ำจิ้มหลายชนิด น้ำปลาเป็นส่วนผสมสำคัญของอาหารในประเทศเวียดนาม, ไทย, ลาว, กัมพูชา และฟิลิปปินส์ และใช้ในอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้น้ำปลายังใช้เป็นน้ำจิ้มในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปลา, กุ้ง, หมู และไก่ ส่วนทางตอนใต้ของจีน จะใช้น้ำปลาเป็นส่วนผสมของน้ำซุปและอาหารตุ๋น ส่วนชาวแต้จิ๋วเรียกว่า "หื่อโหล่ว" (魚露) เป็นเคล็ดลับทำให้อาหารอร่อย เป็นหนึ่งใน "สามรัตนะของอาหารแต้จิ๋ว" อันประกอบด้วย น้ำปลา, หัวไชโป๊และเกี้ยมไฉ่ ขณะที่ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "น็อกนัม" (Nuoc-mâm) โดยเรียกตามภาษาเวียดนาม ในประเทศไทย น้ำปลาเชื่อว่าเป็นนวัตกรรมที่ได้มาจากชาวแต้จิ๋วอพยพ หรือมาจากจีนตอนใต้ เข้ามาสู่ไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี..
โปรตีน
3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..
เนยแข็ง
วิสชีส จะมีลักษณะเด่นคือมีรูกระจายตามเนื้อชีส เนยแข็งพร้อมเสิร์ฟ เนยแข็ง หรือ ชีส (cheese) คือ ผลิตภัณฑ์จากนมซึ่งสามารถผลิตได้จากนมวัวหรือแพะ เป็นต้น ที่ผ่านกระบวนการคัดแยกโปรตีน แล้วนำโปรตีนของนมมาทำการผสมเชื้อรา หรือแบคทีเรีย หรือสารอื่นๆ แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของเนยแข็ง ซึ่งแตกต่างจากเนยที่ทำมาจากไขมันของนม เนยแข็งเป็นอาหารที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยมีปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนที่สุดในคัมภีร์ไบเบิล กลุ่มนักรบทหารโรมันเป็นบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้รู้จักเนยแข็ง เพราะไม่ว่าจะยกทัพไปที่ใดก็มักจะนำเนยแข็งไปด้วยเสมอและมักจะแบ่งปันเนยแข็งที่มีให้กับคนท้องถิ่นนั้นๆ โบสถ์จัดว่าเป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเนยแข็งที่เด่นชัดที่สุดในสมัยกลาง การจำหน่ายเนยแข็งเพื่อหารายได้เข้าโบสถ์ของบาทหลวงในศาสนาคริสต์ส่งผลให้เกิดเนยแข็งแบบดั้งเดิมที่มีเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น และในเวลาต่อมาเนยแข็งท้องถิ่นนี้ได้ถูกพัฒนาปรับปรุงรสชาติให้มีความหลากหลาย จนในปัจจุบันมีเนยแข็งมากกว่า 3,000 ชนิด หลายคนมีความเข้าใจผิดว่าเนยแข็งและเนยเหลวเป็นอาหารประเภทไขมันเช่นเดียวกัน อันที่จริงแล้วเนยแข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโปรตีนในน้ำนมวัว ในขณะที่เนยเหลวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไขมันในน้ำนมวัว ดังนั้นเนยแข็งจึงจัดเป็นอาหารจำพวกโปรตีนเหมือนเนื้อสัตว์ และมีคุณค่าทางโภชนาการไม่แพ้น้ำนมวัว เนยแข็งให้สารอาหารจำพวก แคลเซียม โปรตีน ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 สังกะสี และไขมัน แต่ให้น้ำตาลแล็กโทสในปริมาณที่น้อยกว่าในน้ำนม ผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนมจึงสามารถหันมารับประทานเนยแข็งแทนเป็นทางออกแทนได้.
ดูเพิ่มเติม
การรับรู้รส
คำศัพท์เกี่ยวกับการทำอาหาร
- กอร์ดงเบลอ
- การตุ๋น
- การนึ่ง
- การผัด
- การหมักดอง
- การหมักเนื้อ
- การอบ
- คนขายเนื้อสัตว์
- น้ำปรุงรส
- ปาตีซีเย
- ภัตตาคาร
- สตู
- อูมามิ
- แกงกระด้าง
คำและวลีภาษาญี่ปุ่น
- กามัง
- คาราโอเกะ
- ซาโซริ
- ซูชิ
- ตุ๊กตาไล่ฝน
- ทังโกบง
- นินจา
- บูชิโด
- มิโกะ
- ยุมิ
- หมื่นปี
- อูมามิ
- เซ็นเซ
- โดจินชิ
- โทกูซัตสึ
- โยไก
ผลิตภัณฑ์ที่ออกในปี พ.ศ. 2451
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Umami