โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาหารญี่ปุ่น

ดัชนี อาหารญี่ปุ่น

อาหารเช้าญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม อาหารญี่ปุ่น ในคำจำกัดความปัจจุบัน หมายถึงอาหารพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่นก่อนการสิ้นสุดการปิดประเทศหรือซาโกกุ (鎖国 Sakoku) เมื่อค.ศ. 1868 แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นนั้นจะรวมถึงอาหารที่ใช้ส่วนผสมและวิธีการทำอาหารซึ่งรับมาจากต่างประเทศภายหลังการเปิดประเทศ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ได้ประยุกต์ให้เข้ากับตนเอง อาหารญี่ปุ่นนั้นมีชื่อเสียงด้านการเน้นอาหารตามฤดูกาล (旬shun) คุณภาพของวัตถุดิบ และการจัดวาง อาหารญี่ปุ่นถูกพัฒนามานานหลายศตวรรษ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองในประเทศ อาหารญี่ปุ่นถูกเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเข้าสู่สมัยกลางซึ่งเป็นสมัยที่ญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบอบศักดินาอันนำโดยโชกุน ต่อมาในช่วงต้นยุคใหม่หลังการเปิดประเทศ ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีอิทธิพลทำให้วัฒนธรรมการกินของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงอย่างมาก.

49 ความสัมพันธ์: บะหมี่บักวีตชาวญี่ปุ่นพ.ศ. 2411การฟื้นฟูเมจิการหมักดองการทำอาหารการตุ๋นการนึ่งภาษาญี่ปุ่นภาษาโปรตุเกสมิโซะระบบเจ้าขุนมูลนายราเม็งวัฒนธรรมตะวันตกสมัยกลางสลัดสาเก (สุรา)สปาเกตตีอูดงผักทงกัตสึขนมปังข้าวข้าวกล้องข้าวเหนียวดมบูริดาชิคริสต์ศตวรรษที่ 16ตะเกียบซอสมะเขือเทศซอสถั่วเหลืองซาชิมิซุปซูชิประเทศญี่ปุ่นประเทศจีนประเทศที่เป็นเกาะปลาแกงกะหรี่ญี่ปุ่นโชกุนโมจิโลกตะวันตกโจ๊กโซบะเต้าหู้เต้าเจี้ยวเซ็มเบเนื้อสัตว์

บะหมี่

การทำเส้นบะหมี่ที่ไต้หวัน บะหมี่ (肉麵) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ชาวจีนค้นคิดขึ้น มีส่วนประกอบของแป้งสาลี และน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่ อาจมีไข่ เกลือ และสารละลายด่างหรือสีผสมอาหาร ถ้าแบ่งตามสูตร จะมีบะหมี่แบบจีนและบะหมี่แบบญี่ปุ่น บะหมี่แบบจีนนั้น ทำจากแป้งสาลีชนิดอเนกประสงค์ที่มีโปรตีนประมาณ 10-12 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับโซเดียมคาร์บอเนต 0.5-2.0 เปอร์เซ็นต์ น้ำประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ และเกลือ 1.5 เปอร์เซ็นต์ บะหมี่ที่ได้จะมีสีเหลือง ส่วนบะหมี่แบบญี่ปุ่น จะทำจากแป้งสาลีโปรตีนต่ำ หรือแป้งผสมระหว่าง soft wheat และ hard wheat เพื่อให้มีโปรตีนประมาณ 9-10 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน้ำ 28-33 เปอร์เซ็นต์ เกลือ 2 เปอร์เซ็นต์ ไม่เติมด่าง ทำให้บะหมี่มีสีขาว เนื้ออ่อนนุ่ม.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและบะหมี่ · ดูเพิ่มเติม »

บักวีต

ักวีต ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagopyrum esculentum เป็นพืชในวงศ์ Polygonaceae เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยม กลวง ใบที่อยู่ด้านบนเกือบจะไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อ ก้านดอกสั้นสีแดงกุหลาบจนถึงสีขาว ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อนสีน้ำตาลดำไปจนเกือบดำ เมล็ดสีเขียวอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง การปลูกบักวีตเป็นอาหารพบที่เทือกเขาหิมาลัยตั้งแต่อินเดีย เนปาล ไปจนถึงพม่า จีนและมองโกเลีย รวมทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกทางภาคเหนือของเวียดนามและไทย บักวีตสามารถเติบโตได้ใรที่ที่มีดินค่อนข้างเร็ว ปลูกธัญพืชอื่น ๆ ไม่ได้ผล ถ้าดินมีไนโตรเจนหรือความชื้นสูง ทำให้เฝือใบ ดอกบักวีต.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและบักวีต · ดูเพิ่มเติม »

ชาวญี่ปุ่น

วญี่ปุ่น มีประมาณ 140-150 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะญี่ปุ่น"人類学的にはモンゴロイドの一。皮膚は黄色、虹彩は黒褐色、毛髪は黒色で直毛。言語は日本語。" และที่ต่างๆทั่วโลก เช่น ฮาวาย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ภาษาที่ใช้คือภาษาญี่ปุ่น ศาสนาที่สำคัญคือศาสนาพุทธ และลัทธิชินโต กลุ่มชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลในอดีตได้แก่ชาวยามาโตะและชาวรีวกีว.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2411

ทธศักราช 2411 ตรงกั.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและพ.ศ. 2411 · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูเมจิ

การฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ (Meiji Restoration) หรือ การปฏิวัติเมจิ (Meiji Revolution) การปฏิรูปเมจิ (Meiji Reform) หรือ การปรับปรุงเมจิ (Meiji Renewal) เป็นเหตุการณ์การปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในปี..

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและการฟื้นฟูเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

การหมักดอง

การหมักดอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารพวกคาร์โบไฮเดรทในอาหารให้กลายเป็นสารประกอบอื่น เช่น แอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิร.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและการหมักดอง · ดูเพิ่มเติม »

การทำอาหาร

การทำอาหาร (Cooking) คือ การกระทำเพื่อเตรียมอาหารให้พร้อมสำหรับการบริโภค นับตั้งแต่มนุษย์ค้นพบไฟเป็นต้นมา การทำอาหารได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรม.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและการทำอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

การตุ๋น

การตุ๋น การตุ๋น (Braiser; Braising) เป็นการผสมผสานรูปแบบการทำอาหารโดยใช้ทั้งความชื้นและความร้อน โดยทั่วไปแล้ว อาหารจะถูกให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง และนำไปไว้ในหม้อมีฝาปิดที่มีของเหลวปริมาณไม่คงที่ ทำให้เกิดรสชาติพิเศษขึ้นมา หมวดหมู่:เทคนิคการทำอาหาร.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและการตุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

การนึ่ง

การนึ่ง หรือ การอบไอน้ำ เป็นกระบวนการทำอาหารให้สุกโดยการผ่านความร้อนจากไอน้ำ Futura Training, ORGANISE AND PREPARE FOOD METHODS OF COOKERY, พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2007, หน้า 86,ISBN 1-876982-454 จากการต้มน้ำให้ถึงจุดเดือด การนึ่งเป็นกระบวนการทำอาหารที่เหมาะสมกับอาหารเกือบทุกชนิด ซึ่งสามารถรักษาและคงความชื้นไว้ในอาหารได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและการนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

มิโซะ

มิโซะ มิโซะ เป็นผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่น หมักจากข้าว ข้าวบาร์เลย์ หรือถั่วเหลืองกับเกลือและราโคจิกิง (麹菌) ซึ่งมิโซะส่วนมากจะเป็นมิโซะจากถั่วเหลือง มีลักษณะนิ่ม (paste) รสเค็ม และมีกลิ่นคล้ายเนื้อ มีโปรตีนสูง มีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม มักนำมาประกอบอาหาร ทำซุปโดยละลายมิโซะในน้ำ เติมผัก เต้าหู้ เห็ดหรือสาหร่าย หรือทำเป็นเครื่องจิ้มปรุงรส สำหรับอาหารประเภทเนื้อ ปลา หอยและผัก.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและมิโซะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

ราเม็ง

ราเม็ง เป็นบะหมี่น้ำของญี่ปุ่น ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ราเม็งมักจะทานกับเนื้อหมู สาหร่าย คามาโบโกะ ต้นหอม และบางครั้งจะมีข้าวโพด ราเม็งมีการปรุงรสแตกต่างกันตามแต่ละจังหวัดในญี่ปุ่น เช่นในเกาะคีวชู ต้นกำเนิดของราเม็งทงกตสึ (ราเม็งซุปกระดูกหมู) หรือในเกาะฮกไกโด ต้นกำเนิดของราเม็งมิโซะ (ราเม็งเต้าเจี้ยว) ในประเทศตะวันตก คำว่า "ราเม็ง" รู้จักในความหมายถึง บะหมี่สำเร็จรูป.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและราเม็ง · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมตะวันตก

วัฒนธรรมตะวันตก หรือคำอื่นที่ใช้แทนกันได้เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก, อารยธรรมตะวันตก, อารยธรรมยุโรป, วัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ เป็นศัพท์ที่มีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมถึงมรดกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม คุณธรรม ประเพณี ระบบความเชื่อ ระบบการเมือง สิ่งประดิษฐ์ และวิทยาการที่ได้รับจากโลกตะวันตก คำว่า "ตะวันตก" หมายถึงประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวยุโรปด้วย อาทิกลุ่มประเทศในทวีปอเมริการวมไปถึงออสตราเลเซีย ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องมาจากทวีปยุโรปเท่านั้น หมวดหมู่:Classical studies หมวดหมู่:มานุษยวิทยาวัฒนธรรม หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สังคมวิทยา.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและวัฒนธรรมตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สลัด

ลัด salad เป็นอาหารที่ประกอบด้วยอาหารชิ้นเล็ก ๆ โดยมากจะเป็นผัก มักเสิร์ฟที่อุณภูมิห้องหรือแช่เย็น ยกเว้นสลัดมันฝรั่งจากเยอรมันใต้ที่เสิร์ฟแบบอุ่น สลัดสามารถทำาจากอาหารชนิดใดก็ได้ที่พร้อมรับปะทาน (ready-to-eat) การ์เดนสลัด (Garden salads) ใช้ผักใบเขียวเป็นหลัก เช่นผักกาดหอม อารูกูลา(ผักร็อกเก็ต) เคล หรือผักโขม คำว่า "สลัด" มักหมายถึงการ์เดนสลัด สลัดประเภทอื่นได้แก่ สลัดถั่ว สลัดทูนา สลัดกรีก และสลัดโซเมนซึ่งเป็นสลัดญี่ปุ่นที่มีเส้นเป็นส่วนประกอบหลัก ซอสที่ใช้เติมรสชาติให้สลัดเรียกว่า สลัดเดรสซิ่ง (salad dressing) ที่โดยมากทำมาจากน้ำมัน น้ำส้มสายชูหรือผลิตภัณฑ์นมหมัก สลัดสามรถทานได้ในหลายช่วงของมื้ออาหาร.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและสลัด · ดูเพิ่มเติม »

สาเก (สุรา)

ก สาเก เป็นคำเรียกของคำว่า "สุรา" ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถหมายถึงเหล้าได้หลายชนิด โดยทั่วไป สาเกจะหมายถึงเหล้าที่ทำมาจากข้าว ในขณะที่บางท้องที่จะหมายถึงเหล้าที่กลั่นจากมันสำปะหลังหรืออ้อย หรือในบางครั้งจะหมายถึงโชจูหรือที่รู้จักในชื่อ "วอดกาญี่ปุ่น" ต้นกำเนิดของสาเกมีกล่าวไว้หลายทฤษฎี ได้แก่ นำเข้าจากจากประเทศจีนสู่ประเทศญี่ปุ่น หรืออีกทฤษฎีว่ามีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นเอง คำว่า สาเก ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษมักจะเรียกผิดเป็น "สากี".

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและสาเก (สุรา) · ดูเพิ่มเติม »

สปาเกตตี

เส้นสปาเกตตี ที่ผลิดจากแป้งดูรัมเซโมลินา สปาเกตตีผัดซอสมะเขือเทศ สปาเกตตี (Spaghetti) เป็นเส้นกลมคล้ายขนมจีนทำจากแป้งสาลี และมีขนาดโตกว่าเส้นขนมจีนเล็กน้อย การรับประทานสปาเกตตีเป็นที่นิยมมาก เช่นเดียวกับการนิยมทำก๋วยเตี๋ยวรับประทานเป็นอาหารทั่วไปของชาวเอเชีย ในปัจจุบัน เส้นสปาเกตตีที่นิยม คือ เส้นสปาเกตตีที่ผลิตจากแป้งดูรัมเซโมลินา ส หมวดหมู่:อาหารอิตาลี.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและสปาเกตตี · ดูเพิ่มเติม »

อูดง

kake udon) หรืออูดงในซุปน้ำใส อูดง เป็นอาหารญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลี ลักษณะเป็นเส้น หนา ยาว มีสีขาว อูดงนิยมรับประทานทานร้อน ๆ ในซุปใส ซึ่งทำจากดาชิ (หัวเชื้อน้ำซุป) และโชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) และมิริง (เหล้าสำหรับปรุงอาหาร) อูดงมีชื่อเรียกหลายชื่อ ขึ้นอยู่กับอาหารที่นำมาวางบนเส้นอูดง เช่น เท็มปูระอูดง คือ อูดงหน้ากุ้งชุบแป้งทอด และ คิตสึเนะอูดง คือ อูดงหน้าเต้าหู้หวาน เป็นต้น.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและอูดง · ดูเพิ่มเติม »

ผัก

ผักในตลาด ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและผัก · ดูเพิ่มเติม »

ทงกัตสึ

ทงกัตสึ เป็นอาหารญี่ปุ่น ทำจากเนื้อหมูหั่นเป็นแผ่นหนาราวสองเซนติเมตร หมักด้วยเกลือและพริกไทย โรยแป้งบาง ๆ ชุบแป้งผสมไข่และน้ำอันตีจนเหลวเข้ากัน ชุบเกล็ดขนมปังซึ่งเรียก "ปังโกะ" (panko) อีกชั้น แล้วทอดจนสุก รับประทานกับอาหารอื่น เป็นต้นว่า ข้าวสวย, กะหล่ำใบ หรือซุปเต้าเจี้ยว โปรตุเกสเป็นผู้นำเข้าทงกัตสึมายังญี่ปุ่น และเดิมเรียก "คัตสึเร็ตสึ" (katsuretsu) และเรียกโดยย่อว่า "คัตสึ" ทั้งนับเป็นอาหารในเหล่า "โยโชกุ" (yōshoku) คือ อาหารญี่ปุ่นบรรดาซึ่งดัดแปลงจากอาหารยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คัตสึเร็ตสึดั้งเดิมนั้นใช้เนื้อวัวปรุง ส่วนเนื้อหมูที่นิยมกันในปัจจุบันนั้นเริ่มใช้ ณ ร้านอาหารยุโรปแห่งหนึ่งในย่านกินซะ กรุงโตเกียว เมื่อ..

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและทงกัตสึ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปัง

นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและขนมปัง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าว

้าว ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์ทั่วโลกบริโภค หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูกเมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ในภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของจีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมาปลูกในเขตหุบแม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าวถูกนำมายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการยึดอาณานิคมของยุโรป ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อน ข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50–100 เซนติเมตร และกว้าง 2–2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5–12 มิลลิเมตร และหนา 2–-3 มิลลิเมตร การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าวสามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่งพื้นเมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการของเขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและวัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธีทั้งหมดในการการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่าในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่างช่วงเวลาการเจริญเติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและข้าว · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวกล้อง

ข้าวกล้อง ข้าวกล้อง, ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ คือเมล็ดข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือผ่านการขัดสีแค่บางส่วน ข้าวกล้องมีรสชาติมันปานกลางและมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าข้าวสาร (ข้าวขาว) ข้าวทุกประเภทอาทิ ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวเหนียว สามารถทำเป็นข้าวกล้องได้ทั้งสิ้น ข้าวกล้องและข้าวสารมีปริมาณพลังงาน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่กระบวนการผลิตและคุณสมบัติทางโภชนาการอื่น เมื่อเปลือกของเมล็ดข้าวเปลือกถูกกะเทาะออกจะได้ข้าวกล้อง ถ้าต้องการได้ข้าวสาร ผิวของเมล็ดข้าวอีกชั้นหนึ่งคือเยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวจะถูกขัดสีออกไป ซึ่งทำให้วิตามินและสารอาหารอื่น ๆ ลดลงเช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม แต่ข้าวกล้องนั้นมีระยะในการเก็บรักษาน้อย เพราะเกิดความชื้นง่ายจึงทำให้เกิดเชื้อรา หมวดหมู่:ข้าว.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและข้าวกล้อง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวเหนียว

้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียว (Glutinous rice; var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ(คนเหนือเรียกว่า"ข้าวก่ำ") แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี"(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและข้าวเหนียว · ดูเพิ่มเติม »

ดมบูริ

''เท็นดง'' และ ''อูนาดง'' ดมบูริ หรือข้าวหน้าต่าง ๆ เป็นอาหารญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นอาหารจานเดียวที่มีกับข้าวที่ทำจากเนื้อสัตว์, ปลา, ผัก หรือวัตถุดิบอื่น ๆ ราดบนข้าวสวย ตามแต่จะดัดแปลง.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและดมบูริ · ดูเพิ่มเติม »

ดาชิ

() เป็นน้ำซุปที่ใช้ในการทำอาหารญี่ปุ่นหลากหลายประเภท อาหารประเภทน้ำจำนวนมากก็ทำมาจากดาชิ อาทิ ซุปมิโซะ, น้ำแกงใส, น้ำราเม็ง เป็นต้น ปัจจุบันผู้คนนิยมทำดาชิอย่างง่ายคือน้ำดาชิที่ต้มคมบุกับใส่ปลาโอฝอยอบแห้ง หรือหาซื้อเป็นผงดาชิสำเร็จรูปได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ต.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและดาชิ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 16

ริสต์ศตวรรษที่ 16 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึง ค.ศ. 1600 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ สเปนและโปรตุเกสได้มีการเดินเรือเพื่อออกไปสำรวจสถานที่ต่างๆ หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบโลกใหม.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและคริสต์ศตวรรษที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

ตะเกียบ

ตะเกียบ ตะเกียบ คืออุปกรณ์ในการรับประทานอาหารมีลักษณะเป็นแท่งสองแท่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ใช้เป็นอุปกรณ์หลักในการกินอาหาร ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม ในประเทศไทยใช้สำหรับอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ตะเกียบนิยมทำมาจาก ไม้ ไม้ไผ่ โลหะ และพลาสติก บางชนิดทำมาจากงาช้าง ในประเทศจีนสมัยโบราณกษัตริย์มีการใช้ตะเกียบที่ทำจากเงินเพื่อใช้ในการตรวจสอบยาพิษ (ประเภทออกไซด์ของโลหะ) โดยเชื่อว่าถ้ามียาพิษในอาหารตะเกียบจะเปลี่ยนจากสีเงินเป็นสีดำ หมวดหมู่:เครื่องครัว หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของจีน หมวดหมู่:อาหารญี่ปุ่น หมวดหมู่:อาหารเกาหลี หมวดหมู่:อาหารเวียดนาม หมวดหมู่:วัฒนธรรมชาวเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและตะเกียบ · ดูเพิ่มเติม »

ซอสมะเขือเทศ

ซอสมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ คือซอสที่ทำจากมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบหลัก ใช้สำหรับเติมรสเปรี้ยวอมหวานให้กับอาหาร ซอสมะเขือเทศปลอม คือ ซอสไม่ได้ทำมาจากมะเขือเทศจริง หรือมีมะเขือเทศเป็นเพียงส่วนประกอบรองเท่านั้น อีกทั้งยังแต่งกลิ่นเพิ่มเติม ซอสมะเขือเทศปลอมมักทำมาจากมะละกอเป็นส่วนหลัก มะละกอเป็นผลไม้ที่กินได้ไม่เป็นอันตราย ในประเทศไทยมีการใช้มะละกอในอุตสาหกรรมการทำซอสมะเขือเทศและซอสพริก ซอสมะเขือเทศโดยทั่วไปตามท้องตลาดในประเทศไทยไม่ระบุถึงมะละกอในส่วนประกอบสำคัญบนฉลาก แต่ยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของซอสมะเขือเทศเหมือนเช่นน้ำปลา ทำให้จำนวนมะเขือเทศที่ใช้มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละยี่ห้อ ในสหรัฐอเมริกาได้บังคับใช้กฎหมายว่า ต้องมีส่วนประสมของมะเขือเทศอย่างน้อย 50 % และต้องเป็นส่วนประสมหลัก จึงจะใช้ชื่อว่าเป็นซอสมะเขือเทศได้ มิเช่นนั้นผู้ผลิตจะมีโทษที่กฎหมายระบุไว้ ถือว่าเป็นซอสปลอม เป็นต้น.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและซอสมะเขือเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ซอสถั่วเหลือง

ซอสถั่วเหลือง เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองหมัก, เมล็ดข้าวย่าง, น้ำเกลือ และเชื้อรา Aspergillus oryzae หรือ Aspergillus sojae ซอสถั่วเหลืองมีการคิดค้นมาราว 2,200 ปี ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ของจีนโบราณ และแพร่ขยายไปทั่วเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและซอสถั่วเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ซาชิมิ

ซาชิมิ (ด้านหน้า) ซาชิมิ (刺身) เป็นอาหารญี่ปุ่นแบบประณีตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาดิบสด แล่ให้เป็นชิ้น ๆ คำว่า ซาชิมิ หมายถึง "ร่างกายที่ถูกเจาะ" กล่าวคือ 刺身.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและซาชิมิ · ดูเพิ่มเติม »

ซุป

ซุป (soup) คืออาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ ผัก (ส่วนมากจะใช้แคร์รอตและมันฝรั่ง) น้ำสต็อก น้ำผลไม้ และน้ำ แต่บางซุปก็มีการเติมเนย ไข่ ข้าว และแป้ง จะเสิร์ฟในอุณหภูมิที่ร้อน โดยซุปจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซุปใสและซุปข้น.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและซุป · ดูเพิ่มเติม »

ซูชิ

ซูชิ หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือของคาวชนิดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของซูชิเมชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่าง ๆ หน้าที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบหรือเนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น และซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิบนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น คำว่า "ซูชิ" นิยมหมายถึง นิงิริซูชิ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและซูชิ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศที่เป็นเกาะ

ประเทศที่เป็นเกาะ หมายถึง ประเทศที่มีดินแดนหลักซึ่งประกอบด้วยเกาะเพียงแห่งหนึ่ง หรืออาจมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้ จากข้อมูลในปี..

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและประเทศที่เป็นเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและปลา · ดูเพิ่มเติม »

แกงกะหรี่ญี่ปุ่น

แกงกะหรี่ญี่ปุ่น (Japanese curry) เป็นหนึ่งในอาหารที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น โดยทั่วไปจะเสิร์ฟในสามรูปแบบหลักคือ ข้าวแกงกะหรี่ (แกงกะหรี่ที่ราดบนข้าว) อูดงแกงกะหรี่ (แกงกะหรี่ที่ราดบนเส้น) และขนมปังแกงกะหรี่ (แกงกะหรี่ที่มีไส้ในขนมปัง) ข้าวแกงกะหรี่โดยทั่วไปจะเรียกสั้น ๆ ว่า แกงกะหรี่ (カレー) การทำแกงกะหรี่ญี่ปุ่นมีผักและเนื้อสัตว์ที่ใช้แตกต่างกัน ผักพื้นฐานคือ หอมใหญ่ แคร์รอต และมันฝรั่ง สำหรับเนื้อสัตว์ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่ซึ่งเป็นที่นิยม คัตสึกาเร (Katsu-karē) เป็นทงกัตสึที่ราดซอสแกงกะหรี่ แกงกะหรี่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) ที่นำเข้ามาจากอังกฤษในช่วงที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ แกงกะหรี่กลายเป็นที่นิยมและมีขายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ได้มีการปรับปรุงมากขึ้นตั้งแต่มีการเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นและมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายจนถูกเรียกว่าเป็นอาหารประจำชาต.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและแกงกะหรี่ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

โมจิ

''คิริโมจิ'' (切り餅) หรือ ''คากูโมจิ'' (角餅) กระบวนการผลิตโมจิด้วยอุปกรณ์สมัยใหม่ โมจิ เป็นอาหารชนิดหนึ่งของญี่ปุ่นที่ทำจากข้าวเหนียว ตัดเป็นก้อน สามารถนำมาไปประยุกต์ทำขนมได้หลายชน.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและโมจิ · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

โจ๊ก

ก เป็นข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ นิยมรับประทานกันในหลายประเทศในเอเชีย ในบางวัฒนธรรมจะรับประทานโจ๊กเป็นอาหารเช้าหรืออาหารมื้อค่ำแทนอาหารหลักในบางมื้อ ส่วนเทศกาลวันตรุษจีนจะมีข้อห้ามกินโจ๊กเพราะการกินโจ๊กวันตรุษจีนเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวยเนื่องจากคนจนจะนิยมกินโจ๊ก โจ๊กยังสามารถทำได้ในหม้อธรรมดาหรือหม้อหุงข้าว คำว่า congee ในภาษาอังกฤษน่าจะมีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำในภาษาดราวิเดียน คำว่า kanji และเว็บสเตอร์ดิกชันนารี ระบุว่าคำว่า Congee มาจากอินเดีย ส่วนคำว่า โจ๊ก ในภาษาไทย เลียนเสียงมาจากภาษาจีนกวางตุ้ง จุ๊ก (粥 dzuk7) บ้างก็ว่ามาจากคำว่า ล่าปาเจี๋ย (腊八节) ซึ่งแปลว่า "เทศกาลลาป่า" อันเป็นประเพณีตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่ยุคสามราชาห้าจักรพรรดิ (2852 ก่อนคริสตกาล ถึง 2070 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นการล่าสัตว์เพื่อบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า ตามคติของพุทธศาสนาแบบมหายานของจีน เล่าว่า เจ้าชายสิทธัตถะขณะกำลังบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งสลบไป หญิงเลี้ยงวัวคนหนึ่งมาพบเข้าได้นำอาหารที่ติดตัวมาผสมกับนมวัวรวมกับผลไม้ป่าหลายชนิดป้อนให้เจ้าชายสิทธัตถะให้รับประทานจนกระทั่งฟื้นคืนสติ และได้ตรัสรู้ในคืนนั้นสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจีน ในยุคราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644) เล่ากันว่าจูหยวนจาง ปฐมจักรพรรดิขณะยังมีสถานะเป็นสามัญชน เป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่แร้นแค้นมาก วันหนึ่งได้ขุดรูหนูเพื่อจับหนูกิน แต่ได้ไปพบข้าวฟ่างและธัญพืชหลายชนิด จึงนำมาต้มรวมกัน เรียกว่า ล่าปาโจว (腊八粥; แปลว่า ข้าวต้มล่าปา) ในประเทศไทยบางพื้นที่ออกเสียงคำว่า "โจว" (节) เพี้ยนเป็น "โจ๊ก" จนกลายมาเป็นโจ๊กดังในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและโจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

โซบะ

ซบะ เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ได้ความนิยมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งบักวีต (ไม่ใช่แป้งสาลี) มีลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาล โซบะนิยมรับประทานทั้งแบบเย็น จุ่มกับซอส และแบบร้อนในซุป ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีนำเส้นโซบะไปประกอบอาหารนั้น นอกจากนี้ ในประเทศญี่ปุ่นเองยังนิยมเรียกอาหารเส้นที่เป็นเส้นขนาดเล็กว่า โซบะ อีกด้วย ซึ่งต่างจากอูดงซึ่งมีลักษณะเส้นหนา ทำจากแป้งสาลี โซบะมีขายในหลากหลายสถานที่ ตั้งแต่ในร้านอาหารจานด่วนราคาถูกตามสถานีรถไฟต่าง ๆ ไปจนถึงร้านอาหารหรูหราราคาแพง นอกจากนี้ เส้นโซบะยังมีขายแบบเส้นแห้งและบะหมี่สำเร็จรูปตามซูเปอร์มาร์เก็ตอีกด้วย ในประเทศไทย มักเรียกเส้นบะหมี่ฮกเกี้ยนซึ่งมีลักษณะเส้นใหญ่ หนา สีเหลืองว่า เส้นโซบะ เนื่องจากร้านอาหารในประเทศไทยนิยมนำบะหมี่ชนิดนี้มาผัด คล้ายอาหารญี่ปุ่นที่เรียกว่า ยากิโซ.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและโซบะ · ดูเพิ่มเติม »

เต้าหู้

ต้าหู้ (''Kinugoshi tōfu'') เต้าหู้ กำเนิดมากว่า 2,000 ปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนบางกลุ่มถือว่าเต้าหู้เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงที่อยู่ในความธรรมดาสามัญ คนไทยเรียกเต้าหู้เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า 豆腐 อ่านว่า โตวฟู คนฮกเกี้ยนเรียกว่า ต๋าวหู คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า โทฟุ (tofu) คนอังกฤษเรียก bean curd หรือบางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า tofu เช่นกัน ส่วนชาวฝรั่งเศสเรียกว่า fromage de soja (ชีสถั่วเหลือง).

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและเต้าหู้ · ดูเพิ่มเติม »

เต้าเจี้ยว

ต้าเจี้ยว เป็นการแปรรูปถั่วเหลือง ให้อยู่ในลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ได้นาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้มาจากการหมักถั่วเหลือง เพื่อการถนอมอาหาร ที่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารหมักเกลือ เต้าเจี้ยวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของการปรุงรสชาติอาหาร ซึ่งนอกเหนือจากจะได้รสชาติที่ดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เช่น อาหารเจ อาหารมังสะวิรัติ คนไทยนิยมนำเต้าเจี้ยวมาทำเป็นเครื่องจิ้มที่ เรียกว่า “หลนเต้าเจี้ยว” ไม่ว่าจะเป็นหลนเต้าเจี้ยวหมูสับ หรือกุ้งสับ และยังสามารถนำมาทำน้ำจิ้มได้อีก เช่น น้ำจิ้มข้าวมันไก่ หรือนำมาทำเป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น ทำแป๊ะซะ ผัดราดหน้า ตลอดจนผัดผักชนิดต่าง.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและเต้าเจี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

เซ็มเบ

ซ็มเบและสาหร่าย เซ็มเบ (煎餅) คือ ขนมข้าวกรอบแบบนึง ที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้าน  .

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและเซ็มเบ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อสัตว์

นื้อสัตว์ต่าง ๆ เนื้อสัตว์ เป็นเนื้อของสัตว์ที่มนุษย์บริโภคเป็นอาหาร มนุษย์เป็นสัตว์กินทั้งพืชและเนื้อ ล่าและฆ่าสัตว์เอาเนื้อมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นของอารยธรรมทำให้มนุษย์นำสัตว์มาเลี้ยง เช่น ไก่ แกะ หมูและปศุสัตว์ และนำมาใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ในระดับอุตสาหกรรมในที่สุด เนื้อสัตว์ประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ และโดยปกติกินร่วมกับอาหารอย่างอื่น เนื้อสัตว์นั้นกินดิบ ๆ ได้ แต่ปกติจะกินสุกและสามารถปรุงรสได้หลายวิธี หากไม่ผ่านการแปรรูป เนื้อสัตว์จะเน่าในเวลาไม่กี่วัน การเน่าเสียของเนื้อสัตว์นั้นเกิดจากการติดเชื้ออันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และจากการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและฟังไจ ซึ่งอาจจะมาจากตัวเนื้อสัตว์เอง มาจากมนุษย์จัดการกับเนื้อสัตว์ และจากกระบวนการปรุงอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์นั้นมีหลากหลายทั่วโลก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม หรือศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้กินมังสวิรัติเลือกไม่กินเนื้อ ด้วยเหตุผลด้านจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ศาสนาหรือสุขภาพ ซึ่งสัมพันธ์กับการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์ โดยส่วนใหญ่ เนื้อสัตว์หมายถึงกล้ามเนื้อโครงร่างและไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่อาจหมายถึงเนื้อเยื่อที่กินได้ เช่น เครื่องในสัตว์ ในทางกลับกัน เนื้อสัตว์ บางครั้งใช้เรียกอย่างจำกัด คือหมายถึงเพียงเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (หมู, ปศุสัตว์, แกะ, ฯลฯ) ที่ถูกเลี้ยงดูและเตรียมไว้ให้มนุษย์บริโภค แต่ไม่รวมถึงปลา สัตว์ทะเลต่าง ๆ สัตว์ปีก หรือสัตว์ชนิดอื่น.

ใหม่!!: อาหารญี่ปุ่นและเนื้อสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »