โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิประทับใจยุคหลัง

ดัชนี ลัทธิประทับใจยุคหลัง

"ร้อยปีแห่งความมีอิสระ" โดยอ็องรี รูโซ ค.ศ. 1892 ลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) เป็นคำที่คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1910 โดยรอเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษ เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังยังคงสร้างงานศิลปะลัทธิประทับใจ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะลัทธิประทับใจ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีที่จิตรกรต้องการจะใช้.

31 ความสัมพันธ์: บาศกนิยมฟินเซนต์ ฟัน โคคพ.ศ. 2429พ.ศ. 2434พ.ศ. 2435พ.ศ. 2453พ.ศ. 2457กลุ่มนาบีกามีย์ ปีซาโรการปฏิวัติฝรั่งเศสยุคเรืองปัญญาลอนดอนลัทธิสัญลักษณ์นิยมลัทธิผสานจุดสีลัทธิประทับใจลัทธิประทับใจใหม่วาซีลี คันดินสกีวิภาคนิยมสังเคราะห์นิยมหอศิลป์เทตอ็องรี มาติสอ็องรี รูโซอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็กฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอราคตินิยมเส้นกั้นสีคติโฟวิสต์ปอล โกแก็งปอล เซซานปาโบล ปีกัสโซนวยุคนิยมเอดัวร์ มาแน

บาศกนิยม

ผลงานแบบบาศกนิยม บาศกนิยม (cubism) เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าดั้งเดิมในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่ รวมทั้งลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะกลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เป็นลูกบาศก์ เป็นทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิงสามมิติให้ปรากฏในผืนระนาบสองมิติหรือสามมิติ แสดงออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและบาศกนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ฟินเซนต์ ฟัน โคค

ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค (Vincent Willem van Gogh; 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890)คำอ่านในภาษาอังกฤษบริติชมีทั้ง แวน โกค หรือบ้าง แวน กอฟ พจนานุกรมสหรัฐลงว่า แวน โก คนไทยมักเรียก วินเซนต์ แวน โก๊ะ เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก เขาสร้างสรรค์งานศิลป์กว่า 2,100 ชิ้นในเวลาเพียงสิบปีกว่า ในจำนวนนี้เป็นภาพสีน้ำมัน 860 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในสองปีสุดท้ายของชีวิตเขา ผลงานของเขามีทั้งภาพภูมิประเทศ ภาพนิ่ง ภาพคนเหมือน และภาพเหมือนตนเอง ซึ่งล้วนมีลักษณะเด่นเป็นสีสันจัดจ้านและงานพู่กันที่ฉวัดเฉวียนแฝงอารมณ์ชวนประทับใจอันช่วยสร้างรากฐานให้แก่ศิลปะสมัยใหม่ หลังทนทุกข์เพราะไข้ใจและความจนมานานหลายปี เขาปลิดชีวิตตนเองเมื่ออายุได้ 37 ปี เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางค่อนไปทางชั้นสูง เขาเป็นเด็กที่เคร่งขรึม พูดน้อย แต่คิดมาก เมื่อโตเป็นหนุ่ม เขาทำงานเป็นนายหน้าขายศิลปกรรม จึงเดินทางบ่อย แต่เมื่อต้องย้ายบ้านไปอยู่ลอนดอน เขาก็ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จึงหันไปหาศาสนา ปฏิบัติศาสนกิจในฐานะมิชชันนารีแห่งโปรเตสแตนต์ทางภาคใต้ของเบลเยียม ชีวิตเขาล่องลอยไปมาระหว่างสุขภาพอันทรุดโทรมกับความโดดเดี่ยวอ้างว้าง กระทั่งมาจับงานวาดเขียนเอาใน..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและฟินเซนต์ ฟัน โคค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2429

ทธศักราช 2429 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1886 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและพ.ศ. 2429 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2434

ทธศักราช 2434 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1891 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและพ.ศ. 2434 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2435

ทธศักราช 2435 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1892 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและพ.ศ. 2435 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2453

ทธศักราช 2453 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1910 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและพ.ศ. 2453 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและพ.ศ. 2457 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มนาบี

“The Talisman” โดย ปอล เซรูว์ซีเย กลุ่มนาบี (Les Nabis) คือกลุ่มศิลปินอาว็อง-การ์ดของอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังผู้วางแนวทางของวิจิตรศิลป์และเลขนศิลป์ในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1890 เดิมเป็นกลุ่มผู้ที่รู้จักกันผู้มีความสนใจในศิลปะและวรรณกรรมร่วมสมัย ที่ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนศิลปะส่วนบุคคลของรอดอล์ฟ ฌูว์ลีย็อง (สถาบันฌูว์ลีย็อง) ในกรุงปารีสในปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและกลุ่มนาบี · ดูเพิ่มเติม »

กามีย์ ปีซาโร

“ภาพเหมือนตนเอง” ค.ศ. 1898 “Avenue de l'Opera” ค.ศ. 1898 “Bäuerin” ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กามีย์ ปีซาโร (Camille Pissarro) หรือ ฌากอบ-อาบราอาม-กามีย์ ปีซาโร (Jacob-Abraham-Camille Pissarro; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 - 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์แบบฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ความสำคัญของกามีย์ ปีซาโรมิใช่เพียงการเขียนภาพแบบอยู่ที่อิมเพรสชันนิสม์แต่ยังเป็นศิลปินคนสำคัญของขบวนการที่รวมทั้งปอล เซซาน และปอล โกแก็ง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและกามีย์ ปีซาโร · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสัญลักษณ์นิยม

วามตาย และ เทวดา, หิมะที่ยังใหม่, และการวางท่าของตัวแบบที่แสดงความต้องการในการแปรจากความเป็นปัจจุบันไปสู่ดินแดนอื่น (transfiguration) ลัทธิสัญลักษณ์นิยม (ภาษาอังกฤษ: Symbolism in arts) คือขบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มาจากฝรั่งเศสและเบลเยียมในการเขียนกวีนิพนธ์และการสร้างศิลปะอื่น.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและลัทธิสัญลักษณ์นิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิผสานจุดสี

รายละเอียดของภาพ "พาเหรดละครสัตว์" (ค.ศ. 1889) โดยฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา แสดงให้เห็นจุดสีที่ตัดการในการผสานจุดสี ลัทธิผสานจุดสี (pointillism) คือเทคนิคการเขียนจิตรกรรมที่ใช้จุดสีเล็กๆ ต่างๆ สีที่ผสานกันขึ้นมาเป็นภาพด้วยตา นอกจากการใช้การ "ผสานจุดสี" แล้วก็ยังมีงานกราฟิกที่เป็นภาพที่เกิดจากจุดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่มาของลัทธิผสานจุดสีมาจากศิลปะรูปลักษณ์ (figurative art) ของการสร้างงานจิตรกรรมที่ไม่ใช่การสร้างศิลปะนามธรรม (abstract art) ของศิลปะการแสดงออก.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและลัทธิผสานจุดสี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิประทับใจ

''Avenue de l'Opéra'') โดยกามีย์ ปีซาโร ลัทธิประทับใจ หรือ อิมเพรสชันนิซึม (impressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแน ที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise ("Impression, soleil levant" ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เลอชารีวารี (Le Charivari) อิทธิพลของลัทธิประทับใจยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและลัทธิประทับใจ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิประทับใจใหม่

"บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต" โดยฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา ราว ค.ศ. 1884–1886 ภาพเหมือนของเฟลิกซ์ เฟเนอง โดยปอล ซีญัก ค.ศ. 1890 ลัทธิประทับใจใหม่ (neo-impressionism) เป็นคำที่เริ่มใช้โดยนักวิพากษ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสชื่อเฟลิกซ์ เฟเนอง ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและลัทธิประทับใจใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

วาซีลี คันดินสกี

วาซีลี วาซีเลียวิช คันดินสกี (Васи́лий Васи́льевич Канди́нский; Wassily Kandinsky) เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและวาซีลี คันดินสกี · ดูเพิ่มเติม »

วิภาคนิยม

ร์ลส์ บลองซ์ที่มีอิทธิพลต่อศิลปินวิภาคนิยม ศิลปะวิภาคนิยม (Divisionism หรือ Chromoluminarism) คือลักษณะการเขียนภาพของศิลปินในกลุ่มศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ที่เป็นการแยกสีออกเป็นจุดจุดหรือเป็นแต้มที่ทำให้เกิดมีปฏิกิริยาต่อกันTosini, Aurora Scotti.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและวิภาคนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สังเคราะห์นิยม

อล เซรูสิเยร์ซึ่งเป็นงานชิ้นหลักของศิลปะสังเคราะห์นิยม ศิลปะสังเคราะห์นิยม (Synthetism) เป็นคำที่ใช้โดยศิลปินอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังเช่นพอล โกแกง, อีมิล แบร์นาร์ด และ หลุยส์ อันเคแตงเพื่อแยกงานของตนเองจาก “ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์” ศิลปินสังเคราะห์นิยมในระยะแรกมีความเกี่ยวข้องกับ “ลัทธิคลัวซอนนิสม์” และต่อมากับ “ลัทธิสัญลักษณ์นิยม” “Synthetism” มาจากคำกิริยาภาษาฝรั่งเศสว่า “synthétiser” ที่แปลว่าสังเคราะห์ หรือ เพื่อรวมเพื่อทำให้สร้างสิ่งที่มีรูปทรงใหม่และซับซ้อน พอล โกแกง, อีมิล แบร์นาร์ด และ หลุยส์ อันเคแตง และจิตรกรผู้อื่นเป็นผู้ริเริ่มแนวทางศิลปะนี้ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 ศิลปินสังเคราะห์นิยมมีวัตถุประสงค์ในการ “สังเคราะห์” อยู่สามสิ่ง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและสังเคราะห์นิยม · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์เทต

หอศิลป์เทต (Tate Gallery) คือสถาบันที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักรที่สะสมศิลปะอังกฤษ ศิลปะสากล และศิลปร่วมสมัย เครือหอศิลป์เทตประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ 4 พิพิธภัณฑ์ ได้แก่ หอศิลป์เทตบริเตน กรุงลอนดอน (ก่อตั้ง ค.ศ. 2000), หอศิลป์เทต เมืองลิเวอร์พูล (ก่อตั้ง ค.ศ. 1988), หอศิลป์เทตเซนต์ไอฟส์ เมืองเซนต์ไอฟส์ในเทศมณฑลคอร์นวอลล์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1993) และหอศิลป์เทตมอเดิร์น กรุงลอนดอน (ก่อตั้ง ค.ศ. 2000) พร้อมด้วยเว็บไซต์ประกอบคือ หอศิลป์เทตออนไลน์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1998).

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและหอศิลป์เทต · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี มาติส

อ็องรี เอมีล เบอนัว มาติส (Henri-Émile-Benoît Matisse) (31 ธันวาคม ค.ศ. 1869 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954) เป็นจิตรกร ประติมากร และช่างพิมพ์ ชาวฝรั่งเศส ถือกันว่าเขามีฐานะเป็นหัวหน้าและคนที่สำคัญที่สุดของกลุ่มคติโฟวิสต์ ผลงานการวาดรูปของเขาจะโดดเด่นในการที่ใช้สีสันตัดกันอย่างลื่นไหลลงตัว.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและอ็องรี มาติส · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี รูโซ

อ็องรี ฌูว์เลียง เฟลิกซ์ รูโซ (Henri Julien Félix Rousseau; 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 - 2 กันยายน ค.ศ. 1910) at the Guggenhiem เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีลักษณะการเขียนแบบศิลปะนาอีฟ (Naïve art) และ แบบบรรพกาลนิยม (Primitivism) รูโซเป็นที่รู้จักกันว่า “Le Douanier” (เจ้าหน้าที่ศุลกากร) ตามหน้าที่การงาน ระหว่างที่มีชีวิตอยู่รูโซก็ถูกเย้ยหยัน แต่ต่อมาก็เป็นที่นับถือในการที่เป็นผู้สอนตนเองผู้เป็นอัจฉริยะผู้เขียนภาพที่มีคุณภาพสูง pages 7 & 8.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและอ็องรี รูโซ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก “ลากูลู (หลุยส์ เวเบ) มาถึงมูแล็งรูฌ” (La Goulue arriving at the Moulin Rouge) (ค.ศ. 1892) อ็องรี มารี แรมง เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก-มงฟา (Henri Marie Raymond de Toulouse-Lautrec-Monfa; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1864 - 9 กันยายน ค.ศ. 1901) เป็นจิตรกร ช่างพิมพ์ ช่างเขียนแบบ และอิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) สมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปสเตอร์ของชีวิตผู้คนในบริเวณมงมาตร์ และผู้ชอบใช้ชีวิตในวงการของความฟุ้งเฟ้อและโรงละครในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษ (fin de siècle) ของปารี.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา

อร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (Georges-Pierre Seurat"C.U.S.D. Art Masterpiece Manual", Mary Lynne Lasure, p.38, web:.) (2 ธันวาคม ค.ศ. 1859 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1891) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานเขียนชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของเซอราคือภาพ “บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต” ที่เขียนระหว่างปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมเส้นกั้นสี

ระเยซูเหลือง" ค.ศ. 1889, สีน้ำมันบนผ้าใบ คตินิยมเส้นกั้นสี (cloisonnism) เป็นลักษณะการเขียนภาพของลัทธิประทับใจยุคหลังที่เด่น (bold) และราบ (flat) แยกจากสิ่งแวดล้อมด้วยขอบสีเข้ม ๆ เป็นคำที่นักวิจารณ์เอดัวร์ ดูว์ฌาร์แด็ง (Édouard Dujardin) เริ่มใช้ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและคตินิยมเส้นกั้นสี · ดูเพิ่มเติม »

คติโฟวิสต์

ติโฟวิสต์ (Les Fauves) เป็นลัทธิของจิตรกรรมลัทธิหนึ่ง ลัทธินี้ใช้สีสดใส ตัดกันอย่างรุ่นแรง นำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ รูปแบบง่าย เรียบ สีที่นิยมใช้ คือ สีเขียว สีม่วง สีแดงอิฐ สีส้ม เกิดขึ้นและนิยมในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น อ็องรี มาติส (Henri Matisse) เป็นผู้นำที่สำคัญของคติโฟวิสต..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและคติโฟวิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปอล โกแก็ง

ออแฌน อ็องรี ปอล โกแก็ง (Eugène Henri Paul Gauguin, 7 มิถุนายน ค.ศ. 1848 - 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน โกแก็งเกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1848 ที่ปารีสในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903 ที่เกาะในเฟรนช์โปลินีเซีย นอกจากการเป็นจิตรกรสมัยลัทธิประทับใจยุคหลังแล้ว โกแก็งยังทดลองการเขียนที่ใช้สีฉูดฉาดที่นำไปสู่การเขียนแบบสังเคราะห์นิยม (Synthetist) ของศิลปะสมัยใหม่ การเขียนของโกแก็งเป็นวิธีที่มีอิทธิพลมาจากลัทธิคลัวซอนนิสม์ที่นำไปสู่งานเขียนที่เป็นแบบที่เรียกว่าบรรพกาลนิยม (Primitivism) และกลับไปสู่จิตรกรรมท้องทุ่ง (pastoral) นอกจากนั้นโกแก็งก็ยังมีอิทธิพลต่อภาพพิมพ์ลายแกะ (engraving) และภาพพิมพ์แกะไม้ที่ยกระดับขึ้นเป็นงานศิลป.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและปอล โกแก็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปอล เซซาน

ปอล เซซาน (Paul Cézanne) จิตรกรชาวฝรั่งเศสในลัทธิประทับใจยุคหลัง สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน งานของเซซานเป็นงานที่วางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะในลัทธิประทับใจของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศิลปะบาศกนิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งอ็องรี มาติส และปาโบล ปีกัสโซ ยกย่องเซซานว่าเป็น "the father of us all".

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและปอล เซซาน · ดูเพิ่มเติม »

ปาโบล ปีกัสโซ

Signatur Pablo Picasso ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso;;; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 8 เมษายน ค.ศ. 1973) จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปีกัสโซเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและปาโบล ปีกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

นวยุคนิยม

ก้าอี้วาสซิลี (Wassily) ผลงานของมาร์แซล บรอยเยอร์ นวยุคนิยม, นวนิยม, ทันสมัยนิยม หรือ สมัยใหม่นิยม (modernism) อธิบายชุดของขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำดังกล่าวครอบคลุมชุดต่อเนื่องของขบวนการปฏิรูปในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณกรรม, และศิลปะประยุกต์ซึ่งอุบัติขึ้นในระหว่างช่วงนี้.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและนวยุคนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เอดัวร์ มาแน

อดัวร์ มาแน (Édouard Manet,; 23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาแนเป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ “อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาแนเป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่ม ๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชันนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัยใหม.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจยุคหลังและเอดัวร์ มาแน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Post-Impressionismศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังศิลปะโพสต์อิมเพรสชันนิสม์อิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังอิมเพรสชันนิซึมยุคหลัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »