โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา

ดัชนี อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา

อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา (Kaziranga National Park, কাজিৰঙা ৰাষ্ট্ৰীয় উদ্যান) เป็นอุทยานแห่งชาติในเขตโคลาฆาต (Golaghat) และ นากาโอน (Nagaon) ของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย เป็นมรดกโลกซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของแรดอินเดียจำนวนมากถึงสองในสามของโลก กาซีรังคายังเชิดหน้าชูตาด้วยมีประชากรเสือโคร่งหนาแน่นที่สุดในหมู่พื้นที่คุ้มครองด้วยกันทั่วโลกและจัดตั้งเขตสงวนพันธุ์เสือขึ้นในปี..

14 ความสัมพันธ์: ช้างเอเชียพื้นที่คุ้มครองกวางบึงมรดกโลกรัฐอัสสัมรายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปเอเชียอุทยานแห่งชาติควายป่าประเทศอินเดียป่าไม้เขตร้อนแม่น้ำพรหมบุตรแรดอินเดียเสือโคร่งเบงกอลเทือกเขาหิมาลัย

ช้างเอเชีย

้างเอเชีย (Asian elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและช้างเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่คุ้มครอง

การเดินป่าที่ป่าสงวน Jaldapara Wildlife Sanctuary ในเบ็งกอลตะวันตกในอินเดีย Arribes del Duero Natural Park ในสเปน อุทยานแห่งชาติสวิสในบริเวณภูเขาแอลป์ส่วนที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ พื้นที่คุ้มครอง (Protected area) คือภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการพิทักษ์หรืออนุรักษ์เพราะความมีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพราะความมีคุณค่าทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อวัฒนธรรม ตัวอย่างของภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการคุ้มครองก็ได้แก่อุทยาน, เขตสงวนธรรมชาติ (nature reserves) และ เขตอาศัย/อนุรักษ์สัตว์ (wildlife sanctuaries) แต่ไม่รวมภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ เช่นสิ่งก่อสร้างที่มิได้คำนึงถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แต่รวม “ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม” (cultural landscapes) ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติและธรรมชาติ พื้นที่คุ้มครองรวม พื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Area) ที่หมายถึงภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการพิทักษ์หรืออนุรักษ์ที่มีดินแดนที่รวมเนื้อที่ในทะเล พื้นที่คุ้มครองมีเป็นจำนวนมากและระดับของการพิทักษ์หรืออนุรักษ์ก็ต่างกันออกไปตามแต่กฎหมายของแต่ละประเทศ หรือตามกฎขององค์การระหว่างประเทศ ในปัจจุบันพื้นที่คุ้มครองทั่วโลกมีจำนวนด้วยกันทั้งหมดราว 108,000 แห่ง และมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 30,430,000 ตารางกิโลเมตร หรือกว่า 12% ของเนื้อที่ที่เป็นพื้นดินทั้งหมดทั่วโลก หรือกว้างใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาทั้งทวีป ตรงกันข้ามกับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2009 มีจำนวน 5,000 แห่ง และมีเนื้อที่เพียง 0.8 ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและพื้นที่คุ้มครอง · ดูเพิ่มเติม »

กวางบึง

กวางบึง หรือ บาราซิงก้าGrubb, Peter (16 November 2005).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและกวางบึง · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอัสสัม

รัฐอัสสัม (อัสสัม: অসম Ôxôm) เดิมภาษาไทยเรียก อาสาม เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีเมืองหลวงคือ ทิสปุระ อยู่ในเขตเมืองคูวาหตี อยู่ทางตอนใต้ของหิมาลัยตะวันออก รัฐอัสสัมมีลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำพารัก และตำบลครรพี กับเขาจาชาร์เหนือ ปัจจุบันมีพื้นที่ 78,438 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับพื้นที่ของไอร์แลนด์ หรือออสเตรีย รัฐอัสสัมรายล้อมด้วยรัฐพี่น้องทั้งเจ็ด อันได้แก่ อรุณาจัลประเทศ, นาคาแลนด์, มณีปุระ, มิโซรัม, ตริปุระ และ เมฆาลัย รัฐเหล่านี้เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของอินเดีย โดยผ่านพื้นที่แคบ ในเบงกอลตะวันตก ที่เรียกว่า "คอไก่" อัสสัมยังมีชายแดนร่วมประเทศภูฏาน และบังกลาเทศ มีวัฒนธรรม ประชากร และภูมิอากาศในลักษณะเดียวกันกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นส่วนสำคัญของนโยบายมองตะวันออก ของอินเดีย ชาอัสสัม รัฐอัสสัมมีชื่อเสียงด้านแหล่งใบชา ปิโตรเลียม ไหมอัสสัม และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ยังประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์แรดนอเดียว จากสภาพสูญพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติกาจิรังคา (Kaziranga National Park), เสือในอุทยานแห่งชาติมนัส (Manas National Park) และจัดหาแหล่งอาศัยสุดท้ายของสัตว์ป่าสำหรับช้างเอเชียด้วย อัสสัมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะแห่งท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า และทั้งกาจิรังคาและมนัส ก็เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อัสสัมยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะป่าต้นสาละ และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลงมาก อัสสัมเป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก จึงมีพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำพรหมบุตร และลำน้ำสาขา กับทะเลสาบรูปเกือกม้า ที่ให้ความชุ่มชื้นและความสวยงามแก่ภูมิประเท.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและรัฐอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปเอเชีย

มรดกโลก คือสถานที่ที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) คัดเลือกเพื่อแสดงว่าสถานที่นั้นมีความสำคัญทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ รายชื่อด้านล่างคือรายชื่อแหล่งมรดกที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย ชื่อทางการเป็นชื่อที่ใช้ในการจดทะเบียนในบัญชีมรดกโลก ชื่อภาษาไทยเป็นชื่อที่แปลชื่อทางการ โดยศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม ปี คือปีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยรายชื่อมรดกโลกได้แบ่งตามภูมิภาคดังนี้.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติ

วามหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย นิยาม อุทยานแห่งชาติ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..๒๕๕๔ ให้นิยามไว้ดังนี้ คำว่าอุทยานแห่งชาติ คือกฏหมายที่ประกาศ โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในราชอาณาจักรไทยที่เป็นของราชการมิใช่พื้นที่ครอบครองของผุ้หนึ่งผู้ใดมาก่อนให้สงวนรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า "National Park" ซึ่งหมายถึง เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครองทรัยากรทางธรรมชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักสากลแล้ว อุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมีพื้นที่ ทั่วทั้งบริเวณไม่น้อยกว่า 6,250 ไร่ หรือประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ที่สำคัญในพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมี ธรรมชาติของ วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและอุทยานแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ควายป่า

วายป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40–2.80 เมตร ความยาวหาง 60–85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยในอดีตเคยมีอยู่มากและกระจัดกระจายออกไป โดยพบมากที่บ้านลานควาย หรือบ้านลานกระบือ (ปัจจุบัน คือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร) แต่สถานะในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดในธรรมชาติในปัจจุบัน คือ ที่อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในรัฐอัสสัม ของอินเดีย ประมาณ 1,700 ตัว หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20–25 ปี โดยควายป่ามักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะเสือโคร่ง ในอินเดีย ควายป่ามักอาศัยอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกับแรดอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย แม้จะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน แต่ก็มักถูกแรดอินเดียทำร้ายอยู่เสมอ ๆ จนเป็นบาดแผลปรากฏตามร่างกาย สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและควายป่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ป่าไม้เขตร้อน

ป่าไม้เขตร้อนคือ ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมในบริเวณเขตร้อนของโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและป่าไม้เขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพรหมบุตร

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต แม่น้ำพรหมบุตร มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและแม่น้ำพรหมบุตร · ดูเพิ่มเติม »

แรดอินเดีย

แรดอินเดีย จัดเป็นแรด 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และเป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดที่พบในทวีปแห่งนี้.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและแรดอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งเบงกอล

ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kaziranga National Parkอุทยานแห่งชาติกาจิรังคา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »