โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อำนาจตุลาการ

ดัชนี อำนาจตุลาการ

อำนาจตุลาการ เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ฝ่ายตุลาการมักได้รับภารกิจให้ประกันความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มักประกอบด้วยศาลอุทธรณ์สูงสุด (court of final appeal) เรียกว่า "ศาลสูงสุด" หรือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ร่วมกับศาลที่ต่ำกว่า ในหลายเขตอำนาจ ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายผ่านกระบวนการการพิจารณาทบทวนโดยศาล ศาลที่มีอำนาจการพิจารณาทบทวนโดยศาลอาจบอกล้างกฎหมายและหลักเกณฑ์ของรัฐเมื่อเห็นว่ากฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้นไม่เข้ากับบรรทัดฐานที่สูงกว่า เช่น กฎหมายแม่บท บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาเป็นกำลังสำคัญสำหรับตีความและนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ ฉะนั้น จึงสร้างประชุมกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ หมวดหมู่:การปกครอง.

7 ความสัมพันธ์: กฎหมายระหว่างประเทศการแยกใช้อำนาจรัฐธรรมนูญศาลศาลรัฐธรรมนูญศาลสูงสุดคอมมอนลอว์

กฎหมายระหว่างประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศ (International law) หมายถึง กฎ กฎเกณฑ์ และข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากความตกลง หรือการแสดงเจตนาเข้าผูกพันของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป และมักใช้เป็นหลักในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างประเท.

ใหม่!!: อำนาจตุลาการและกฎหมายระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

การแยกใช้อำนาจ

การแยกใช้อำนาจ เป็นแบบจำลองวิธีการปกครองรัฐ มีขึ้นครั้งแรกในกรีซโบราณ ภายใต้แบบจำลองนี้ รัฐแบ่งออกเป็นอำนาจต่าง ๆ ซึ่งแต่ละอำนาจมีอำนาจแยกเป็นเอกเทศต่อกัน และมีขอบเขตความรับผิดชอบต่างกัน เพื่อที่อำนาจของอำนาจหนึ่งจะไม่ไปขัดกับอำนาจที่สัมพันธ์กับอีกอำนาจหนึ่ง การแยกใช้อำนาจนี้ปกติแบ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวดหมู่:ปรัชญากฎหมาย หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง.

ใหม่!!: อำนาจตุลาการและการแยกใช้อำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: อำนาจตุลาการและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ศาล

ล เป็นองค์กรสาธารณะที่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับพลเมือง แรงงาน กิจการ และอาชญากรรมภายใต้กฎหมาย ในกฎหมายทั่วไปและกฎหมายพลเมือง ศาลนับว่าเป็นทางออกของข้อพิพาทต่างๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ทุกๆ คนมีสิทธิ์ที่จะนำข้อกล่าวหามาใช้ในศาลได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ถูกกล่าวหาก็มีสิทธิ์ที่จะแก้ต่างในศาลได้เช่นกัน.

ใหม่!!: อำนาจตุลาการและศาล · ดูเพิ่มเติม »

ศาลรัฐธรรมนูญ

ลรัฐธรรมนูญ (constitutional court) เป็นศาลสูงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจหลักที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น ขัดกับสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่ ในหลาย ๆ ประเทศ ไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นเอกเทศ และศาลยุติธรรมตามธรรมดาจะรับคดีดังกล่าวเอง นอกจากนี้ ในหลาย ๆ ประเทศก็ไม่เรียกองค์กรนี้ว่า "ศาลรัฐธรรมนูญ" และบางประเทศก็เรียกศาลยุติธรรมว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็น "ศาลรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก" เพราะเป็นศาลแรกในโลกที่วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายต่าง ๆ (คดีระหว่างมาร์บิวรีกับเมดิสัน) แม้ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะก็ตาม ส่วนประเทศที่สถาปนาศาลรัฐธรรมนูญอย่างเอกเทศเป็นแห่งแรกของโลกนั้น คือ ประเทศออสเตรีย ซึ่งดำเนินการใน..

ใหม่!!: อำนาจตุลาการและศาลรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลสูงสุด

ลสูงสุด (supreme court) คือ ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลสูงสุดมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น.

ใหม่!!: อำนาจตุลาการและศาลสูงสุด · ดูเพิ่มเติม »

คอมมอนลอว์

ระบบกฎหมายทั่วโลก ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร "ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่างมาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินดคีในอดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น ในทางปฏิบัติ ระบบคอมมอนลอว์เป็นระบบซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคุณสมบัติอันเป็นอุดมคติดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตัดสินดำเนินดคีของศาลจะถูกผูกมัดในเฉพาะเขตอำนาจศาลที่เฉพาะเท่านั้น และกระทั่งภายในเขตอำนาจศาลที่กำหนด ศาลบางส่วนก็มีอำนาจยิ่งกว่าศาลทั่วไป อาทิเช่น ในการตัดสินคดีส่วนใหญ่ การตัดสินคดีโดยศาลอุทธรณ์จะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าในการตัดสินดคีความที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และการตัดสินคดีในอนาคตจะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลอุทธรณ์นี้ แต่มีเพียงการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าเป็นอำนาจซึ่งไม่ถูกผูกมัดโน้มน้าว ระบบกฎหมาย หมวดหมู่:กฎหมายทรัพย์สิน.

ใหม่!!: อำนาจตุลาการและคอมมอนลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฝ่ายตุลาการ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »