โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคลวิน

ดัชนี เคลวิน

ลวิน (kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยวัดอุณหภูมิ.

8 ความสัมพันธ์: มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1ศูนย์สัมบูรณ์องศาฟาเรนไฮต์องศาเซลเซียสประเทศสกอตแลนด์น้ำ

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (อังกฤษ: The University of Glasgow; ละติน: Universitatis Glasguensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451 เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในสามมหาวิทยาลัยในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสก็อตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ถูกก่อตั้งขึ้นอาณัติจากพระสันตปาปานิโคลัสที่ห้าโดยพระประสงค์ของพระเจ้าเจมส์ที่สอง เพื่อให้สก็อตแลนด์มีมหาวิทยาลัยสองแห่งเช่นเดียวกันกับอังกฤษที่มีอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ ซึ่งทำให้กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร และยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากเป็นอันดับสี่ในบริเทนรองจากอ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ และเอดินเบอระ อีกด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นมีสัดส่วนนักเรียนต่างชาติค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนในกลาสโกว์เอง อีก 40% เป็นนักเรียนจากเมืองต่างๆภายใน UK มีเพียงประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากต่างชาติ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK มาหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับเอดินเบอระและเซนต์แอนดรูส์ กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกใน UK ที่ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนอกเขตลอนดอนที่มีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เมืองกลาสโกว์นั้นมีอัตราส่วนวิศวกรต่อประชากรสูงมากเป็นอันดับสามของโลก มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ได้ให้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นจำนวนมาก อาทิ ลอร์ดเคลวิน – หนึ่งในผู้พัฒนากฎข้อสองของเทอร์โมไดนามิคส์ และภายหลังได้รับเกียรติให้นำชื่อไปให้เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน เจมส์ วัตต์ – ผู้พัฒนากลจักรไอน้ำจนก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร จอห์น โลกี แบรด – ผู้ประดิษฐ์โทรทัศน์ โจเซฟ ลิสเตอร์ – หนึ่งในผู้ริเริ่มการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ และ โจเซฟ แบลค – นักเคมีที่มีผลงานมากมายรวมไปถึงการค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ยังมีชื่อเสียงทางด้านสังคมศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านวิศวกรรมศาสตร์เลยแม้แต่น้อย กลาสโกว์นั้นถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของยุคแสงสว่างอย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ฟรานซิส ฮัทชิสัน แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian principle) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีพื้นฐานภายใต้เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (Classical Economics) อดัม สมิธ ศิษย์เก่าที่โด่งดังที่สุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้ผสมผสานทฤษฎีนี้ผนวกกับแนวคิดของเดวิด ฮูม (นักปรัชญาชาวเอดินเบอระ) ก่อให้เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีการค้าเสรี ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมหาศาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: เคลวินและมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ

ลบีเรีย, พม่า และ สหรัฐอเมริกา ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (International System of Units; Système international d'unités: SI.) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในโลกทั้งในชีวิตประจำวันและทางวิทยาศาสตร์ ระบบเมตริกแต่เดิมนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม โดยระบบเอสไอได้รับการพัฒนามาจากระบบหน่วยเมตร-กิโลกรัม-วินาที (meter-kilogram-second: MKS) ในปี 1960 และได้ปรับเปลี่ยนนิยามรวมถึงเพิ่มลดหน่วยฐานเอสไอมาตลอดตามการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการวัด เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงในการวัดมากขึ้น ระบบเอสไอเป็นระบบที่ใช้กันเกือบทั้งโลก มีเพียงสามประเทศที่ยังไม่ใช้หน่วยเอสไอเป็นมาตรฐานของหน่วยวัด ได้แก่ ไลบีเรีย พม่า และ สหรัฐอเมริกา แม้ในอังกฤษเองได้ยอมรับให้ใช้ระบบเอสไออย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่สามารถทดแทนระบบดั้งเดิมได้ทั้งหม.

ใหม่!!: เคลวินและระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1

วิลเลียม ธอมสัน บารอนเคลวิน ที่หนึ่ง (William Thomson, 1st Baron Kelvin; (26 มิถุนายน ค.ศ. 1824 - 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์และวิศวกร ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีผลงานสำคัญคือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่พิสูจน์ผลทางด้านไฟฟ้าและอุณหพลศาสตร์ ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ คือระบบเคลวิน (Kelvin) เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น บารอนเคลวิน ในปี ค.ศ. 1892 เพื่อเป็นเกียรติแก่การคิดค้นของเขา โดยนำชื่อมาจากแม่น้ำเคลวิน ที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสก็อตแลนด์ แต่เนื่องจากเขาไม่มีทายาทสืบตระกูล ตำแหน่งบารอนเคลวินจึงมีเพียง บารอนเคลวินที่หนึ่ง เพียงคนเดียวเท่านั้น.

ใหม่!!: เคลวินและวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์สัมบูรณ์

ูนย์สัมบูรณ์ (Absolute zero) คืออุณหภูมิในทางทฤษฎีที่เอนโทรปีจะมีค่าต่ำที่สุด ซึ่งเท่ากับ 0 เคลวิน หรือ −273.15 องศาเซลเซียส (−459.67 องศาฟาเรนไฮต์) ในการตีความดั้งเดิม ศูนย์สัมบูรณ์เป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารไม่มีพลังงานจลน์ แต่ปัจจุบันถือว่าพลังงานจลน์ที่สถานะพื้นไม่สามารถทำให้หายไปได้ ศูนย์สัมบูรณ์เป็นอุณหภูมิที่อนุภาคทุกชนิดหยุดการเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิงตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม ดังนั้นศูนย์สัมบูรณ์จึงน่าจะเป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารสั่นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งอาจไม่ต้องพิจารณาปริมาตรของแก๊ส ณ อุณหภูมินี้ เพราะแก๊สจะกลายเป็นของเหลวไปก่อนที่อุณหภูมิจะลดลงถึงตำแหน่งนี้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติยังไม่สามารถสร้างสภาพศูนย์สัมบูรณ์ขึ้นมาได้จริง หมวดหมู่:อุณหภูมิ หมวดหมู่:ความเย็น อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามกาประเทศไทย บายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ อุณหพลศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก ซึ่งกำหนดขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนฟิสิกส์สถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: เคลวินและศูนย์สัมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

องศาฟาเรนไฮต์

Countries that use Celsius. องศาฟาเรนไฮต์ คือชนิดสเกลค่าวัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ที่ถูกตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (1686-1736) โดยที่ค่าสเกลองศาฟาเรนไฮต์นี้ มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 32 องศาฟาเรนไฮต์ โดยปกติจะเขียนว่า 32 °F และมีจุดเดือดที่ 212 องศาฟาเรนไฮต์ โดยที่มีระยะห่างระหว่างจุดเยือกแข็งกับจุดเดือดของน้ำคือ 180 องศา โดยที่ 1 องศาในสเกลองศาฟาเรนไฮต์นี้ มีค่าเท่ากับ 5/9 ของ 1 เคลวิน (ซึ่งก็คือ 1 องศาเซลเซียส) และที่ลบ 40 องศาฟาเรนไฮต์เท่ากับติดลบ 40 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: เคลวินและองศาฟาเรนไฮต์ · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: เคลวินและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: เคลวินและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: เคลวินและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kelvinอุณหภูมิเคลวินองศาเคลวิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »