โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิสราเอล คามาคาวิโวโอเล

ดัชนี อิสราเอล คามาคาวิโวโอเล

อิสราเอล "อิซ" คาอาโนอี คามาคาวิโวโอเล (Israel "IZ" Kaʻanoʻi Kamakawiwoʻole; ออกเสียง) เป็นนักดนตรีชาวพื้นเมืองฮาวาย เล่นดนตรีแนวผสมผสานระหว่างแจ๊สและเร็กเก้ บทเพลงที่มีชื่อเสียงเป็นเพลงเมดเลย์ประกอบด้วยเพลง Over The Rainbow (ต้นฉบับโดย จูดี การ์แลนด์) และเพลง What A Wonderful World (ต้นฉบับโดย หลุยส์ อาร์มสตรอง) เพลงของเขาได้รับความนิยม นำไปใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น เรื่อง Meet Joe Black, Finding Forrester, 50 First Dates, Fred Clause, Glee และภาพยนตร์ไอแมกซ์ IMAX: Hubble 3D เป็นนักดนตรีร่างยักษ์ ที่เล่นดนตรีเป็นอูคูเลเลตัวเล็ก และร้องเพลงด้วยเสียงทุ้มนุ่มเป็นเอกลักษณ์ คามาคาวิโวโอเล มีความสูง 1.88 เมตร แต่มีน้ำหนักถึง 343 กิโลกรัม (757 ปอนด์) มีค่าดัชนีมวลกายถึง 97.05 kg/m² ทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ และเสียชีวิตจากอาการหัวใจวาย ด้วยวัยเพียง 38 ปี (tak a propos wasz jęzzyk ssie pałke elo xDหลังเสียชีวิต คามาคาวิโวโอเล ได้รับการเชิดชูเกียรติจากทางการรัฐฮาวาย มีการประกาศลดธงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัย และตั้งหีบศพไว้ณ ที่ทำการของรัฐ เพื่อให้ประชาชนเข้าเคารพศพ ในพิธีศพของเขาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ได้มีพิธีโปรยเถ้ากระดูกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกที่หาดมากัว วิดีโอบันทึกภาพงานศพของเขาปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอเพลง "Over the Rainbow" ฉบับเป็นทางการในยูทูบซึ่งมียอดผู้เข้าชมมากกว่า 450 ล้านครั้ง.

13 ความสัมพันธ์: กลี (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ภาวะหัวใจวายมหาสมุทรแปซิฟิกยูทูบรัฐฮาวายหลุยส์ อาร์มสตรองหีบศพอูกูเลเลจูดี การ์แลนด์ดัชนีมวลกายแจ๊สไอแมกซ์เร็กเก

กลี (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)

กลี (Glee) เป็นรายการโทรทัศน์อเมริกันเกี่ยวกับเพลง แนวตลก-ดราม่า ออกอากาศทางช่องฟ็อกซ์ในสหรัฐอเมริกา มีเรื่องราวเกี่ยวกับคณะนักร้องประสานเสียงของโรงเรียนไฮสคูลทวิลเลียมแม็กคินลีย์ ในลิมา รัฐโอไฮโอ ตอนแรกของรายการออกอากาศหลังรายการอเมริกันไอดอล เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม..

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและกลี (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะหัวใจวาย

วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและภาวะหัวใจวาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ยูทูบ

ูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (YouTube) เป็นเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอโดยมีสำนักงานอยู่ที่แซนบรูโน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เว็ปไซต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาจากอดีตพนักงาน 3 คนในบริษัทเพย์แพล อันประกอบด้วยแชด เฮอร์ลีย์ สตีฟ เชน และยาวีด คาริม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ยูทูบถูกกูเกิลซื้อไปในราคา 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยูทูบเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกูเกิล เว็บไซต์ยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด ดู หรือแบ่งปันวิดีโอได้.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและยูทูบ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยฮาวายตั้งห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและรัฐฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ อาร์มสตรอง

หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) (4 สิงหาคม ค.ศ. 1901 - 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1971) มีชื่อเล่นว่า "แซทช์โม" (Satchmo) หรือ ป็อปส์ (Pops) นักทรัมเป็ตและนักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและหลุยส์ อาร์มสตรอง · ดูเพิ่มเติม »

หีบศพ

ลงศพ หีบศพ หรือ โลง หรือ โลงศพ คือ ที่สำหรับบรรจุศพ หรือร่างคนตาย โดยให้ศพนอนราบอยู่ภายใน และมีฝาครอบมิดชิด ก่อนที่จะนำไปบำเพ็ญพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป โดยทั่วไปแล้ว โลงศพมักจะทำด้วยไม้ เป็นรูปคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม มีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้าง ลักษณะของโลงศพแตกต่างกันไปตามความนิยม หรือธรรมเนียมการทำศพในแต่ละศาสนา โลงศพของชาวพุทธในประเทศไทย เดิมนิยมใช้ไม้กระดาน กว้างพอดีสำหรับแต่ละด้าน แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้อัดมาเลือยตัดเป็นแผ่นประกอบโลง ภายนอกอาจใช้โลงที่มีลวดลายครอบอีกชั้นหนึ่งเพื่อความสวยงาม แต่เมื่อจะนำไปเผาหรือฝัง ก็จะถอดโลงชั้นนอกออก หีบศพบรรดาศักดิ์(ประเทศไทย) พระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบศพพระราชทาน สำหรับบุคคลดังต่อไปนี้ - หีบทองทึบ สำหรับ หม่อมเจ้าที่ไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ไม่ถึงชั้นสายสะพาย (พระราชทานฉัตรเบญจาประกอบเกียรติยศเพิ่ม), เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอม, พระราชาคณะ(ชั้นเทพ,ราช และ สามัญ) - หีบทองลายสลัก สำหรับ ขุนนาง(ชั้น พระ - พระยาโต๊ะทอง), ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก และ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ(พระราชทานฉัตรเบญจาประกอบเกียรติยศเพิ่ม), บิดามารดาของผู้ดำรงตำแหน่ง (นายกรัฐมนตรี, ประธานองคมนตรี, องคมนตรี, ประธานรัฐสภา, ประธานวุฒิสภา, ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ประธานศาลฎีกา และ รัฐมนตรี ต้องถึงแก่กรรมขณะบุตร-บุตรีดำรงตำแหน่ง) (พระราชทานฉัตรเบญจาเป็นเกียรติยศเพิ่ม) - หีบกุดั่น สำหรับ ขุนนาง(ชั้น พระ ที่มีเชื้อสายจีน), ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า - หีบลายก้านแย่ง สำหรับ ขุนนาง(ชั้น หลวง), ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุราภรณ์มงกุฎไทย จัตุราภรณ์ช้างเผือก จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ตติยดิเรกคุณาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย และ ตริตาภรณ์ช้างเผือก - หีบเชิงชาย สำหรับ ขุนนาง(ชั้น ขุน), ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย และ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและหีบศพ · ดูเพิ่มเติม »

อูกูเลเล

อูคูเลเล (ʻukulele,; AmE), ยูเคอเลลี) หรือ กีตาร์ฮาวาย เป็นเครื่องดีด (chordophone) ซึ่งจัดเข้าพวกเป็นกระจับปี่ (plucked lute) อย่างหนึ่ง และเป็นรูปแบบย่อยรูปแบบหนึ่งของวงศ์กีตาร์ มีรูปลักษณ์คล้ายกีตาร์อันเล็ก ต่างกันตรงที่กีตาร์จะขึงสายสำหรับดีดทั้งหมด 6 สาย ส่วนอูกูเลเลขึงสายทั้งหมดเพียง 4 สาย ทำจากไนลอนหรือเชือกอย่างอื่น อูคูเลเลมีกำเนิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวฮาวายซึ่งนำเอากีตาร์น้อย ประเภทกาวากิญญู (cavaquinho) กับราเฌา (rajão) มาประสมกัน ชาวโปรตุเกสที่อพยพเข้ามาในสหรัฐอเมริกาได้นำกีตาร์น้อยทั้งสองนี้เข้าสู่ฮาวาย ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อูกูเลเลได้รับความนิยมเป็นอย่างมากภายนอกสหรัฐอเมริกา และนับจากนั้นก็แพร่หลายทั่วไป แนวและระดับเสียงของอูกูเลเลขึ้นอยู่ขนาดและโครงสร้างของมัน อูกูเลเลที่นิยมเล่นมี 3 ขนาด คือ โซปราโน, คอนเสิร์ด และเทอเนอร.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและอูกูเลเล · ดูเพิ่มเติม »

จูดี การ์แลนด์

ูดี การ์แลนด์ (Judy Garland, 10 มิถุนายน ค.ศ. 1922 — 22 มิถุนายน ค.ศ. 1969) เป็นนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน ในช่วงยุคทองของภาพยนตร์เพลง (Golden Era of musical film) รับบทเป็นโดโรธี ในเรื่อง เดอะวิซาร์ดออฟออซ (The Wizard of Oz) (1939) และร้องเพลงประกอบ ที่ชื่อ Over the Rainbow ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงมาก นับแต่นั้นเป็นต้นมา จูดี การ์แลนด์ มีชื่อจริงว่า แฟรนเซส เอเธล กัมม์ (Frances Ethel Gumm) เกิดที่เมือง แกรนด์แรพิดส์ ในรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตในย่านเชลซี ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ด้วยวัยเพียง 47 ปี จากสาเหตุที่โหมงานหนักทำให้ต้องรับประทานยานอนหลับจนกระทั่งเสียชีวิต.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและจูดี การ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีมวลกาย

ัชนีมวลกาย (body mass index, ย่อ: BMI) เป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักและส่วนสูงของปัจเจกบุคคล BMI นิยามว่า มวลกายหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง และแสดงในหน่วย กก./ม.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและดัชนีมวลกาย · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

ไอแมกซ์

ปรียบเทียบขนาดฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม. กับไอแมกซ์ 15/70 หลอดซีนอนขนาด 15 กิโลวัตต์ ที่ใช้ฉายภาพยนตร์ไอแมกซ์ อิมเมจ แมกซิมัม เรียกโดยย่อว่า ไอแมกซ์ (IMAX ย่อมาจาก Image MAXimum) เป็นชื่อของรูปแบบฟิล์มภาพยนตร์ อุปกรณ์การฉาย ตลอดจนโรงภาพยนตร์ ที่ใช้มาตรฐานของบริษัท IMAX Corporation ประเทศแคนาดา โดยภาพยนตร์ที่ฉายด้วยระบบไอแมกซ์จะมีภาพที่มีขนาดใหญ่ และมีความละเอียดสูงกว่าภาพยนตร์ทั่วไป จอภาพยนตร์ไอแมกซ์จะมีขนาดกว้างประมาณ 22 เมตร (72 ฟุต) สูง 16.1 เมตร (63 ฟุต) ภาพยนตร์ที่ใช้ระบบไอแมกซ์ จะถ่ายทำด้วยฟิล์มขนาดใหญ่กว่าปกติ (70 มม.) ที่ความเร็ว 24 เฟรมต่อวินาที เนื้อฟิล์มที่ใช้จะมีความแข็งแรงมากกว่าฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม.

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและไอแมกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เร็กเก

Bob Marley ศิลปินเร็กเกที่มีชื่อเสียง เร็กเก (reggae) เป็นแนวดนตรีแอฟริกา-แคริบเบียนซึ่งพัฒนาขึ้นบนเกาะจาเมกา และมีความชิดใกล้เชื่อมต่อกับลัทธิรัสตาฟาเรียน (Rastafarianism) รากดั้งเดิมของเร็กเกสามารถค้นหาได้จากดนตรีประเพณีนิยมของแอฟริกา-แคริบเบียนที่มีพอ ๆ กับดนตรีริธึ่มแอนด์บลูส์ของอเมริกัน เร็กเก้ เป็นดนตรีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่เดียวในโลกของประเทศจาเมกา ซึ่งอิทธิพลทางดนตรีมาจากนิวออร์ลีนส์ ริธึ่มแอนด์บลูส์ มาจากการฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ที่รับคลื่นสั้นจากสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รากเหง้าของดนตรีคนแอฟริกา-แคริบเบียน คือเพลงโฟล์กของจาเมกาที่เรียกว่า เมนโต (Mento) มีท่วงทำนองเพลงไปในทางแนวดนตรีคาลิปโซ เนื้อหาของบทเพลงจะพูดถึงการเรียกร้องสิทธิของตัวเองและปัญหาความยากจนต่อประเทศเจ้าอาณานิคมในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกในทะเลแคริบเบียน สำหรับจาเมกาตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ พลเมืองตกเป็นทาสของคนผิวขาว ก็มีการพัฒนาดนตรีเมนโตนำมาผสมกับอาร์แอนด์บีทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา พัฒนาเปลี่ยนแปลงจังหวะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นดนตรีสกา (Ska) โดยเปลี่ยนแปลงจังหวะให้เพิ่มขึ้น กีตาร์เล่นจังหวะยก และมีการเล่นลัดจังหวะ ถือว่าเป็นการแปลความหมายของดนตรีอาร์แอนด์บีอีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นที่นิยมกันอย่างมากในช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 60 และได้มีการพัฒนาขึ้นอีกขั้น บีทของดนตรีจึงถูกดึงให้ช้าลงใช้เปียโนและเบสที่มีอิทธิพลดนตรีร็อกเข้ามาจึงเรียกว่า ร็อกสเตดี้ (Rocksteady) จนมาถึงปี 1968 ก็ได้มีการพัฒนาจนถึงขีดสุด ดนตรีเร็กเก้จึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวความคิดของลัทธิรัสตาฟาเรียน ทรงผมฟั่นเชือกหรือเดรด ล็อก และอุดมคติทางการเมืองและสังคม ในการพาชาวแอฟริกา-แคริบเบียน กลับสู่แผ่นดินในทวีปแอฟริกา สกา (Ska) และร็อกสเตดี (Rocksteady) คือพื้นฐานทางแนวดนตรีผู้มาก่อนเร็กเก้ในยุคทศวรรษที่ 60 ก่อนที่ บ็อบ มาร์เลย์ จะทำให้ดนตรีเร็กเก้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ก็เคยบันทึกเสียงในแนวดนตรีร็อกสเตดี้ในช่วงแรกในอาชีพของเขา สไตล์ดนตรีเร็กเก้ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากเรียกกันว่า รูทส์ เร็กเก้ (roots reggae) หรือ รูทส์ ร็อก เร็กเก้ (roots rock reggae) และใช้กับศิลปินอีกมากมายที่ทำงานในแบบเดียวกันอย่าง Black Uhuru, Burning Spear, Culture, Israel Vibrations, The Skatalites and Toots และ The Maytals ซึ่งสามารถส่งอิทธิพลมาถึงวง UB40 ในสหราชอาณาจักร ในจาเมกานั้น ดนตรีแนวใหม่ได้ทวีความนิยมมากว่า โดยมีการพัฒนาไปสู่แนวเลิฟเวอร์ส ร็อก (Lovers Rock), แดนซ์ฮอลล์ (Dancehall) และแร็กกามัฟฟิน (Raggamuffin).

ใหม่!!: อิสราเอล คามาคาวิโวโอเลและเร็กเก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Israel Kamakawiwoʻoleอิสราเอล คามาคาวิโว โอเลอิสราเอล คามาคาวิโวʻโอเล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »