โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาโรน

ดัชนี อาโรน

อาโรน (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ ฮารูน (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Aaron; אַהֲרֹן Ahărōn; هارون Hārūn) เป็นพี่ชายของโมเสส และเป็นผู้เผยพระวจนะของพระยาห์เวห์ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นปุโรหิตประจำเผ่าเลวี และเป็นมหาปุโรหิตองค์แรกของวงศ์วานอิสราเอล เมื่อโมเสสยังศึกษาอยู่ในราชสำนักอียิปต์จนกระทั่งลี้ภัยไปอยู่มีเดียน อาโรนกับมีเรียมพี่สาวยังอาศัยอยู่กับญาติที่ภาคตะวันออกของอียิปต์และเริ่มมีชื่อเสียงมากจากการใช้วาทศิลป์ เมื่อคราวที่โมเสสขอให้ฟาโรห์ปล่อยตัวชาวอิสราเอลจากการเป็นเชลย อาโรนก็ได้ทำหน้าที่เป็นนบี (โฆษก) ให้กับพี่ชายของตนเมื่อต้องพูดกับชาวอิสราเอลและเจรจากับฟาโรห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดนักว่าอาโรนมีชีวิตอยู่เมื่อใด แต่คาดว่าราว 1600 ถึง 1200 ก่อนคริสต์ศักร.

11 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์พระยาห์เวห์วงศ์วานอิสราเอลศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์ผู้เผยพระวจนะนบีนักบวชโมเสสเผ่าเลวี

ฟาโรห์

หลังรัชสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 แล้ว มักปรากฏภาพพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์ฉลองพระองค์ด้วยศิราภรณ์เนเมส (Nemes), พระมัสสุเทียม, และกระโปรงจีบ ฟาโรห์ (Pharaoh; อ่านว่า เฟโรห์ (ˈ/feɪroʊ/) หรือ แฟโรห์ (/ˈfæroʊ/)) เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านหลังใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่ 18 เมื่อพ้นรัชกาลของพระนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้วDodson, Aidan and Hilton, Dyan.

ใหม่!!: อาโรนและฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

ใหม่!!: อาโรนและพระยาห์เวห์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วานอิสราเอล

ัญลักษณ์ 12 ชนเผ่าของอิสราเอล ซึ่งสลักไว้บนกำแพงเมืองกรุงเยรูซาเลม วงศ์วานอิสราเอล (Israelites; בני ישראל Bnai Yisraʾel; ܒܢܝ ܐܝܣܪܐܝܠ; Δώδεκα φυλές του Ισραήλ; بنى اسرائيل) แปลว่าลูกหลานของอิสราเอล จึงหมายถึงประชาชนที่อาศัยในบริเวณดินแดนคานาอันในตะวันออกใกล้ สมัยโบราณราวศตวรรษที่ 15-16 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากยาโคบ ต่อมาเป็นชาวยิวซี่งอาศัยในแคว้นยูเดียและชาวสะมาเรียในแคว้นสะมาเรีย ในคัมภีร์อัลกุรอานเรียกว่า วงศ์วานอิสรออีล วงศ์วานอิสราเอล ที่หมายถึงชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากยาโคบ (มีฉายาว่าอิสราเอล) มีทั้งหมด 12 ชนเผ่า ซึ่งประชากรที่อยู่ในชนเผ่าดังต่อไปนี้ถือเป็นประชากรของอาณาจักรอิสราเอล.

ใหม่!!: อาโรนและวงศ์วานอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: อาโรนและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: อาโรนและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: อาโรนและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผยพระวจนะ

''อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ'' วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery). ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (prophet; προφήτης,: จากคำนิบาต προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”.

ใหม่!!: อาโรนและผู้เผยพระวจนะ · ดูเพิ่มเติม »

นบี

นบี (نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต.

ใหม่!!: อาโรนและนบี · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: อาโรนและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ใหม่!!: อาโรนและโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

เผ่าเลวี

ผ่าเลวี (Levites) เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของวงศ์วานอิสราเอล ตามบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โทราห์ของศาสนายูดาห์ เลวีมาจากชื่อของบุตรชายคนที่ 3 ของยาโคบ (อิสราเอล) กับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรก เลวีเป็นเผ่าเดียวที่พระยาห์เวห์ทรงยกเว้นไม่ให้ได้รับมรดกจากแผ่นดินคานาอัน แต่ให้มีหน้าที่เป็นปุโรหิตและผู้ปฏิบัติงานในสถานนมัสการ.

ใหม่!!: อาโรนและเผ่าเลวี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฮารูน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »